1310 1922 1297 1838 1410 1142 1446 1279 1462 1961 1970 1768 1779 1816 1780 1189 1035 1208 1117 1992 1180 1898 1356 1242 1970 1894 1164 1021 1157 1916 1231 1027 1214 1599 1281 1859 1724 1088 1933 1899 1532 1841 1453 1641 1699 1548 1660 1196 1812 1205 1385 1555 1821 1188 1974 1655 1879 1202 1358 1944 1399 1988 1067 1934 1979 1973 1203 1471 1171 1778 1746 1650 1928 1957 1695 1343 1391 1153 1514 1339 1226 1856 1840 1454 1987 1155 1664 1357 1658 1877 1213 1447 1550 1063 1687 1556 1714 1343 1740 สถานการณ์ปี 2559 3/5: ความเงียบที่ถูกบังคับโดยสถานการณ์ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สถานการณ์ปี 2559 3/5: ความเงียบที่ถูกบังคับโดยสถานการณ์

หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เกิดความโศกเศร้าไปทั่วทุกหนแห่ง และเกิดกระแสไล่ล่าผู้ที่โพสต์ความเห็นในโลกออนไลน์ในลักษณะที่ผู้อ่านตีความด้วยตนเองว่า ไม่จงรักภักดีและอาจเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ การไล่ล่าด้วยข้อกล่าวหา “ไม่จงรักภักดี” ต่างจากที่ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการสืบสวนจับกุมเองหรือมีประชาชนไปร้องทุกข์กล่าวโทษเท่านั้น แต่เกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้น คือการรวมตัวของประชาชนจำนวนมากไปล้อมบ้านของผู้ถูกกล่าวหาในยามวิกาล เพื่อเรียกร้องให้ผู้ถูกกล่าวหาออกมามอบตัวและเพื่อกดดันให้เจ้าหน้าที่นำบุคคลดังกล่าวไปดำเนินคดี บางกรณีมีการทำร้ายร่างกายผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งการคุกคามครอบครัวและผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อกล่าวหาไม่จงรักภักดีกลายเป็นกำแพงบดบังข้อเท็จจริงที่ว่า บุคคลเหล่านั้นยังไม่ถูกพิสูจน์ความผิดตามกระบวนการยุติธรรม และแม้ที่สุดเขาอาจจะถูกตัดสินว่าผิด แต่ก็ยังมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องโทษคดีอาญา ซึ่งรวมถึงการได้รับการคุ้มครองจากการทำร้ายร่างกาย กระแสการไล่ล่าผู้แสดงความเห็น หรือที่เรียกว่า “ล่าแม่มด” ที่มีการติดตามหรือทำร้ายร่างกายผู้ที่สังคมเห็นว่าทำความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ดำเนินอยู่ราวสองสัปดาห์ก่อนค่อยๆ เงียบลง แม้จะเป็นกระแสที่คงอยู่ไม่นานนักแต่สร้างความหวาดกลัวให้คนในสังคมอย่างปฏิเสธไม่ได้ หลายคนอาจจะต้องการแสดงความคิดเห็นที่แม้ไม่ผิดกฎหมาย แต่จำเป็นต้องเลือกสร้างระยะปลอดภัยของตัวเองโดยไม่พูดความในใจ จนอาจจะกล่าวได้ว่าความเกรี้ยวกราดและกระแสการล่าแม่มดทำให้เกิดความเงียบในสังคมไทย
 
577
 
หลังการสวรรคต เพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า รวมทั้งข่าวเกี่ยวกับพระราชพิธีพระบรมศพคือเนื้อหาที่ได้รับการตีพิมพ์และรายงานอย่างต่อเนื่องในหน้าหนังสือพิมพ์
การรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ในสภาวะไม่ปกติ
เมื่อพิจารณาภูมิทัศน์ของสื่อในการรายงานข่าวปรากฏการณ์การล่าแม่มด จากหนังสือพิมพ์เจ็ดประกอบด้วย แนวหน้า บ้านเมือง ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด คมชัดลึก และเดลินิวส์ ระหว่างวันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2559 – วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2559 พบว่าพื้นที่ข่าวมีน้อยมาก เหตุที่เลือกหนังสือพิมพ์เนื่องจากเป็นสื่อที่มีลักษณะของการประมวลภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในแต่ละวันและสามารถประเมินปริมาณของข่าวในแต่ละวันได้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าสื่อชนิดอื่น คืนวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2559 เป็นครั้งแรกที่มีข่าวการไล่ล่าผู้โพสต์ข้อความบนโลกออนไลน์ ที่จังหวัดภูเก็ต มีการปิดล้อมบ้านผู้ถูกกล่าวหาโดยมีการถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ รวมทั้งการส่งต่อข้อมูลบนโลกออนไลน์ แต่วันต่อมากลับไม่พบว่ามีหนังสือพิมพ์ฉบับใดรายงานข่าวดังกล่าว โดยอาจเป็นเพราะการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้าเป็นประเด็นที่ประชาชนสนใจมากกว่าประเด็นอื่นๆ ในวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2559 หนังสือพิมพ์มติชนเป็นฉบับเดียวที่รายงานข่าวการล่าแม่มด โดยรายงานจากข้อเท็จจริงของฝ่ายผู้กล่าวหาและเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งข้อมูลจากผู้สื่อข่าวสนามที่สังเกตการณ์บริเวณบ้านของผู้ถูกกล่าวหา แต่ยังไม่ปรากฏในหนังสือฉบับอื่น บางฉบับพื้นที่ข่าวทั้งหมดเป็นข่าวการสวรรคตและข่าวของพระบรมวงศานุวงศ์ ขณะที่บางฉบับให้น้ำหนักไปที่ข่าวการสวรรคต แต่ยังมีข่าวอื่นๆ ด้วย เช่นข่าวต่างประเทศ ข่าวเศรษฐกิจ และข่าวกีฬา วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2559 หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นเริ่มรายงานข่าวประเด็นนี้ เนื้อหาของข่าว ส่วนใหญ่เป็นมุมมองผู้มีอำนาจรัฐเช่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่า การกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการทบทวนเนื้อหาหนังสือพิมพ์ยังพบว่า มีผู้ถูกไล่ล่าอีกอย่างน้อยสามกรณีที่หนังสือพิมพ์ไม่ได้รายงาน เช่น กรณีการไล่ล่าผู้โพสต์ในทำนองหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งครอบครัวบอกว่า ผู้ถูกกล่าวหามีอาการทางจิต, การพยายามไล่ล่าผู้หญิงพิการทางสายตาที่โพสต์บทความเข้าข่ายการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ที่ จังหวัดยะลา และการแจ้งความดำเนินคดีต่อทหารรายหนึ่งที่พูดคุยกันภายในกรุ๊ปไลน์ ที่จังหวัดยะลา
 
581
 
บรรยากาศความโศกเศร้าหลังการสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า 
 
การกำกับเสรีภาพการแสดงออก ด้วยมาตรการทางสังคม
ท่าทีหนึ่งที่บุคคลสำคัญในรัฐบาลออกมาตอบสนองต่อข่าวล่าแม่มดในหน้าหนังสือพิมพ์ คือ ร้องขอให้ประชาชนเงียบแทนการปรามผู้ใช้กำลังหรือท่าทีคุกคาม เช่น สุวพันธ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในทำนองว่า การโพสต์ข้อความดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรทำ ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า แม้จะรู้สึกอย่างไรขอให้เก็บไว้ในใจ อย่าแสดงออกโดยไปขัดต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ในประเทศ และร้องขอให้เจ้าหน้าที่กวดขันเรื่องข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยิ่งทำให้บรรยากาศการแสดงความคิดเห็นในสังคมไทยอยู่ในสภาวะเงียบโดยสมบูรณ์แบบ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาลเคยให้สัมภาษณ์ขอร้องสื่อมวลชนในทำนองว่า ช่วงเวลานี้ควรจะให้สติแก่สังคมไทยโดยการผลิตรายการที่สร้างสรรค์สังคม อะไรที่เป็นองค์ความรู้ที่อยากให้คนรุ่นหลังรับทราบ ทั้งเรื่องประเพณีไทย เรื่องการสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ที่ถูกต้อง ขอให้ช่วยกันให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย
โดยมีการขอความร่วมมือประชาชนไม่ให้โพสต์ข้อความหรือกระทำในลักษณะที่เป็นการหมิ่นสถาบัน พร้อมระบุว่าหากการกระทำของผู้ใดเข้าข่ายความผิดจะถูกดำเนินคดี ด้าน พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมระบุหลังถูกถามถึงกรณีเหตุการณ์ประชาชนล้อม บ้านผู้ถูกกล่าวหาที่ จังหวัดภูเก็ต ว่า พูดไปหลายครั้งแล้วว่า ไม่มีอะไรดีไปกว่ามาตรการทางสังคม
ทำให้มีการตั้งคำถามว่าการให้ความเห็นลักษณะนี้เป็นการออกใบอนุญาตให้ใช้ความรุนแรงหรือไม่ จนพล.อ.ไพบูลย์ต้องออกมาแก้ต่างภายหลังว่าไม่ได้หมายความเช่นนั้น โดยชี้แจงว่า คำว่า มาตรการทางสังคม คือมาตรการที่ประชาชนมาสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย เพราะการบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียวไม่สามารถที่จะปรับทัศนคติของผู้เห็นต่างได้ 
 
สำหรับท่าทีของหน่วยราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ประสานงานผ่านกับตำรวจสากล (Interpol) ในการดำเนินคดีกับผู้ที่เข้าข่ายความผิดมาตรา 112 ที่อยู่ต่างประเทศ
ส่วนกระทรวงต่างประเทศก็ใช้กลไกการทูตในการติดตามผู้ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ที่อยู่ในต่างประเทศหรือขอความร่วมมือให้ต่างประเทศช่วยกำชับหรือกำราบผู้ถูก
กล่าวหาซึ่งการให้ข่าวหรือท่าทีของรัฐในลักษณะนี้ย่อมเป็นการปรามให้ผู้ที่เลือกจะไม่เงียบ รู้ว่าพวกเขาอาจมีราคาที่ต้องจ่ายหากเลือกที่ส่งเสียง แม้เจ้าหน้าที่รัฐจะยอมรับการใช้ความรุนแรงผ่านโครงสร้างกฎหมายด้วยการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาอย่างถึงที่สุด แต่ก็พบว่าเจ้าหน้าที่บางส่วนพยายามให้สัมภาษณ์ทำนองยับยั้งการใช้ความรุนแรงทางกายภาพ เช่น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ออกความเห็นว่ามวลชนไม่มีหน้าที่ในการดำเนินการกับผู้ถูกกล่าวหาและจะไปทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ขณะที่พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคสช.ก็เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดการทำร้ายร่างกาย เข่นเดียวกับ พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ขอความร่วมมือไม่ให้วิวาทหรือใช้ความรุนแรง อย่างไรก็ตามจากการทบทวนการนำเสนอข่าวหนังสือพิมพ์ พบว่าการรายงานข่าวหรือการให้ข่าวของเจ้าหน้าที่รัฐในลักษณะนี้มีน้อยกว่าประเด็นอื่นๆ อีกสามประเด็นที่เหลือ
 
บล็อกเว็บที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ
มีการรายงานว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงดำเนินการป้องปรามเว็บไซต์ที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตองรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงการพูดคุยกับกูเกิ้ลว่าหากทางกูเกิ้ลได้รับการร้องเรียนเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมจะพยายามดำเนินการจัดการ ในเรื่องการขอข้อมูลผู้โพสต์ กูเกิ้ล แนะนำว่าจะต้องปรับกระบวนการระหว่างประเทศเพื่อขอข้อมูล ในส่วนของไลน์ เมื่อมีการขอรายชื่อผู้โพสต์ หรืออีเมลล์ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยหรือการทำความผิดตามกฎหมายไทย ไลน์ก็จะดำเนินการให้ก่อนโดยผ่านทางสถานทูตไทยที่ญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีหลังมีการเผยแพร่ข่าวลักษณะนี้ ไลน์ออกมาปฏิเสธในภายหลังว่า ไลน์ไม่ได้มอนิเตอร์หรือบล็อกเนื้อหาของผู้ใช้บริการไลน์ เนื้อหาถูกเข้ารหัสไว้และทางไลน์ไม่สามารถเข้าตรวจสอบได้ (We do not monitor or block user content. User content is also encrypted, and cannot be viewed by LINE,)
 
ขณะที่กูเกิ้ลก็ยืนยันว่าเราวางใจรัฐบาลทั่วโลกให้แจ้งเตือนเราถึงเนื้อหาที่พวกเขาเชื่อว่าผิดกฎหมายโดยผ่านกระบวนการที่เป็นทางการและจะจำกัดมันอย่างเหมาะสมหลังการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วและจากการติดตามข้อมูลการปิดกั้นเนื้อหาของไอลอว์พบว่าหลังการสวรรคตมีการปิดกั้นเนื้อหาบนโลกออนไลน์จำนวนมากโดยพบว่าเนื้อหาบางส่วนที่ถูกปิดกั้นเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ฯ และการสืบสันตติวงศ์ ความมั่นคง รวมทั้งข่าวการล่าแม่มดก็ถูกปิดกั้นการเข้าถึงส่วนใหญ่เว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้นเป็นเว็บไซต์ของสำนักข่าวต่างประเทศ
ประเภทรายงาน: