1638 1480 1542 1131 1120 1098 1019 1675 1554 1443 1959 1571 1286 1193 1468 1807 1847 1143 1130 1426 1091 1137 1836 1954 1080 1594 1701 1008 1887 1426 1476 1460 1520 1711 1878 1901 1661 1078 1850 1888 1429 1969 1645 1117 1179 1886 1777 1978 1949 1947 1825 1794 1886 1983 1905 1665 1351 1464 1611 1528 1124 1446 1759 1197 1111 1533 1992 1422 1199 1613 1274 1438 1912 1621 1482 1313 1561 1507 1182 1026 1848 1230 1887 1717 1056 1190 1607 1956 1530 1041 1725 1618 1114 1606 1828 1592 1192 1514 1475 ตร.เตือนสหภาพนักเรียนนักศึกษาฯ ระวังขัดพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ทั้งที่พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ไม่ใช้กับพื้นที่สถานศึกษา | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ตร.เตือนสหภาพนักเรียนนักศึกษาฯ ระวังขัดพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ทั้งที่พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ไม่ใช้กับพื้นที่สถานศึกษา

22 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 17.30 น. บริเวณลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สหภาพนักเรียน นิสิตและนักศึกษาแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรม "ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม" สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ เพิกถอนสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี

 

ตั้งแต่เวลา 16.30 น. เริ่มมีประชาชนทยอยมารวมตัวกันที่ลานปรีดี โดยมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบวางกำลังโดยรอบคอยสังเกตการณ์และถ่ายภาพผู้ที่เข้าร่วมชุมนุม ต่อมาตัวแทนสหภาพฯ ผลัดกันปราศรัยถึงเรื่องการยุบพรรคการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง จากนั้นจึงร่วมกันจุดเทียนและแยกย้ายกันในเวลา 18.30 น.

 

1348 กิจกรรม "ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม"

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ก่อนเริ่มกิจกรรมพ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาลจัดกำลังตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบดูแลความสงบเรียบร้อย และเตือนผู้จัดกิจกรรมจุดเทียนและผู้เข้าร่วมว่า ขอให้คำนึงถึงการกระทำภายใต้กรอบกฎหมายทุกมิติและและไม่ละเมิดกฎหมายบ้านเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งพ.ร.บ.ชุมนุมฯ .

 

แต่มาตรา 3 ของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ บัญญัติว่า พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่การชุมนุมสาธารณะภายในสถานศึกษา ดังนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมในวันนี้จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ เมื่อสอบถามตัวแทนสหภาพฯ ระบุว่า ช่วงเย็นตำรวจจากสน.ชนะสงครามได้มาพูดด้วยและบอกว่า ตำรวจไม่มีอำนาจเหนือพื้นที่กิจกรรมในการพูดคุยไม่มีการสั่งห้ามหรือแสดงคำขอใดๆ 

 

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ตำรวจแสดงความไม่เข้าใจในขอบเขตอำนาจตามกฎหมาย ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 นักกิจกรรมจัดงานรำลึกกราดยิงโคราช ตำรวจสน.ปทุมวันสั่งห้ามไว้ในการหนังสือสรุปสาระสำคัญการชุมนุมว่าข้อความและป้ายต่างๆต้องไม่มีข้อความหมิ่นประมาทให้ได้รับความเสียหายและยุยงปลุกระดมให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง . ทั้งที่ตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจเจ้าหน้าที่กำหนดเงื่อนไขในส่วนที่เป็นเนื้อหาของการชุมนุม

 

หากบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่แสดงป้ายหรือข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา โดยที่ผู้จัดการชุมนุมไม่ได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมกระทำการดังกล่าวเป็นการทั่วไป เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะต้องดำเนินคดีกับผู้ที่แสดงป้ายหรือข้อความเป็นรายกรณีไป กรณีที่ข้อความดังกล่าวมีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่มีอำนาจจับกุมดำเนินคดีด้วยตัวเอง หากผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษด้วยตัวเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน