1493 1205 1757 1069 1187 1961 1928 1373 1306 1462 1464 1031 1906 1914 1056 1481 1935 1513 1434 1597 1787 1978 1696 1165 1665 1497 1083 1646 1790 1269 1458 1397 1437 1084 1492 1492 1238 1993 1821 1937 1786 1613 1963 1858 1820 1598 1878 1670 1905 1186 1435 1676 1148 1608 1827 1454 1979 1481 1327 1692 1466 1424 1285 1660 1849 1588 1526 1958 1932 1644 1111 1370 1165 1029 1190 1640 1011 1001 1157 1487 1508 1290 1338 1709 1814 1029 1451 1013 1251 1110 1765 1098 1813 1073 1761 1976 1635 1303 1513 เปรียบเทียบ "ขอบเขต-บทลงโทษ" ในข้อหา "ดูหมิ่นศาล-ละเมิดอำนาจศาล" | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เปรียบเทียบ "ขอบเขต-บทลงโทษ" ในข้อหา "ดูหมิ่นศาล-ละเมิดอำนาจศาล"

 
เปรียบเทียบ "ขอบเขต-บทลงโทษ" ในข้อหา "ดูหมิ่นศาล-ละเมิดอำนาจศาล"
 
ในฐานะที่ศาลเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและตัดสินข้อพิพาททั้งระหว่างประชาชนกับประชาชนและระหว่างประชาชนกับรัฐ ในฐานะที่เป็นผู้ตัดสินข้อพิพาทศาล คำตัดสินของศาลจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าศาลจะสามารถดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีและแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อตัดสินข้อพิพาทได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกแทรกแซงหรือขัดขวางการทำงาน กฎหมายละเมิดอำนาจศาลจึงถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อคุ้มครองให้กระบวนการพิจารณาคดีของศาลเป็นไปอย่างเรียบร้อยและไม่ถูกแทรกแซง
 
เพื่อความสงบเรียบร้อยจึงต้องมีกฎหมายดูหมิ่นศาล-ละเมิดอำนาจศาล

ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 กำหนดให้ศาลมีอำนาจออกข้อกำหนดใดๆ แก่คู่ความ หรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็น เพื่อความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว ส่วนลักษณะการกระทำที่อาจเข้าข่ายความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลถูกกำหนดไว้ในมาตรา 31 พอจำแนกลักษณะการกระทำที่อาจเข้าข่ายความผิดได้เป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ 
 
1. การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการรักษาความเรียบร้อยที่ออกตามมาตรา 30  หรือการประพฤติตัวไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล
2. การแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล 
3 การแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ 
4 การหลีกเลี่ยงไม่นำส่งเอกสารหรือรับเอกสารเกี่ยวกับคดี 
5 การไม่มาศาลเมื่อมีหมายเรียก
 
ในส่วนของการกำหนดความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลการพิจารณาคดีหรือการวิพากษ์วิจารณ์ มาตรา 32 ของประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดว่า ผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ ผู้พิมพ์โฆษณาสิ่งพิมพ์ ที่เผยแพร่ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แห่งคดีที่ศาลมีคำสั่งพิจารณาคดีลับหรือมีคำสั่งห้ามโฆษณา (เผยแพร่ข้อมูล)โดยตรง ถือว่าทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล มาตรา 32 ยังกำหนดด้วยว่า 
 
ระหว่างการพิจารณาคดีไปจนถึงเวลาที่คดีถึงที่สุดหากหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์แสดงความเห็นหรือเผยแพร่ข้อมูลโดยมีเจตนาชี้นำหรือมีอิทธิพลเหนือการใช้ดุลพินิจของศาล เหนือคู่ความหรือพยานหลักฐานแห่งคดี หรือมีเจตนา โน้มน้าวชักจูงความคิดเห็นของสาธารณะชนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น 

1. เผยแพร่ข้อมูลที่ผิดจากข้อเท็จจริง 
2. รายงานหรือวิภาค(ไม่รู้ถ้าใช้วิพากษ์วิจารณ์จะผิดความหมายไหม) กระบวนพิจารณาคดีโดยไม่เป็นกลางหรือไม่ถูกต้อง 
3. วิภาคการดำเนินคดีหรือถ้อยคำพยานหลักฐานโดยไม่เป็นธรรม หรือรายงานในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงของคู่ความ แม้ข้อความดังกล่าวจะเป็นจริง 
4.รายงานในลักษณะชักจูงให้มีการให้ถ้อยคำพยานที่เป็นเท็จต่อศาล
 
สำหรับผู้ที่ทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล อาจถูกศาลสั่งให้ออกจากบริเวณศาลหรือสั่งลงโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยการให้ออกนอกพื้นที่ศาล ศาลอาจสั่งให้มีผลเฉพาะระหว่างเวลาที่ศาลนั่งพิจารณาคดีหรือศาลอาจใช้ดุลพินิจกำหนดกรอบเวลาได้ตามสมควร  
 
ในกรณีของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาลมาก่อนและกฎหมายละเมิดอำนาจศาลตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งก็ไม่ได้ใช้กับศาลรัฐธรรมนูญ กฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 
 
มาตรา 38 ของพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยของการพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนที่เข้ามาในศาล และหากมีความจำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลอาจสั่งให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำบางอย่างเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดี  
 
และเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถดำเนินการดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ วรรคสองของมาตรา 38 ได้กำหนดให้ศาลมีอำนาจออกข้อกำหนดใดๆออกบังคับได้ 
 
สำหรับการวิพากษ์วิจารณ์คำสั่งศาล วรรคสามของกฎหมายนี้กำหนดข้อยกเว้นว่าการวิพาษ์วิจารณ์ที่ทำโดยสุจริต ไม่ได้ใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่มีความหมายหยาบคาย เสียดสีหรืออาฆาตมาดร้ายไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ส่วนมาตรา 39 วางโทษของการละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญเอาไว้ว้า ผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งหรือข้อกำหนดของศาลที่ออกโดยมาตรา 38 อาจถูกตำหนิด้วยวาจาหรือหนังสือ ถูกไล่ออกจากบริเวณศาล หรือถูกลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกิน 50000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
นอกจากกฎหมายละเมิดอำนาจศาลแล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญายังมีข้อหาความผิดฐาน "ดูหมิ่นศาล" โดยเหตุผลของการมีอยู่ของกฎหมายฉบับนี้ก็เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมมีความศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนให้ความเคารพและปฏิบัติตามและคุ้มครองไม่ให้ผู้พิพากษาต้องถูกว่าร้าย หรือข่มขู่ หรือทำร้าย จนกระทบกับการทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ 
 
โดยความผิดฐานดูหมิ่นศาลอยู่ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 ที่บัญญัติว่า "ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
 
 
กฎหมายละเมิดศาลรัฐธรรมนูญกับความพยายามถ่วงดุลการใช้ดุลพินิจขององค์คณะตุลาการ
 
การดำเนินคดีบุคคลในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล คือกระบวนการที่ศาลเป็นคู่พิพาทกับผู้ถูกกล่าวหาว่าทำควมผิดโดยตรง และศาลเป็นผู้ดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงผ่านกระบวนการไต่สวนด้วยตัวเอง ซึ่งต่างจากคดีประเภทอื่นๆที่ศาลทำหน้าที่รับฟังข้อเท็จจริงจากคู่ความแต่ละฝ่ายนำมาเสนอต่อศาลเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงอันเป็นที่ยุติโดยไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในความขัดแย้งกับคู่ความ การใช้ดุลพินิจของศาลจึงเป็นการใช้ดุลพินิจในลักษณะที่ศาลเองมีส่วนได้ส่วนเสีย
 
พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 39 วรรคสามจึงกำหนดว่า ในกรณีที่จะมีการลงโทษบุคคลในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลด้วยโทษปรับหรือโทษจำคุกซึ่งเป็นโทษทางอาญา องค์คณะตุลาการจะต้องให้ความเห็นชอบไม่น้อยกว่า สองในสามขององค์คณะทั้งหมด ส่วนกรณีของการละเมิดอำนาจศาลตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ได้มีการกำหนดเรื่องจำนวนองค์คณะผู้ให้ความเห็นชอบขั้นต่ำไว้
 
"หยาบคาย เสียดสี" มุ่งคุ้มครองความศักดิ์สิทธิ์ของศาลมากกว่าการพิจารณาคดี
 
กฎหมายละเมิดอำนาจศาลทั้งตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง และ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มีการกำหนดประเภทการเผยแพร่เนื้อหาหรือการแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายเป็นการละเมิดอำนาจศาลดังที่ระบุไปข้างต้น โดยความมุ่งหมายของการกำหนดลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดเป็นไปเพื่อคุ้มครองไม่ให้เกิดการรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีหรือการวิพากษ์วิจารณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาในลักษณะที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานข้อเท็จจริงหรือมีเจตนาแอบแฝงบาง เผยแพร่สู่สาธารณะซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการพิจารณาคดีในภาพร่วมได้ 
 
อย่างไรก็ตามการที่กฎหมายละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญกำหนดให้การวิพาษ์วิจารณ์คำสั่งศาลในลักษณะ "เสียดสี" หรือ "หยาบคาย" ก็ก่อให้เกิดคำถามว่าการกำหนดลักษณะความผิดดังกล่าวสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ได้แก่การคุ้มครองกระบวนการพิจารณาคดีหรือไม่ เพราะการวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะเสียดสีหรือหยาบคาย ไม่น่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่สามารถชักจูงให้สาธารณชนเกิดความไม่เชื่อมั่นหรือเกิดผลเสียต่อกระบวนการพิจารณาคดีของศาลอย่างมีนัยยะสำคัญดังที่เจตนารมณ์ของกฎหมายละเมิดอำนาจศาลมุ่งคุ้มครองได้ 
  
ละเมิดอำนาจศาลตามป.วิแพ่ง โทษปรับเบาแต่โทษจำคุกหนักกว่าละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
 
หากเปรียบเทียบการวางโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นว่าโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนเบากว่าโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนของศาลยุติธรรมถึงห้าเดือน ในขณะที่โทษปรับของกฎหมายละเมิดอำนาจศาลตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 500 บาท ต่ำกว่าโทษปรับตามกฎหมายละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญซึ่งวางโทษปรับไม่เกิน 50000 บาทถึง 100 เท่าตัว ซึ่งอาจเป็นเพราะกฎหมายละเมิดอำนาจศาลตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งยังไม่เคยมีการแก้ไขนับจากออกมาบังคับใช้ในปี 2477 จึงไม่ได้มีการอัตราค่าปรับให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ 

 

1783

 
 
ชนิดบทความ: