1464 1409 1363 1221 1836 1479 1334 1069 1544 1988 1425 1687 1343 1945 1926 1526 1541 1027 1547 1179 1398 1148 1070 1121 1232 1285 1599 1078 1868 1083 1806 1184 1545 1250 1460 1475 1088 1590 1842 1773 1821 1730 1029 1362 1831 1691 1056 1983 1086 1694 1663 1404 1792 1911 1706 1707 1742 1947 1244 1668 1756 1711 1234 1413 1927 1867 1275 1341 1265 1701 1936 1499 1845 1448 1755 1163 1475 1322 1568 1029 1843 1084 1167 1185 1678 1404 1293 1290 1348 1226 1854 1613 1264 1037 1671 1327 1962 1632 1839 ผู้ถูกดำเนินคดี 112 ในรูปแบบ "ใหม่ซ้ำเดิม" หลังรัฐประหาร | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ผู้ถูกดำเนินคดี 112 ในรูปแบบ "ใหม่ซ้ำเดิม" หลังรัฐประหาร

 
 
หลังรัฐประหาร 2557 คสช. ประกาศใช้กฎหมายและออกกฎระเบียบหลายฉบับที่มีเนื้อหา กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงประกาศฉบับที่ 37/2557  ที่ให้ผู้ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับความมั่นคงต้องขึ้นศาลทหาร ความผิดประเภทหนึ่งงที่ต้องขึ้นศาลทหาร คือ ความผิดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ หรือที่เรียกกันว่า มาตรา112 ที่เจ้าหน้าที่จับกุมบุคคลตามข้อหานี้มากขึ้น พร้อมแนวโน้มของศาลที่กำหนดบทลงโทษรุนแรงยิ่งกว่าเดิม
 
ช่วงสองปีของรัฐบาล คสช. มีบุคคลถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น อย่างน้อย 62 คน ซึ่งส่วนใหญ่ ถูกจับกุมด้วยเหตุแชร์ข้อมูลในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก  นอกจากนี้ ยังพบว่า มีอย่างน้อย 3 ราย ที่ถูกดำเนินคดีซ้ำ หรือถูกฟ้องเป็นความผิดถึงสองครั้งสองครา
 
 
โอภาส เขียนฝาผนังห้องน้ำสองห้อง ถูกฟ้องสองคดี
 
โอภาส อายุ 68 ปี อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว ถูกพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ จับตัวได้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2557 จากการเขียนผนังห้องน้ำของห้างฯ ก่อนประสานให้ทหารรับตัวไปดำเนินคดี ข้อความที่โอภาสเขียนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง โจมตีการรัฐประหารของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ โอภาสถูกตั้งข้อหาตามมาตรา112 และถูกพิจารณาคดีที่ศาลทหาร
 
ระหว่างการสอบสวนโอกาสไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว จนกระทั่งวันที่ 20 มีนาคม 2558 โอภาสขึ้นศาลในวันนัดสอบคำให้การ เขาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา และศาลทหารพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี ลดเหลือ 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา 
 
ระหว่างถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพตามคำพิพากษาคดีแรก ตำรวจจากสน.ประเวศ เข้าไปพบโอภาสในเรือนจำและแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 เพิ่มเป็นอีกคดีหนึ่ง จากการเขียนฝาผนังห้องน้ำที่ห้างซีคอนสแควร์ ซึ่งเป็นห้องน้ำที่อยู่คนละชั้นกับห้องน้ำในคดีแรก จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจก็อายัดตัวโอภาสไว้เพื่อดำเนินคดีที่สอง
 
7 กรกฎาคม 2558 อัยการทหารมีคำสั่งฟ้องคดีที่สองของโอภาส ในคำฟ้องระบุว่าการเขียนฝาผนังห้องน้ำห้องที่สอง เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับการเขียนฝาผนังห้องน้ำห้องแรก ข้อความในห้องน้ำคดีที่สองก็มีเนื้อหาคล้ายกับข้อความในห้องน้ำคดีแรก แต่ยาวกว่า และพาดพิงถึงบุคคลหลายคนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดยใช้สมญานามแทนการเอ่ยชื่อบุคคลโดยตรง 
 
16 ตุลาคม 2558 ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาจำคุกโอภาสในคดีที่สองเป็นเวลา 3 ปี ลดเหลือ 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา จากข้อกล่าวหาว่าเขียนฝาผนังห้องน้ำอีกห้องหนึ่ง โดยศาลทหารยังสั่งด้วยว่าให้นับโทษต่อจากคดีแรก 
 
โดยสรุปแล้วโอภาสเขียนฝาผนังห้องน้ำสองห้องในเวลาไล่เลี่ยกัน เขาถูกฟ้องเป็นสองคดี ศาลทหารลงโทษจำคุกตามมาตรา 112 คดีละ 3 ปี และลดโทษกึ่งหนึ่งเนื่องจากจำเลยรับสารภาพเหลือคดีละ 1 ปี 6 เดือน รวมแล้วโอภาสต้องรับโทษจำคุก 2 ปี 12 เดือน 
 
401 เรื่องราว "ใหม่ซ้ำเดิม" ของคดี 112 หลังรัฐประหาร
 
ปิยะ ขอต่อสู้ทั้งสองคดี ยังมองไม่เห็นปลายทาง
 
ปิยะ อายุ 46 ปี อดีตเจ้าหน้าที่ตลาดหลักทรัพย์ ถูกแจ้งความหลังมีผู้พบเห็นภาพถ่ายจากบัญชีเฟซบุ๊กชื่อ “นายพงศธร บันทอน” ซึ่งใช้รูปของปิยะเป็นรูปประจำตัว เผยแพร่ข้อความเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ผู้พบเห็นจึงนำเรื่องไปกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ปิยะถูกจับกุมเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2557 และถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพเรื่อยมาระหว่างการต่อสู้คดี
 
ปิยะให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและต่อสู้คดีว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กและโพสต์ข้อความตามที่ถูกฟ้อง ขณะที่ศาลสั่งให้พิจารณาคดีนี้เป็นการลับ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนล่วงรู้ถึงความลับเกี่ยวกับความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศ เนื่องจากคดีนี้มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน 
 
20 มกราคม 2559 ศาลอาญาพิพากษาจำคุกปิยะ 9 ปี โดยคดีนี้ศาลอาญากำหนดโทษคดีมาตรา 112 สูงเป็นสถิติใหม่ของศาลพลเรือน ศาลเห็นว่าคำให้การของปิยะระหว่างสืบพยาน เป็นประโยชน์ต่อทางพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 6 ปี 
 
หลังศาลพิพากษา ปิยะไม่ต้องการให้คดีถึงที่สุดเพื่อขออภัยโทษหรือขอพักโทษ ปิยะประสงค์จะสู้คดีต่อในชั้นอุทธรณ์ เพราะเขาทราบดีว่าต่อให้เขาได้รับการปล่อยตัวจากคดีแรกเขาก็ยังต้องถูกคุมขังในคดีที่สองต่ออยู่ดี
 
เพราะระหว่างการต่อสู้คดีแรก ปิยะถูกพาตัวไปที่ศาลอาญาและถูกดำเนินคดีมาตรา 112 อีกคดีหนึ่งจากการส่งอีเมล์สองอีเมล์ไปยังธนาคารกรุงเทพ และหน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่ปี 2551 และ 2553 ในคดีที่สอง ปิยะปฏิเสธว่า อีเมล์ที่ส่งออกไม่ใช่อีเมล์ของเขา เขายืนยันที่จะต่อสู้ในเรื่องการพิสูจน์ตัวตนทางคอมพิวเตอร์ว่าเขาไม่เกี่ยวข้องกับอีเมล์เหล่านั้น
 
ปัจจุบันปิยะจึงมีคดีมาตรา 112 อยู่ที่ศาลอาญา 2 คดี คดีแรกอยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ คดีที่สองอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอาญา ศาลอาญาจะนัดสอบคำให้การคดีที่สอง วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559
 
 
'ทอมดันดี' ขึ้นทั้งศาลทหารและศาลพลเรือน
 
ธานัท หรือ ทอม ดันดี อายุ 57 ปี อดีตศิลปินและนักแสดงที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดง ถูกควบคุมตัว 2 ครั้งภายใต้รัฐบาลคสช. ครั้งแรกกรณีไม่รายงานตัวตามประกาศ คสช. เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557 ก่อนได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และหนึ่งเดือนถัดมา ธานัทถูกเจ้าหน้าที่บุกควบคุมตัวอีกครั้งที่บ้านพัก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ก่อนจะถูกแจ้งข้อหามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากคลิปปราศรัยที่มีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ บนยูทูบ ซึ่งอัยการทหารยื่นฟ้องเป็นความผิด 2 กรรม 
 
ธานัท ถูกฝากขังต่อศาลทหารในคดีมาตรา 112 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 ทนายความของเขาให้ข้อมูลว่า คดีนี้มีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายเนื่องจากการกระทำตามข้อกล่าวหา เกิดขึ้นก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 ที่มีประกาศให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร โดยคลิปการปราศรัยของธานัทถูกเผยแพร่คลิปบนยูทูป 2 คลิป คลิปแรกปราศรัยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 ที่เรดการ์ดเรดิโอ คลิปที่สองปราศรัยวันที่ 13 พฤศจิกายน 2556 บริเวณวงเวียนหลักสี่ เขตบางเขน กรุงเทพฯ อัยการทหารมองว่าคดีนี้ต้องขึ้นศาลทหาร เพราะการอัพโหลดคลิปไว้บนอินเทอร์เน็ตถือเป็นความผิดต่อเนื่องตลอดเวลาที่คลิปยังเข้าถึงได้อยู่ และนับเป็นการกระทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันด้วย
 
ธานัทถูกส่งตัวไปควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ธานัทให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยทนายของเขาเปิดเผยด้วยว่า คดีนี้ธานัทจะต่อสู้คดีในข้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เนื่องจาก ธานัท ไม่ได้เป็นผู้อัพโหลดคลิปเสียงขึ้นบนยูทูปด้วยตัวของเขาเอง หากพิสูจน์ได้ว่าเขาเพียงแค่กล่าวปราศรัยเท่านั้นไม่ได้เป็นผู้อัพโหลดคลิปเสียง คดีนี้ย่อมไม่เกี่ยวกับการกระทำบนอินเทอร์เน็ต และต้องพิจารณาที่ศาลพลเรือน 
 
ธานัทยังต่อสู้โดยยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนื่องจากเห็นว่าคดีของเขาไม่ควรถูกฟ้องที่ศาลทหาร ต่อมานายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนให้สัมภาษณ์ว่า กรณีที่ผู้ต้องหาต้องการให้กรรมการสิทธิฯ เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองว่า การเอาพลเรือนขึ้นศาลทหารเป็นการละเมิดสิทธินั้น ปัจจุบันนี้กรรมการสิทธิฯ ไม่มีอำนาจดังกล่าวแล้ว เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2550 ถูกยกเลิก อำนาจในการส่งเรื่องไปยังศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ หรือการฟ้องคดีแทนผู้เสียหายจึงหมดไป 
 
ภรรยาของธานัท ยื่นประกันตัวกว่า 7 ครั้ง แต่ศาลก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัว
 
แต่เเล้วระหว่างต่อสู้อยู่ในชั้นสืบพยานธานัทก็ถูกดำเนินคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ เพิ่มอีกหนึ่งคดี ซึ่งคดีที่ 2 พนักงานอัยการฟ้องธานัทต่อศาลอาญา จากคลิปปราศรัยที่เผยแพร่บนยูทูบในเวลาใกล้เคียงกับคลิปที่เป็นเหตุแห่งคดีแรก ในคดีที่สอง ธานัทให้การปฏิเสธและขอสู้คดีอีกครั้ง การสืบพยานในคดีที่สองของธานัท จะเริ่มขึ้นในวันที่ 26 กรกฎาคม 2559
 
ทั้งที่การกระทำทั้งสองคดีมีลักษณะคล้ายกัน ดังนั้น หากคดีแรกต้องขึ้นศาลทหารคดีที่สองก็ต้องขึ้นศาลทหาร และหากคดีที่สองขึ้นศาลพลเรือนคดีแรกก็ต้องขึ้นศาลพลเรือนเช่นกัน
 
ปัจจุบัน ธานัท หรือ ทอมดันดี จึงมีคดีมาตรา 112 อยู่สองคดี จากการปราศรัยในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่คดีหนึ่งฟ้องที่ศาลทหาร อีกคดีหนึ่งฟ้องที่ศาลอาญา