1421 1737 1839 1890 1640 1313 1788 1171 1685 1517 1935 1147 1911 1655 1189 1028 1513 1676 1443 1942 1440 1007 1644 1445 1022 1733 1608 1815 1679 1398 1643 1480 1192 1507 1722 1720 1703 1389 1906 1677 1797 1886 1289 1923 1169 1837 1748 1968 1473 1575 1924 1355 1021 1975 1579 1856 1060 1780 1441 1317 1023 1423 1471 1711 1866 1137 1581 1417 1237 1530 1042 1192 1126 1452 1674 1177 1924 1468 1992 1339 1465 1647 1970 1648 1456 1023 1563 1602 1187 1256 1824 1559 1034 1142 1206 1884 1959 1718 1595 หอศิลป์...พื้นที่การเมืองของกลุ่มคนรุ่นใหม่ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

หอศิลป์...พื้นที่การเมืองของกลุ่มคนรุ่นใหม่

เดิมทีหากพูดถึงพื้นที่ทางการเมือง ทุกคนต่างมุ่งไปที่หมุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยหรือหมุดคณะราษฎรที่ถูกรื้อถอนออกไปแล้ว แต่หลังการรัฐประหาร 2557 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ(หอศิลป์) กลายเป็นสถานที่ที่ใช้จัดกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เช่นการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารในวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 กิจกรรมเลือกตั้งที่(รัก)ลักในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 การชุมนุมครบรอบหนึ่งปีการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 และการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งครั้งที่หนึ่งในวันที่ 27 มกราคม 2561 เป็นต้น
 
เหตุใดพื้นที่การแสดงออกถึงเริ่มเปลี่ยนผ่านจากสถานที่สำคัญในความทรงจำใครหลายคนมาเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองเช่นนี้ คุยกับสิรินทร์ มุ่งเจริญ "เฟลอ" นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ร่วมกิจกรรม Thai Student Stand with Hong Kong กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ให้กำลังใจผู้ชุมนุมที่ฮ่องกง 4 กันยายน 2562
 
1165
 
“....กลุ่มเราเลือกจัดกิจกรรมที่หน้าหอศิลป์ เพราะเพื่อนๆที่มาจัดส่วนใหญ่เรียนที่จุฬาฯ ที่นี่ก็น่าจะสะดวกที่สุดและน่าจะง่ายกับคนอื่นๆด้วยเพราะมันอยู่ติดกับสถานีรถไฟฟ้า ที่พวกเราไม่จัดกิจกรรมนี้ในมหาลัยก็คงเป็นเพราะทางมหาวิทยาลัยไม่ค่อยสบายใจกับการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ ครั้งหนึ่งเราเคยจัดงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนก็มีผู้ใหญ่มาถามด้วยความเป็นห่วงว่าเป็นงานการเมืองหรือเปล่า เราเลยมองว่าพื้นที่ในมหาวิทยาลัยของเรามันปิดซึ่งอาจจะต่างจากที่ธรรมศาสตร์
 
ในความเข้าใจของเรา พื้นที่ทางการเมืองในกรุงเทพก็น่าจะมีสถานที่อย่างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ชื่อมันก็สื่อความหมายอยู่แล้ว หรือพื้นที่อย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสต์ ท่าพระจันทร์ที่เราเคยไปร่วมกิจกรรมหลายครั้ง หรืออย่างสมัยที่เราโตขึ้นมาแต่ยังไม่ได้สนใจการเมืองจริงจัง สี่แยกราชประสงค์ที่มีคนเสื้อแดงมาชุมนุมก็น่าจะถือเป็นพื้นที่ทางการเมืองอีกแห่งหนึ่ง
 
ถ้าถามว่าในวันนี้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยยังเป็นพื้นที่ทางการเมืองอยู่ไหมก็น่าจะยังเป็นอยู่ แต่ถ้าย้อนกลับไปดูหลายๆครั้งเวลาจะมีการจัดชุมนุมตรงนั้นอนุสาวรีย์ก็มักจะถูกปิด ซึ่งการที่สัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงประชาธิปไตยถูกปิดกั้นไม่ให้คนมาใช้เป็นพื้นที่แสดงออกในเรื่องต่างๆ มันก็น่าจะสะท้อนภาพรวมของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศเราได้เป็นอย่างดี
 
1166
 
นอกจากนั้นคนที่เติบโตและเริ่มมาสนใจการเมืองในยุคหลังๆก็อาจจะไม่ได้ผูกพันหรือรู้เบื้องหลังว่าทำไมอนุสาวรีย์ตรงนั้นถึงถูกเรียกว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พื้นที่การเมืองตรงนั้นเลยอาจจะดูเข้าถึงยาก
 
แต่สำหรับหอศิลป์ เรามองว่ามันเริ่มถูกใช้งานในฐานะพื้นที่จัดกิจกรรมทางการเมืองบ่อยครั้งด้วยหลายเหตุผล เช่น การเดินทางสะดวกเข้ากับวิถีชีวิตของคนยุคนี้ อีกอย่างหอศิลป์ก็เป็นพื้นที่สำหรับแสดงงานศิลปะ ซึ่งการที่เรามาทำกิจกรรมตรงนี้มันก็ถือเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่ง...”
 
1167
Article type: