1760 1730 1321 1484 1300 1765 1476 1549 1462 1422 1442 1713 1311 1427 1260 1604 1567 1942 1007 1314 1742 1011 1979 1548 1833 1761 1383 1481 1723 1045 1117 1003 1983 1573 1370 1297 1966 1329 1870 1384 1848 1977 1619 1925 1364 1324 1620 1167 1273 1593 1627 1755 1199 1537 1962 1771 1065 1040 1204 1024 1936 1051 1678 1158 1959 1594 1641 1178 1433 1909 1636 1204 1427 1384 1209 1200 1759 1701 1471 1387 1610 1015 1329 1089 1910 1157 1677 1246 1606 1736 1040 1962 1188 1235 1522 1088 1603 1381 1299 เปิดข้อมูลครึ่งแรกปี 2561 เฟซบุ๊กบล็อคเนื้อหาในไทย 285 เรื่อง เป็นอันดับ 12 ของโลก | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เปิดข้อมูลครึ่งแรกปี 2561 เฟซบุ๊กบล็อคเนื้อหาในไทย 285 เรื่อง เป็นอันดับ 12 ของโลก



ในรายงานที่เฟซบุ๊กเปิดเผยต่อสาธารณะ ได้แสดงจำนวนเนื้อหาที่ถูกจำกัดการเข้าถึงทั่วโลก โดยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2561 เฟซบุ๊กปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาไป 15,337 เรื่อง เป็นเนื้อหาจากประเทศไทย 285 เรื่อง โดยประเทศที่มีการจำกัดเนื้อหามากที่สุดคือ ปากีสถาน ที่ 2,203 เรื่อง รองลงมาเป็นบราซิล ที่ 1,855 เรื่อง และเยอรมนี ที่ 1,764 เรื่อง ไทยอยู่ที่อันดับที่ 12 จากทั้งหมด 66 ประเทศ

 

สำหรับเนื้อหาที่ถูกจำกัดในประเทศไทยเป็นเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งการปิดกั้นเป็นผลมาจากคำร้องจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) จำนวน 283 เรื่อง ส่วนอีก 2 เรื่องเป็นกรณีหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา

 

การจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาของประเทศไทยในปี 2557, 2559 และ 2560 ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกัน โดยปริมาณการจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 ที่ 283 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนๆ แล้ง เกือบจะเท่ากับจำนวนที่ปิดกั้นทั้งปี 2561 ที่ 364 เรื่อง ข้อสังเกต คือ ในปี 2557 คำร้องส่วนหนึ่งถูกส่งไปยังเฟซบุ๊กโดยกระทรวงต่างประเทศ และศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (Thai Cert) ขณะที่ในปี 2558 รายงานของเฟซบุ๊กไม่ปรากฏว่าได้บล็อคเนื้อหาจากประเทศไทยเลย

 

รายงานของเฟซบุ๊ก ชี้แจงด้วยว่า เฟซบุ๊กจะจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาบางประเภทได้ตามกฎหมายของท้องถิ่น ซึ่งการจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาจะถูกจำกัดเฉพาะในประเทศหรือภูมิภาคที่เนื้อหานั้นเข้าข่ายผิดกฎหมาย หมายความว่า ยังอาจเข้าถึงได้หากใช้งานเฟซบุ๊กจากประเทศอื่นที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้เรื่องนั้นๆ เป็นความผิด

 

สำหรับการจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมายท้องถิ่นแต่ละประเทศนั้นมีประเด็นแตกต่างกัน เช่น ที่ปากีสถาน ในครึ่งแรกของปี 2561 มีการร้องขอจากเจ้าพนักงานการโทรคมนาคมแห่งชาติของปากีสถานที่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางอิเลกทรอนิคส์ให้ลบเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นศาสนาและเนื้อหาการต่อต้านกระบวนการยุติธรรม

 

หรือที่เยอรมนีที่มีการจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาที่ปลุกระดมสร้างความเกลียดชัง เนื้อหาที่เกี่ยวพันกับองค์กรหัวรุนแรงผิดกฎหมายและการละเมิดกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเยาวชน รวมถึงจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิเสธการเกิดขึ้นของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (holocause denial) ตามคำสั่งศาลเยอรมนี และ เนื้อหาหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา นอกจากนี้ยังจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาจำนวน 170 เรื่องเพื่อปฏิบัติตาม The Network Enforcement Act (NetzDG) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า Facebook Act ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อต่อสู้กับการยุยงปลุกปั่น (agitation) และข่าวปลอมบนโซเชียลมีเดีย
 

 

//////////////////////////////////////////////////////
อ่านเพิ่มเติมรายงานเพื่อความโปร่งใสของเฟซบุ๊ก

Article type: