1105 1514 1941 1377 1217 1775 1570 1637 1024 1199 1188 1512 1495 1594 1490 1966 1413 1383 1109 1753 1962 1032 1489 1948 1214 1327 1900 1104 1221 1690 1415 1307 1135 1182 1450 1571 1462 1944 1272 1465 1038 1891 1631 1333 1693 1564 1679 1936 1560 1057 1052 1422 1232 1465 1256 1992 1722 1234 1877 1205 1591 1677 1639 1082 1730 1210 1770 1297 1998 1507 1693 1549 1381 1767 1350 1828 1740 1210 1117 1578 1433 1630 1420 1204 1689 1671 1210 1796 1002 1850 1534 1294 1182 1653 1797 1146 1018 1432 1703 สถานการณ์ปี 2559 1/5: ความเงียบที่เกิดจากความชินชา หลังตกอยู่ใต้อำนาจทหารนานกว่าสองปีโดยไม่สิ้นสุด | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สถานการณ์ปี 2559 1/5: ความเงียบที่เกิดจากความชินชา หลังตกอยู่ใต้อำนาจทหารนานกว่าสองปีโดยไม่สิ้นสุด

หมดจิตหมดใจจะใฝ่ฝัน
 
การสร้างสรรค์ย่อมสิ้นแผ่นดินหมอง
 
กลัวน้ำตาไหลหลั่งดั่งน้ำนอง
 
ก็จะต้องเห็นแก่ตัวชั่วนิรันดร์
 
ท่อนเปิดหัวกวีบทเก่าจาก ยังดี วจีจันทร์ ดูจะบ่งชี้สถานการณ์ความเงียบของกิจกรรมเคลื่อนไหวด้านการเมืองและสิทธิมนุษยชนไทยในรอบปี 2559 ได้เป็นอย่างดี 34 ครั้ง คือตัวเลขกิจกรรมที่ถูกปิดกั้นในปี 2559 ขณะเดียวกันย้อนไปในปี 2558 มีจำนวน 68 ครั้ง  และในปี 2557 จำนวน 42 ครั้ง จำนวนตัวเลขที่ลดลงกว่าเท่าตัว ของปี 2559 เมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนว่าปีนี้มีความพยายามจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองน้อยลง ก่อนรายงานนี้จะเผยแพร่ เราได้พูดคุยกับวรวุฒิ บุตรมาตร นักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ เพื่อสะท้อนภาพใหญ่ของปีที่เงียบงันของกิจกรรมทางการเมืองและสังคมความชาชินของผู้คน กลไกและท่าทีภาครัฐ และการถูกดำเนินคดีพ่วงชนักติดหลัง ดูจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ถูกยกขึ้นมาสนับสนุน ถึงความเงียบที่เกิดขึ้น
 
กลไกรัฐและท่าทีเจ้าหน้าที่
วรวุฒิ เล่าว่า บรรยากาศรายรอบและความรู้สึกมันเริ่มล้า พอรู้สึกได้ว่าสังคมไม่แยแส ต่อปรากฎการณ์การใช้อำนาจของคสช.ที่ตรวจสอบยาก ประกอบกับช่วงหลังจากกลางปี เกิดเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คนในแวดวงนักกิจกรรมเลยต้องระมัดระวังมากขึ้น ทุกคนต่างลดบทบาท และคิดกันว่า ถ้าทำอะไรพลาดไป อาจจะส่งผลเสียต่อพวกเขา เปรียบเทียบท่าทีของเจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตำรวจในช่วงสามปีหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ช่วงต้นของการรัฐประหารเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจอย่างเข้มข้น เพราะต้องการควบคุมสถานการณ์ให้เรียบร้อยที่สุด พอเข้าปี 2558 คสช.เริ่มจัดโครงสร้างและระเบียบทางการเมืองได้แล้ว จึงเริ่มปล่อยให้มีการจัดกิจกรรมมากขึ้น และเข้าปี 2559 ก็ค่อนข้างผ่อนคลายมากขึ้น ถ้าไม่ใช่ประเด็นที่ท้าทายคสช.หรือประเด็นที่แหลมคม อย่างแคมเปญคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ มีข้อสังเกตว่า กิจกรรมอย่าง Walk for Rights เดินเพื่อสิทธิชีวิตฅนอีสาน ถ้าจัดในปี 2557- 2558ก็มีความเชื่อกันว่าแม้แต่ก้าวแรกก็อาจไม่ได้เดิน แต่การจัดในปีนี้เจ้าหน้าที่ใช้วิธีกดดันและบีบโดยสั่งเร่งให้รีบเดิน และห้ามอยู่ในพื้นที่นาน ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐจะกลัวว่าเป็นการจุดประเด็นทางการเมือง นักกิจกรรมจากกลุ่มประชาธิปไตยใหม่มองว่า จากบรรยากาศตอนนี้ ถึงจุดประเด็นแล้วก็จะอย่างไรต่อได้? เหมือนว่าแต่ละภาคส่วนตอนนี้เตรียมเข้าสู่การเลือกตั้งแล้ว และยังหาช่องทางของตัวเองอยู่ ยิ่งกับกลุ่มกิจกรรมการเมือง ซึ่งพวกเขาเองก็ยังไม่มีทิศทางชัดเจนว่าจะทำอะไร หลังประชามติผ่าน จึงเหลือกิจกรรมไม่กี่อย่าง เช่น เรื่องผลพวงรัฐธรรมนูญ ตามแก้ไขปัญหาอำนาจจากคสช.
และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจดังกล่าว
 
575
 
กิจกรรม Walk for Rights ที่แม้จัดได้แต่ก็มีเจ้าหน้าที่คอยติดตามอย่างใกล้ชิด ภาพจาก Prachatai
 
การมีชนักติดหลังเพราะถูกดำเนินคดี
หลังถูกดำเนินคดี นักกิจกรรมต่างได้พิสูจน์แล้วว่า พวกเขาจะจัดการและประเมินเรื่องภัยอันตราย และต้นทุนค่าเสียโอกาสต่อตัวเองอย่างไร แต่ก็มีบางส่วนที่เลิกออกมาเคลื่อนไหวจริงๆจังๆ นักกิจกรรมอีกคนหนึ่งยกตัวอย่างอย่างกรณีที่ขอนแก่น กลุ่มดาวดินหลายคนที่โดนจับกุมจากการชุมนุมครบรอบ 1 ปีรัฐประหารเมื่อปี 2558 มาถึงปีนี้หลายคนบทบาทหายไปเลย กลับไปเรียน กลับไปทำงาน คิดว่าเขาคงชั่งน้ำหนักในเรื่องนี้ไว้แล้ว ว่าอันไหนมันส่งผลดีต่อตัวเขา ยิ่งกับโดนคดีที่มีโทษหนักๆ พวกเขาจะออกไปใช้ชีวิต อย่างคนปกติธรรมดาได้ยากลำบากมาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เป็นหลักใหญ่ใจความมีผลต่อการทำกิจกรรมปีนี้แน่นอน โดยเฉพาะการรณรงค์ของฝ่ายไม่เห็นด้วย มันรู้สึกหมดจิตหมดใจจะใฝ่ฝัน อนันต์ นักกิจกรรมจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงกล่าว บางรายขอกลับไปเรียนต่อ พวกเขายอมรับว่า สิ่งที่ทำคืองานที่จะเปลี่ยนความคิดคน ซึ่งในความเป็นจริงก็เปลี่ยนได้ แต่เปลี่ยนได้ไม่มากพอ ขนาดหวังจะทำให้ชนะได้ ยิ่งโดยแคมเปญโหวตโนประชามติในปีนี้ ที่ต่างทุ่มหมดหน้าตัก ทำให้หลายคนที่ทำกิจกรรมหายไปเหมือนกัน ด้วยความท้อแท้ เหนื่อยหน่าย
หรือกระทั่งเขาเห็นว่าให้เวลากับงานเหล่านี้มากเกินพอแล้ว จึงอยากกลับไปสู่หนทางชีวิต ที่สังเกตเห็นในปีนี้รัฐไทยเรียนรู้การจัดการการชุมนุมและกิจกรรมทางการเมืองได้ดีขึ้น
มีทั้งมาตรการทางกฎหมายและจิตวิทยา เรากำลังเดินทางเข้าสู่ปีที่สี่ของ คสช. อย่างมาดมั่น คนไทยด้านชาต่อความเจ็บปวดทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมทุกอย่าง วรวุฒิตัวแทนนักกิจกรรมทิ้งท้าย
Report type: