1801 1836 1587 1737 1114 1132 1505 1031 1948 1501 1304 1479 1145 1185 1648 1046 1603 1788 1134 1222 1359 1675 1972 1539 1667 1402 1262 1174 1021 1370 1415 1118 1298 1209 1432 1681 1787 1655 1061 1677 1234 1698 1962 1906 1232 1653 1691 1666 1677 1421 1305 1900 1457 1850 1749 1246 1605 1480 1818 1549 1660 1698 1973 1339 1237 1759 1862 1635 1213 1839 1010 1945 1029 1181 1810 1898 1933 1820 1959 1555 1920 1738 1973 1101 1857 1146 1024 1482 1515 1902 1394 1794 1395 1232 1773 1549 1100 1474 1659 พิพากษาคดี 112 นัฏฐพล จำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา กรณีคอมเมนต์เกี่ยวกับการป่วย ร.10 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

พิพากษาคดี 112 นัฏฐพล จำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา กรณีคอมเมนต์เกี่ยวกับการป่วย ร.10

11 มกราคม 2567 ศาลอาญานัด นัฏฐพล ซึ่งถูกกล่าวหาว่าทำความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และความผิดฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) สืบเนื่องการเขียนคอมเมนต์ท้ายโพสต์เฟซบุ๊กของ Somsak Jeamteerasakul ที่เผยแพร่ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เกี่ยวกับข่าวลือเกี่ยวกับอาการพระประชวรของรัชกาลที่ 10 คดีนี้นัฏฐพลให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนและแต่มาเปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพภายหลังในชั้นศาล ศาลจึงสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะประวัติของนัฏฐพลเพื่อนำมาประกอบการทำคำพิพากษา โดยศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกนัฏฐพลเป็นเวลาสามปี ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 แต่เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก หนึ่งปีหกเดือน โดยไม่รอการลงโทษจำคุก
 
3037
บรรยากาศระหว่างนัดอ่านคำพิพากษา นัฏฐพลและแม่มาถึงที่ห้องพิจารณาคดี 913 ศาลอาญา ตั้งแต่ก่อนเวลา 09.00 น. ในห้องพิจารณาคดีมี ลุงดอน นักกิจกรรมที่มักติดตามไปสังเกตการณ์ การพิจารณาคดีมาตรา 112 ตามศาลต่างๆ มารอฟังคำพิพากษาในห้องพิจารณาคดีด้วย ศาลขึ้นบัลลังก์ในเวลา 09.15 น. หลังศาลขึ้นบัลลังก์ผู้พิพากษาที่น่าจะอาวุโสที่สุดในองค์คณะได้กล่าวกับนัฏฐพลว่า คดีนี้เขาถูกฟ้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งเขาให้การรับสารภาพ และศาลได้มีคำสั่งให้สืบเสาะประวัติของนัฏฐพลแล้ว จากนั้นจึงให้ผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งเป็นผู้อ่านคำพิพากษา โดยศาลอ่านเฉพาะในส่วนของการกำหนดโทษเท่านั้น ไม่ได้อ่านบรรยายฟ้องและไม่ได้อ่านรายงานการสืบเสาะ หลังอ่านคำพิพากษาลงโทษจำคุกนัฏฐพลเป็นเวลาสามปีและลดโทษจำคุกให้กึ่งหนึ่งเพราะคำรับสารภาพ เหลือจำคุกหนึ่งปี หกเดือน ผู้พิพากษาอาวุโสกล่าวกับนัฏฐพลอีกครั้งว่า คดีนี้ศาลไม่ได้รอการลงโทษจำคุกให้ แต่คดียังไม่ถึงที่สุด จำเลยยังมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน การอ่านคำพิพากษาในนัดนี้ใช้เวลาสั้นๆ ประมาณไม่เกิน 30 นาที หลังศาลอ่านคำพิพากษา อาสาสมัครของกองทุนราษฎรประสงค์ได้รีบออกจากห้องพิจารณาคดีเพื่อไปดำเนินเรื่องขอปล่อยตัวชั่วคราวให้นัฏฐพลระหว่างต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ โดยจะวางหลักทรัพย์ 100,000 บาทเป็นหลักประกัน

ในเวลา 15.14 น. อาสาสมัครกองทุนราษฎรประสงค์แจ้งว่า ศาลอาญาอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนัฏฐพลระหว่างอุทธรณ์คดีแล้วด้วยวงเงิน 100,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไข ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ 

นัฏฐพลจำเลยคดีนี้ถูกออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหาที่กองบังคับการปราบปรามความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในวันที่ 15 กันยายน 2564 เบื้องต้นเขาให้การปฏิเสธและได้รับการปล่อยตัวในชั้นสอบสวนโดยไม่ต้องวางหลักประกัน อัยการฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาในวันที่ 4 กันยายน 2566 โดยอัยการบรรยายฟ้องทำนองว่า การกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการสาปแช่งรัชกาลที่ 10 เป็นการจองเวร อาฆาต เข้าข่ายเป็นการดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ทําให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจผิดต่อรัชกาลที่ 10 และสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ จนอาจนํามาซึ่งความเกลียดชังหรือความแตกแยกในสังคม หลังอัยการฟ้องคดี นัฏฐพลได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นศาลชั้นต้นด้วยหลักทรัพย์ 90,000 บาทของกองทุนราษฎรประสงค์ 
 
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคดีนี้ได้ทางเว็บไซต์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
Article type: