1585 1768 1629 1127 1712 1322 1307 1147 1455 1049 1254 1889 1984 1817 1412 1371 1909 1405 1983 1386 1952 1064 1923 1661 1424 1350 1274 1005 1386 1303 1848 1796 1814 1293 1733 1489 1387 1943 1765 1689 1313 1867 1276 1846 1695 1461 1824 1298 1457 1432 1271 1874 1475 1968 1420 1428 1695 1321 1167 1634 1317 1405 1350 1777 1294 1997 1130 1223 1688 1845 1848 1842 1568 1513 1330 1598 1240 1788 1706 1398 1774 1566 1265 1508 1981 1060 1625 1370 1064 1929 1029 1042 1529 1862 1394 1234 1654 1071 1590 ศาลจังหวัดนนทบุรี ให้จำคุก 3 ปี ตามมาตรา 112 โดยไม่ลดโทษและไม่รอลงอาญา เหตุ “โชติช่วง" เผาพระบรมฉายาลักษณ์ ร.10 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลจังหวัดนนทบุรี ให้จำคุก 3 ปี ตามมาตรา 112 โดยไม่ลดโทษและไม่รอลงอาญา เหตุ “โชติช่วง" เผาพระบรมฉายาลักษณ์ ร.10

ศาลจังหวัดนนทบุรี ให้จำคุก 3 ปี ตามมาตรา 112 โดยไม่ลดโทษและไม่รอลงอาญา เหตุ “โชติช่วง" เผาพระบรมฉายาลักษณ์ ร.10 โดยศาลระบุว่า พระบรมฉายาลักษณ์เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์กษัตริย์สำหรับให้ประชาชนเคารพสักการะ และเชื่อว่าจำเลยมีเจตนาทางการเมือง เผาให้ประชาชนเห็น
 
30 พฤศจิกายน 2566 ศาลจังหวัดนนทบุรีอ่านคำพิพากษาในคดีของ “โชติช่วง” (นามสมมติ) ซึ่งถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 จากการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ที่ตั้งอยู่ที่สวนหย่อมแห่งหนึ่งใน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564
 
โดยคดีนี้ตำรวจมีภาพจากกล้องวงจรปิดมาพิสูจน์การกระทำของจำเลย และฝ่ายจำเลยก็ยอมรับว่า เป็นผู้เผาจริง แต่ทำไปด้วยอาการมึนเมา ไม่ได้มีเจตนาทางการเมือง และรับสารภาพว่ากระทำความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ และทำให้เสียทรัพย์ แต่ต่อสู้ว่าการกระทำที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ เพราะจำเลยไม่มีเจตนาเช่นนั้น ประเด็นในคดีนี้จึงมีเพียงว่า การเผาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 112 ด้วยหรือไม่ และศาลจะกำหนดโทษต่อจำเลยอย่างไร
 
ระหว่างการพิจารณาคดีที่ศาล จำเลยโดยความช่วยเหลือของครอบครัวได้นำเงินจำนวน 99,000 บาท วางต่อศาลเพื่อแสดงความรับผิดชอบและชดเชยความเสียหายต่อทรัพย์สิน และองค์การบริหารส่วนตำบลปลายบางเจ้าของผู้ติดตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าว ได้มาขอรับค่าเสียหายไปเต็มจำนวนแล้ว
 
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า พยานโจทก์ทุกปากเบิกความตรงกันว่าในขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ ประดิษฐานไว้ให้ประชาชนเคารพสักการะ แสดงความจงรักภักดี พระบรมฉายาลักษณ์ที่เกิดเหตุตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าซึ่งมีประชาชนผ่านไปมาจำนวนมาก แสดงว่าการเผาต้องการให้ประชาชนที่ผ่านไปมาพบเห็น
 
พระบรมฉายาลักษณ์สูง 4.5 เมตร รอยไหม้ของพระบรมฉายาลักษณ์อยู่ด้านบน แสดงว่าจำเลยต้องใช้ความพยายามปีนโครงเหล็กขึ้นไปด้านบนเพื่อวางเพลิงเผาทรัพย์ และให้ประชาชนเห็นได้ ในโทรศัพท์มือถือของจำเลยที่ยึดมาตรวจพบภาพถ่ายเกี่ยวกับากรชุมนุมทางการเมือง จึงเชื่อว่าจำเลยมีแนวคิดต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ มีเจตนาวางเพลิงเผาทรัพย์ทำให้สถาบันพระมหากษัติย์เกิดความเสื่อมเสีย พยานโจทก์ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยมีน้ำหนักรับฟังได้
 
พิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112, ฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ ตามมาตรา 217 และฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา 358 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด คือ มาตรา 112 ให้จำคุกสามปี และให้ริบขวดเครื่องดื่มชูกำลังที่ใช้ก่อเหตุ โดยไม่รอการลงโทษ
 
เมื่ออ่านคำพิพากษาเสร็จ ผู้พิพากษาซึ่งทำหน้าที่ระหว่างการสืบพยานและอ่านคำพิพากษาได้กล่าวต่อจำเลยว่า ขั้นตอนต่อไปคือจำเลยต้องยื่นอุทธรณ์และขอประกันตัวเพื่อสู้คดีต่อในชั้นอุทธรณ์ หลังจากนั้นตำรวจที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยก็ใส่กุญแจมือและควบคุมตัวจำเลยไปคุมขังต่อทันที โดยมีนายประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ยื่นขอประกันตัวต่อทันที
 
ในการพิจารณาคดีนี้ฝ่ายพนักงานอัยการโจทก์เขียนไว้ในคำฟ้องไว้ว่า “เพื่อประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน” จึงขอให้ศาลพิจารณาคดีเป็นการลับ ซึ่งทนายความจำเลยแถลงคัดค้าน เนื่องจากคดีนี้จำเลยรับว่าเป็นผู้กระทำแล้ว การต่อสู้คดีไม่ได้มีการกล่าวถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์และไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใด แต่ศาลก็สั่งให้พิจารณาเป็นการลับตลอดกระบวนการ และไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าฟังการสืบพยานทั้งหมด ส่วนในวันอ่านคำพิพากษาผู้สังเกตการณ์คดีเข้าฟังได้
 
ดูรายละเอียดคดีนี้ย้อนหลังได้ทางฐานข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 
Article type:
Tags: