1424 1813 1979 1709 1286 1571 1020 1734 1040 1503 1502 1884 1581 1046 1300 1983 1867 1082 1210 1344 1978 1962 1409 1013 1503 1195 1619 1287 1495 1962 1561 1519 1740 1273 1393 1447 1531 1368 1104 1390 1897 1613 1665 1715 1233 1955 1620 1223 1075 1309 1113 1838 1165 1585 1587 1878 1560 2000 1391 1384 1389 1420 1813 1368 1139 1355 1434 1898 1399 1870 1457 1469 1239 1243 1182 1256 1967 1581 1318 1667 1626 1710 1215 1660 1089 1601 1278 1565 1538 1149 1435 1292 1080 1180 1821 1856 1870 1507 1172 112 in numbers: รวมตัวเลขเกี่ยวกับมาตรา 112 ที่มีคำพิพากษาแล้ว | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

112 in numbers: รวมตัวเลขเกี่ยวกับมาตรา 112 ที่มีคำพิพากษาแล้ว

 
 
จนถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า มีผู้ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 จำนวน 258 คนใน 280 คดี  ระหว่างนี้หลายคดีขึ้นสู่ชั้นพิจารณาและถึงที่สุดแล้ว ชวนทุกคนย้อนดูตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 ที่มีคำพิพากษาแล้ว
 
2943
 
  • 366 คือ จำนวนปีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยมาตรา 112 จำคุกก่อนการพิจารณาลดโทษ เลขนี้คำนวณมาจากอัตราโทษที่ศาลวาง 363 ปี 32 เดือนหรือ 365.66 ปี จากข้อกล่าวหาจำนวน 129 กรรมหรือการกระทำ เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 2.83 ปีต่อหนึ่งกรรม
  • 225 คือ จำนวนปีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยมาตรา 112 จำคุกหลังการพิจารณาลดโทษ เลขนี้คำนวณมาจากอัตราโทษที่ศาลลดโทษคือ 195 ปี 356 เดือนหรือ 224.66 ปี จากข้อกล่าวหาจำนวน 129 กรรมหรือการกระทำ เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 1.74 ปีต่อหนึ่งกรรม (จำนวนโทษที่นำมาคำนวณจะตัดโทษฝึกอบรมของเยาวชนออก)
  • 90 คือ จำนวนผู้ถูกกล่าวหาคดีตามมาตรา 112 ที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วจากทั้งหมด 258 คน หากคิดเป็นคดีคือ 92 คดีจากทั้งหมด 280 คดี โดยเหลือคดีมาตรา 112 ที่ยังอยู่ในชั้นพิจารณาจำนวน 188 คดี  คดีที่มีคำพิพากษาส่วนใหญ่เป็นคดีของประชาชนทั่วไป คดีมาตรา 112 ของแกนนำหลักราษฎรที่มีคำพิพากษาแล้ว เช่น อานนท์ นำภา จากการปราศรัยในการชุมนุมเมื่อวันที่ 14-15 ตุลาคม 2563 โดยวันที่ 26 กันยายน 2566 ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 4 ปี โทษจำคุกไม่รอการลงโทษและไม่ให้ประกันตัวระหว่างการอุทธรณ์ ทั้งนี้อานนท์ยังเหลือคดีมาตรา 112 อีก 13 คดีที่ยังไม่มีคำพิพากษา
  • 71 คือ จำนวนคดีที่ศาลมีคำพิพากษาว่า มีความผิดตามมาตรา 112 จากจำนวนทั้งหมด 92 คดี โดย 31 จาก 71 คดีเป็นคดีที่จำเลยตัดสินใจสู้คดีในชั้นศาล ส่วนอีก 40 คดีเป็นคดีที่จำเลยตัดสินใจให้การรับสารภาพ การยกฟ้องใน 21 คดีมีเหตุผล เช่น คดีของทิวากร วิถีตน ศาลจังหวัดขอนแก่นพิพากษายกฟ้องระบุว่า ข้อความของจำเลยไม่ได้ระบุให้รู้ได้โดยแน่นอนว่าเป็นองค์พระมหากษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ ขึ้นกับการตีความของบุคคล และสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ใช่องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 และคดีของ  “สมพล” ปาสีใส่พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และพระราชินีรวม 3 คดี สมพลสู้คดีใน 2 ศาลคือ ศาลจังหวัดปทุมธานีและศาลจังหวัดธัญบุรี ทั้งสามคดีศาลมีคำสั่งยกฟ้องมาตรา 112 แต่ลงโทษตามความผิดฐานอื่นๆ แทน ศาลธัญบุรีอธิบายว่า การปาสีไม่ได้ความว่าจำเลยได้พูด เขียน หรือแสดงอากัปกิริยาใดๆ ที่ทำให้เห็นว่าจำเลยเจตนาดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112
  • 42 คือ จำนวนปีที่มากที่สุดที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำคุกต่อหนึ่งคดีคือ คดีของบาส-มงคล ถิระโคตร ศาลจังหวัดเชียงรายพิพากษาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวน 14 กรรม ลงโทษจำคุกกรรมละ 3 ปี รวม 42 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้เหลือกรรมละ 2 ปี รวมโทษจำคุก 28 ปี โดยบาสยังมีคดี 112 อีกหนึ่งคดีจากการโพสต์เฟซบุ๊ก 2 ข้อความ โดยศาลจังหวัดเชียงรายนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 30 ตุลาคม 2566
  • 9 คือ จำนวนจำเลยคดีมาตรา 112 ที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วคดียังไม่ถึงที่สุด แต่ศาลไม่ให้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษา ได้แก่ จำเลยที่ไม่ให้ประกันตัวระหว่างการอุทธรณ์: เวหา แสนชนชนะศึก, ทีปกร, วารุณี, วัฒน์, เก็ท-โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง, อานนท์ นำภา และวีรภาพ วงษ์สมาน และจำเลยที่ศาลไม่ให้ประกันตัวระหว่างการฎีกา : อุดม และสมบัติ ทองย้อย นอกจากนี้ยังมีอีก 3 คนที่คดีถึงที่สุดแล้วอยู่ระหว่างจำคุกในเรือนจำได้แก่ อัญชัญ, พลทหารเมธิน และปริทัศน์
  • 5 คือ จำนวนปีที่มากที่สุดที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำคุกต่อหนึ่งกรรม ได้แก่ คดีของพลทหารเมธินกล่าวพาดพิงกษัตริย์ระหว่างเถียงกับคู่กรณีที่ขับรถเฉี่ยวชน คดีนี้พิจารณาและตัดสินโดยศาลทหารกรุงเทพ คดีของวุฒิภัทรคอมเมนท์เกี่ยวกับการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 คดีนี้พิจารณาโดยศาลจังหวัดสมุทรปราการ คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องมาตรา 112 แต่ลงโทษตามพ.ร.บ.คอมฯ แทนเนื่องจากมาตรา 112 คุ้มครองเฉพาะกษัตริย์ที่ครองราชย์อยู่ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ลงโทษตามมาตรา 112 ระบุว่า การดูหมิ่นอดีตกษัตริย์ย่อมกระทบกษัตริย์ที่ครองราชย์ในปัจจุบันด้วย วางโทษจำคุก 5 ปีและลดเหลือ 3 ปี 4 เดือน และคดีของพิทักษ์พงษ์จากการโพสต์ถึงพระราชจริยวัตรของกษัตริย์ คดีนี้พิจารณาในศาลอาญา คำพิพากษาศาลชั้นต้นระบุว่า เขามีความผิดตามมาตรา 112 จำคุก 5 ปี เนื่องจากรับสารภาพจึงลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี 6 เดือน
  • 3 คือ จำนวนคนที่ศาลให้รอการกำหนดโทษไว้ 2 ปีได้แก่ คดีของ “โจ” แชร์โพสต์จากเพจเยาวชนปลดแอก ชลสิทธิ์แชร์สตอรี่เฟซบุ๊กภาพคล้ายรัชกาลที่ 10 และ “เซ็นเตอร์” โพสต์ข้อความกรณีการสลายการชุมนุมในเดือนตุลาคม 2563 ในจำนวนนี้มีสองคดีที่คดีถึงที่สุดแล้วคือ คดีของ “โจ” และ “ชลสิทธิ์”
Article type: