1392 1866 1497 1880 1116 1420 1127 1849 1199 1968 1880 1074 1344 1762 1240 1791 1098 1841 1851 1739 1908 1156 1563 1652 1854 1422 1496 1148 1250 1936 1235 1124 1382 1930 1686 1201 1827 1628 1363 1152 1899 1951 1070 1235 1009 1811 1897 1580 1900 1512 1178 1178 1070 1395 1086 1650 1122 1379 1699 1513 1785 1955 1259 1960 1043 1745 1184 1226 1730 1688 1169 1800 1938 1484 1794 1345 1321 1259 1833 1740 1691 1098 1407 1130 1947 1953 1155 1408 1932 1728 1890 1303 1372 1792 1782 1081 1015 1349 1504 ม.112 ใต้สุดแดนสยาม เมื่อ "นักแจ้งความ" 1 คน ทำให้หลายคนต้องเดินทางไกลกว่า 1,200 กิโล | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ม.112 ใต้สุดแดนสยาม เมื่อ "นักแจ้งความ" 1 คน ทำให้หลายคนต้องเดินทางไกลกว่า 1,200 กิโล

 

 

วันที่ 2 สิงหาคม 2565 ศาลจังหวัดนราธิวาสอ่านคำพิพากษาคดีมาตรา 112 คดีแรกของปีนี้ ให้ลงโทษจำคุก ‘กัลยา’ เป็นเวลา 6 ปี ไม่ลดโทษ ไม่รอลงอาญา แต่ให้ประกันตัวทันทีหลังอ่านคำพิพากษาเสร็จไม่นาน 
 
"เมื่ออ่านข้อความดังกล่าวซึ่งแวดล้อมไปด้วยบริบทกระแสข่าวทางการเมืองแล้ว ... ข้อความของจำเลยดังกล่าวเป็นการระบุถึงตัวบุคคล โดยไม่ต้องตีความ และเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงแล้ว ไม่ว่าข้อเท็จจริงนั้นจะเป็นความจริงหรือเท็จก็ตาม ที่จำเลยต่อสู้ว่า มิได้ระบุถึงตัวบุคคลและต้องอาศัยการตีความ มิใช่การยืนยันข้อเท็จจริง จึงฟังไม่ขึ้น" ส่วนหนึ่งของคำพิพากษาระบุไว้ 
 
ในคดีนี้ ‘กัลยา’ ซึ่งเป็นชาวจังหวัดนนทบุรีต้องการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อไป นอกจากเธอต้องเดินทางไกลเพื่อมาต่อสู้คดีนี้ของเธอที่จังหวัดนราธิวาสแล้ว หากศาลอุทธรณ์ยังพิพากาษาให้เธอต้องจำคุก เธอก็จะต้องเข้าเรือนจำที่นราธิวาสด้วย
 
 
 
2560
 
 
เนื่องจากข้อหาฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นความผิดในหมวด "ความมั่นคงของรัฐ" ซึ่งประชาชนคนใดก็ตามที่พบเห็นการกระทำความผิด สามารถริเริ่มคดีได้โดยการไปแจ้งความ หรือการ "กล่าวโทษ" ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใดก็ได้ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบเห็นการกระทำความผิด และเนื่องจากคดีมาตรา 112 ส่วนมากในระลอกนี้เป็นคดีจากการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ คนส่วนใหญ่ที่พบเห็นข้อความก็จะไปกล่าวโทษต่อตำรวจยังสถานที่ที่ตัวเองสะดวก และตำรวจในพื้นที่นั้นก็ต้องเริ่มกระบวนการดำเนินคดีเหมือนเป็นความผิดในพื้นที่รับผิดชอบของตัวเอง ส่วนผู้ต้องหาหรือจำเลย ไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใดก็ต้องเดินทางเพื่อไปรับทราบข้อกล่าวหาและต่อสู้คดีในพื้นที่ที่มีคนไปริเริ่มแจ้งความ
 
กรณีนี้อาจจะเป็น "ช่องว่าง" ที่นานๆ อาจจะมีคดีความทางไกลเกิดขึ้นบ้างทำให้เป็นภาระแก่จำเลยในการต่อสู้คดี แต่ในความเป็นจริงคดีความทางไกลไม่ได้ "บังเอิญ" เกิดขึ้นเล็กๆ น้อยๆ แต่เกิดขึ้นมากมายอย่างเป็นระบบ โดยมีกลุ่มบุคคลที่ "จงใจ" ใช้ช่องทางตามกฎหมายในประเด็นนี้เพื่อ "กลั่นแกล้ง" ให้ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองต้องเดินทางไกลเพื่อไปต่อสู้คดีความ 
 
สำหรับที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่สุดเขตชายแดนใต้ของไทย ระยะทางจากกรุงเทพไกลกว่า 1,200 กิโลเมตร มีนักแจ้งความอยู่คนหนึ่ง ชื่อ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน ขณะที่เริ่มทยอยแจ้งความเขาอายุ 39 ปี เขาบอกกับศาลว่า มีอาชีพเป็นครูสอนภาษาอังกฤษและมีที่อยู่ที่อำเภอสุไกงโก-ลก พสิษฐ์เคลื่อนไหวในนามเครือข่ายประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (คปส.) เขาจัดทำเอกสารประกอบการแจ้งความด้วยตัวเอง โดยเขียนคำร้องทุกข์กล่าวโทษในนาม คปส. อ้างว่า เขาเปิดใช้งานเฟซบุ๊ก เข้าถึงโลกออนไลน์ที่อำเภอสุไกงโก-ลก จึงริเริ่มกล่าวโทษให้ดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรเมืองสุไกงโก-ลก ครั้งหนึ่งตำรวจที่นั่นเคยบอกกับทนายความว่า พสิษฐ์มากล่าวโทษคดีมาตรา 112 ทำนองเดียวกันไว้มากกว่า 20 คดี
 
 
 
ในปี 2565 มีคดีความมาตรา 112 จากสภ.สุไหง-โกลก ที่ริเริ่มโดยพสิษฐ์ จันทร์หัวโทน และจำเลยต้องเดินทางมาขึ้นพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดนราธิวาส อย่างน้อย 6 คดี ดังนี้
 
คดีที่หนึ่ง จำเลยใช้นามสมมติว่า ‘กัลยา’ อายุ 27 ปี เป็นชาวจังหวัดนนทบุรี ทำงานในหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง ถูกกล่าวหาว่า แชร์โพสต์และคอมเม้นต์บนเฟซบุ๊กรวม 2 กรรม "กัลยา" ต้องเดินทางไปต่อสู้คดีที่นราธิวาส โดยเธอให้การปฏิเสธและต่อสู้คดีว่า เธอไม่ได้โพสข้อความเหล่านั้น แต่คดีนี้เกิดจากการกลั่นแกล้งใส่ร้ายผู้เห็นต่างทางการเมือง ซึ่งศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 6 ปี
 
คดีที่สอง จำเลยชื่อภัคภิญญา อายุ 31 ปี เป็นชาวกรุงเทพมหานคร ทำงานเป็นบรรณารักษ์ในห้องสมุดโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ถูกกล่าวหาว่า แชร์โพสต์บนเฟซบุ๊กพร้อมข้อความประกอบรวม 6 ข้อความ ภัคภิญญา ต้องเดินทางไปต่อสู้คดีที่นราธิวาส โดยเธอให้การปฏิเสธและต่อสู้คดีว่า เธอไม่ได้โพสต์ข้อความเหล่านั้น แต่คดีนี้เกิดจากการกลั่นแกล้งใส่ร้ายผู้เห็นต่างทางการเมือง ซึ่งศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 19 ตุลาคม 2565
 
คดีที่สาม จำเลยใช้นามสมมติว่า ‘วารี’ อายุ 23 ปี เป็นชาวจังหวัดสมุทรปราการ ทำงานให้กับบริษัทเอกชน ถูกกล่าวหาว่า โพสต์ภาพการ์ตูนเสียดสีในช่องคอมเม้นต์ของเฟซบุ๊ก "วารี" ต้องเดินทางไปต่อสู้คดีที่นราธิวาส โดยเธอให้การปฏิเสธและต่อสู้คดีว่า เธอไม่ได้โพสต์ข้อความเหล่านั้น แต่คดีนี้เกิดจากการกลั่นแกล้งใส่ร้ายผู้เห็นต่างทางการเมือง ซึ่งศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 6 ตุลาคม 2565
 
คดีที่สี่ จำเลยใช้นามสมมติว่า ‘ชัยชนะ’ อายุ 32 ปี อยู่อาศัยในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ถูกตำรวจบุกเข้าจับกุมตัวแล้วส่งไปยังสภ.สุไหงโก-ลก ถูกกล่าวหาว่า โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก 4 ข้อความ ซึ่งชัยชนะมีบัตรเป็นผู้พิการ และมีใบรับรองแพทย์เป็นผู้ป่วยจิตเภท แต่ตำรวจก็ยังส่งตัวไปฝากขัง ซึ่งศาลให้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 150,000 บาท 
 
คดีที่ห้า จำเลยใช้นามสมมติว่า ‘อุดม’ อายุ 33 ปี อยู่อาศัยในจังหวัดปราจีนบุรี ถูกกล่าวหาว่า โพสต์ 5 ข้อความที่กล่าวถึงรัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับสถานการณ์การทำรัฐประหาร กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 และ 2 ข้อความกล่าวถึงรัชกาลที่ 10 
 
คดีที่หก จำเลยชื่อธนพัฒน์ หรือ "ปูน ทะลุฟ้า" อายุ 18 ปี เป็นเยาวชนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเต็มตัว ถูกกล่าวหาว่า โพสต์ข้อความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในกลุ่มรอยัลลิสต์มาเก็ตเพลส-ตลาดหลวง จำนวนทั้งหมด 8 ข้อความ
 
 
นอกจากการกล่าวโทษข้ามจังหวัดไปไกลถึงนราธิวาสแล้ว ยังมีคดีมาตรา112 ที่ผู้ริเริ่มคดีอยู่คนละจังหวัดกับผู้ถูกกล่าวหา ทำให้ผู้ถูกกล่าวหามีภาระต้องเดินทางไกลอีกมาก ดูต่อได้ทาง https://freedom.ilaw.or.th/node/1046
 
 
2559
 
 
‘วารี’ หนึ่งในจำเลยที่ต้องเดินทางไปศาลจังหวัดนราธิวาส และกำลังอยู่ระหว่างรอคำพิพากษา กล่าวกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า วันที่มีหมายเรียกมาถึงบ้านไม่ได้รู้สึกตกใจหรือกลัวอะไร เพราะก่อนหน้านี้เราก็ออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนการยกเลิก มาตรา 112 มาโดยตลอด เรารู้สึกว่ากฎหมายข้อนี้มันไม่ยุติธรรม โทษจำคุก 3 ถึง 15 ปี มันหนักหนา ไม่สอดคล้องกับการกระทำที่เราถูกกล่าวหา อีกอย่างคือทุกคนสามารถแจ้งความได้ เจ้าทุกข์จะเป็นใครก็ได้ จะแจ้งข้อกล่าวหาที่ไหนก็ได้
 
ด้านภัคภิญญา จำเลยอีกหนึ่งคนกล่าวว่า ครั้งแรกที่ได้หมายเรียกก็ประหลาดใจนิดนึงว่า มันมาถึงตัวเราด้วย พอมาดูชื่อคนแจ้งความก็พบว่าไม่รู้จักกัน พอมาดูสาเหตุที่แจ้งความก็พบว่าเพราะเราเห็นต่างกับกลุ่มของเขาในเรื่องการเมือง ทั้งๆที่เราไม่เคยไปว่าไปยุ่งกับเขาเลย เราแสดงความคิดเห็นในพื้นที่ของเรา แต่ถูกกลั่นแกล้งในกระบวนการแบบนี้ เราเป็นคนกรุงเทพฯแต่โดนหมายที่สุไหงโก-ลก เหมือนตั้งใจให้เราเดินทางไปไกลๆ ที่โกลกไม่มีเครื่องบินไปลงต้องไปลงที่นราธิวาสแล้วนั่งรถต่อไปชั่วโมงกว่า เครื่องบินมีรอบเดียวและรถมี 2-3 รอบต่อวัน ทุกอย่างมันจำกัดหมดเลย การมาธุระเรื่องนี้หนึ่งครั้งต้องมาขั้นต่ำสามวัน เลี่ยงไม่ได้เลย ตัวเราคนเดียวไม่ลำบากมาก แต่คิดถึงคนอื่นที่โดนแกล้งแบบนี้ก็เห็นใจ 
 
 
 
 
Article type: