1322 1087 1907 1582 1193 1712 1773 1527 1788 1158 1853 1080 1322 1857 1973 1795 1009 1113 1829 1962 1602 1374 1871 1606 1017 1420 1888 1034 1725 1092 1470 1993 1769 1396 1802 1621 1031 1778 1896 1560 1148 1783 1481 1245 1710 1904 1223 1659 1002 1591 1412 1208 1206 1346 1370 1015 1887 1555 1616 1573 1136 1505 1374 1353 1219 1180 1155 1076 1374 1463 1328 1263 1276 1583 1618 1218 1633 1115 1888 1383 1412 1740 1953 1929 1238 1071 1870 1783 1153 1038 1521 1525 1981 1160 1108 1977 1107 1088 1532 อัยการสั่งไม่ฟ้อง Car Mob ใหญ่ 1 สิงหา เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่แออัด ไม่เสี่ยงต่อการแพร่โรค | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

อัยการสั่งไม่ฟ้อง Car Mob ใหญ่ 1 สิงหา เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่แออัด ไม่เสี่ยงต่อการแพร่โรค

2329
 
คดีจัดการชุมนุม Car Mob ไล่ประยุทธ์ที่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ตลอดสาย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 ลงชื่อในหนังสือสั่งไม่ฟ้องคดีเมื่อวัน 8 มีนาคม 2565 และส่งหนังสือถึงผู้ต้องหาในวันที่ 29 มีนาคม 2565 เพื่อแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องคดี โดยให้เหตุผลดังนี้ 
 
"การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มชุมนุมเพื่อแสดงออกทางการเมืองในคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ในส่วนของการฝ่าฝืนมาตรการควบคุมโรคระบาด ลักษณะการชุมนุมเป็นการขับรถยนต์และจักรยานยนต์ไปตามถนน ตั้งแต่เวลา 13.00-16.00 น. จึงยุติ จึงไม่ได้อยู่ในสถานที่แออัดจะเสี่ยงต่อการแพร่โรค และผู้ร่วมชุมนุมมีการใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่ระบาด และไม่ปรากฏว่ามีการปิดกั้นการจราจร แม้จะทำให้รถคันอื่นบนท้องถนนเกิดความไม่สะดวกบ้าง แต่ไม่ถึงกับกีดขวางทางสาธารณะจนเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรแต่อย่างใด กรณียังฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาทั้งสามกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง"
 
คดีนี้มีผู้ต้องหา 3 คน คือ สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือบก.ลายจุด ซึ่งเป็นผู้ประกาศนัดหมายการจัด Car Mob, ธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือลูกนัท ผู้ประกาศเข้าร่วมการชุมนุมและมีภาพถ่ายปรากฏชูสามนิ้วบนหลังคารถ และเอกชัย หงษ์กังวาน ผู้เข้าร่วมการชุมนุม โดยก่อนหน้านี้ตำรวจสน.ดอนเมือง ตั้งข้อกล่าวหากับทั้งสามคนฐานร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งมีการรวมกลุ่มกันมากกว่าห้าคน และร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรตามข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 28, ประกาศกรุงเทพมหานคร และพ.ร.บ.โรคติดต่อ ม.50 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 385
 
การชุมนุมในวันดังกล่าวอยู่ในระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิดระลอกที่ 3 ซึ่งช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่หลักหมื่นคนต่อวัน ประเทศไทยยังขาดแคลนวัคซีน และระบบสาธารณสุขไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยจำนวนมาก ผู้บัญชาการทหารสูงสุดจึงใช้อำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประกาศข้อห้ามการรวมกลุ่มที่เข้มงวดมากที่สุด คือ การจำกัดจำนวนคนอยู่ที่ 5 คนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยประกาศออกมาในวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่เกิดความไม่พอใจต่อความล้มเหลวในการบริหารประเทศของรัฐบาลเป็นอย่างมาก ความต้องการแสดงออกจึงพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน และเกิดเป็นรูปแบบการชุมนุม Car Mob ขึ้นเพื่อให้ทุกคนที่ต้องการร่วมแสดงออกอยู่บนรถของตัวเองอย่างปลอดภัยจากการติดเชื้อเพิ่ม และขับรถวนไม่จอดอยู่กับที่เพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจรสำหรับผู้ใช้ถนนอื่นๆ 
 
การประกาศนัดหมายชุมนุมแบบ Car Mob ในวันดังกล่าวเป็นการนัดหมายใหญ่ ( ดูรายละเอียดการชุมนุม https://www.mobdatathailand.org/case-file/1627789801884/ ) ที่ได้รับการขานรับอย่างดี โดยการชุมนุมหลักมีผู้เข้าร่วมจำนวนหลายพันคนที่บริเวณถนนวิภาวดี รังสิต แต่ไม่สามารถประเมินจำนวนผู้เข้าร่วมได้แน่นอนเพราะส่วนใหญ่อยู่ในรถยนต์ และยังมีรถยนต์ของผู้สัญจรผ่านที่ไม่ได้ร่วมชุมนุมปะปนอยู่ด้วย ขณะเดียวกันการชุมนุมในวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ยังมีการนัดหมายชุมนุมเกิดขึ้นพร้อมกันรวม 46 ครั้งใน 39 จังหวัด ซึ่งนับเป็นวันที่มีการนัดหมายจัดชุมนุมพร้อมกันมากที่สุดในปี 2564 ผู้ชุมนุมบางกลุ่ม เช่น กลุ่มที่นัดหมายโดยณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นัดรวมตัวที่สี่แยกราชประสงค์ กลุ่มที่นัดหมายโดยกลุ่มพะยอมเก๋า ที่มหาวิทยาลัยรังสิต กลุ่มที่นัดหมายโดยชาวนครปฐมที่พระปฐมเจดีย์ ต่างก็เคลื่อนขบวนรถเข้ามาสมทบที่ถนนวิภาวดีรังสิตด้วย
 
นับถึงวันที่รัฐบาลใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ครบสองปี กฎหมายที่กลายเป็นเครื่องมือดำเนินคดีต่อผู้เห็นต่างกับรัฐบาล มีผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศต่างๆ เพื่อควบคุมโรคอย่างน้อย 1,445 คน ใน 623 คดี ซึ่งก่อนหน้านี้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี หรือศาลสั่งยกฟ้องคดีไปแล้วอย่างน้อย 12 คดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมไม่มาก และเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ 
 
คำสั่งไม่ฟ้องในคดีนี้ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนไม่น้อย จึงเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่สำคัญ ที่ยืนยันว่า การชุมนุมเพื่อแสดงออกทางการเมืองสมารถทำได้แม้ในภาวะโรคระบาด ในกรณีที่ผู้ชุมนุมได้ออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมและระมัดระวังตัวเองเพื่อไม่ให้ติดเชื้อหรือแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลสำคัญต่อไปสำหรับคดีอีกหลายร้อยคดีที่พนักงานอัยการยังไม่มีคำสั่งว่าจะฟ้องคดีหรือไม่ และในจำนวนนั้นเป็นคดีจากการจัด Car Mob อย่างน้อย 22 คดี 
AttachmentSize
คำสั่งพนักงานอัยการไม่ฟ้องคดี กรณีคาร์ม็อบ 1 สิงหาคม 2564.pdf2.12 MB
Article type: