1334 1842 1695 1823 1240 1476 1227 1102 1232 1044 1060 1394 1015 1910 1579 1782 1495 1228 1038 1889 1427 1834 1191 1939 1189 1726 1300 1976 1881 1175 1697 1373 1581 1380 1651 1899 1633 1733 1669 1248 1654 1108 1093 1270 1970 1434 1402 1857 1407 1603 1506 1136 1233 1964 1540 1760 1185 1147 1953 1253 1863 1587 1494 1248 1681 1960 1352 1326 1965 1488 1502 1698 1116 1968 1262 1991 1908 1391 1021 1301 1490 1890 1356 1429 1506 1825 1165 1697 1367 1350 1884 1756 1919 1192 1786 1642 1755 1118 1748 ‘ได้หมาย Young’ EP.1 คุยกับสามนักกิจกรรมกลุ่ม ‘โคราชมูฟเมนต์’ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

‘ได้หมาย Young’ EP.1 คุยกับสามนักกิจกรรมกลุ่ม ‘โคราชมูฟเมนต์’

 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือ ‘อีสาน’ เป็นภูมิภาคหนึ่งที่มีการชุมนุมทางการเมืองอย่างคับคั่งไม่น้อยไปกว่ากรุงเทพมหานคร รายการ ‘ได้หมาย Young’ โดย iLaw พาไปรู้จักกับเยาวชนในภาคอีสานที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองและถูกเจ้าหน้าที่รัฐคุกคามหรือดำเนินคดีในช่วงที่ผ่านมา 
 
สำหรับในตอนแรก วันที่ 13 กันายยน 2564 ‘ได้หมาย Young’ ได้เดินทางไปที่จังหวัดนครราชสีมาซึ่งจนถึงตอนนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 19 ราย โดยมีเยาวชนเข้าร่วมพูดคุยทั้งหมดสามคนจากกลุ่มโคราชมูฟเมนต์ได้แก่ บุ๊ค วรัญญู, เตอร์ มกรพงษ์ และ เปเปอร์ ภูษณิศา โดยพรุ่งนี้ทั้งสามคนจะมีกำหนดเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.เมืองนครราชสีมาจากการถูกแจ้งความดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และพ.ร.บ.โรคติดต่อ
 
1959
 
โซเชียลมีเดียและประสบการณ์เป็นจุดเปลี่ยนทำให้เริ่มสนใจการเมือง
 
นักกิจกรรมกลุ่ม ‘โคราชมูฟเมนต์’ เล่าจุดเริ่มต้นในเส้นทางนักกิจกรรมทางการเมืองไว้ตรงกันว่าเริ่มต้นจากประสบการณ์ส่วนตัวและโซเชียลมีเดียที่ได้ให้ข้อมูลใหม่ ๆ เปเปอร์ ซึ่งปัจจุบันอายุเพียง 14 ปีเท่านั้น เล่าเรื่องราวของตนเองว่าโดยพื้นฐานนั้นเป็นคนสนใจประวัติศาสตร์อยู่แล้ว และตนก็เคยลองเข้าไปอ่านและได้เรียนรู้เรื่องเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ จากในทวิตเตอร์ ทำให้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีความสนใจในการเมืองและเริ่มเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง
 
1960
 
 
ในขณะที่ เตอร์ กล่าวว่าจุดเปลี่ยนของตนเองจากที่ตอนแรกไม่ได้สนใจการเมืองเลยนั้นอยู่ที่การได้มีประสบการณ์เลือกตั้งครั้งแรกและเริ่มเห็นความไม่โปร่งใสของกระบวนการ ส่วนเหตุการณ์ที่ทำให้เริ่มออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองคือการได้รับชมการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรกของรัฐบาล และหลังจากนั้นจึงได้เริ่มปราศรัยในการชุมนุมเรื่อยมา
 
1961
 
สุดท้าย บุ๊ค เล่าว่าการได้ไปเที่ยวในประเทศแถบสแกนดิเนเวียเป็นจุดหักเหที่สำคัญของตนเอง เพราะทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างประเทศอื่นกับประเทศไทย ที่สแกนดิเนเวีย ผู้สูงอายุสามารถอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียวโดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลานให้มาเลี้ยงดู รัฐจัดหาสวัสดิการรักษาพยาบาลให้อย่างครบถ้วน ด้วยเหตุนี้ตนจึงตั้งใจจะเรียกร้องให้รัฐสวัสดิการเกิดขึ้นจริงในประเทศไทยบ้าง
 
1962
 
 
รัฐสวัสดิการและความเท่าเทียมคือความฝัน
 
บุ๊ค เน้นย้ำว่าความต้องการของเขาก็คือการเห็นรัฐสวัสดิการในประเทศไทย เขายกตัวอย่างยายของตัวเองที่ปัจจุบันอายุ 80 กว่าปีแล้วแต่ยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากลูกหลานอยู่ จากที่เคยมีสวัสดิการของราชการ ก็ต้องเสียไปตั้งแต่สามีเสียชีวิต ดังนั้น ‘บุ๊ค’ จึงต้องการรัฐสวัสดิการที่ช่วยเหลือ โดยสิ่งเหล่านี้นั้นก็ต้องมาพร้อมกับประชาธิปไตยเพราะในอนาคตเอง เขาก็ต้องการเกษียณอายุโดยมีสวัสดิการรองรับเช่นกัน
 
เตอร์ เห็นด้วยกับเรื่องรัฐสวัสดิการ แต่ในระยะสั้น สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดคือการได้วัยรุ่นของตนเองคืนมา ทุกวันนี้มีหลายคนที่เรียนจบมาแล้วต้องเดินเตะฝุ่น นอนอยู่บ้าน หรือไม่มีงานทำ เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจที่ตกต่ำ ความสุขที่วัยรุ่นพอจะได้ในตอนนี้ก็คือการออกไปใช้ชีวิตข้างนอกบ้าน ดังนั้นอีกประการหนึ่งที่อยากเห็นก็คือการได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันโควิดได้จริง คนจะได้กลับไปใช้ชีวิตอีกครั้ง
 
ส่วนสิ่งที่ เปเปอร์ ใฝ่ฝันคือสังคมที่เท่าเทียมและเป็นธรรม ประชาชนทุกคนสามารถกำหนดชีวิตของตนเองได้ ยกตัวอย่างประเทศโมลโดวา ซึ่งมีสังคมที่ทุกคนเท่ากัน ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้แต่ครูก็ต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยใครก็ตามที่มาจากการเลือกตั้งแล้วไม่ทำตามเจตจำนงที่ประชาชนต้องการ ก็สามารถโดนถอดถอนได้ 
 
แรงกดดันมีทั้งทางตรงและทางอ้อม
 
เปเปอร์ กล่าวว่าตอนนี้ตนต้องดรอปเรียน เนื่องจากออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองทำให้มุมมองที่คนอื่นมองเราเริ่มต่างออกไปและเริ่มรู้สึกกับแรงกดดัน ทำให้ตัดสินใจหยุดพักการศึกษาไว้ก่อน ที่ผ่านมา ไม่รู้สึกว่าตนเองโดนคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐโดยตรง แต่อาจจะเป็นทางอ้อมมากกว่า อาจจะเพราะตัวเองเป็นเด็ก และมีพ่อเป็นข้าราชการด้วยทำให้มีตำรวจโทรศัพท์มาหาพ่อบ้างจนกลายเป็นปัญหาครอบครัว เจ้าหน้าที่นั้นมักจะติดกับดักความอาวุโส เลยทำให้ตนเองมักถูกมองว่าเป็นเด็กและถูกสั่งสอนเสมอ ส่วนที่โรงเรียนครูก็มีความพยายามที่จะพูดคุยด้วยดี ๆ แต่บางครั้งการโดนเรียกไปคุยบ่อยครั้งก็ทำให้การเรียนมีปัญหา โดยครูก็มักจะเริ่มด้วยการชมว่าการกล้าแสดงออกนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าอยากให้แสดงออกในเรื่องดี ๆ มากกว่า
 
ด้าน เตอร์ ก็กล่าวในลักษณะเดียวกันว่าตำรวจไม่เคยมาหาที่บ้านแต่ต้องเจอปัญหาในครอบครัว โดยตนมักจะถูกแม่ถามเสมอว่าไปทำกิจกรรมทางการเมืองทำไม หรืออย่างเรื่องงานนั้นก็มีปัญหาบ้าง ตนเข้าใจดีว่านักกิจกรรมทางการเมืองในประเทศไทยนั้นหางานค่อนข้างลำบาก ตอนนี้ตนก็โดนคดี พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มาแล้วถึงสามคดี โดยการไปรับทราบข้อกล่าวหาแต่ละครั้งก็ทำให้ต้องหยุดงานและขาดรายได้ และพอที่ทำงานรู้ว่าไปม็อบก็โดนสั่งให้หยุดงานทันทีอีก
 
บุ๊ค เล่าประสบการณ์ว่าตนเคยโดนญาติที่ทำงานอยู่หน่วยข่าวกรองเคยพยายามซักประวัติตนเองกับญาติอีกคนส่วนเวลาที่จัดกิจกรรมทางการเมืองตนก็มักจะเป็นตำบลกระสุนตก โดนเรียกเข้าไปคุยทุกครั้งก่อนการจัดกิจกรรมโดยมีไปบ้างเป็นครั้งคราวเพราะอยากรู้เหตุผลที่ใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ให้จัดกิจกรรม เคยมีการนำเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมานั่งล้อมวงคุยและยกเรื่องการระบาดของโควิดมาอ้างเพื่อไม่ให้จัดการชุมนุม ล่าสุดเจ้าหน้าที่ทหารของกองทัพภาคที่ 2 ถึงกับยื่นหนังสือให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าทำไมถึงปล่อยให้มีการจัดกิจกรรมได้
 
ส่วนอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่จำได้คือตนเคยไปสังเกตการณ์ม็อบเสื้อเหลืองกับเพื่อน แล้วโดนคนใส่เสื้อเหลืองสิบกว่าคนวิ่งกรูเข้ามาในร้านกาแฟเพื่อจะมาตบ ตั้งแต่นั้นมาจึงสงสัยว่าทำไมคนเหล่านั้นต้องทำเช่นนั้น ทั้งที่ตนเองไม่เคยคิดจะทำร้ายพวกเขาเลย
 
ยืนยันสามข้อเรียกร้อง ถึงเวลาเจ้าหน้าที่รัฐยืนข้างประชาชน
 
ข้อเรียกร้องของนักกิจกรรมเยาวชนภาคอีสานนั้นก็ไม่ได้ต่างจากที่อื่นมากนัก สามนักกิจกรรมจากกลุ่มโคราชมูฟเมนต์กล่าวยืนยันทั้งสามข้อเรียกร้อง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นายกรัฐมนตรีต้องลาออก และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ของการชุมนุมที่กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ ยังเพิ่มข้อเรียกร้องการกระจายอำนาจให้กับแต่ละจังหวัดด้วย เพราะที่ผ่านมา รัฐไทยที่มีลักษณะรวมศูนย์ส่งผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่ได้มีความเข้าใจในพื้นที่ ดังนั้น ควรจะให้มีการเลือกคนที่มีความเข้าใจเข้ามาบริหารมากกว่า
 
ทั้งสามคนยังกล่าวอีกว่า เข้าใจว่าข้าราชการถูกระบอบอำนาจครอบงำอยู่ ทำให้มีทางเลือกไม่มากนัก แต่ที่ผ่านมาประชาชนก็ได้ออกมาเรียกร้องอย่างมากมายแล้ว ดังนั้นก็ต้องขอฝากถึงเจ้าหน้าที่รัฐทั้งชั้นผู้น้อย ชั้นกลาง ไปถึงชั้นผู้ใหญ่ ว่าอาจจะถึงเวลาแล้วที่ข้าราชการอาจจะต้องก้าวออกมาแล้วยืนข้างประชาชน หากการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้จริง ข้าราชการเองก็จะได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

 

Article type: