1449 1152 1636 1932 1412 1693 1970 1962 1512 1587 1428 1333 1157 1056 1227 1321 1853 1032 1636 1024 1009 1088 1004 1322 1029 1117 1291 1812 1869 1169 1038 1773 1965 1380 1769 1649 1123 1757 1787 1645 1990 1272 1211 1730 1953 1177 1390 1883 1756 1955 1668 1302 1341 1920 1139 1943 1325 1410 1300 1618 1039 1243 1745 1784 1388 1024 1342 1848 1386 1811 1330 1654 1969 1193 1204 1521 1605 1674 1891 1850 1196 1335 1200 1222 1950 1111 1787 1937 1830 1024 1941 1278 1309 1896 1409 1479 1620 1144 1998 บทสัมภาษณ์การใช้กำลังของตำรวจต่อผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องใน #ม็อบ7สิงหา | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

บทสัมภาษณ์การใช้กำลังของตำรวจต่อผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องใน #ม็อบ7สิงหา

7 สิงหาคม 2564 เวลา 14.00 น. เยาวชนปลดแอก(Free Youth) นัดหมายชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีแผนจะเดินขบวนไปยังพระบรมมหาราชวัง แต่ถูกสลายการชุมนุมก่อนเวลานัดหมายเกือบสองชั่วโมง จากนั้นจึงเปลี่ยนสถานที่นัดหมายเป็นอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและเคลื่อนขบวนไปที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์(ราบ1) ต่อมาเมื่อเคลื่อนขบวนไปที่แยกดินแดง ตำรวจปิดเส้นทางไปราบ 1 และเริ่มต้นการสลายการชุมนุมรอบสองด้วยแก๊สน้ำตาและกระสุนยาง ตำรวจค่อยๆผลักผู้ชุมนุมกลับไปที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและเดินหน้าสลายการชุมนุมต่อเนื่อง พบการยิงกระสุนยางใส่ผู้ไม่เกี่ยวข้องและไม่ได้คำนึงถึงหลักของการใช้กำลังดังนี้
 
1907 ภาพ : Thikamporn Tamtiang
 
"โต้ง" เจ้าของร้านขายผักบริเวณแยกดินแดงที่ตั้งใจมาเก็บร้านของตัวเองและเขามาดูแลความปลอดภัยของแม่ แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงกระสุนยางใส่ที่กลางหลัง ในระหว่างการสลายการชุมนุม #ม็อบ7สิงหา
 
"วันนั้นผมไปตรวจโควิดที่แฟลต 8 ชั้น (ดินแดง) ตอนเวลาบ่ายสามโมงกว่า แล้วตอนนั้นมันต้องรอผลตรวจ ผมเลยให้แม่เฝ้าร้านอยู่คนเดียว พอจังหวะที่รอผลตรวจ ผมได้ยินคนแถวนั้นพูดกันว่า ยิงแก๊สน้ำตาแล้ว ผมเลยโทรศัพท์กลับมาหาแม่ที่ร้าน บอกว่าให้แม่เข้าไปหลบในเซเว่นก่อน แล้วเดี๋ยวรีบกลับไปที่ร้าน"
 
"ที่นี้ผมก็รีบขี่มอเตอร์ไซด์จากแฟลต 8 ชั้น เพื่อที่จะไปร้าน แต่มันต้องผ่านจุดที่ตำรวจเขาจัดแถวกันอยู่ ผมก็เลยจอดแล้วบอกกับเขาว่า ผมขอผ่านไปหน่อย พอดีแม่ผมขายของอยู่ข้างในที่ชุมนุม แล้วตอนนี้ผมจะรีบเข้าไปช่วยแม่เก็บร้านเพื่อที่จะพาแม่เข้าบ้าน ที่นี้ก็มีตำรวจนายหนึ่งมาบอกว่าให้ไปเลย ผมก็เลยขี่รถไปเลย"
 
"พอผมขี่รถเลี้ยวซ้าย (ถนนขาเข้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) เขาก็ยิงกระสุนยางใส่หลังเลย พอยิงกระสุนยางเสร็จ ผมก็จอดรถแล้วเดินเข้าไปถามเขาว่า ยิงทำไม ในเมื่อเราขอไปแล้วว่า จะขอผ่านทาง แล้วคุณยิงผมทำไม คำตอบที่ได้รับคือ 'มึงจะเอาอะไรมาตีกู' แล้วก็มีตำรวจเป็นสิบคนเลยมารุมล้อม แต่มีตำรวจคนหนึ่งมาพาผมออกไป ผมก็เลยขี่มอเตอร์ไซด์อ้อมไปที่ร้าน"
 
"ตอนแรกผมไม่รู้เขา(ตำรวจ)จัดแถวยังไง มี่กี่แถว เราก็พยายามจะใช้เสร็จทางที่เร็วที่สุดเพื่อที่จะเข้าไปถึงร้านเพื่อจะไปช่วยแม่เก็บร้านพาแม่เข้าบ้านให้เร็วที่สุด ซึ่งตรงนั้นมันเป็นเส้นทางที่ไวที่สุด แล้วจุดที่ผมโดนยิงคือ ตรงแถว สน.เก่า (สน.ดินแดง) ตรงไฟแดง อยู่ห่างจากแถวตำรวจไม่ถึง 5 เมตร คือเราก็ขี่รถหันหลังให้ตำรวจ เพิ่งจะบิดออกมาสักพักก็รู้สึกเจ็บหลัง ตอนนั้นผมรู้เลยว่า เราโดนยิงทีหลัง"
 
1910
 
 
"สภาพตอนที่โดนยิง คือไม่ใช่แบบว่าเราใส่เสื้อยืดกางเกง เรายังคาเอี๊ยมใส่ขายของ ยังคาเอี๊ยมอยู่เลย คือมองยังไงก็รู้ว่าเป็นพ่อค้าคนขายของ.. พอยิงเสร็จ เรากลับไปถาม แต่คำตอบที่ได้รับคือ มึงจะเอาอะไรมาฟาดกู นี่หรือคือตำรวจ.. เขาไม่ได้ขอโทษอะไร มีแต่บอกให้ไปก่อนเลย ไปก่อนเลย"
 
"คือ.. ผมคิดว่ามันไม่น่าจะใช่การยิงพลาดมาโดน ผมว่ามันน่าจะเป็นการตั้งใจยิงมากกว่า เพราะมันยิงในระยะไม่กี่เมตรเองที่โดนยิง มันไม่น่าจะเป็นการพลาดยิงโดน มันใกล้มาก ใครเห็นแผลก็ตกใจว่า โหย ทำไมแผลแตก คือ แผลแตกเลย"
 
"พอมาถึงร้าน เราก็บอกแม่ว่าเราโดนยิงทีหลังมา แล้วพอดีมีคนเห็นแถวนั้น เขาก็ไปตามหน่วยพยาบาลมาช่วยเรา"
 
"ตอนที่โดนยิงผมโมโหมาก ผมอยากรู้ว่า ถ้าผมยิงพวกเขา เขาจะรู้สึกยังไง ถ้าเขาเป็นผม ที่ขอผ่านทางแล้วลับหลังก็มายิงใส่หลังเลย บางทีก็อยากจะถามพวกเขาว่า ถ้าแม่พวกคุณอยู่ในเหตุการณ์ ณ ตรงนั้น คุณจะขอเหมือนผมมั้ย คุณจะรีบเข้าไปช่วยแม่ของคุณมั้ย หรือคุณจะปล่อยหรือจะอ้อม(ลากเสียงยาว) ไปจนกว่าจะหาทางเข้าได้เพื่อที่จะไปหาแม่ของคุณ คือคำถามที่อยากจะถามเขาเหมือนกัน คือขอกันแล้วจะมายิงหลังเราทำไม"
 
"ผมไปหาหมอ หมอบอกว่าแผลไม่ได้ร้ายแรงมาก ให้ทำความสะอาด แต่ยังรู้สึกเจ็บๆ ที่หลัง ยังนอนคว่ำได้แต่เจ็บทีหลัง"
 
ตะวัน อายุ 20 ปี และแฟรงค์ อายุ 21 ปี ทั้งคู่เป็นการ์ดของ We volunteer หรือมวลชนอาสา ผู้คอยดูแลความปลอดภัยให้มวลชน, รถโมบายหรือรถปราศรัย รวมถึงการออกไปอยู่แนวหน้าของขบวน โดยในวันนั้นทั้งคู่ได้ทำหน้าที่ดูแลมวลชน และช่วยเก็บแก๊สน้ำตาในแนวปะทะบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง ใกล้ตู้คอนเทนเนอร์ อีกทั้งแฟรงค์ได้เล่าว่าเขาโดนกระสุนยางบริเวณตาตุ่มในเหตุการณ์ตอนนั้น
 
หลังยุติการชุมนุมในช่วงค่ำ แฟรงค์เล่าว่า มีคำสั่งให้ออกจากพื้นที่ชุมนุม เขาและตะวันได้กลับไปเก็บของที่พัก ก่อนจะออกมาที่อนุสาวรีย์ชัยฯ อีกครั้ง เพื่อมาดูความเรียบร้อย และเช็คความปลอดภัยว่ายังมีผู้ชุมนุมตกค้างหรือไม่ เพื่อให้ความช่วยเหลือ
 
“ทีนี้ก็คือยังเห็นเจ้าหน้า คฝ.ตรึงแนวอยู่ ผมก็เลยขับรถวนแล้วก็บีบแตร รอบแรกเขายิงกระสุนยางใส่”
 
และเมื่อยังเห็นว่าเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนยังคงตรึงแนวอยู่ที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัย เขาก็ขับรถวน บีบแตร รวมถึงชูนิ้วกลางใส่เจ้าหน้าที่ แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือกระสุนยางยิงเข้าที่หมวกกันน็อค โดยไม่มีการแจ้งเตือน 
 
“เขาไม่พูด ไม่กล่าว ไม่บอก คือเราบีบแตรไป วนไป เขาถือปืนขึ้นมาแล้วขึ้นลำ แล้วยิงเลย”
 
ในขณะวนรถจักรยานยนต์ แฟรงค์เล่าว่าเขาหันกลับไปมองเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน ทำให้รถไปเกยกับเกาะราชวิถี ก่อนรถจะล้ม พอเขาลุกขึ้นมาได้แล้ว จึงช่วยพยุงตะวันให้ลุกขึ้น วิ่งออกจากจุดเกิดเหตุได้เพียง 20 เมตรเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนก็มาประชิดตัว ทั้งคู่ล้มไปนอนกับพื้นก่อนเจ้าหน้าที่จะเริ่มใช้กำลัง
 
“จังหวะลุกขึ้นมาผมเห็น คฝ.วิ่งมา ผมไม่รู้ว่ากี่นายแต่ก็วิ่งมาเยอะ เขาก็ตะโกนมาว่ามันล้มแล้วมันล้มแล้ว พอผมลุกขึ้นได้ผมลงไปอุ้มอีกคนหนึ่งขึ้นมาแล้วบอกให้เขาหนีเลย หนีเลย”
 
“เขาตามมาทัน หลังจากนั้นเขาก็ทำร้ายร่างกายเราไม่ว่าจะกระทืบ กดแขน เตะ” แบงค์กล่าว
ตะวันช่วยเสริมต่อว่า “เหยียบแขน แล้วก็บิดแขนแรงมาก แขนแทบจะหักไปอีกฝั่งหนึ่งเลย แล้วก็เตะแบบเตะไม่ยั้ง แต่ก็ดีที่หนูใส่หมวก เขาก็เตะมาที่หมวก แต่ขนาดใส่หมวกก็ยังรู้สึกว่าแรงเหมือนกัน”
 
“และเขาก็มีถ้อยคำหยาบคาย มึงเก๋าหรอ มึงห้าวนักหรอ”
 
“เขาเตะ กระทืบทั้งศีรษะ ทั้งช่วงหัว ช่วงตัวลงไป ยันช่วงขา มีการเหยียบขาไว้ด้วย พอผมกลับมาบ้านก็รู้สึกได้เลยว่าช้ำทั้งตัว ปวดทั้งตัวเลย”
 
แฟรงค์เล่าว่าเขามีแผลฟกช้ำที่บริเวณคอใกล้ลูกกระเดือก หัวไหล่ และต้นขา ส่วนหลังเป็นรอยแดงยาว และมีแผลถลอก รวมถึงยังคงปวดที่ขา
 
ส่วนตะวันนั้นบริเวณใต้ตาแถวๆโหนกแก้มมีรอยแผลชัดเจน และบริเวณข้อมือที่ถูกบิดนั้นเป็นรอยช้ำ เช่นเดียวกับหัวไหล่ซ้าย และยังมีอาการเจ็บที่ข้อมือแขนซ้ายที่ถูกเจ้าหน้าที่เหยียบ
 
“ตอนโดนกระทืบเสร็จเขาเอามือไปไขว้หลังแล้วล็อคเคเบิ้ลไทร์ไว้ แล้วเขาก็เอาไปนั่งไว้ตรงป้ายรถเมล์”
 
“แล้วพอมาถึงป้ายรถเมล์หนูก็ใส่เลยว่าสมองมีก็คิดบ้างสิ ทำตามแต่คำสั่งนายมีความเป็นคนบ้าง หนูก็ยืนด่าฉอดๆๆ ตรงนั้น แต่ด้วยท่าทีเขาก็คือนิ่งเงียบกริบ ไม่มองหน้าไม่อะไรเลย หนูเลยบอกว่าทีนี้ทำไมไม่ฟัง ทีเมื่อกี้กระทืบเอา กระทืบเอา”
 
ตะวันเล่าว่าไม่ได้ยินคำขอโทษ หรือคำพูดใดๆ จากเจ้าหน้าที่ที่ทำร้ายพวกเธอเลย มีเพียงหน่วยแพทย์หนึ่งคนที่คอยช่วยและบอกเธอว่า ใจเย็นๆในระหว่างการตะโกนด่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังจากนั้นพวกเธอจึงช่วยกันแก้เคเบิ้ลไทร์ ก่อนจะเดินทางกลับที่พัก
 
“คือเอาจริงๆ เขาก็ไม่สมควรที่เข้ามาทำร้ายเราตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เขาควรจะให้ความช่วยเหลือเราด้วยซ้ำ เรารถล้ม”
 
เมื่อถามถึงความรู้สึกหลังจากโดนรุมว่ากลัวไหม ทั้งสองคนตอบพร้อมกันเลยว่าไม่เลย และพร้อมที่จะสวนกลับ
 
“คือหนูโกรธมาก หนูก็ถีบขาเขาไปทีหนึ่ง แล้วเขาก็โกรธ เตะหัวไม่ยั้งกว่าเดิมอีก แรงกว่าเดิมอีกด้วย”
 
“เขาเข้ามาทำร้ายเราโดยไม่มีเหตุ เราแค่ไปชูนิ้วกลางใส่ เราแค่ไปแสดงสัญลักษณ์เขาไม่มีสิทธิที่จะมาทำอะไรเราแบบนั้น ต่อให้เขาเข้ามาทำร้ายเราก็มีสิทธิที่จะป้องกันตัว”
 
“แน่นอนว่าเขาควรรับใช้ประชาชน ควรอยู่ข้างประชาชน นั่นคือสิ่งที่สมควรจะเกิดขึ้นมาตลอด แต่สิ่งที่เราเห็นมาตลอดมันไม่ใช่แบบนั้น สิ่งที่เห็นมาตลอดคือเขาทำร้ายประชาชน ไม่เคยอยู่ข้างประชาชนเลย”
 
“เขา (ตำรวจ) เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เราต้องการมาร่วมขบวนเช่นกัน ที่อยากให้เขามาอยู่ฝั่งเราเหมือนกัน เพียงแต่ว่าทุกวันนี้เราแทบไม่เห็นเลยว่าเขาจะมาอยู่กับเราได้”
 
“สุดท้ายแล้วถ้าเราเจอตำรวจเราจะต้องวิ่งหนีรึเปล่า หรือเข้าไปหาความช่วยเหลือ”
Article type: