1408 1102 1086 1508 1588 1081 1212 1133 1786 1327 1038 1551 1479 1552 1608 1729 1234 1243 1309 1185 1914 1405 1865 1932 1284 1122 1555 1973 1173 1406 1912 1797 1966 1465 1791 1171 1918 1831 1114 1433 1019 1722 1228 1609 1218 1182 1150 1276 1018 1390 1392 1515 1136 1092 1107 1650 1079 1702 1066 1710 1327 1415 1871 1592 1432 1700 1543 1134 1560 1931 1751 1794 1953 1139 1808 1303 1741 1611 1409 1501 1185 1666 1415 1407 1027 1642 1920 1609 1932 1891 1597 1874 1913 1949 1688 1163 1650 1601 1631 "ขอบคุณที่ช่วยรับไปซักข้อหา" บทสนทนาระหว่างผู้พิทักษ์สันติราษฎร์กับผู้ร่วมคาร์ม็อบ "สมบัติทัวร์" 10 กรกฎา | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

"ขอบคุณที่ช่วยรับไปซักข้อหา" บทสนทนาระหว่างผู้พิทักษ์สันติราษฎร์กับผู้ร่วมคาร์ม็อบ "สมบัติทัวร์" 10 กรกฎา

ในรายการคลับเฮาส์เมื่อประมาณสองถึงสามสัปดาห์ก่อน "บิ๊ก" หนึ่งในคนที่เข้าร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 ยกมือขึ้นและแชร์ประสบการณ์ว่าหลังจบกิจกรรมคาร์ม็อบ เขาถูกตำรวจสถานีหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ที่ขบวนเคลื่อนผ่านโทรตามให้ไปจ่ายค่าปรับ โดยสิ่งที่น่าสนใจคือตำรวจพยายามขอให้เขายอมรับความผิดไปซักข้อหาหนึ่ง และเมื่อสมบัติจะจัดคาร์ม็อบอีกครั้งตำรวจนายเดิมก็โทรมาหาเขาว่าจะไปร่วมคาร์ม็อบหรือไม่ หากไปเข้าร่วมหลังจบกิจกรรมก็ขอให้มาพบ แต่เนื่องจากเขาอยู่ระหว่างกักตัวดูอาการโควิด-19 จึงปฏิเสธไปว่าจะไม่ได้ไปร่วมงาน 

จากบทสนทนาที่น่าสนใจในคลับเฮาส์ ไอลอว์จึงติดต่อ "บิ๊ก" เพื่อขอให้บอกเล่าบทสนทนากับนายตำรวจระดับผู้กำกับสถานีท่านนั้นโดยละเอียดเพื่อสะท้อนวิธีคิดและวิธีการที่ตำรวจบางส่วนมีต่อผู้ชุมนุมโดยเฉพาะผู้ชุมนุมที่อยู่คนละฝ่ายกับรัฐบาลจนได้พบความจริงอันน่าเศร้าที่หลายคนคงพอทราบกันอยู่แล้วว่าในคดีการเมืองกฎหมายก็ไม่สำคัญเท่า "คำสั่งนาย"
 
1894
 
คาร์ม็อบและสายจากคนแปลกหน้า
 
วันที่ 10 กรกฎาคม บิ๊กขับรถไปร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลาประมาณ 14.00 น. เมื่อไปถึงเขาก็จอดรถและเดินทักทายถ่ายรูปกับคนรู้จัก โดยไม่ได้ถือป้ายสัญลักษณ์หรือข้อความใดๆ 

"พี่ไปถึงแถวๆ แม็คโดนัลด์ราชดำเนินก็ประมาณบ่ายสองโมง ก็เดินถ่ายรูปแล้วก็ทักทายกับคนรู้จัก พี่ก็พอรู้อยู่ว่าตลอดเวลาที่เดินอยู่แถวนั้นก็จะถูกตำรวจนอกเครื่องแบบถ่ายรูปไว้ตลอด"
 
"สำหรับพี่จะถ่ายก็ถ่ายไปพี่ไม่ได้สนอะไร ก็ทักทายคนตามปกติ พอใกล้เวลาเคลื่อนขบวนพี่ก็ใช้โทรโข่งจัดระเบียบว่ารถต้องตั้งแถวยังไง พริตตี้ท้องทำยังไง พอขบวนเคลื่อนพี่ก็ขับรถตามไป 
 
กระทั่งประมาณบ่ายสามมีโทรศัพท์เข้ามา อ้างว่าเป็นตำรวจอยากให้พี่เข้าไปพบเขาที่สถานี พี่ก็บอกไม่สะดวก อยู่ในกิจกรรม เดี๋ยวเข้าไปวันอื่นได้ไหม เค้าบอกไม่ได้ ให้มาวันนั้นเลยเสร็จกิจกรรมแล้วค่อยเข้ามาก็ได้  แล้วก็กำชับว่าอยากชวนมาคุยเฉยๆ อย่าให้ต้องทำตามขั้นตอนทางกฎหมายเลยเดี๋ยวจะยุ่งยาก 
 
พอวางหูจากเขาพี่ก็เลยประสานทนายให้โทรไปคุยซึ่งก็ได้ข้อมูลว่าเป็นตำรวจจริงๆ แล้วทนายก็คุยรายละเอียดเรื่องข้อหา"
"พี่ไม่ได้ให้เบอร์เขาหรอกนะ แล้วก็ไม่รู้ว่าเขาได้เบอร์พี่มาจากไหน แต่คิดว่าสำหรับตำรวจแค่เบอร์โทรศัพท์เขาคงหาได้ไม่ยาก ทนายเขาก็คุยกับตำรวจเรื่องข้อหาเรียบร้อยแล้วก็บอกพี่ไว้เบื้องต้นว่าข้อหาจะประมาณไหน ทนายกำชับพี่ว่าถ้าต่างไปจากที่คุยกันไว้ให้ปฏิเสธแล้วยืนยันว่าจะสู้คดี พี่ก็โอเคพอกิจกรรมยุติตอนสี่โมงพี่ก็บอกตำรวจว่าจะเข้าไปพบ"
 
ช่วยๆกันไป รับไว้ 1 ข้อหา
 
เมื่อไปถึงสถานีตำรวจ "บิ๊ก" ได้พูดคุยกับตำรวจว่าเขาทำอะไรผิด สิ่งที่เขาได้รับทราบจากผู้บังคับบัญชาของตำรวจระดับผู้กำกับสถานีคนนั้น คือเห็นภาพของบิ๊กในพื้นที่การชุมนุมแล้วไม่พอใจ จึงสั่งให้ผู้กำกับต้องดำเนินการบางอย่าง ถึงขั้นต้องพลิกตำรากฎหมายว่าพอจะทำอะไรได้ สุดท้ายหวยก็มาออกที่ข้อหาวางสิ่งกีดขวางบนผิวจราจร ซึ่ง "บิ๊ก" เองก็บอกให้ผู้กำกับปรับเขาในอัตราโทษสูงสุดไปเลยเพื่อจะได้ไปรายงานกับผู้บังคับบัญชา
 
"พี่ไปถึงโรงพักประมาณสี่โมง ตัวผู้กำกับยังไม่มาแต่ก็ส่งตำรวจคนหนึ่งมาอยู่กับพี่ ประมาณห้าหรือสิบนาทีหลังจากนั้นเขาก็มาแล้วเชิญพี่ไปคุยที่ห้องลงบันทึกประจำวัน พอผู้กำกับมาก็มีลูกน้องเขาตามมานั่งด้วยรวมแล้วประมาณห้าถึงหกคน"
 
"เค้าก็บอกพี่ว่า 'นาย' ของเขาเห็นพี่ในโซเชียล ก็เลย 'บ๊ง' มา เขาก็เลยต้องจัดการบางอย่างไม่งั้นก็อาจมีปัญหา ก็เลยเชิญพี่มาคุย ก็ดีแล้วที่พี่มา ถ้าไม่มาเขาก็ต้องทำตามกฎหมาย คงหมายถึงการตั้งข้อหา แล้วเดี๋ยวมันจะยาวก็เลยเชิญมาวันนี้แล้วจะได้จบ"
 
"พี่ให้ทนายโทรมาประสานไว้ก่อนแล้วก็เลยพอจะรู้ว่ามันจะเป็นไง ทีนี้ทางผู้กำกับกับลูกน้องเค้าที่เป็นพวกร้อยเวรก็เริ่มมาดูกันว่าจะใช้ข้อหาอะไรกับพี่ดี พอถามว่าจะเอาเรื่องกีดขวางการจราจรได้ไหม ร้อยเวรก็บอกว่าไม่ได้เพราะรถพี่ไม่ได้จอดเป็นคันแรก มันก็ติดตามคันอื่นโดยสภาพ จะเอาเรื่อง พ.ร.บ.ความสะอาด พี่ก็ไม่ได้ทิ้งขยะหรือทำอะไร จะเอาเรื่องเครื่องเสียงร้อยเวรก็บอกไม่ได้ เพราะโทรโข่งที่พี่ถือมันเป็นแบบตัวเล็กใส่ถ่านชาร์จไฟไม่ได้ 
 
สุดท้ายหวยเลยมาออกเรื่องตั้งสิ่งของบนผิวจราจร พี่ก็บอกพี่ไม่ได้ตั้งอะไรบนถนนเลย ผู้กำกับก็บอกประมาณว่า เอาหน่อยน่าข้อหานี้เบาที่สุดแล้ว ปรับไม่เกิน 500 ช่วยกันหน่อย แล้วเขาก็ถามร้อยเวรว่าข้อหานี้โทษปรับตั้งแต่เท่าไหร่ ร้อยเวรบอกไม่มีขั้นต่ำมีแค่ไม่เกิน 500 พี่เลยบอกผู้กำกับว่าเอางี้เพื่อความสบายใจก็ปรับพี่เต็ม 500 ไปเลย จะได้ไปบอก 'นายของคุณ' ได้ว่าก็ปรับตามอัตราโทษสูงสุดไปแล้ว ก็ตกลงตามนั้น ผู้กำกับก็ยังพูดขอบคุณพี่ด้วย"
 
"ถ้าไปดูในเอกสารบันทึกประจำวันวันนั้นคือสั้นมาก บอกแค่ว่าวันที่เท่านี้มีนายคนนี้มาที่ สน. แล้วก็รับสารภาพว่าวางสิ่งของกีดขวางการจราจรเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 500 บาท แต่ไม่มีบรรยายเลยว่าไอ้ที่ว่าวางสิ่งของมันคือวางอะไรตรงไหนอย่างไร"
 
1895

"...เรื่องนี้คงไม่เกิดหากพี่เป็นแค่ผู้ชุมนุมธรรมดา..."  
 
บิ๊กเล่าย้อนไปว่าแม้ตัวเขาเองจะเคลื่อนไหวทางการเมืองมานานแล้ว ทั้งไปร่วมชุมนุมและแสดงความคิดเห็นบนเฟซบุ๊กที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะ แต่ก่อนที่จะถูกตามตัวไปสถานีตำรวจครั้งนี้ตัวเขาเองไม่เคยถูกเรียกตัวไปพบเจ้าหน้าที่มาก่อน แต่ในช่วงหลังที่บทบาทของเขาเพิ่มขึ้นจากผู้ชุมนุมธรรมดามาเป็นผู้สนับสนุนทรัพยากรในการชุมนุมเขาก็คาดหมายอยู่แล้วว่าไม่ช้าก็เร็วเขาคงต้องเจอกับอะไรซักอย่าง
 
"พี่เคลื่อนไหวทางการเมืองมานานแล้ว แต่ก็ไม่เคยถูกตำรวจเรียกไปอะไรมาก่อนนะ เพิ่งมามีช่วงหลังๆ ที่พี่เริ่มเข้าไปสนิทกับแกนนำ แล้วก็ช่วยเหลือด้านการเงินให้กับขบวนจำนวนหนึ่ง ตรงนี้มั้งที่ฝ่ายความมั่นคงเองก็เริ่มจับตาพี่"
 
"จริงๆ พี่ก็มีเพื่อนเป็นตำรวจ แล้วมีเพื่อนคนนึงอยู่ในหน่วยที่ติดตามนักเคลื่อนไหว มีครั้งหนึ่งเข้าไปประชุมแล้วมีชื่อพี่ โปรไฟล์พี่อยู่ในแฟ้มของทางหน่วย เขาก็บอกพี่ว่า "เบาได้เบา" แต่ตอนนั้นก็ไม่มีอะไรพี่ยังไม่โดนเรียกแต่ก็เป็นคนที่อยู่ในความสนใจของเขา (ฝ่ายความมั่นคง) แล้ว"
 
"คือเอาจริงๆที่รัฐมาทำโปรไฟล์พี่แบบนั้นพี่ก็ไม่ได้คิดว่ารัฐเขามองเราเป็นศัตรูหรอก แต่เขาคงมองว่าพี่มีกำลังพอจะสนับสนุนม็อบหรือมีศักยภาพพอจะเข้ามามีบทบาทได้หากแกนนำโดนจับ เขาก็เลยทำเหมือนที่พี่หนูหริ่ง (สมบัติ บุญงามอนงค์) พูดในคลับเฮาส์วันนั้นคือก่อนจะเด็ดหัวก็ริดใบริดกิ่งไปก่อน"
 
"พี่เองก็เตรียมใจไว้เหมือนกันว่าพอตัวเองมีบทบาทมากขึ้นมันก็คงมีผลกระทบตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรื่องนี้คงไม่เกิดหากพี่เป็นแค่ผู้ชุมนุมธรรมดา ถ้าแค่ไปชุมนุม ชูสามนิ้ว ถ่ายรูปแล้วกลับบ้านก็คงไม่มีอะไร"  
 
กระบวนการยุติธรรมกับจุดเริ่มต้นที่บิดเบี้ยว
.
หลังจากรับฟังบทสนทนาว่าหว่าง "บิ๊ก" กับนายตำรวจระดับผู้กำกับ จึงมีคำถามต่อไปว่าจากบทสนทนาทั้งหมดดูเหมือนกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายจะไม่ได้เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา เมื่อเป็นเช่นนี้ประชาชนจะเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายได้อย่างไร "บิ๊ก" ก็ตอบความว่าบิดเบี้ยวที่เกิดขึ้นคือเหตุผลที่ทำให้เขายืนยันที่จะสู้ต่อไป
 
"กฎหมายมันก็คือกฎหมาย และประเทศก็ต้องมีกฎหมาย ถ้าไม่มีกฎหมายมันก็อยู่กันไม่ได้ และเอาเข้าจริงประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างอเมริกายุโรปถามว่าเรื่องอำนาจอิทธิพลมันมีไหม ก็มี เพียงแต่ถ้าของเขามันมีปัญหาแบบนี้สัก 10% กระบวนการยุติธรรมในบ้านเรามันมีปัญหาเรื่องการเลือกปฏิบัติ 60 - 70% อย่างคดีธรรมดาที่ไม่มีเรื่องการเมือง บางทีการรู้จักใคร หรือมีเงินก็อาจส่งผลต่อดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ได้ ซึ่งไอ้ดุลพินิจเนี่ยแหละคือปัญหาใหญ่ของกระบวนการยุติธรรมไทย ยิ่งในคดีที่มีเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้องยิ่งแย่"
 
"อย่างตัวพี่เองก็รู้จักตำรวจผู้ใหญ่ มีคอนเนคชันมีอะไร ก็คิดว่าอาจจะมีผลที่ทำให้พี่ไม่ได้โดนอะไรหนัก แต่ลองพี่ไม่รู้จักใครวันนั้น (10 กรกฎาคม) ก็อาจไม่ได้โดนแค่ข้อหาวางสิ่งกีดขวางแล้วปรับ 500 บาท"
.
"เอาจริงๆ ตำรวจเองบางทีก็ไม่ได้อยากดำเนินคดีคนชุมนุมหรอก แต่พอผู้ใหญ่ส่งสัญญามาจะไม่ทำก็ไม่ได้ เราถึงเห็นบางคดีที่เขาตั้งข้อหาแบบที่รู้ว่าเข้าไปชั้นศาลยังไงก็ยก ดูเผินๆ ก็เหมือนช่วยแต่เอาจริงๆ แค่ถูกตั้งข้อหามีคดี ผู้ต้องหาก็ลำบากแล้ว"
 
"ก็ไอ้ความบิดเบี้ยวนี่แหละที่ทำให้พี่ยังสู้อยู่จนทุกวันนี้ พี่เองก็คงไม่ได้อยู่ไปอีกนาน 10 ปี 20 ปี ก็ไม่อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่สู้ ไม่ทำอะไร สุดท้ายลูกหลานของพี่นี่แหละไม่ต้องมองใครอื่นที่จะต้องมารับกรรม จะช้าจะเร็วถ้าประเทศยังเป็นแบบนี้ยังไงลูกหลานพี่ก็ไม่พ้นต้องเดือดร้อน ถ้าเราสามารถสู้ให้มันจบที่รุ่นเราได้จริงๆ ถึงวันข้างหน้าลูกหลานเราจะได้เอาเวลาไปทำเรื่องอื่นไปทำมาหากิน คิดค้นอะไรใหม่ๆ ไม่ใช่ต้องออกมาพูดเรื่องสิทธิเสรีภาพ" 
 
"ที่สถานการณ์มันมาถึงขั้นนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนรุ่นพี่ยอม เรายอมตอน ปี 49 ปี 53 ตอนนี้มันไม่ใช่แล้ว สำหรับพี่ก็คงสู้ต่อไปจนกว่าตัวเองจะหมดแรง"
Article type: