1423 1015 1587 1233 1171 1701 1667 1299 1766 1444 1208 1887 1968 1745 1558 1100 1102 1283 1524 1066 1661 1113 1413 1150 1381 1970 1000 1070 1037 1305 1093 1577 1522 1885 1377 1742 1718 1367 1268 1309 1111 1239 1136 1080 1126 1770 1792 1415 1207 1361 1251 1623 1959 1099 1507 1876 1688 1731 1426 1998 1197 1772 1114 1303 1486 1908 1767 1706 1521 1952 1214 1647 1944 1727 1188 1921 1492 1374 1879 1930 1342 1102 1367 1835 1613 1917 1614 1729 1940 1926 1180 1512 1539 1279 1564 1783 1045 1015 1692 หนึ่งปีเยาวชนปลดแอก หลากเหตุผลสลายการชุมนุม พื้นที่กษัตริย์-ขบวนเสด็จ-โควิด 19 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

หนึ่งปีเยาวชนปลดแอก หลากเหตุผลสลายการชุมนุม พื้นที่กษัตริย์-ขบวนเสด็จ-โควิด 19

 
 
เส้นทางการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา หนึ่งในการชุมนุมครั้งสำคัญที่จุดชนวนการเคลื่อนไหวให้มีชีวิตชีวา คือ การชุมนุมในวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เยาวชนปลดแอก นำโดยทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี นัดรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 2,000 คน การกล่าวถึงเลขหลักพันในวันนี้อาจให้ความรู้สึกว่าไม่มากมาย แต่ย้อนกลับไปวันดังกล่าวคนจำนวนเท่านี้มากพอที่จะสร้างความหวังให้แก่ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ซบเซายาวนานมาหลายปีภายใต้ระบอบ คสช. 
 
1863
 
 
ข้อเรียกร้องของการชุมนุมคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ, ยุบสภาและหยุดคุกคามประชาชน ซึ่งมาจนถึงวันนี้ไม่มีข้อเรียกร้องใดที่สำเร็จเลย อย่างไรก็ตามการชุมนุมได้ก่อร่างสร้างตัวขยายแนวร่วมเคลื่อนไหวทั้งจำนวนคนและประเด็นในการต่อสู้  เพดานสูงสุดคือ การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ที่เริ่มด้วยกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ซึ่งต่อมาทัตเทพ ในนามของคณะประชาชนปลดแอกได้ยอมรับข้อเรียกร้องดังกล่าวในฐานะหนึ่งความฝันเพิ่มเติมจากสามข้อเรียกร้อง นอกจากนี้ยังควบรวมข้อเรียกร้องทางสังคมไม่ว่าจะประเด็นแรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติ กระบวนการยุติธรรมและความเท่าเทียมทางเพศเข้ามาในการเคลื่อนไหว
 
 
ระหว่างการต่อสู้ขบวนการเคลื่อนไหวที่ออกดอกผลมาจากการชุมนุมในวันดังกล่าวและก่อนหน้านั้นก็ต้องเผชิญกับความยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการคุกคามนอกกฎหมาย, การดำเนินคดีและการเผชิญความรุนแรงของรัฐในการสลายการชุมนุม
 
 
หนึ่งปีผ่านมารัฐใช้กำลังในการสลายการชุมนุมไปแล้วไม่น้อยกว่า 20 ครั้ง การสลายการชุมนุมเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2563 อันเป็นช่วงที่การเรียกร้องเรื่องสถาบันกษัตริย์ไต่ระดับสูงและสาธารณะต่างถกเถียงประเด็นนี้อย่างเปิดเผย ในจำนวนนี้มีห้าครั้งที่การสลายการชุมนุมเกี่ยวพันกับพื้นที่ของสถาบันกษัตริย์และขบวนเสด็จ มีหกครั้งเป็นการสลายการชุมนุมที่อ้างการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19  ส่วนอีกหกครั้งเป็นการอ้างการฝ่าแนวสิ่งกีดขวางไปที่หน้ารัฐสภา, กีดขวางทางจราจรและเหตุที่ไม่ชัดเจนตามลำดับ ดังนี้
 
 
  • 13 ตุลาคม 2563 สลายการชุมนุมราษฎรอีสาน จากการไม่แจ้งการชุมนุมและวันสวรรคตรัชกาลที่ 9
  • 15 ตุลาคม 2563 สลายการชุมนุมราษฎรจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปทำเนียบรัฐบาล จากเหตุขบวนเสด็จผ่านม็อบที่แยกพาณิชยการ
  • 16 ตุลาคม 2563 สลายการชุมนุมคณะประชาชนปลดแอกที่แยกปทุมวัน อ้างผู้ชุมนุมเข้าใกล้วังสระปทุม
  • 17 พฤศจิกายน 2563 สลายการชุมนุมราษฎรที่รัฐสภา อ้างเหตุผู้ชุมนุมฝ่าแนวกั้นเข้าไปชุมนุมด้านหน้ารัฐสภา
  • 31 ธันวาคม 2563 สลายการชุมนุม We Volunteer ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ ไม่ระบุสาเหตุชัดเจน
  • 4-5 มกราคม 2564 จับกุมหมอบูรณ์ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล 2 ครั้ง อ้างกีดขวางจราจรฯและพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
  • 16 มกราคม 2564 สลายการชุมนุม 3 ครั้ง อนุสาวรีย์ชัยฯ-สน.พญาไท-สามย่าน อ้างพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
  • 1 กุมภาพันธ์ 2564 สลายการชุมนุม #SaveMyanmar  ของ We Volunteer  อ้างพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
  • 7 กุมภาพันธ์ 2564 สลายการชุมนุม #SaveMyanmar อ้างว่า หมดเวลาทำกิจกรรม
  • 13 กุมภาพันธ์ 2454 สลายการชุมนุมราษฎร หลังผู้ชุมนุมไม่ออกนอกพื้นที่ตามเวลากำหนด
  • 28 กุมภาพันธ์ 2564 สลายการชุมนุมรีเด็ม อ้างผู้ชุมนุมเลื่อนเปิดแนวกั้นนอกเขตพระราชฐาน
  • 20 มีนาคม 2564 สลายการชุมนุมรีเด็ม อ้างผู้ชุมนุมเลื่อนเปิดแนวกั้นนอกเขตพระราชฐาน
  • 28 มีนาคม 2564 สลายการชุมนุมทะลุฟ้า อ้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
  • 2 พฤษภาคม 2564 สลายการชุมนุมหลังจบชุมนุมรีเด็ม ไม่ระบุสาเหตุชัดเจน
  • 18 กรกฎาคม 2564 สลายการชุมนุมของเยาวชนปลดแอก อ้างผู้ชุมนุมฝ่าแนวกั้นเพื่อไปทำเนียบรัฐบาล
  • 1 สิงหาคม 2564 สลายการชุมนุมหลังจบคาร์ม็อบสมบัติทัวร์ ไม่ระบุสาเหตุชัดเจน
  • 2 สิงหาคม 2564 สลายการชุมนุมทะลุฟ้า อ้างกีดขวางทางจราจร

ห้าครั้งอ้างพื้นที่กษัตริย์และขบวนเสด็จ

 

1865
 
1866
 
 
การสลายการชุมนุมห้าครั้งเป็นเหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ เช่น ขบวนเสด็จและพื้นที่เขตพระราชฐาน แบ่งเป็นสามครั้งแรกในระหว่างวันที่ 13, 15-16 ตุลาคม 2563 สืบเนื่องมาจากคณะราษฎร(ชื่อในขณะนั้น) ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักกิจกรรมหลากหลายเช่น อานนท์ นำภา, เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์, ไมค์-ภาณุพงศ์ จาดนอก และไผ่-จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา อันเป็นการพัฒนาวงการเคลื่อนไหวที่สืบเนื่องมาจากคลื่นการชุมนุมเยาวชนปลดแอก และอีกสองครั้งเป็นการชุมนุมของรีเด็มในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ และ 20 มีนาคม 2564  ซึ่งเป็นชื่อกลุ่มเคลื่อนไหวใหม่โดยใช้พื้นที่ออนไลน์เดิมของเยาวชนปลดแอกในการสื่อสาร 
 
ในการสลายการชุมนุมแต่ละครั้งยังคงมีความคลุมเครือของเหตุการณ์ดังนี้
 
 
กรณีของคณะราษฎรอีสานวันที่ 13 ตุลาคม 2563 บริเวณแมคโดนัลด์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ขณะนั้นข้อกำหนดฉบับที่ 13 ที่ออกตามความ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใช้บังคับให้ใช้สิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.ชุมนุมฯ  การชุมนุมดังกล่าวเป็นการจัดชุมนุมรอวันจริงในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ซึ่งไม่ทราบมาก่อนว่า วันดังกล่าวจะมีการเสด็จราชดำเนินผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีเพียงข่าวสารการเสด็จฯ ในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 เท่านั้น ทั้งเริ่มแรกตำรวจอ้างเรื่องการกีดขวางทางจราจรและเปลี่ยนเป็นวันสวรรคตของรัชกาลที่เก้า จากนั้นเมื่อสลายการชุมนุมเสร็จสิ้นก็อ้างว่า การกระทำของผู้ชุมนุมเป็นการฝ่าฝืนพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ไม่แจ้งการชุมนุมล่วงหน้า 24 ชั่วโมง หากแต่ตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มีขั้นตอนให้แจ้งแก้ไขการชุมนุมที่ไม่ถูกต้องและหากจะสลายการชุมนุม ตำรวจต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด 
 
 
กรณีคณะราษฎรวันที่ 15 ตุลาคม 2563 บริเวณทำเนียบรัฐบาลเป็นผลสืบเนื่องมาจากวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ขบวนเสด็จผ่านบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ โดยไม่มีใครทราบมาก่อนว่าจะผ่านบริเวณดังกล่าว ทั้งขบวนของคณะราษฎรยังไม่ได้มีพฤติการณ์ที่ต้องการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ เลี่ยงเคลื่อนขบวนออกจากราชดำเนินเมื่อขบวนพร้อมในทันทีและยินยอมรอในจุดเหนี่ยวรั้งของตำรวจบริเวณก่อนเข้าแยกนางเลิ้งเป็นเวลาหลายชั่วโมง แต่มีมวลชนของคณะราษฎรและฝ่ายที่รอรับเสด็จบางส่วนเล็ดลอดไปที่ถนนพิษณุโลกล่วงหน้าได้ ทำให้เผชิญกับเหตุการณ์ขบวนเสด็จอันเป็นเหตุในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครและการสลายการชุมนุมในที่สุด
 
1869
 
กรณีของคณะประชาชนปลดแอกวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ที่แยกปทุมวัน ผู้ชุมนุมถูกบีบให้ออกจากแยกราชประสงค์อันเป็นพื้นที่นัดหมายเดิมไปที่แยกปทุมวัน โดยพื้นที่ชุมนุมใช้พื้นที่ใต้แยกปทุมวันและตัดท้ายขบวนมาทางแยกสามย่าน ต่อมาในการสลายการชุมนุมตำรวจอ้างการชุมนุมในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงและอ้างเหตุที่ต้องใช้แก๊สน้ำตาโดยไม่แจ้งเตือนว่า ผู้ชุมุนมเข้าใกล้วังสระปทุม ทั้งที่ในวันดังกล่าวเป็นตำรวจเองที่บีบล้อมพื้นที่ราชประสงค์ จนผู้ชุมนุมต้องเปลี่ยนสถานที่
 
 
กรณีของรีเด็มวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (ราบ 1) ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปที่ราบ 1 ซึ่งเป็นที่พักของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประกาศเตือนมีเพียงการประกาศที่เกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่มีการกล่าวถึงเขตพระราชฐาน เมื่อไปถึงราบ 1 แล้ว สื่อรายงานว่า ทหารภายในประกาศว่า ราบ 1 เป็นเขตพระราชฐาน แต่เสียงไม่ได้กระจายรอบบริเวณ จากนั้นนำไปสู่การสลายการชุมนุม ประชาไทรายงานว่า เดิมทีราบ 1 เป็นที่ราชพัสดุอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ และถูกเพิกถอนในวันที่ 5 กรกฎาคม 2562  ทั้งยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการที่แน่ชัดว่า ที่ดินราบ 1 ถูกโอนกรรมสิทธิ์ไปยังหน่วยงานใดแล้ว มีเพียงข้อมูลของวาสนา นาน่วมที่โพสต์ผ่านโซเชียลมีเดียว่า ราบ 1 คือ เขตพระราชฐาน
 
 
กรณีของรีเด็มวันที่ 20 มีนาคม 2564 ที่สนามหลวง ผู้ชุมนุมบางส่วนเลื่อนเปิดแนวตู้คอนเทนเนอร์ที่ด้านหน้าศาลฎีกา ซึ่งห่างจากขอบรัศมี 150 เมตรของพระบรมหาราชวังเป็นระยะ 220 เมตร หลังจากนั้นตำรวจเริ่มขยับกำลังสลายการชุมนุม แม้ว่า ผู้ชุมนุมจำนวนมากจะขยับพื้นที่เข้าไปภายในสนามหลวงที่เป็นพื้นที่ที่ตำรวจประกาศให้มีการจัดกิจกรรมจนลุล่วงได้และผู้ชุมนุมบางส่วนหน้าแนวกั้นนำแผงเหล็กมาปิดแนวแล้ว แต่ไม่สามารถยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจสลายการชุมนุมของตำรวจได้  นอกจากนี้การประกาศของตำรวจยังระบุว่า ต้องการรักษาแนวสิ่งกีดขวางไว้เท่านั้น แต่เมื่อรุกไล่ผู้ชุมนุมให้พ้นจากแนวแล้วก็ไม่มีท่าทีที่จะหยุดเพื่อรักษาแนวดังกล่าวไว้ การเปิดแนวสิ่งกีดขวางเคยเกิดขึ้นครั้งหนึ่งที่หน้าราบ 11 ซึ่งวาสนาได้ระบุว่า เป็นเขตพระราชฐาน แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้นำมาใช้เป็นเงื่อนไขในการสลายการชุมนุม
 
 
จุดแตกต่างของการสลายการชุมนุมของคณะราษฎรในปี 2563 และรีเด็มในปี 2564 คือ วิธีการเลือกพื้นที่จัดชุมนุม ในปี 2563 ช่วงเดือนตุลาคมยังเป็นช่วงที่คณะราษฎรเคลื่อนไหวในพื้นที่ประวัติศาสตร์และรวมตัวกันง่ายอย่างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย, แยกราชประสงค์และแยกปทุมวัน  และต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2563 ราษฎรจึงเริ่มใช้กลยุทธ์เปิดแผลตามสถานที่สำคัญของสถาบันกษัตริย์ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์และราบ 11 หลังการใช้กลยุทธ์นี้ราษฎรยังไม่เคยถูกสลายการชุมนุมเพราะกลยุทธ์ดังกล่าว เนื่องด้วยเป็นช่วงหลังการชุมนุมแบบดาวกระจายจำนวนมากทั่วประเทศ ขณะที่กรณีของรีเด็มเป็นการเคลื่อนไหวในปี 2564 ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากกลยุทธ์เปิดแผลและเลือกที่จะไปตามสถานที่ที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์หรือใกล้กับเขตพระราชฐาน คือ ราบ 1 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และสนามหลวงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 แต่กลับนำไปสู่การสลายการชุมนุมโดยอ้างพื้นที่เขตพระราชฐานทั้ง 2 ครั้ง
 
 

หกครั้งอ้างโควิด แม้ชุมนุมไม่แออัด มีมาตรการก็อ้างเป็นเหตุสลายชุมนุมได้

 
25 มีนาคม 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เหตุจากการแพร่ระบาดของโควิด 19  และออกข้อกำหนดฉบับที่หนึ่ง “ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย” สถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้นจึงเริ่มผ่อนคลายในช่วงปลายเดือนเมษายน 2563 ตามมาด้วยวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 พลเอกประยุทธ์ออกข้อกำหนดฉบับที่ 13 ให้ใช้สิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ  การชุมนุมของเยาวชนปลดแอกเกิดขึ้นในช่วงคาบเกี่ยวก่อนการออกข้อกำหนดฉบับที่ 13 อย่างไรก็ตามการชุมนุมดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่โล่ง บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
 
 
การชุมนุมระลอกดังกล่าวเติบโตมาพร้อมกับระดับการพูดถึงสถาบันกษัตริย์ในพื้นที่สาธารณะ ตัวแปรที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ การเกิดขึ้นของกรุ๊ปเฟซบุ๊ก รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลสหรือตลาดหลวง นำไปสู่การดึงพื้นที่ออนไลน์สู่พื้นที่ชุมนุมจริงด้วยป้ายไวนิลตลาดหลวง ระหว่างนั้นแม้ไม่มีการสลายการชุมนุมแต่มีกระบวนการนอกกฎหมายเกิดขึ้นระหว่างทาง เช่น การเยี่ยมบ้านและการต่อรองไม่ให้ชูป้ายตลาดหลวงหรือข้อความที่เกี่ยวกับกษัตริย์ รวมไปถึงการจับกุมและกล่าวหาคดีตามมา 
 
 
การชุมนุมยังคงเดินหน้าไปได้จนมีเหตุการสลายการชุมนุมสามครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2563 อันเป็นเหตุที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ จนนำไปสู่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจับกุมแกนนำหลายคน เช่น อานนท์ นำภา, เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ และ รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แต่ประกาศดังกล่าวไม่สามารถหยุดยั้งการชุมนุมและตามมาด้วยการชุมนุมดาวกระจายทั่วประเทศ เมื่อไม่อาจยับยั้งความโกรธของประชาชนได้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจึงเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมถอยคนละก้าวและยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ แม้จะขอร้องให้ถอยคนก้าว แต่การจับกุมประชาชนและคดีความยังดำเนินต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการชุมนุมหลังจากนั้นยังคงเดินหน้าต่อไปได้ มีการสลายการชุมนุมนที่หน้ารัฐสภาในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุเกี่ยวกับโควิด-19 
 
 
จนกระทั่งในเดือนธันวาคม 2563 มีการแพร่ระบาดที่จังหวัดสมุทรสาคร นำไปสู่การออกข้อกำหนดฉบับที่ 5 “ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย” เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 และข้อกำหนดฉบับที่ 16 “ห้ามการจัดกิจกรรมในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย” เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 
 
 
เวลาดังกล่าวเป็นเป็นการแพร่ระบาดระลอกที่สอง กรุงเทพมหานครรายงานว่า คลัสเตอร์ของผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 13 มกราคม 2564 เป็นการแพร่ระบาดที่เชื่อมโยงกับบ่อนการพนันในภาคตะวันออก, สนามชนไก่ในจังหวัดอ่างทอง และตลาดกุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร ขณะที่ผู้ติดเชื้อใหม่หลังจากนั้นเกิดจากการสัมผัสผู้ติดเชื้อยืนยันก่อนหน้า อย่างไรก็ตามแม้ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์จะเห็นได้ว่า การชุมนุมแต่ละครั้งไม่ใช่จุดเริ่มต้นในการแพร่ระบาดและจัดขึ้นในที่โล่งแจ้งที่มีความเป็นไปได้ในการติดเชื้อต่ำกว่าในที่แออัดมาก แต่รัฐเลือกสลายการชุมนุมโดยอ้างข้อกำหนดที่ออกตามความพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อการป้องกันโควิด-19
 
 
สลายการชุมนุมรอบแรกอ้างกีดขวางทางสาธารณะ รอบสองอ้างโควิด 19
 
 
วันที่ 5 มกราคม 2564 ตำรวจ สน.ดุสิต จับกุมบูรณ์ อารยพล กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทานกับพวกรวมสี่คน ฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ระหว่างปักหลักเรียกร้องให้รัฐนำเงินบำนาญชราภาพมาชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ก่อนหน้านี้วันที่ 4 มกราคม 2564 บูรณ์กับเพื่อนรวมสองคนถูกตำรวจ สน.ดุสิต จับกุมในข้อหากีดขวางทางสาธารณะ หลังได้รับการปล่อยตัวบูรณ์กลับมาปักหลักใหม่ในช่วงเย็น ระหว่างนั้นตำรวจ สน.นางเลิ้ง มาแจ้งประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง ห้ามไม่ให้ชุมนุมในสถานที่แออัด จากนั้นวันที่ 5 มกราคม 2564 จึงทำการจับกุมอีกครั้งและกล่าวหาคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
 
 
เห็นได้ว่า การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่มีการไต่ระดับขึ้นจากข้อหาและโทษปรับกีดขวางทางสาธารณะ เป็นข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แทน ขณะที่การชุมนุมของกลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทานเป็นการชุมนุมขนาดเล็กและอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง
 
 
สลายการชุมนุมการ์ดปลดแอกสามครั้งในหนึ่งวัน
 
 
วันที่ 16 มกราคม 2564 ที่เกาะพญาไท การ์ดปลดแอกจัดกิจกรรมเขียนข้อความเรื่องมาตรา 112  ตำรวจอ้างเพียงประกาศและข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 15 ที่ระบุว่า ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ข้อห้ามการชุมนุมตามกฎหมายจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ คือ การชุมนุมในสถานที่แออัด ซึ่งผู้ชุมนุมในกิจกรรมดังกล่าวมีประมาณ 50 คน และการสลายการชุมนุมทำโดยตำรวจที่ยืนเรียงแถวติดกันทั้งบริเวณเกาะพญาไทและหน้าป้ายรถเมล์ไม่น้อยกว่า 200 นาย 
 
 
ตำรวจยึดป้ายผ้าและจับกุมผู้ชุมนุมไปไม่น้อยกว่าสองคน ก่อนจะปิดล้อมพื้นที่กิจกรรม และในการจับกุมมีการลากตัวผู้ชุมนุมรายหนึ่งอีกด้วย หลังตำรวจเข้าสลายการชุมนุมและไม่แน่ชัดว่า จะนำตัวผู้ชุมนุมทั้งสองคนที่ถูกจับกุมไปที่ใด ผู้ชุมนุมจึงไปรวมตัวกันใหม่ที่ สน.พญาไท เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ชุมนุม แต่เมื่อไปถึงตำรวจควบคุมฝูงชนเตรียมตั้งแถวล้อมและประกาศให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมย้ายสถานที่ไปชุมนุมบริเวณสามย่าน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็เข้าสลายการชุมนุมอีกครั้ง และจับกุมประชาชนในที่เกิดเหตุไปไม่น้อยกว่าสี่คน 
 
 
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า ตำรวจเร่งรัดใช้ความรุนแรงเพื่อเข้าจับกุมและสลายการชุมนุมครั้งดังกล่าว แม้การชุมนุมจะไม่มีลักษณะรุนแรง และยิ่งสะท้อนถึงแนวนโยบายของรัฐที่ให้เด็ดขาดกับผู้ชุมนุม ตามคำให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ต่อเหตุการณ์ที่นักกิจกรรมนำธงแดง 112 ขึ้นแทนธงชาติที่ สภ.คลองหลวง ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 ว่า “หากจำเป็นต้องใช้กำลังหรือบังคับใช้กฎหมายก็ต้องทำ อย่าลังเล”
 
 
สลายการชุมนุมต้านรัฐประหารเมียนมา หน้าสถานทูตเมียนมา
 
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 14.00 น. ที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย มีประชาชนชาวเมียนมาเดินทางมารวมตัวกันเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อต่อต้านการก่อรัฐประหารที่เกิดขึ้นในเมียนมา พร้อมกับมีกลุ่ม We Volunteer นำโดย โตโต้-ปิยะรัฐ จงเทพ นัดทำกิจกรรมเพื่อแสดงจุดยืนร่วมกับประชาชนเมียนมา และมีกิจกรรมอ่านแถลงการณ์นำโดย โตโต้-ปิยรัฐ เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ และรุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล 
 
1868
 
เวลา 15.45 น. หลังการแถลงการณ์ ปิยะรัฐเห็นว่า ยังมีมวลชนทยอยมาต่อเนื่องจึงตัดสินใจว่า จะทิ้งทีมรักษาความปลอดภัยและรถเครื่องเสียงไว้ให้มวลชนที่ทยอยมา บรรยากาศการชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประชาชนลงไปอยู่บนพื้นผิวการจราจรบ้าง ต่อมาเวลา 16.16 น. ตำรวจประกาศให้ยุติการชุมนุม และเวลา 17.00 น. ตำรวจนำกำลังชุดควบคุมฝูงชนตั้งแถวเข้าหาผู้ชุมนุม จนเกิดการปะทะ ขว้างปาสิ่งของที่คว้าได้ในบริเวณดังกล่าวใส่ตำรวจ หลังจากนั้นพบว่า มีการจับกุมประชาชนไปไม่น้อยกว่าสี่คน มีรายงานว่า ก่อนหน้าการสลายการชุมนุมตำรวจได้ประกาศข้อกำหนดเกี่ยวกับรวมตัวไม่น้อยกว่าสองครั้ง 
 
 
สลายการชุมนุมทะลุฟ้า อ้างพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แม้มีมาตรการป้องกันโรค
 
 
วันที่ 28 มีนาคม 2564  เวลา 05.57 น. ตำรวจควบคุมฝูงชนนำกำลังเข้าสลายการชุมนุม #หมู่บ้านทะลุฟ้าV2 ที่ถนนพระราม 5 ข้างศาลกรมหลวงชุมพรฯ โดยอ้างว่า ผู้ชุมนุมกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) และก่อนการสลายการชุมนุม ตำรวจได้ประกาศให้เวลาชาวหมู่บ้านเก็บของเพียงสามนาที หลังจากนั้นจึงเข้าคุมตัวบุคคลไม่น้อยกว่า 67 คน บางส่วนขึ้นรถผู้ต้องขังไปที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนภาคที่ 1 ปทุมธานี (ตชด.ภาค 1) ขณะที่พระสองรูปที่จำวัดภายในหมู่บ้านถูกพาไปบังคับลาสิกขาที่วัดเบญจมบพิตร ซึ่งการกระทำดังกล่าวนับว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อจำกัดอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะแม้จะอ้างเรื่องการป้องกันโรคระบาด แต่หมู่บ้านทะลุฟ้าก็มีการดำเนินการตามมาตรการของรัฐ อาทิ ให้คนสวมใส่หน้ากากอนามัย มีการตรวจวัดอุณหภูมิ ดังนั้น เหตุในการสลายการชุมนุมจึงไม่ชอบธรรมและไม่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน
 
 
สลายการชุมนุมสองครั้งอ้างฝ่าแนวสิ่งกีดขวาง
 
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 สลายการชุมนุมราษฎรที่หน้ารัฐสภา อ้างเหตุผู้ชุมนุมฝ่าแนวสิ่งกีดขวางเข้ามาที่หน้ารัฐสภาและเมื่อฝ่าไปที่หน้ารัฐสภาได้ผู้ชุมุนมไม่ได้มีท่าทีที่จะเข้าไปในพื้นที่รัฐสภาแต่อย่างใด ก่อนประกาศยุติการชุมนุมและแยกย้าย
 
วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 ขบวนเยาวชนปลดแอกเคลื่อนตัวจากราชดำเนินไปทำเนียบรัฐบาล และยืนยันที่จะเดินไปทางถนนราชดำเนินนอก แต่ไม่สามารถผ่านไปได้เนื่องจากตำรวจตั้งแนวที่แยกสะพานผ่านฟ้าลีลาศสองชั้นคือ บริเวณแยกสะผานผ่านฟ้าฯและบริเวณใกล้กับสำนักงานสปก. จากนั้นมีการประกาศเตือนให้ออกจากแนวและย้ำอย่างต่อเนื่องถึงการดำเนินการที่ได้สัดส่วน มวลชนยังยืนยันไปต่อเก็บลวดหนามชั้นแรก เวลา 15.38 น. เริ่มฉีดน้ำครั้งแรกโดยมีการเตือนก่อน ระหว่างนั้นมีผู้สื่อข่าวได้รับบาดเจ็บ เมื่อตรวจสอบแผลทีมพยาบาลยืนยันว่า เป็นบาดแผลจากกระสุนยาง ทั้งที่ขณะนั้นยังไม่มีการเตือนเรื่องกระสุนยาง
 
ตำรวจประกาศจะใช้แก๊สน้ำตา หากไม่หยุดฝ่าเข้ามาและเริ่มใช้แก๊สน้ำตาครั้งแรกเวลา 16.10 น. จากนั้นเวลา 16.11 น. ตำรวจประกาศว่า "ต่อไปเป็นการใช้กระสุนยาง" หนึ่งนาทีต่อมาตำรวจยิงกระสุนยางต่อเนื่อง เมื่อตำรวจใช้กระสุนยางหนักขึ้น บอย-ธัชพงศ์ แกดำประกาศเปลี่ยนเส้นทางไปทางถนนนครสวรรค์เข้าแยกนางเลิ้งแทน แต่ก็ยังไม่สามารถผ่านเข้าไปที่ทำเนียบรัฐบาลได้ เนื่องจากตำรวจตั้งแนวสิ่งกีดขวางอย่างแน่นหนามีลวดหนาม 2 ชั้นบริเวณพาณิชย์พระนคร และที่แนวศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์มีการใช้รถตู้ตำรวจ รถผู้ต้องขังใหญ่ขวางไว้ ด้านหลังมีรถฉีดน้ำและตู้คอนเทนเนอร์บนสะพานชมัยมรุเชฐ การ์ดพยายามที่จะฝ่าแนวที่ศาลกรมหลวงชุมพรฯ แต่เมื่อเข้าไปใกล้ ตำรวจจะยิงแก๊สน้ำตาและใช้น้ำสกัดเป็นระยะ ทำให้ไม่สามารถฝ่าเข้าไปได้ 
 
 
สลายการชุมนุมสองครั้งอ้างกีดขวางทางจราจร
 
วันที่ 4 มกราคม 2564 สลายการชุมนุมด้วยการจับกุมกลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทานที่ปักหลักเรียกร้องเงินบำนาญชราภาพที่หน้าทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2563 สาเหตุของการสลายการชุมนุมไม่ได้ระบุชัดนัก แต่ภายหลังมีการกล่าวหาคดีกีดขวางทางสาธารณะแก่สมาชิกกลุ่มทั้งสองคน จึงอนุมานได้ว่า มาจากการที่ทั้งสองคนกีดขวางทางหน้าทำเนียบรัฐบาล
 
วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 น. ทะลุฟ้านำโดยไผ่-จตุภัทร์ บุญภัทรรักษานัดหมายรวมตัวกันที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ใกล้กับสโมสรตำรวจเพื่อติดตามตัวคนขับรถเครื่องเสียง 3 คนที่ถูกจับกุมเมื่อวานนี้หลังจบ #ม็อบ1สิงหา ต่อมาศาลแขวงดุสิตมีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวทั้งสามคน แต่ยังไม่มีการคืนทรัพย์สินที่ยึดไป อย่างเครื่องเสียง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทำมากิน ผู้ชุมนุมจึงปักหลักที่ด้านหน้าประตูทางเข้าเพื่อเรียกร้องให้ตำรวจคืนเครื่องเสียงหรือให้เข้าไปตรวจสอบ  ต่อมาถูกตำรวจนำกำลังเข้าสลายการชุมนุม โดยจับกุมไปทั้งสิ้น 32 คน ในจำนวนนี้มีเยาวชนหนึ่งคน
 
พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกล่าวว่า ผู้ชุมนุมได้มีการปิดทางเข้าออกกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดและโรงพยาบาลสนาม รวมทั้งพยายามที่จะบุกเข้าไปในสถานที่ราชการ ทำการกดดันเจ้าหน้าที่ให้คืนรถของกลาง รวมทั้งผลักดันเจ้าหน้าที่ที่อยู่บริเวณนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องระงับยับยั้งเพื่อไม่ให้เกิดเหตุลุกลามบานปลาย จึงบังคับใช้กฎหมาย (สลายการชุมนุม) จากบันทึกภาพวิดีโอหลากหลายมุมเห็นว่า ขณะการสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมยังไม่ได้มีท่าทีจะบุกเข้าไปในกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ทั้งเงื่อนไขที่เรียกร้องคือ ไม่คืนหรือให้นำมาให้เห็น ให้ประชาชนตรวจสอบ เนื่องจากรถเครื่องเสียงและอุปกรณ์เป็นสิ่งที่ผู้ต้องหาทั้งสามคนในคดี #ม็อบ1สิงหา ใช้เลี้ยงชีพ 
 
ส่วนประเด็นเรื่องการกีดขวางจราจรบริเวณสถานที่ราชการนั้น ไผ่-จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา แกนนำทะลุฟ้าได้กล่าวขอโทษต่อประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาตั้งแต่ช่วงเช้าแล้ว ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเรื่องโรงพยาบาลสนาม นอกจากนี้จากปากคำของเจษฎา ศรีปลั่ง เครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรีกล่าวว่า เวลาดังกล่าวผู้ชุมนุมใส่สีแดงจุ่มนิ้วไปเขียนที่กำแพง มีการติดป้ายจึงคิดว่า เดี๋ยวอีกสักพักการชุมนุมคงจบแล้ว แต่อยู่ๆมีตำรวจชุดคุมฝูงชนเข้าทำการจับกุมทีมทะลุฟ้า รวมทั้งตัวเขาเองด้วย เขาระบุว่า เขาไม่ได้ยินเลยว่า ตำรวจมีการประกาศเรื่องการให้ยุติการชุมนุมหรือหากไม่เลิกจะทำการจับกุม
 
 
นอกจากการสลายการชุมนุมทั้ง 15 ครั้งที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกห้าครั้งที่ไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้ดังนี้ 
 
  • ไม่มีสาเหตุแน่ชัด - วันที่ 31 ธันวาคม 2563 สลายการชุมนุมตลาดขายกุ้งของ We Volunteer ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ก่อนหน้านี้ทางกลุ่มนัดหมายขายกุ้งจากเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบที่สนามหลวง แต่ตำรวจไม่ให้ใช้สถานที่และจับกุมทีมงานบางส่วน จากนั้นทางกลุ่มยินยอมล่าถอยมาที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มวลชนนัดหมายรวมตัวกัน (ครั้งนี้เริ่มนับว่า เป็นการชุมุนม) แต่ตำรวจได้ตั้งแนววิ่งไล่ทางกลุ่มอีกครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ ท้ายสุดจึงไปขายที่กองสลากเก่า
  • เปลี่ยนใจไม่ให้ชุมนุมตามสัญญาเดิม - วันที่ 7 มกราคม 2564 สลายการชุมนุม #Savemyanmar ที่หน้าสหประชาชาติ แรกเริ่มตำรวจตกลงให้ทำกิจกรรมได้เป็นเวลาสองชั่วโมงเริ่มตั้งแต่เวลา 14.00-16.00 น. ผู้ชุมนุมทยอยมามากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาเวลา 13.59 น. ตำรวจสั่งให้เลิกการชุมนุมระบุว่า เริ่มทำกิจกรรมตั้งแต่ 12.00 น. แล้ว ดังนั้นจะต้องยุติการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมที่ได้รับนัดหมายยังทยอยมาต่อเนื่อง ตำรวจึงสลายการชุมนุมด้วยการตั้งแนวแสดงกำลังและไล่ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่หน้าสหประชาชาติ
  • ไม่ออกนอกพื้นที่ภายในเวลากำหนด - วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 สลายการชุมนุมหลังจบการชุมนุมราษฎรที่สนามหลวง เหตุการณ์เกิดขึ้นหลังราษฎรยุติการชุมนุมในเวลา 20.30 น. มีผู้ชุมนุมบางส่วนยังคงอยู่ที่หน้าศาลฎีกา บางส่วนอยู่ภายในสนามหลวง ไม่ยินยอมที่จะเลิกตามคำประกาศของแกนนำ และมีการขว้างปาสิ่งของ เช่น วัตถุที่มีประกายไฟ บ้างเกิดเสียงดังคล้ายระเบิด บ้างไม่มีเสียง, อิฐภายในท้องสนามหลวง, ไม้และรั้วเหล็กที่อยู่บริเวณดังกล่าว จากนั้นตำรวจให้เวลา 30 นาทีในการออกนอกพื้นที่สนามหลวง แต่คล้อยหลังไม่ถึง 30 นาทีตำรวจเริ่มสลายการชุมนุมจับกุมผู้ชุมนุมและทีมแพทย์อาสาที่ยังตกค้างในบริเวณดังกล่าว
  • ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด - วันที่ 2 พฤษภาคม 2564 สลายการชุมนุมหลังจบการชุมนุมรีเด็มที่หน้าศาลอาญา วันดังกล่าวเวลา 15.00 น. รีเด็มเคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปศาลอาญา เมื่อไปถึงหน้าศาลอาญามีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์และประกาศยุติการชุมนุมในเวลา 17.56 น. แต่ยังมีมวลชนประมาณ 20 คนอยู่ทำกิจกรรมที่ฝั่งตรงข้ามศาลอาญา ต่อมาเวลา 19.07 น. ตำรวจใช้เครื่องขยายเสียงประกาศออกมาจากศาลอาญาว่า ถ้าอีกห้านาทียังไม่ยุติกิจกรรมจะสลายการชุมนุมและเริ่มการสลายการชุมนุม
  • ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด-1 สิงหาคม 2564 สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุดจัดกิจกรรมคาร์ม็อบเพื่อขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีการจัดกิจกรรมคู่ขนานห้าแห่ง มีชุมนุมใกล้กับพื้นที่หวงห้ามคือ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยใกล้กับทำเนียบรัฐบาลและถนนวิภาวดี ซึ่งเป็นที่ตั้งของราบ 1 ตำรวจวางแนวสิ่งกีดขวางบริเวณสะพานผ่านฟ้า ฝั่งราชดำเนินนอกและหน้าราบ 1 หลังบก.ลายจุด ประกาศยุติกิจกรรมแล้วยังมีผู้ชุมนุมจำนวนมากอยู่ที่ถนนวิภาวดี ใกล้กับกรมทหารราบที่ 1  ซึ่งเป็นที่พักของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

 

Article type: