1660 1996 1400 1186 1042 1473 1209 1562 1283 1637 1683 1946 1397 1860 1832 1416 1201 1692 1847 1381 1757 1826 1945 1757 1995 1212 1386 1370 1593 1544 1808 1917 1371 1611 1487 1105 1845 1209 1319 1017 1359 1991 1387 1528 1590 1406 1031 1406 1932 1619 1008 1662 1656 1643 1838 1289 1890 1941 1641 1258 1541 1627 1987 1975 1049 1337 1318 1912 1871 1951 1215 1905 1520 1382 1314 1390 1303 1427 1050 1209 1996 1158 1546 1288 1625 1124 1478 1945 1874 1157 1966 1042 1565 1560 1871 1716 1315 1179 1945 รวมข้อกำหนด-ประกาศที่ออกตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯระหว่างโควิด 19 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

รวมข้อกำหนด-ประกาศที่ออกตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯระหว่างโควิด 19

วันที่ 25 มีนาคม 2563 นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ ตามมาด้วยข้อกำหนดและประกาศที่ออกตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯหลายฉบับ เฉพาะของนายกรัฐมนตรีออกมาแล้ว 25 ฉบับ นอกจากนี้ยังมีประกาศของผู้บัญชาการทหารสูงสุดและประกาศท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ต่างๆ เนื้อหาในข้อกำหนดและประกาศต่างๆเป็นไปเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่วนหนึ่งมีการห้ามรวมตัว ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์และดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการออกกฎหมาย
 
เมื่ออยู่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้พ.ร.บ.ชุมนุมฯไมใช้บังคับ ทำให้ข้อกำหนดฯที่ออกตามความพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นบทกำหนดเรื่องการรวมตัวและชุมนุม ฉบับล่าสุดวันที่ 26 มิถุนายน 2564 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 25 ระบุเกี่ยวกับการรวมตัวในข้อ 4 เรื่อง มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใน (4) กิจกรรมการรวมกลุ่ม ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คน เว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานกักกันโรค
 
ซึ่งเจ้าหน้าที่ใช้ข้อกำหนดนี้เป็นบทหลักในการประกาศห้ามการรวมตัวหรือชุมนุมของประชาชนในช่วงที่ผ่านมา จึงรวบรวมข้อกำหนดของนายกรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวไว้ ดังนี้
 
 
6 มีนาคม 2563 
 
ที่เวทีมวยลุมพินี มีการจัดรายการมวย “ลุมพินิแชมเปียนเกริกไกร เกียรติเพชร” ก่อนหน้านี้วันที่ 4 มีนาคม 2563 การกีฬาแห่งประเทศไทยทำหนังสือขอความร่วมมือนายสนามมวยลุมพินีงดจัดการแข่งขัน แต่การแข่งขันยังคงเกิดขึ้นได้และเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกที่ 1
 
25 มีนาคม 2563
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ และออกข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 1 ข้อ 5 ระบุว่า “ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ภายในพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงกำหนด”
 
ที่มา :  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/069/T_0010.PDF
 
 
2317
 
 
 
3 เมษายน 2563
 
พลเอกพรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม โดยกำหนด “ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือการกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนหรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรค”
 
ที่มา :  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/078/T_0037.PDF
 
29 เมษายน 2563
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 4 ระบุว่า ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกียวข้องประเมินสถานการณ์เพื่อพิจารณาผ่อนคลายหรือเพิ่มความเข้มงวดการบังคับใช้บางมาตรการ โดยมุ่งให้การควบคุมและการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถยุติได้โดยเร็วและไม่ย้อนกลับมาอีก ขณะเดียวกันประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ภายใต้มาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำของทางราชการ โดยจะพิจารณาผ่อนคลายเป็นลำดับขั้นตอนตามหลักเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนด
 
1 พฤษภาคม 2563
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 5 ห้ามให้จัดกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากในลักษณะ “มั่วสุมประชุมกันหรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย” เว้นแต่เป็นการจัดโดยเจ้าพนักงานหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ โดยต้องเว้นระยะห่าง อยู่ในที่ไม่แออัดและใช้ระยะเวลาทำกิจกรรมไม่นาน รวมทั้งมีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด
 
23 กรกฎาคม 2563
 
พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มีมติขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่อไปอีก 1 เดือน ระหว่างนี้จะไม่ใช้บังคับพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ทำให้การชุมนุมในช่วงเวลานี้เป็นการละเมิดกฎหมาย ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 
 
31 กรกฎาคม 2563 
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 13  การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มหรือการใช้สิทธิของประชาชนเพื่อการชุมนุมใดๆ ย่อมกระทำได้ภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายตามหลักเกณฑ์กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะและและให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกำรจัดกิจกรรมจัดให้ผู้เข้ำร่วมกิจกรรมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดด้วย 
 
 
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/174/T_0077.PDF
 
 
15 ตุลาคม 2563 
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 
 
22 ตุลาคม 2563
 
ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 
 
25 ธันวาคม 2563
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 15 ข้อ 3 ระบุว่า “ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ภายในพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงกำหนด”
 
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/302/T_0068.PDF
 
29 ธันวาคม 2563 
 
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมดังนี้
 
ข้อ 1 ห้ามมิให้มีการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรค
 
ข้อ 2 ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคในพื้นที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศหรือมีคำสั่งให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด
 
ข้อ 3 การชุมนุมหรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัด...ต้องขออนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนดำเนินการ และต้องแสดงแผนการจัดงานและมาตรการควบคุมโรคประกอบการพิจารณา
 
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/305/T_0059.PDF
 
3 มกราคม 2564 
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 16 ข้อ 2 ระบุว่า ห้ามการจัดกิจกรรมในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย 
 
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/001/T_0001.PDF
 
7 มกราคม 2564
 
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ฉบับที่ 2 ยกเลิกประกาศฉบับที่ 1 โดยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวดังนี้ 
 
ข้อ 1 ห้ามมิให้มีการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรค
 
ข้อ 2 ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย ซึ่งมีประกาศหรือคำสั่งให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด
 
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/007/T_0028.PDF
 
 
29 มกราคม 2564
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 18 ข้อ 1  (2) กำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ที่ต้องบังคับใช้มาตรการที่กำหนดไว้สำหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามข้อกำหนดฉบับที่ 16
 
ข้อ 3 (2) ห้ามการจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากและมีโอกาสแพร่ระบาดของโรคได้ง่าย เว้นแต่เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะตามข้อยกเว้นที่กำหนดในข้อ 2 ของข้อกำหนดฉบับที่ 16
 
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/022/T_0043.PDF
 
 
3 กุมภาพันธ์ 2563 
 
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ฉบับที่ 3 ยกเลิกประกาศฉบับที่ 2 โดยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมดังนี้ 
 
ข้อ 1 ห้ามมิให้มีการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรค
 
ข้อ 2 ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย ซึ่งมีประกาศหรือคำสั่งให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่ควบคุมสูงสุด
 
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/025/T_0033.PDF
 
 
19 กุมภาพันธ์ 2564
 
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ฉบับที่ 4 ระบุว่า ปัจจุบันยังปรากฏสถานการณ์การชุมนุมอยู่จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 ให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยหลักในการ “ปฏิบัติตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสมในการระงับยับยั้ง การยุติการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือมั่วสุม” ในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
 
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/040/T_0065.PDF
 
 
5 มีนาคม 2564 
 
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ฉบับที่ 5 ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัด ในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและอาจเป็นสาเหตุทที่ก่อให้เกิดโรคโควิด 19 
 
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/050/T_0049.PDF
 
 
16 เมษายน 2564
 
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 20 ที่ออกตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ระบุว่า “...ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 50 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่…” 
 
 
29 เมษายน 2564 
 
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 22 ที่ออกตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ระบุเกี่ยวกับรวมตัวในข้อ 3 เรื่องการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มสำหรับพื้นที่สูงสุดและเข้มงวดที่มีการรวมตัวของบุคคลมากกว่า 20 คน เหตุยกเว้นเป็นไปตามข้อกำหนดฉบับที่ 20 (กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, เชียงใหม่, นนทบุรี, ปทุมธานีและสมุทรปราการ) 
 
19 มิถุนายน 2564
 
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 24 ระบุเกี่ยวกับการรวมตัวในข้อ 4 เรื่อง ห้ามจัดกิจกรรมจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามการรวมกลุ่มกันของบุคคลจำแนกตามพื้นที่ เช่น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามการจัดกิจกรรมที่มีคนจำนวนรวมกันมากกว่า 50 คน, พื้นที่ควบคุมสูงสุด ห้ามการจัดกิจกรรมห้ามการจัดกิจกรรมที่มีคนจำนวนรวมกันมากกว่า 100 คนและพื้นที่ควบคุม ห้ามการจัดกิจกรรมที่มีคนจำนวนรวมกันมากกว่า 150 คน เว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือกิจกรรมที่ดำเนินโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค
 
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/133/T_0001.PDF
 
 
26 มิถุนายน 2564
 
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 25 ระบุเกี่ยวกับการรวมตัวในข้อ 4 เรื่อง มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใน (4) กิจกรรมการรวมกลุ่ม ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คน เว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานกักกันโรค
 
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/140/T_0001.PDF
 
 
Article type: