1704 1424 1877 1772 1208 1619 1136 1638 1130 1436 1438 1433 1672 1819 1812 1226 1278 1071 1906 1667 1715 1900 1936 1654 1863 1646 1127 1463 1062 1183 1977 1388 1060 1411 1303 1081 1364 1870 1518 1366 1615 1681 1091 1541 1426 1027 1134 1659 1876 1161 1147 1197 1223 1812 1592 1120 1190 1949 1946 1435 1213 1775 1879 1543 1503 1934 1948 1162 1199 1912 1151 1998 1834 1623 1435 1150 1520 1997 1358 1152 1244 1511 1216 1362 1647 1206 1305 1140 1150 1918 1821 1234 1994 1739 1770 1212 1976 1205 1397 เงื่อนไขประกันตัว คืออะไร? มีเงื่อนไขแล้วยังไงต่อ? | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เงื่อนไขประกันตัว คืออะไร? มีเงื่อนไขแล้วยังไงต่อ?

ในปี 2564 จำเลยคดีมาตรา 112 และคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองถูกจับกุม ถูกส่งฟ้อง และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวอย่างน้อย 21 คน ก่อนทยอยให้ประกันตัวภายหลัง โดยศาลให้ประกันตัวพร้อมกำหนด "เงื่อนไข" หลายประการ ซึ่งเงื่อนไขบางประการมีลักษณะเป็นเหมือนข้อกำหนดที่ควบคุมพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การห้ามทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การห้ามร่วมการชุมนุมทางที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย 
 
ในคดีทั่วไป การพิจารณาให้ประกันตัวของศาล จะเน้นไปที่การพิจารณาพฤติการณ์ของจำเลยว่า จะหลบหนีหรือไม่ จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานทำให้กระบวนการสอบสวนและการพิจารณาคดีเสียหายหรือไม่ และพิจารณาความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ที่ใช้ประกันตัว จนกระทั่งช่วงต้นปี 2564 จึงมีปรากฏการณ์ที่ศาลใช้อำนาจการกำหนด "เงื่อนไข" โดยละเอียดเข้ามาเป็นปัจจัยหลักสำหรับการออกคำสั่งที่อนุญาตให้ประกันตัว นอกจากจะกำหนดเงื่อนไขให้แล้วยังต้องทำการไต่สวนผู้ต้องหาหรือจำเลยก่อนว่า ยินดีจะรับเงื่อนไขด้วยตัวเองหรือไม่ 
 
อำนาจกำหนดเงื่อนไขของศาลนี้ เป็นอำนาจเดิมที่มีอยู่แล้วตามกฎหมาย เพียงแต่ในการสั่งให้ประกันตัวคดีทั่วๆ ไป ศาลมักไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดเป็นพิเศษ หรือไม่ได้ใช้อำนาจนี้บ่อยนัก
 
 
1795
 
ศาลมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขประกันตัว โดยต้องไม่เกินความจำเป็น
 
อำนาจของศาลที่จะกำหนดเงื่อนไข ประกอบการให้ประกันตัว อยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 วรรคสาม
 
มาตรา ๑๐๘ ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ
(1) ความหนักเบาแห่งข้อหา
(2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด
(3) พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
(4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
(6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่
(7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้
 
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริง รายงานหรือความเห็นของเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการนั้นเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำร้องด้วยก็ได้
 
ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่หรือเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติ หรือในกรณีที่ผู้นั้นยินยอมจะสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวก็ได้  ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แต่ถ้าผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ แม้ผู้นั้นยินยอม จะสั่งให้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวได้ต่อเมื่อผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อบุคคลอื่นอย่างร้ายแรง หรือมีเหตุสมควรประการอื่น
 
และมีกำหนดขอบเขตของเงื่อนไขเอาไว้กว้างๆ ว่า การกำหนดเงื่อนไขจะ "เกินความจำเป็นแก่กรณีมิได้" ในมาตรา 112 วรรคสาม
 
มาตรา 112  เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันก่อนปล่อยไปให้ผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันลงลายมือชื่อในสัญญาประกันนั้น
 
ในสัญญาประกันนอกจากข้อความอย่างอื่นอันพึงมี ต้องมีข้อความดังนี้ด้วย
(1) ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวหรือผู้ประกัน แล้วแต่กรณี จะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล ซึ่งให้ปล่อยชั่วคราว
(2) เมื่อผิดสัญญาจะใช้เงินจำนวนที่ระบุไว้
 
ในสัญญาประกันจะกำหนดภาระหน้าที่หรือเงื่อนไขให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราว หรือผู้ประกันต้องปฏิบัติเกินความจำเป็นแก่กรณีมิได้
 
และยังมีมาตรา 115 ที่ให้อำนาจศาลที่จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกันตัวในอนาคตได้อีกด้วย
 
มาตรา 115 โดยความปรากฏต่อมา หรือเนื่องจากกลฉ้อฉลหรือผิดหลง ปรากฏว่าสัญญาประกันต่ำไปหรือหลักประกันไม่เพียงพอ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม ให้เจ้าพนักงานหรือศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนสัญญาประกันให้จำนวนเงินสูงขึ้น หรือเรียกหลักประกันเพิ่ม หรือให้ดีกว่าเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
 
ภายหลังที่มีคำสั่งปล่อยชั่วคราวแล้ว หากพฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ให้เจ้าพนักงานหรือศาลมีอำนาจสั่งลดหลักประกันได้ตามที่เห็นสมควร
 
ในกรณีที่ศาลปล่อยชั่วคราวและคดีขึ้นไปสู่ศาลสูง ศาลสูงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินตามสัญญาประกันหรือเงื่อนไขที่ศาลล่างกำหนดไว้ได้ตามที่เห็นสมควร
 
 
ถ้าฝ่าฝืนเงื่อนไข อาจถูกเพิกถอนการประกันตัว กลับเข้าเรือนจำ
 
หากผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้ประกันตัว ฝ่าฝืนหรือไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำสั่งให้ประกันตัว กระบวนการต่อไปจะเป็นไปตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว พ.ศ.2548 ฉบับที่แก้ไขเมื่อปี 2562 ข้อ 8 ดังนี้ 
 
"ข้อ 8 ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยปฏิบัติ เช่น ให้รายงานตัวต่อเจ้าพนักงานหรือบุคคลตามที่ศาลเห็นสมควร วางข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่อยู่อาศัยหรือการเดินทางออกไปนอกสถานที่อยู่อาศัย วางข้อจำกัดเกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือการงานบางอย่าง หรือวางข้อจำกัดเกี่ยวกับการเข้าไปในสถานที่บางแห่งที่อาจก่อให้เกิดการกระทำความผิดอีก เป็นต้น หรือในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยยินยอมจะสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ต้องหาหรือจำเลย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการหลบหนีหรือภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็ได้ และหากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้น ให้ศาลพิจารณาเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้"
 
ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ฉบับนี้ ให้คำตอบไว้ชัดเจนแล้วว่า หากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ก็จะถูกเพิกถอนคำสั่งประกันตัวได้ โดยผู้ที่จะพิจารณาว่า มีการกระทำที่ถือเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่ และจะเพิกถอนการประกันตัวหรือไม่ ก็คือศาลเจ้าของคดีที่เป็นผู้สั่งให้ประกันตัวนั่นเอง
 
ในทางปฏิบัติหากศาลเห็นเองว่า มีพฤติกรรมฝ่าฝืนเงื่อนไขการประกันตัว ศาลอาจออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลเพื่อสั่งเพิกถอนการประกันตัวก็ได้ หรือถ้าคู่กรณี หรือบุคคลอื่นทราบว่า มีการฝ่าฝืนเงื่อนไขการประกันตัวก็อาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งเพิกถอนการประกันตัวก็ได้ โดยสุดท้ายศาลจะเป็นผู้พิจารณาและตัดสินใจเอง ในกรณีที่ศาลจะพิจารณาเพื่อสั่งเพิกถอนการประกันตัวก็อาจเรียกพยาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้รู้เห็นเหตุการณ์ มาไต่สวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามสมควรก่อนออกคำสั่งก็ได้ ถ้าหากผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกเรียกให้มาศาลแล้วไม่มา ก็อาจถูกศาลออกหมายจับได้
 
การเพิกถอนสัญญาประกันตัวเพราะเหตุผู้ต้องหาทำผิดเงื่อนไข เคยเกิดขึ้นในคดีการเมืองมาแล้ว คือ คดีมาตรา 112 ของจตุภัทร์ หรือ "ไผ่ ดาวดิน" จากการแชร์บทความพระราชประวัติของรัชกาลที่ 10 จตุภัทร์ ถูกจับกุมวันที่ 3 ธันวาคม 2559 และศาลจังหวัดขอนแก่นอนุญาตให้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 400,000 บาทในวันรุ่งขึ้น ต่อมา 19 ธันวาคม 2559 ตำรวจยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่น ให้เพิกถอนสัญญาประกันตัว โดยให้เหตุผลในคำร้องว่า หลังจากได้รับการประกันตัว จตุภัทร์โพสต์เฟซบุ๊กเยาะเย้ยพนักงานสอบสวน โดยพิมพ์ข้อความว่า "เศรษฐกิจมันแย่แม่งเอาแต่เงินประกัน" อ่านรายละเอียดคดีนี้ที่ https://freedom.ilaw.or.th/th/case/756
 
วันที่ 22 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่นเรียกตัวจตุภัทร์มาไต่สวน โดยสั่งให้ไต่สวนเป็นการลับ และมีคำสั่งว่า หลังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว พบว่าผู้ต้องหายังไม่ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีบนเฟซบุ๊กออกไป ทั้งยังแสดงความคิดเห็น และมีพฤติกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงเยาะเย้ย อำนาจรัฐ โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ อีกทั้งผู้ต้องหามีแนวโน้มจะกระทำการลักษณะเดิมต่อไปอีก ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ อายุ 25 ปี ย่อมรู้ว่าการกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวข้างต้น เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาล จึงฟังได้ตามคำสั่งว่า ผู้ต้องหาได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหาย ภายหลังได้รับประกันตัว ประกอบกับนายประกันของผู้ต้องหา ไม่ได้กำกับดูแลให้ผู้ต้องหาให้ปฎิบัติตามเงื่อนไขของศาล จนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าว จึงให้เพิกถอนสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา
 
หลังจากถูกเพิกถอนสัญญาประกันตัว จตุภัทร์จึงถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ ระหว่างการพิจารณาคดีได้ยื่นขอประกันตัวอีกหลายครั้งแต่ศาลไม่เคยอนุญาตให้ประกันตัวอีกเลย จนกระทั่งตัดสินให้จำคุก 2 ปี 6 เดือน และจตุภัทร์ได้ปล่อยตัวเมื่อรับโทษครบกำหนด 
 
 
เงื่อนไขต้องชัดเจน เข้าใจได้ ปฏิบัติตามได้ 
 
ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้อ 8 ยกตัวอย่างของ "เงื่อนไข" ในการให้ประกันตัวไว้หลายประการ ช่วยให้เห็นภาพของอำนาจการกำหนดเงื่อนไขประกันตัวชัดเจนขึ้น และเห็นถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อำนาจศาลกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวด้วย ตัวอย่างของการกำหนดเงื่อนไขในข้อ 8 เช่น การให้รายงานตัว การจำกัดสถานที่อยู่ การห้ามประกอบการงานบางอย่าง เหล่านี้เป็นข้อจำกัดที่เห็นได้ว่า มีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้จำเลยก่อเหตุหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจก่อเหตุผิดกฎหมายได้ และมีความชัดเจนในระดับหนึ่งที่จำเลยจะสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้ และรู้ได้อย่างชัดเจนว่า การกระทำใดถือเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขบ้าง
 
อย่างไรก็ดี การใช้อำนาจกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวของกลุ่มผู้ชุมนุม "ราษฎร" หลายคนในปี 2564 เป็นเงื่อนไขใหม่ที่ไม่เคยใช้มาก่อนกับคดีทั่วไป จึงยังมีคำถามถึงขอบเขตการตีความอยู่ว่า การกระทำแค่ไหนเพียงใดจะถือเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการประกันตัวที่ศาลกำหนด
 
ตัวอย่างเช่น กรณีของพริษฐ์ หรือเพนกวิ้น ในระหว่างการไต่สวนเรื่องการประกันตัว ทนายความถามว่า หากศาลจะมีเงื่อนไขการประกันตัว อันได้แก่ การไม่กระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพนกวิ้นตอบทันทีว่า กิจกรรมที่เขาทำไม่ได้ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อทนายจำเลยถามว่า หากศาลจะกำหนดเงื่อนไขว่าไม่ให้ไปร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองจะยอมรับหรือไม่ เพนกวิ้นยังไม่ตอบศาลแต่ปรึกษากับทนายความ ระหว่างนั้นศาลพูดขึ้นทำนองว่า การที่ประชาชนไปชุมนุมเรียกร้องก็ถือเป็นการใช้สิทธิตามปกติ แต่จำเลยก็น่าจะทราบว่าการรวมตัวลักษณะใดที่เป็นการก่อความวุ่นวาย หลังปรึกษาทนายความเพนกวิ้นแถลงต่อศาลว่าตัวเขายืนยันว่า จะเข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบสันติปราศจากอาวุธ และจะไม่เข้าร่วมกับการชุมนุมหรือกิจกรรมที่เป็นการก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง พร้อมทั้งยืนยันว่า ที่ผ่านมาเขาก็ทำกิจกรรมที่สันติปราศจากอาวุธมาโดยตลอด
 
จะเห็นได้ว่า กรณีเช่นนี้จำเลยยืนยันว่าสิ่งที่เขาทำมาตลอดไม่ขัดต่อเงื่อนไขที่ศาลกำหนด แต่ก็เกิดความไม่แน่ใจขึ้นว่า เงื่อนไขที่กำหนดว่า "ไม่กระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์" หรือ "ไม่ให้ไปร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง" นั้นจะตีความอย่างไร ทั้งในปัจจุบันและสถานการณ์ทางการเมืองที่อาจจะตามมาอีกในอนาคต โดยศาลที่สั่งให้ประกันตัว เป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในการตีความ 
 
และหลังจากได้รับการปล่อยตัว เพนกวิ้นก็ได้โพสเฟซบุ๊ก เขียนนำว่า "สาสน์แรกแห่งอิสรภาพ" ยืนยันเดินหน้าข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ยังไม่ได้เป็นแกนนำจัดกิจกรรมการชุมนุมใดๆ คนกลุ่มหนึ่งในนาม ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ก็ได้ไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่ออัยการ ให้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนสัญญาประกันตัวเนื่องจากมองว่า การโพสเฟซบุ๊กเช่นนั้นพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ และผิดเงื่อนไขที่ศาลกำหนดไว้ 
 
นับถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ศาลได้สั่งให้ประกันตัวผู้ต้องหาและจำเลยในคดีการเมืองไปจำนวนมาก พร้อมกับกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวให้แต่ละคนซึ่งเงื่อนไขของหลายคนมีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ก็มีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง โดยไม่ชัดเจนว่า ศาลมีหลักเกณฑ์ที่จะตัดสินใจกำหนดเงื่อนไขใดให้กับบุคคลใดบ้าง ด้วยเหตุผลใด ตัวอย่างเช่น
 
กรณีของปติวัฒน์ หรือ หมอลำแบงค์ ซึ่งเป็นจำเลยมาตรา 112 ที่ได้ประกันตัวเป็นคนแรกของคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 จำเลยแถลงต่อศาล และศาลให้ประกันตัวโดยกำหนดเงื่อนไขว่า “ห้ามมิให้จำเลยที่ 3 กระทำการในสักษณะเช่นเดียวกับที่ถูกกล่าวหาตามฟ้องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ซ้ำอีก หรือไปร่วมกิจกรรมที่อาจทำให้เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาล และให้จำเลยมาศาลตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัด” 
 
ต่อมาสมยศ พฤกษาเกษมสุข และจตุภัทร์ ได้ประกันตัวเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564 ภายใต้เงื่อนไขว่า “ห้ามมิให้จำเลยทั้งสองทำกิจกรรมที่จะกระทำความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้จำเลยมาศาลตามนัด หากผิดสัญญาปรับคนละ 200,000 บาท” 
 
ขณะที่ปิยรัฐ หรือโตโต้ ที่ได้ประกันตัวจากคำสั่งของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ได้ประกันตัวภายใต้เงื่อนไขว่า “ห้ามผู้ต้องหามีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ รวมทั้งห้ามทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามผู้ต้องหาเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นจะได้รับอนุญาตจากศาล” ร่วมกับการติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(EM) 
 
สำหรับกรณีฟ้า พรหมศร ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ประกันตัวเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2564 โดยระบุในคำสั่งว่า “...อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนได้ ตีราคาประกัน 200,000 บาท กับให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) โดยถือให้คำรับรองของผู้ต้องหาเป็นเงื่อนไขต้องปฏิบัติในการปล่อยตัวชั่วคราว…” ซึ่งก่อนหน้านี้ ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวโดยท้ายคำร้องระบุว่า ผู้ต้องหายังยินยอมให้ศาลกําหนดเงื่อนไขว่า “จะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่จะทําความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และมาศาลตามนัด”  
 
หรือกรณีล่าสุด อานนท์ นำภา และไมค์ ภาณุพงศ์ จำเลยคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ซึ่งได้ประกันตัวเป็นชุดสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ได้ประกันตัวภายใต้เงื่อนไขว่า “...อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาโดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาไม่ไปกระทำกิจกรรมที่กระทำความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ร่วมการชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้มาตามศาลนัด”
 

 

ผู้ต้องหา/จำเลย วันที่ให้ประกันตัว
 
ห้ามกระทำลักษณะ
เดียวกับที่ถูกกล่าวหา
ตามฟ้องเกี่ยวกับ
สถาบันพระมหากษัตริย์ซ้ำอีก 
 
 
ห้ามเข้าร่วมกิจกรรม
การชุมนุมที่ก่อให้
เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
ห้ามเข้าร่วมกิจกรรม
ที่อาจทำให้เสื่อมเสีย
แก่สถาบันพระมหากษัตริย์
ติดกำไลอิเล็กทรอนิกส์
ติดตามตัว (EM)
ปติวัฒน์ หรือ หมอลำแบงค์ 9 เม.ย.  64 / - / -
จตุภัทร์ หรือ ไผ่
 
23 เม.ย. 64 - - / -
สมยศ พฤกษาเกษมสุข 23 เม.ย. 64 - - / -
พรพิมล 23 เม.ย. 64 - - - -
ปิยรัฐ หรือ โตโต้ 5 พ.ค. 64 / - / /
ปนัสยา หรือ รุ้ง 6 พ.ค. 64 / / - -
วรรณวลี หรือ ตี้ 7 พ.ค. 64 / / - -
พรหมศร หรือ ฟ้า 10 พ.ค. 64 - - / /
ไชยอมร หรือ แอมมี่ 11 พ.ค. 64 - / / -
พริษฐ์ หรือ เพนกวิ้น 11 พ.ค. 64 - / / -
ทนายอานนท์ 1 มิ.ย. 64 - / / -
ภาณุพงศ์ หรือ ไมค์ 1 มิ.ย. 64 - / / -
 
 
Article type: