1611 1505 1522 1195 1028 1908 1982 1098 1779 1194 1860 1289 1415 1728 1875 1967 1393 1632 1905 1424 1594 1504 1876 1064 1259 1056 1482 1875 1772 1599 1967 1132 1036 1273 1591 1875 1028 1762 1981 1559 1085 1359 1961 1464 1837 1378 1629 1161 1274 1607 1131 1050 1860 1064 1638 1079 1239 1291 1672 1931 1819 1311 1820 1112 1907 1960 1201 1197 1823 1900 1885 1184 1417 1323 1230 1597 1563 1496 1379 1477 1328 1324 1447 1590 1783 1731 1468 1791 1390 1974 1367 1670 1477 1314 1775 1142 1227 1632 1988 7 ปี แห่งความถดถอย : รวมกฎหมายที่ถูก "ขุด" มาดำเนินคดีปิดปาก | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

7 ปี แห่งความถดถอย : รวมกฎหมายที่ถูก "ขุด" มาดำเนินคดีปิดปาก

 

ตลอด 7 ปี ของการปกครองโดย คสช. ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง “กฎหมาย” ที่มีอยู่ถูกนำมาใช้ตั้งข้อหาดำเนินคดีกับผู้ที่แสดงความคิดเห็นแตกต่างจากผู้ปกครอง กฎหมายและกระบวนการบังคับใช้กฎหมายกลายเป็น “เครื่องมือ” สำหรับ “ปิดปาก”​ ฝ่ายตรงข้าม

ยิ่ง คสช. อยู่นาน นอกจากจำนวนคดี จำนวนผู้ต้องคดีที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วจำนวนกฎหมาย ที่กลายมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้อีก

เท่าที่บันทึกไว้ได้ มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ 23 ฉบับ พระราชกำหนด 1 ฉบับ มีประกาศและคำสั่งของ คสช. กับของหัวหน้าผู้รับผิดชอบการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินฯ รวม 16 ฉบับ มีข้อกำหนด 7 ฉบับ โดยมีมาตราที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 71 มาตรา ดังนี้ 

 

1785

 


ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออก

ประมวลกฎหมายอาญา


๐ ข้อหา #ประทุษร้ายพระราชินี
มาตรา 110 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินี หรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี

๐ ข้อหา #หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี

๐ ข้อหา #ยุยงปลุกปั่น

มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี

๐ ข้อหา #ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #แจ้งความเท็จ
มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #ต่อสู้ขัดขวาง
มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #แต่งกายเลียนแบบสงฆ์
มาตรา 208 ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวชในศาสนาใดโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #อั้งยี่
มาตรา 209 ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท

๐ ข้อหา #ซ่องโจร
มาตรา 210 ผู้ใดสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาคสองนี้ และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #มั่วสุมก่อความวุ่นวาย
มาตรา 215 ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #มั่วสุมไม่ยอมเลิก
มาตรา 216 เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ให้เลิกไป ผู้ใดไม่เลิก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #วางเพลิงเผาทรัพย์
มาตรา 217 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ 10,000 - 140,000 บาท

๐ ข้อหา #ทำร้ายร่างกาย
มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #ลักทรัพย์
มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท

๐ ข้อหา #ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ
มาตรา 360 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #บุกรุกสถานที่ราชการ
มาตรา 364 ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #พกพาอาวุธ
มาตรา 371 ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดย เปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น

๐ ข้อหา #ปล่อยข่าวลือ
มาตรา 384 ผู้ใดแกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตกใจ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #กีดขวางทางสาธารณะ
มาตรา 385 ผู้ใดโดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร โดยวาง หรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใด ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

๐ ข้อหา #ทำร้ายผู้อื่น
มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ความผิดที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาท

ประมวลกฎหมายอาญา

๐ ข้อหา #หมิ่นประมาท
มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #หมิ่นประมาทคนตาย
มาตรา 327 ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น

๐ ข้อหา #หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท

๐ ข้อหา #ดูหมิ่นซึ่งหน้า
มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #ก่อความเดือดร้อนรำคาญ
มาตรา 397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท


พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือ #พรบคอม
 

มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (1) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้


ข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการชุมนุม

พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558

๐ จัดการชุมนุมสาธารณะในสถานที่ต้องห้ามตามมาตรา 7 จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ชุนนุมสาธารณะในลักษณะกีดขวาง ทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงาน หรือการใช้บริการสถานที่ตามมาตรา 8 จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้ง การชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่ม การชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ตามมาตรา 10 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

๐ เป็นผู้จัดการชุมนุมแต่มิได้แจ้งล่วงหน้า ต่อหัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งมีหน้าที่ รับผิดชอบดูแลการชุมนุมสาธารณะนั้น ว่าจะมีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้าย ผู้ชุมนุมจะเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุม ตามมาตรา 17 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

๐ เป็นผู้ชุมนุมแต่ไม่เลิกการชุมนุม สาธารณะภายในระยะเวลาที่ผู้จัดการ ชุมนุมได้แจ้งไว้ต่อผู้รับแจ้ง ตามมาตรา 18 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

๐ ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามชุมนุม หรือจัดการ ชุมนุมระหว่างมีคำสั่งห้ามชุมนุมตาม มาตรา 11 จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

---
ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ห้ามมิให้มั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12 ผู้ใดมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการชุมนุมที่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 4 เรื่อง ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุม ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ความผิดเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม

๐ ข้อหา #ละเมิดอำนาจศาล
ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31 กระทำการละเมิดอำนาจศาล มีบทลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งคือ ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือให้ลงโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีกำหนดโทษจำคุกและปรับนั้นให้จำคุกได้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 500 บาท

๐ ข้อหา #ข่มขืนใจเจ้าพนักงาน
มาตรา 139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกิน 80,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน
มาตรา 142 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สิน หรือเอกสารใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้ หรือสั่งให้ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน หรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษาทรัพย์หรือเอกสารนั้นไว้เอง หรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่น ส่งหรือรักษาไว้ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #ให้ที่พักพิง
มาตรา 189 ผู้ใดช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ต้องโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้นหรือโดยช่วยผู้นั้นด้วยประการใดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #หลบหนีระหว่างการคุมตัว
มาตรา 190 ผู้ใดหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานอัยการ ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #ดูหมิ่นศาล
มาตรา 198 ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือ ปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ ข้อหา #ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
มาตรา 368 ผู้ใดทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ความผิดที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโควิด 19

๐ ความผิดที่เกี่ยวข้องกับการฝ่าฝืนประกาศและข้อกำหนดต่างๆที่ออกตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อกำหนดและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมมีดังนี้

* ข้อกำหนด ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ข้อ 5 ระบุว่า “ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ภายในพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงกำหนด”

* ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ลงวันที่ 3 เมษายน 2563 กำหนด “ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือการกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนหรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรค”

* ข้อกำหนด ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ระบุว่า ห้ามให้จัดกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากในลักษณะ “มั่วสุมประชุมกันหรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย” เว้นแต่เป็นการจัดโดยเจ้าพนักงานหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ โดยต้องเว้นระยะห่าง อยู่ในที่ไม่แออัดและใช้ระยะเวลาทำกิจกรรมไม่นาน รวมทั้งมีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด

* ข้อกำหนด ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ข้อ 3 ระบุว่า “ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ภายในพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงกำหนด”

* ข้อกำหนด ฉบับที่ 16 ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 ข้อ 2 ระบุว่า ห้ามการจัดกิจกรรมในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย

* ข้อกำหนด ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 29 มกราคม 2564 ข้อ 1 (2) กำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ข้อ 3 (2) ห้ามการจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากและมีโอกาสแพร่ระบาดของโรคได้ง่าย เว้นแต่เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะตามข้อยกเว้นที่กำหนดในข้อ 2 ของข้อกำหนดฉบับที่ 16

* ข้อกำหนดฉบับที่ 20 ลงวันที่ 16 เมษายน 2564 ข้อ 1(2) ระบุว่า ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีการรวมตัวกันมากกว่า 50 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมทที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค

* ข้อกำหนด ฉบับที่ 22 ลงวันที่ 29 เมษายน 2564 ข้อ 3 ระบุว่า ห้ามจัดกิจกรรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คนในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดได้แก่ กทม., ชลบุรี,เชียงใหม่, นนทบุรี, ปทุมธานีและสมุทรปราการ

* ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2563 กำหนดที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมดังนี้

ข้อ 1 ห้ามมิให้มีการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรค

ข้อ 2 ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคในพื้นที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศหรือมีคำสั่งให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด

ข้อ 3 การชุมนุมหรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัด...ต้องขออนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนดำเนินการ และต้องแสดงแผนการจัดงานและมาตรการควบคุมโรคประกอบการพิจารณา

* ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 7 มกราคม 2564 ยกเลิกประกาศฉบับที่ 1 โดยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวดังนี้

ข้อ 1 ห้ามมิให้มีการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรค

ข้อ 2 ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย ซึ่งมีประกาศหรือคำสั่งให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด

* ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเลิกประกาศฉบับที่ 2 โดยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมดังนี้

ข้อ 1 ห้ามมิให้มีการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรค

ข้อ 2 ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย ซึ่งมีประกาศหรือคำสั่งให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่ควบคุมสูงสุด

* ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2564 ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัด ในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคโควิด 19

พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 34 (6) ร่วมกันฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ โดยกระทําการๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดแพร่ออกไป มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

๐ ประกาศของจังหวัดต่างๆ เช่น ประกาศกรุงเทพมหานครเรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 26) ผู้ฝ่าฝืนอาจมีความผิดตามมาตรา 52 ของพ.ร.บ.โรคติดต่อ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๐ คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดต่างๆ เช่น ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ที่ 39/2564 เรื่อง การห้ามดำเนินการจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ข้อ 2 ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 50 คนเว้นแต่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ผู้ฝ่าฝืนอาจมีความผิดตามมาตรา 52 ของพ.ร.บ.โรคติดต่อ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ความผิดที่เกี่ยวกับสื่อ

พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 37 ห้ามมิให้ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง

หากตรวจสอบแล้วเห็นว่า การกระทำดังกล่าวเกิดจากการละเลยของผู้รับใบอนุญาตจริง ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งแก้ไขตามสมควร หรืออาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตก็ได้

พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 8 จัดทำสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือพิมพ์และพิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักรโดยไม่แสดงข้อความ (1) ชื่อของผู้พิมพ์และที่ตั้งโรงพิมพ์, (2) ชื่อและที่ตั้งของผู้โฆษณา และ (3) เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติได้ออกให้ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 23 ร่วมกันสร้างภาพยนตร์ในลักษณะที่เป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงและเกียรติภูมิของประเทศไทย มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกดําเนินการสอบสวนทางจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ (บทกำหนดโทษตามที่พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงฯ ให้อำนาจกรรมการกสทช.ไว้


ความผิดเกี่ยวกับการรณรงค์ประชามติและการเลือกตั้ง

พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559

๐ มาตรา 59 ทำลายบัตรลงคะแนนโดยไม่มีอำนาจ

๐ มาตรา 60 (9) ฐานก่อความวุ่นวายในหน่วยออกเสียง

๐ มาตรา 61 วรรคสอง ผู้ใดดําเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

ประมวลกฎหมายอาญา

๐ ข้อหา #ทำลายเอกสารของผู้อื่น
มาตรา 188 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใดของผู้อื่น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท

๐ ข้อหา #ทำให้เสียทรัพย์
มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ความผิดเกี่ยวกับการไม่รายงานตัวตามคำสั่งคสช.

ประกาศ คสช. ที่ 25/2557 เรื่อง ให้มารายงานตัว หรือแจ้งเหตุขัดข้อง ระบุว่า ให้บุคคลที่มีรายชื่อตามที่คสช.เรียกรายงานตัวมารายงานตัวภายในเวลาที่กำหนด หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประกาศ คสช. ที่ 29/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวตามคำสั่งคสช. ระบุว่า หากผู้ที่มีชื่อต้องมารายงานตัวไม่มารายงานตัวตามระยะเวลาที่กำหนด มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท

ประกาศ คสช. ที่ 39/2557 เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวของบุคคลที่มารายงานตัวต่อคสช.ระบุว่า ให้บุคคลที่มารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติและได้รับการปล่อยตัวปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้อย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท

ประกาศ คสช. ที่ 40/2557 เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวของบุคคให้บุคคลที่ถูกกักตัวตามพระราชบัญญัติกฏอัยการศึก 2457 มาตรา 15 ทวิ ระบุว่า ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามแนบท้ายประกาศนี้อย่างเคร่งครัดลที่ถูกกักตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก 2457 มาตรา 15 ทวิ และได้รับการปล่อยตัวปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้อย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท

ประกาศ คสช. ที่ 41/2557 เรื่อง ให้การฝ่าฝืนไม่ไปรายงานตัวเป็นความผิดระบุว่า บุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัวต่อคสช. มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกสั่งห้ามกระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินด้วย


ข้อหาตามกฎหมายอื่นๆ ที่ไม่ได้มีเจตนารมณ์ใช้จำกัดการแสดงออก

พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

๐ ข้อหา #กีดขวางการจราจร (ด้วยคน)
มาตรา 108 ห้ามมิให้ผู้ใดเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่ หรือเดินเป็นขบวนใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท โดยมีข้อยกเว้นคือ เป็นแถวทหารหรือตำรวจ ที่มีผู้ควบคุมตามระเบียบแบบแผนและแถวหรือขบวนแห่หรือขบวนใดๆ ที่เจ้าพนักงานจราจรได้อนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด

๐ ข้อหา #กีดขวางทางเท้า
มาตรา 109 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ บนทางเท้าหรือทางใด ๆ ซึ่งจัดไว้สำหรับคนเดินเท้าในลักษณะที่เป็นการกีดขวางผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

๐ ข้อหา #กีดขวางการจราจร (ด้วยของ)
มาตรา 114 ร่วมกันวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใด สิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการ ใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535

มาตรา 39 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการปิดกั้นทางหลวง หรือวางวัตถุที่แหลมหรือมีคม หรือนำสิ่งใดมาขวางหรือวางบนทางหลวง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ บนทางหลวงในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือบุคคล มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ความสะอาดฯ)

๐ มาตรา 10 การโฆษณาด้วยการปิด ทิ้ง หรือโปรยแผ่นประกาศหรือใบปลิวในที่สาธารณะ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับหนังสืออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสืออนุญาตด้วย มีโทษปรับ ไม่เกิน 5,000 บาท

๐ มาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ใดตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน เว้นแต่เป็นการกระทำในบริเวณที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจร มีโทษปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท

๐ มาตรา 37 ห้ามมิให้ผู้ใดยืน นั่งหรือนอนบนราวสะพานสาธารณะ หรือนอนในที่สาธารณะ มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493

มาตรา 4 ร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับ ไม่เกิน 200 บาท

พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487

มาตรา 8 การเรี่ยไรในถนนหลวงหรือในที่สาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาทหรือจำคุกไม่เกินสองเดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

มาตรา 10 ห้ามมิให้ผู้ใดซ่อมแซม แก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เคลื่อนย้ายโบราณสถานหรือส่วนต่าง ๆ ของโบราณสถาน หรือขุดค้นสิ่งใด ๆ หรือปลูกสร้างอาคารภายในบริเวณโบราณสถาน เว้นแต่จะกระทำตามคำสั่งของอธิบดีหรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี ฝ่าฝืนมีจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498

การใช้วิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนตามมาตรา 6 มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี

พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497

มาตรา 24 ห้ามมิให้ผู้ใดบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินหรือทิ้งร่มอากาศ นอกจากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ร.บ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530

มาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้ใดสั่งเข้ามา นําเข้ามา ผลิต หรือมีซึ่งยุทธภัณฑ์เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากปลัดกระทรวงกลาโหม มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ร.บ.ธง พ.ศ.2522

๐ มาตรา 53 ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อธง ดังต่อไปนี้
(3) ใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงไว้ ณ ที่หรือโดยวิธีอันไม่สมควร
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 54 ผู้ใดกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการเหยียดหยามต่อธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงที่ได้บัญญัติกำหนดลักษณะไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ร.บ.บัตรประจําตัวประชาชน พ.ศ. 2526

มาตรา 17 ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับ เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 25

ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญามีหน้าที่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือหรือลายเท้าตามคำสั่งของพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดฐานกระทำความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

Article type: