1406 1399 1228 1283 1941 1294 1146 1510 1781 1377 1019 1422 1392 1313 1861 1903 1258 1785 1488 1651 1179 1394 1180 1752 1724 1637 1915 1243 1100 1843 1868 1228 1047 1613 1079 1965 1209 1586 1263 1351 1466 1731 1046 1687 1530 1108 1276 1524 1348 1860 1401 1688 1183 1000 1611 1433 1339 1457 1138 1533 1674 1066 1977 1273 1728 1753 1958 1739 1714 1587 1090 1401 1185 1815 1002 1993 1989 1626 1650 1290 1032 1506 1483 1131 1985 1521 1739 1504 1780 1248 1667 1458 1299 1619 1984 1326 1952 1006 1077 รวมสถิติการยื่นคำร้องขอประกันตัว ‘เพนกวิน-พริษฐ์’ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

รวมสถิติการยื่นคำร้องขอประกันตัว ‘เพนกวิน-พริษฐ์’

รวมสถิติการยื่นคำร้องขอประกันตัว ‘เพนกวิน-พริษฐ์’  
 
ตั้งแต่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวในข้อหามาตรา 112 ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 นับจนถึงวันนี้ (5 พฤษภาคม 2564) พริษฐ์ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมาแล้วกว่า 86 วัน อดอาหารมาแล้วเป็นเวลา 51 วัน (ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564) และได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวหรือคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีทั้งสิ้น 10 ครั้ง โดยศาลไม่เคยอนุญาตให้ประกันตัวมาโดยตลอด จนกระทั่งการยื่นคำร้องครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัวพริษฐ์ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 โดยศาลเคยทำการไต่สวนและอนุญาตให้ประกันจำเลยในคดีเดียวกันไปแล้วก่อนหน้านี้ 
 
 
+++ 4 ผู้พิพากษาศาลอาญา สั่งไม่ให้ประกัน +++
 
เว็บไซต์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรวบรวมข้อมูลการยื่นขอประกันตัวในคดีนี้ พบว่า ผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาและลงชื่อในคำสั่งไม่ให้ประกันตัวของพริษฐ์ตั้งแต่ครั้งแรกในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 จนถึงครั้งที่เก้าในวันที่ 29 เมษายน 2564 พบว่า มีผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พิจารณาคำร้องและมีคำสั่ง ทั้งสิ้น 4 คน ได้แก่
 
เทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ลงนามในคำสั่งไม่ให้ประกันตัว 3 ครั้ง
 
สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด ลงนามในคำสั่งไม่ให้ประกันตัว 3 ครั้ง 
 
ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ลงนามในคำสั่งไม่ให้ประกันตัว 3 ครั้ง
 
มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ ลงนามในคำสั่งไม่ให้ประกันตัว 1 ครั้ง 
 
การไม่อนุญาตให้ประกันตัวพริษฐ์ในครั้งแรกโดยเทวัญ รอดเจริญ เป็นผู้ลงนามในคำสั่งนั้น ศาลได้ให้เหตุผลว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า คดีมีอัตราโทษสูงพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง อีกทั้งการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซ้ำๆต่างกรรมต่างวาระตามข้อกล่าวหาเดิมหลายครั้งหลายครา กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยอาจไปก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับความผิดที่ถูกกล่าวหาอีก จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ให้ยกคำร้อง แจ้งคำสั่งให้ทราบ และคืนหลักประกัน” ซึ่งในคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันในครั้งต่อๆ มา ศาลได้ระบุเหตุผลลักษณะเช่นเดียวกัน คือ "ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม" จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณา 
 
นอกจากการยื่นคำร้องขอประกันตัวจำเลยแล้ว ทนายความยังได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวถึงสองครั้ง คือ เมื่อวันที่ 11 และ 26 กุมภาพันธ์ 2564 การยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวนี้นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวจำเลย โดยจะเป็นการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องอีกครั้ง หากเห็นว่า ศาลศาลชั้นต้นสั่งไม่ถูกต้องก็สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขคำสั่งได้ 
 
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีของพริษฐ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันเช่นเดียวกับศาลชั้นต้นทั้งสองครั้ง โดยในคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวครั้งแรกศาลอุทธรณ์ได้ระบุเหตุผลไว้ว่า 
     
“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่าความผิดตามฟ้องมีอัตราโทษสูง การกระทำตามฟ้องมีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความวุ่นวายขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยจำเลยที่ 1 (พริษฐ์) ที่ 2 (อานนท์) และที่ 4 (สมยศ) ขึ้นปราศรัยด้วยถ้อยคำที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของปวงชนชาวไทยผู้จงรักภักดีอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และมีลักษณะชักนำประชาชนให้ล่วงละเมิดต่อกฎหมายของแผ่นดิน" 
 
“นอกจากนี้ยังปรากฏพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1  และที่ 2  ว่าถูกกล่าวหาดำเนินคดีเกี่ยวกับความผิดในลักษณะทำนองเดียวกันนี้ในคดีอื่นอีก...อีกทั้งคดีนี้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถูกจับกุมตามหมายจับกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายประการอื่นอีก และน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 อาจจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในระหว่างพิจารณา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง” 
 
และในครั้งที่สอง ศาลอุทธรณ์ระบุเหตุผลว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณามาแล้ว อีกทั้งเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวชอบแล้ว” 
 
พริษฐ์ ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครจากคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน 2563, คดีชุมนุม #Mobfest เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 และถูกย้ายไปยังสถานกักขังกลางปทุมธานีเนื่องจากถูกตัดสินให้ได้รับโทษกักขังเป็นเวลา 15 วัน (ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 6 เมษายน 2564) จากคดีละเมิดอำนาจศาลเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 
 
ในการนัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัวในวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 จะเป็นการไต่สวนเพื่อประกอบการสั่งตามคำร้องขอประกันตัวครั้งแรกของพริษฐ์  โดยก่อนหน้านี้ ศาลได้เคยไต่สวนคำร้องขอประกันตัวและมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันสำหรับกรณีของจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ และสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำเลยในคดีเดียวกันเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564 
 
อ่านรายละเอียดคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ได้ที่ https://freedom.ilaw.or.th/case/921 
 
1777
 
Article type: