1914 1257 1658 1586 1875 1966 1460 1539 1089 1497 1862 1020 1267 1514 1853 1151 1212 1274 1738 1211 1588 1331 1417 1101 1171 1740 1147 1578 1334 1403 1377 1954 1963 1459 1089 1313 1846 1726 1513 1770 1425 1719 1269 1988 1389 1792 1946 1355 1975 1609 1484 1741 1566 1593 1293 1765 1873 1290 1782 1746 1669 1938 1284 1523 1106 1322 1054 1920 1530 1701 1876 1542 1950 1891 1110 1902 1174 1394 1131 1717 1048 1829 1103 1724 1261 1457 1889 1885 1831 1569 1412 1722 1310 1045 1032 1680 1803 1184 1257 Reflection from Prison: เมื่อกระบวนการยุติธรรมไม่เหมือนในตำรา ‘บีม’ บัณฑิตกฎหมายเล่าประสบการณ์ถูกคุมขัง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Reflection from Prison: เมื่อกระบวนการยุติธรรมไม่เหมือนในตำรา ‘บีม’ บัณฑิตกฎหมายเล่าประสบการณ์ถูกคุมขัง

"ศาลบอกว่าพวกเราไม่ได้มีเหตุผลใหม่ในการคัดค้านฝากขัง หากไปดูตามกฎหมาย เหตุในการคัดค้านฝากขังมันก็มีอยู่แค่นั้น...ตอนที่ศาลให้ฝากขังต่อ เราคุยกันว่าถ้ากระบวนการยุติธรรมเป็นแบบนี้ก็น่าจะอยู่กันยาว 5 ผลัด แต่อยู่ดีๆ ศาลอุทธรณ์ก็สั่งปล่อย ยอมรับว่าดีใจ แต่พี่ไผ่ (ดาวดิน) ยังอยู่ข้างใน มันสะเทือนใจ"  
 
‘บีม’ บัณฑิตนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในผู้ถูกจับจากการสลายการชุมนุมคณะราษฎรอีสานนำโดยไผ่ ดาวดิน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2563 เปิดใจหลังได้รับอิสรภาพจากการถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลา 6 วัน
 
1591

"ผมเป็นคนจันทบุรีแต่ไปเรียนนิติศาสตร์ที่ มข. เรียนจบมาเกือบปีแล้ว ตอนนี้กลับมาอยู่บ้านทำงานฟรีแลนซ์เพื่อรอสอบทนาย พอผมรู้ว่าจะมีม็อบวันที่ 14 ต.ค.เลยติดต่อกับไผ่ ดาวดิน ที่เป็นรุ่นพี่ว่าจะมาช่วย ตัวผมไม่เคยเป็นสมาชิกกลุ่มดาวดินแต่สนิทกัน เคยลงพื้นที่ด้วยกันช่วงปี 58  ช่วงปี 62 หลังเลือกตั้งก็ไปช่วยจัดกิจกรรม "บัตรเขย่ง เราขยับ" ที่ขอนแก่น"

"ก่อนหน้านี้ผมเป็นพวกไม่สนใจการเมือง เริ่มออกมาเคลื่อนไหวเพราะรู้สึกว่ามันมีความไม่ชอบมาพากลในกระบวนการยุติธรรม คดีทั่วไปเป็นไปตามระบบ แต่พอเป็นคดีการเมืองไม่ใช่แบบนั้น อย่างคดี 112 พอพี่ไผ่โดนมันกระตุ้นผมว่า ทำไมพี่กูโดน ไม่ได้ทำอะไรเลย แค่แชร์เฟซบุ๊กติดคุก 2 ปีทั้งที่ไม่ใช่อาชญากร"

"ผมมาล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 13 เพราะรุ่งขึ้นจะเป็นการชุมนุมใหญ่ที่คนมาจากทั่วประเทศ คนต่างจังหวัดบางส่วนจะมาก่อนล่วงหน้า เลยตั้งใจมารอมวลชน อยากมาช่วยดูแลเขาก่อน"

"เรากำลังจับจองพื้นที่กางเต็นท์แล้วก็มีเวทีปราศรัย เริ่มปราศรัยไปได้พักเดียวตำรวจชุดน้ำเงินก็เริ่มบีบเข้ามา ตอนนั้นผมอยู่ใกล้รถเครื่องเสียงของกลุ่มที่มาจากเมืองนนท์ ยืนเป็นแถวกับเพื่อนล้อมเวทีไว้ ผมบอกกับตำรวจที่ล้อมว่าขอให้พี่ตำรวจใจเย็น ผมกับเพื่อนอยู่ตรงนี้เพื่อคอยช่วยให้มวลชนสงบลง แต่ดูจากท่าทีแล้วเจ้าหน้าที่เหมือนจะสลายให้ได้ ผมเห็นว่าตำรวจมาจากทุกทาง เราพยายามป้องกันอย่างสันติก็คือใช้ตัวบัง" 

"ตำรวจที่บีบเข้ามาบอกว่า พี่ไม่ทำอะไรน้องหรอก พี่ทำตามหน้าที่ เข้าใจพี่นะ พี่อยู่ฝั่งน้อง แต่พอมีคนที่เหมือนจะเป็นเจ้านายเดินมาด้านหลังบอกให้ จับมัน จับมัน ตำรวจคนเดิมก็พูดว่า จับแม่งเลย จับแม่งเลย ผมรู้สึกเฟลมาก ระหว่างนั้นดันกันไปมาพักหนึ่งก่อนผมจะถูกทำให้ล้ม"

"พอล้ม ตำรวจประมาณ 6-7 คนกรูกันเข้ามาจับแขนจับขาฝั่งละ 2 คน อีกคนหนึ่งล็อคคอ เขาบอกว่าอย่าขัดขืน พอผมทำท่าจะพูดเขาก็บอกว่าหุบปาก พวกเขาเอาตัวผมไปที่รถขังผู้ต้องหาแล้วใช้เท้าถีบให้ขึ้นรถ ผมกับคนที่ถูกจับมาพยายามตะโกนถามว่าจับด้วยข้อหาอะไร ถ้าจะจับต้องแจ้งข้อหาแต่ก็ไม่มีใครตอบ สักพักหนึ่งเหมือนกับเขาล็อคไว้แล้วว่าจะจับกี่คน พอพี่ไผ่ขึ้นรถก็ปิดประตูแล้วขับรถออกไปเลย"

"ในฐานะคนเรียนกฎหมาย เหตุที่ถูกจับ ผมมองว่ามันผิดหลักที่เรียนมา กฎหมายมีรูปแบบของมันแต่เวลาเจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายดูเหมือนจะใช้ดุลพินิจแบบเอียงข้าง ถ้าเป็นตาชั่ง ฝั่งหนึ่งขึ้นสุดอีกฝั่งลงสุด พอไปถึงกองบังคับการ ตชด.(ปทุมธานี) เราพยายามติดต่อทนายแต่สัญญาณมือถือแย่มาก คนที่พอมีสัญญาณติดต่อได้ก็รู้ว่าทนายมาแล้วแต่เข้ามาหาพวกเราไม่ได้ ไม่มีใครมาแจ้งข้อหาเรา เหมือนจับมาก่อนแล้วค่อยไปคิดว่า เฮ้ย กูจะเอามึงด้วยคดีอะไรวะ สุดท้ายผมถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่มีโทษจำคุก 2 ปี กับข้อหาตามพ.ร.บ.ความสะอาด ซึ่งนี่ก็ไม่เหมือนที่เคยเรียนมา เพราะตำรวจจะต้องแจ้งข้อหากับเราตั้งแต่ตอนจับ พอไปถามตำรวจเขาบอกว่าพวกผมถูกจับเพราะทำความผิดซึ่งหน้า แต่พอถามว่าข้อหาอะไร เขาตอบไม่ได้ ต่อให้เป็นการจับกุมเพราะทำความผิดซึ่งหน้าก็ต้องแจ้งข้อหาเดี๋ยวนั้น แต่นี่ไม่ใช่ เหมือนเขารอธงจากนาย"   

"ถ้าถามว่าถูกจับมานี่กลัวไหม ไม่กลัว แต่โกรธ เราทำอะไรผิดวะ คุณตำรวจเขาชอบพูดกับเราว่าเขาอยู่ข้างเรานะ อยู่ฝ่ายเรานะ แต่สุดท้ายก็เป็นพวกเขาที่ทำกับเรา คำพูดของพวกเขามันไม่ได้มีความหมายอะไรเลย"  

"มาถึง ตชด.ก็เย็นมากแล้ว แต่เขาก็ยังไม่ยอมถอดกุญแจมือ มาถอดออกตอน 2 ชั่วโมงผ่านไป สอบปากคำจนดึก เช้าวันรุ่งขึ้นทุกคนถูกเอาตัวไปศาล พวกเรามั่นใจว่าจะได้ประกันตัวเพราะข้อหาเล็กมาก ตอนแรกเหมือนศาลจะให้ประกัน แต่ไปๆ มาๆ เกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ สุดท้ายศาลสั่งไม่ให้ประกัน พวกผมตกใจกันมาก ตำรวจฝากขังพวกเราอ้างว่าจะไปก่อความวุ่นวาย กำลังหาพยานหลักฐานเลยกลัวพวกผมไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน แล้วก็กลัวหลบหนี ทนายก็โต้แย้งไปว่าสิ่งที่พวกผมทำมันเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การก่อความวุ่นวาย เป็นการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ และพวกผมมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หลายคนเป็นนักศึกษามีภาระต้องไปเรียนและสอบจึงไม่น่าจะหลบหนี แต่ศาลก็สั่งขังโดยอ้างเหตุผลของตำรวจ"

"ตอนที่รู้ว่าต้องติดคุก ผมแบบทำใจไม่ทันเลย ผมโกรธนะ คือแบบกูไม่ผิดนะ ทำไมกูต้องโดนด้วยวะ แล้วพฤติการณ์ที่เขากล่าวหาก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย กลายเป็นว่าผมต้องติดคุก ถูกจับตัดผม เสียอิสรภาพ"

"ชีวิตในคุกมันแย่ วันแรกที่เข้าไปเรือนจำพวกเราไม่ได้กินมื้อเย็น พอไปถึงเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์บอกเราว่าจะเลี้ยงอาหารพวกเรา อร่อยมาก มื้อนี้อิ่มแน่ๆ สิ่งที่เอามาให้เราคือข้าวเปล่าคนละจาน ไข่ต้มฟองหนึ่ง แล้วก็น้ำอะไรซักอย่างเหมือนเป็นพะโล้แต่ไม่ใช่ เป็นน้ำแกงสีน้ำตาลใส่น้ำตาลมาเฉยๆ พวกผมกินกันคนละสองคำกินไม่ลง"

"ช่วงที่ถูกขังต้องเข้ากักตัว 14 วัน แต่มันไม่ค่อยมีประโยชน์ เพราะต้องนอนเบียดกัน ช้อนต้องใช้วนกันหลายคนโดยล้างแค่น้ำก็อกซึ่งอยู่ตรงที่ที่เราใช้ถ่ายหนัก ถ่ายเบา อาบน้ำ แปรงฟัน แต่ละวันเราต้องอยู่ในห้องแคบๆเกือบ 24 ชั่วโมง ยกเว้นช่วงที่ลงไปคุยกับทนาย การขาดเสรีภาพและต้องอยู่ในห้องแคบๆ 24 ชั่วโมงมันบั่นทอนจิตใจมาก แต่ยังดีที่มีพี่ไผ่ที่คอยปลุกและให้กำลังใจพวกผม" 

"พอถึงวันครบกำหนดฝากขัง พวกผมมีหวังที่จะได้ออกกัน จำได้ว่าก่อนหน้าที่จะต้องวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับศาล พวกผมทำการบ้านกันอย่างดี ดูข้อกฎหมายจากหนังสือที่มีอยู่ในห้องขังเพื่อโต้แย้งเรื่องการฝากขังต่อเป็นผัดที่2 พอถึงเวลาศาลแจ้งเราแบบรวบรัดว่าตำรวจขอฝากขังต่อ พวกเราจะคัดค้านกันไหม เราแถลงต่อศาลไปตามที่เตรียมตัวกันมาว่า พวกเราถูกดำเนินคดีที่มีโทษสถานเบา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 2 ปี ไม่จำเป็นต้องฝากขัง พวกเราไม่ได้ออกไปก่อความวุ่นวายใดๆ เพราะการชุมนุมไม่ใช่การก่อความวุ่นวายแต่เป็นสิทธิเสรีภาพที่สามารถทำได้ พวกเรามีอาชีพหรือยังเรียนหนังสือ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง แต่ศาลชั้นต้นก็สั่งให้ฝากขังต่อ พอพวกเราถามเหตุผลศาล ศาลบอกว่า พวกเราให้เหตุผลแบบเดิมๆ ไม่ได้มีเหตุผลใหม่ในการคัดค้าน หากไปดูตามกฎหมายเหตุในการคัดค้านการฝากขังมันก็มีอยู่แค่นั้น เรื่องโทษ,หลบหนี, ยุ่งกับพยานหลักฐาน"

"ตอนที่ศาลชั้นต้นให้ฝากขังต่อ เราคุยกันว่าถ้ากระบวนการยุติธรรมเป็นแบบนี้ก็น่าจะอยู่กันยาวๆ 5 ผัด เป็นเดือนแน่ๆ แต่อยู่ดีๆ ศาลอุทธรณ์ก็สั่งปล่อยตัว ยอมรับว่าดีใจ พวกเราจะมีเสรีภาพข้างนอกแล้ว แต่พี่ไผ่ยังอยู่ข้างใน เหมือนเราออกมาหมดทุกคนเหลือแกคนเดียว เราอยู่กันแบบครอบครัว เวลาใครทุกข์ใครร้อนก็จะเยียวยากัน ก็ร้องไห้อยู่ตอนรู้ว่าจะไม่ได้ออกมาด้วยกัน มันสะเทือนใจ เป็นห่วงคนข้างใน"  

"พ่อแม่ผมรู้เรื่องแล้ว หนักอยู่ ผมเคยทะเลาะกับพ่อแม่ด้วยเรื่องอะไรแบบนี้มาก่อน พอรู้ว่าผมติดคุกก็โดนด่าซ้ำ เหมือนเขาตัดผมออกจากครอบครัวไปแล้ว ผมไม่โกรธเขา แต่แค้นกับระบบที่มันทำกับผมแบบนี้ พ่อแม่ผมเป็นข้าราชการครู พอผมออกมาทำอะไรเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองเขาก็จะโดนกดดันจากระบบ โดนตำรวจคุกคาม ช่วงที่ผมเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่จันทบุรี พอตำรวจรู้ว่าเป็นผม เขาก็โทรหาพ่อผมทุกเช้าทุกเย็น"

"สภาพจิตใจตอนนี้คือ ผมพร้อมชน มันไม่ถูกต้อง จะมีคนต้องโดนแบบผมอีกกี่คน ถ้าผมโดนแล้วบอก "แม่งไม่เอาแล้ว" มันเหมือนคุณยอมต่อระบบแบบนี้ไปแล้ว ซึ่งผมเกลียดคนแบบนี้ คนที่รู้แต่ยอมทนรับระบบแย่ๆ โดยไม่ออกมาต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิของตัวเอง ผมเลยไม่อยากเป็นคนแบบที่ผมเกลียด"

----------


วันที่ 13 ตุลาคม นักกิจกรรมซึ่งส่วนหนึ่งเรียกตัวเองว่า "คณะราษฎรอีสาน" เดินทางมาตั้งเต็นท์เตรียมเข้าร่วมการชุมนุมใหญ่ของคณะราษฎรในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 หลังพวกเขาตั้งเต็นท์บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยฝั่งแม็คโดนัลด์ราชดำเนินแล้วเสร็จและเริ่มตั้งเวทีปราศรัย เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ใช้กำลังเข้ารื้อเต็นท์และทำการจับกุมผู้ชุมนุมรวม 21 คน ไปควบคุมตัวที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 ปทุมธานี หนึ่งคืน 

ผู้ถูกจับกุมทั้ง 21 คน ถูกตั้งข้อกล่าวหารวม 10 ข้อกล่าวหา ได้แก่ 

ชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 10 คน ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง, ร่วมกันทําให้เสียทรัพย์, ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเจ้าพนักงาน, ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร, ร่วมกันใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215, 358, 368, 385, 391 ตามลำดับ  

ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ชุมนุมทำกิจกรรมในลักษณะเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค 

กระทำการซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายแพร่ระบาดออกไป ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34 (6)

ร่วมกันวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 114

ร่วมกันขูด กระเทาะ ขีด เขียน พ่นสี บนพื้นถนน, ร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน ตามพ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 12, 19 ตามลำดับ

ขณะที่จตุภัทร์หรือ ไผ่ ดาวดิน ถูกตั้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เพิ่มเติมอีกข้อหาหนึ่ง 


ในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่คณะราษฎรนัดชุมนุมใหญ่ ผู้ต้องหา 19 คน ไม่รวมจตุภัทร์ หรือไผ่ ดาวดิน ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นที่ถูกดำเนินคดีในศาลอาญาและผู้ต้องหาเยาวชนอีกหนึ่งคนที่ถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชน ถูกนำตัวไปที่ศาลแขวงดุสิตเพื่อขออำนาจศาลฝากขัง ซึ่งศาลมีคำสั่งให้ฝากขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวนและไม่อนุญาตให้ผู้ต้องหาทั้งหมดประกันตัวโดยอ้างเหตุว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์รุนแรงและต่อสู้กับเจ้าพนักงาน ผู้ต้องหาทั้ง 19 คนถูกฝากขังเป็นเวลา 6 วัน ก่อนจะได้รับการประกันตัวในวันที่ 19 ตุลาคม 2563 เบื้องต้นศาลแขวงดุสิตไม่อนุญาตให้ผู็ต้องหาทั้ง 19 คน ประกันตัว แต่ทั้งหมดอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้งหมดในวันเดียวกัน  

 

Article type: