1917 1282 1478 1195 1938 1134 1235 1800 1453 1984 1702 1941 1830 1687 1513 1750 1093 1775 1096 1405 1039 1201 1962 1634 1144 1970 1361 1031 1912 1557 1179 1854 1338 1844 1598 1467 1788 1911 1669 1164 1163 1660 1043 1714 1410 1379 1577 1863 1860 1349 1955 1094 1485 1491 1550 1968 1790 1236 1319 1788 1221 1319 1398 1713 1888 1716 1879 1584 1815 1518 1731 1077 1112 1353 1265 1160 1306 1284 1661 1963 1059 1390 1488 1302 1049 1668 1305 1301 1060 1849 1795 1812 1489 1806 1093 1698 1446 1091 1062 สำรวจความเป็นไปของ "กฎหมายยุยงปลุกปั่น" ในต่างประเทศ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สำรวจความเป็นไปของ "กฎหมายยุยงปลุกปั่น" ในต่างประเทศ

นับตั้งแต่หลังการรัฐประหารในปี 2557 กฎหมายยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 กลายเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญของรัฐในการยับยั้งการเคลื่อนไหวของประชาชนในเชิงต่อต้านหรือวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ซึ่งโดยประวัติศาสตร์ของกฎหมายดังกล่าว จะพบว่า เป็นกฎหมายที่ได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายเครือจักรภพของจักรวรรดิอังกฤษที่มีไว้คุ้มครองพระมหากษัตริย์ และรัฐบาลจากการดูหมิ่นหรือการต่อต้านของประชาชน
 
อย่างไรก็ดี หากไปสำรวจกฎหมายยุยงปลุกปั่นในกลุ่มประเทศที่อยู่ในเครือจักรภพของจักรวรรดิอังกฤษ อย่าง ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศมาเลเซีย จะพบว่า กลุ่มประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะยกเลิกและแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นเครื่องมือของรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อพิทักษ์รักษาคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยเอาไว้
 
ออสเตรเลีย: แก้กฎหมายเพิ่มเรื่อง “เจตนา” ให้ใช้เฉพาะผู้สนับสนุนความรุนแรง
 
กฎหมายยุยงปลุกปั่นของออสเตรเลีย เริ่มปรากฏครั้งแรกในปี 2005 ซึ่งปรากฏอยู่ในกฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย โดยบัญญัติว่า
 
"หมวด 80.2 การยุยงปลุกปั่น
 
การยุยงให้ล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือรัฐบาล
 
(1) บุคคลใดถือว่าได้กระทำความผิดหากยุยงให้บุคคลอื่นใช้กำลังหรือความรุนแรงเพื่อล้มล้าง:
     (a) รัฐธรรมนูญ หรือ
     (b) รัฐบาลของเครือจักรภพ มลรัฐ หรือดินแดน หรือ
     (c) ผู้มีอำนาจโดยชอบของรัฐบาลเครือจักรภพ
     โทษจำคุก 7 ปี…."
 
โดยบทบัญญัติดังกล่าวนำไปสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกเนื่องจากอาจเปิดช่องให้มีการละเมิดสิทธิ จึงมีการพยายามแก้ไขกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ รวมไปถึงประมวลกฎหมายอาญา
 
ต่อมาในปี 2006 คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายของออสเตรเลีย มีความเห็นว่า บทบัญญัติของกฎหมายไม่ทันสมัยและถูกนำมาใช้จัดการศัตรูทางการเมืองของรัฐบาล และฐานความผิดยุยงปลุกปั่นมีความซับซ้อนกับกฎหมายอื่น ดังนั้น คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายจึงเสนอให้แก้บทบัญญัติเพื่อให้ความผิดครอบคลุมเจตนาที่ใช้กำลังหรือความรุนแรง และต้องให้มีการเชื่อมโยง
 
ต่อมาในปี 2011 สภาของออสเตรเลียได้เห็นชอบการแก้ไขกฎหมายยุยงปลุกปั่น ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมาย ดังนี้
 
"80.2 การยุยงให้ใช้ความรุนแรงต่อรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
 
การยุยงให้ใช้กำลังหรือความรุนแรงเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือรัฐบาล
 
(1) บุคคล (คนที่หนึ่ง) กระทำความผิดหาก:
 
(a) บุคคลนั้นจงใจยุยงให้อีกบุคคลหนึ่งใช้กำลังหรือความรุนแรงเพื่อล้มล้าง:
 
                                (i) รัฐธรรมนูญ หรือ
 
                                (ii) รัฐบาลของเครือจักรภพ มลรัฐ หรือดินแดน หรือ
 
                                (iii) ผู้มีอำนาจโดยชอบของรัฐบาลเครือจักรภพ และ
 
                (b) บุคคลที่หนึ่งกระทำโดยจงใจให้การใช้กำลังหรือความรุนแรงนั้นเกิดขึ้น
 
โทษจำคุก 7 ปี…."
 
จากตัวบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกแก้ไขใหม่ในปี 2011 จะพบว่า มีการเพิ่มองค์ประกอบความผิดเข้ามา โดยระบุว่า ผู้กระทำความผิดจะต้องมี "เจตนา" ยุยงให้การใช้กำลังหรือความรุนแรงนั้นเกิดขึ้น  เพื่อจำกัดกรอบการบังคับใช้กฎหมายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า ความผิดฐานยุยงปลุกปั่นต้องเป็นการกระทำที่ "จงใจ" ให้เกิดการใช้กำลังหรือความรุนแรงขึ้นจริง นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มตัวบทในส่วนอื่นๆ ให้ตอบสนองต่อภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ การก่อการร้ายจากทั้งในและนอกประเทศ หรือการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มทางสังคมต่างๆ และพันธะต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ
 
นิวซีแลนด์: ยกเลิกกฎหมายทั้งมาตราเพื่อป้องกันการใช้จำกัดเสรีภาพ
 
กฎหมายยุยงปลุกปั่นของนิวซีแลนด์ ถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยความผิดอาญา ปี 1961 โดยบัญญัติไว้ดังนี้
 
"มาตรา 81 นิยามความผิดฐานยุยงปลุกปั่น
 
(1) เจตนายุยงปลุกปั่น (“seditious intention”) คือเจตนา —
 
(a) นำมาซึ่งความเกลียดชังหรือการดูหมิ่น หรือสร้างความไม่พอใจต่อพระมหากษัตริย์ หรือรัฐบาลนิวซีแลนด์ หรือกระบวนการยุติธรรม หรือ
(b) ยั่วยุให้ประชาชนหรือคนหรือกลุ่มคนใดพยายามเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ กฎหมาย หรือรัฐบาลนิวซีแลนด์ด้วยวิธีอื่นใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ
(c) ยั่วยุ นำพามาซึ่ง หรือยุยงการใช้ความรุนแรง การล่วงละเมิดกฎหมาย หรือความไม่สงบของประชาชนทั่วไป หรือ
(d) ยั่วยุ นำพามาซึ่ง หรือยุยงการก่อความผิดที่เป็นภัยต่อประชาชนทั่วไปหรือการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม หรือ
(e) ยั่วยุให้เกิดความเป็นศัตรูหรือความมุ่งร้ายระหว่างกลุ่มสังคมต่างๆ ในลักษณะที่อาจเป็นภัยต่อประชาชนทั่วไป
 
  (2) โดยไม่จำกัดการอ้างเหตุผล ข้ออ้าง หรือข้อแก้ตัวทางกฎหมายต่อบุคคลที่ถูกตั้งข้อหาตามความผิดนี้ไม่สามารถถือว่าบุคคลใดมีเจตนายุยงปลุกปั่นได้หากบุคคลนั้นกระทำไปโดยสุจริตเพียงเพื่อ —
(a) ชี้แจงว่าพระมหากษัตริย์ถูกชี้นำในทางที่ผิดหรือกระทำการที่ผิดพลาด หรือ
(b) ชี้แจงข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องในรัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ หรือกระบวนการยุติธรรม หรือกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปหรือคนหรือกลุ่มบุคคลใดพยายามเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ กฎหมาย หรือรัฐบาลนิวซีแลนด์ ด้วยวิธีที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ
(c) ชี้แจงประเด็นที่สร้างหรือมีแนวโน้มที่จะสร้างความเป็นศัตรูหรือความมุ่งร้ายระหว่างกลุ่มคน พร้อมเสนอแนวทางยุติประเด็นนั้น
 
(3) การสมคบคิดยุยงปลุกปั่นคือการตกลงกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำการซึ่งมีเจตนายุยงปลุกปั่น… ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี”
 
ทั้งนี้ บทบัญญัติดังกล่าวได้นำมาสู่ปัญหา เมื่อมีการนำกฎหมายยุยงปลุกปั่นมาดำเนินคดีกับชายคนหนึ่งที่โยนขวานใส่สำนักงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และแจกจ่ายใบปลิวเรียกร้องให้ผู้อื่นกระทำการเช่นเดียวกันเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยต่อร่างกฎหมายที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ชายฝั่งฉบับหนึ่ง ในปี 2006 และศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษชายคนดังกล่าว
 
ต่อมา คณะกรรมาธิการกฎหมายของนิวซีแลนด์ ได้มีความเห็นให้ยกเลิกกฎหมายยุยงปลุกปั่น เนื่องจากกฎหมายวางนิยามไว้กว้าง ทำให้การบังคับใช้กฎหมายขาดความชัดเจนแน่นอน รวมไปถึงเป็นการลดทอนเสรีภาพในการแสดงออกในสังคมประชาธิปไตยโดยไม่มีเหตุผลอันเป็นผลประโยชน์ต่อสาธารณะรองรับเพียงพอ และอาจถูกใช้โดยมิชอบเพื่อปิดกั้นการแสดงออกทางการเมือง
 
จนกระทั่งในปี 2007 รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ผ่านกฎหมายเพื่อยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายยุยงปลุกปั่นทั้งหมด
 
มาเลเซีย: รัฐบาลมีทั้งข้อเสนอให้แก้ไขหรือยกเลิก แต่ยังทำไม่สำเร็จ
 
กฎหมายว่าด้วยการยุยงปลุกปั่น (Sedition Act 1948) ของมาเลเซียเป็นกฎหมายยุคอาณานิคม ซึ่งใช้ต่อต้านผู้สนับสนุนอุดมการณ์คอมมิวนิสต์และผู้ต่อต้านการปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ มีเนื้อหาปราบปรามการกระทำที่ “มีแนวโน้มยุยงปลุกปั่น” (seditious tendency) สร้างความไม่สงบหรือไม่พอใจระหว่างกลุ่มคน รัฐบาล หรือพระมหากษัตริย์ (Lese Majeste) เป็นต้น ซึ่งกฎหมายนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าจำกัดเสรีภาพทางการเมืองและการแสดงออกเกินเหตุ และถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของรัฐบาล
 
โดยในยุค นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ได้สัญญาที่จะปฏิรูปกฎหมายไว้ตอนช่วงหาเสียงเลือกตั้งปี 2012 ว่าจะยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการยุยงปลุกปั่น โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยความสามัคคีแห่งชาติขึ้นมา โดยมีการเสนอร่างกฎหมายสามฉบับในปี 2014 เรียกรวมกันว่า “ร่างกฎหมายปรองดองแห่งชาติ” ประกอบไปด้วย
 
1. ร่างกฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมความเกลียดชังทางเชื้อชาติและศาสนา
2. ร่างกฎหมายว่าด้วยความปรองดองและสมานฉันท์แห่งชาติ (ซึ่งจะมาแทนที่กฎหมายว่าด้วยการยุยงปลุกปั่น)
3. กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการความปรองดองและสมานฉันท์แห่งชาติ 
 
โดยกฎหมายทั้งสามฉบับจะมีผลแก้ไขตัวบทที่มีปัญหาและขยายสิทธิเสรีภาพบางประการ  แต่ท้ายที่สุด ร่างกฎหมายเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำเข้าสู่รัฐสภาเนื่องจากรัฐมนตรีสำนักนายกฯ อ้างว่า สำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ระหว่างการสรุปข้อคิดเห็น ประกอบกับบริบทได้เปลี่ยนไป มีการยุยงผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น จึงไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาเพื่อยื่นเข้าสู่สภาได้   และเรื่องก็เงียบไปในที่สุด ส่วนคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยความสามัคคีแห่งชาติก็ถูกยุบไป
 
ต่อมาในปี 2015 รัฐสภาได้มีมติเห็นชอบร่างข้อแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการยุยงปลุกปั่น เพื่อลบการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและกระบวนการยุติธรรมออกจากนิยามของการยุยงปลุกปั่น แต่เพิ่มเติมคำว่า “ศาสนา” ลงในรายการนิยามของการกระทำที่เข้าข่ายมีลักษณะยุยงปลุกปั่น แต่ทว่า ก็ขยายขอบเขตของกฎหมายให้ครอบคลุมการกระทำในโลกออนไลน์ที่มีลักษณะยุยงปลุกปั่น ซึ่งรวมไปถึงการใช้สื่อออนไลน์ การแชร์ การทำงานของสื่อออนไลน์ อีกทั้งลดอำนาจของศาลในการพิจารณาโทษโดยตัดโทษปรับออกให้เหลือเพียงโทษจำคุก แต่ท้ายที่สุด กฎหมายฉบับแก้ไขนี้ยังไม่มีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน (ปี 2020)
 
ต่อมาหลังการเลือกตั้งในปี 2018 รัฐบาลของมหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด (Pakatan Harapan) กลับมามีชัยเหนือการเลือกตั้ง และได้ประกาศว่ามีแนวทางสนับสนุนการปฏิรูปกฎหมายยุยงปลุกปั่น โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ระงับการใช้งานกฎหมายว่าด้วยการยุยงปลุกปั่น (Moratorium on the Sedition Act 1948) โดยรัฐมนตรีสื่อสารมวลชน (Communications and Multimedia Minister) ในขณะนั้นกล่าวว่าเพื่อสอดรับจุดมุ่งหมายยกเลิกการใช้กฎหมายยุยงปลุกปั่นระหว่างรออัยการสูงสุดพิจารณา  แต่ทว่า ประกาศดังกล่าวนั้นก็ถูกยกเลิกภายในหนึ่งเดือน หลังเกิดเหตุวุ่นวายขึ้นในวัดฮินดูแห่งหนึ่ง และนำไปสู่การจับกุมผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและสถาบันกษัตริย์รอบใหม่ และยังไม่มีความคืบหน้าเรื่องการแก้ไขยกเลิกกฎหมายแต่อย่างใด เหลือทิ้งไว้เพียงข้อเสนอแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายดังกล่าว
Article type: