1617 1708 1649 1613 1845 1098 1184 1688 1862 1139 1404 1446 1958 1665 1977 1062 1777 1144 1537 1578 1954 1293 1802 1892 1847 1347 1249 1758 1518 1470 1581 1087 1303 1784 1989 1221 1038 1080 1495 1504 1001 1593 1645 1458 1774 1658 1461 1712 1977 1605 1858 1908 1340 1737 1959 1177 1092 1212 1121 1901 1599 1248 1303 1825 1457 1245 1255 1211 1140 1432 1189 1059 1379 1019 1943 1394 1478 1603 1603 1061 1858 1374 1458 1710 1534 1697 1750 1004 1029 1630 1945 1514 1668 1204 1545 1330 1571 1516 1290 ทหารยังคุกคามตามติด เครือข่ายฯรณรงค์รู้ทันพ.ร.บ.น้ำ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ทหารยังคุกคามตามติด เครือข่ายฯรณรงค์รู้ทันพ.ร.บ.น้ำ


ต้นเดือนกุมภาพันธ์ เครือข่าย เขียนอนาคตประเทศไทยได้จัดกิจกรรม “ขบวนน้ำจากนราถึงมหานคร” เป้าหมายสำคัญคือ ศึกษารูปแบบการจัดการน้ำที่ล้มเหลว และหาแนวทางที่เหมาะกับชุมชน รณรงค์ให้รู้เท่าทันพ.ร.บ.น้ำฯ เรื่องนี้เครือข่ายฯได้ตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบันรัฐได้ใช้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 (พ.ร.บ.น้ำฯ) ในการควบคุมน้ำทั้งประเทศ วิธีการควบคุมคือการสร้างอ่างกักเก็บน้ำทั่วประเทศ อันจะนำไปสู่วิกฤติในอนาคต ข้อเสนอของเครือข่ายฯ คือ แก้พ.ร.บ.น้ำฯให้อำนาจการจัดการน้ำถูกออกแบบโดยประชาชน และให้กรมชลประทานยุติการก่อสร้างคอนกรีตในสายน้ำทุกชนิดโดยทันที เกือบสองสัปดาห์ที่ผ่านมาเครือข่ายฯ ได้เดินทางสื่อสาร และรับฟังปัญหาในหลายจังหวัดเช่น นครศรีธรรมราช พังงา สุราษฎร์ธานี โดยมีปลายทางที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 1 มีนาคม 2563

 

 

1341 ทหารจากกอ.รมน.ระนองแสดงตัวต่อผู้จัดกิจกรรมขบวนน้ำจากนราถึงมหานครเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563

 

เจกะพันธ์ พรหมมงคล หนึ่งในผู้จัดกิจกรรมระบุว่า ที่ผ่านมาปรากฏการติดตามจากเจ้าหน้าที่รัฐคือ ระหว่างจัดกิจกรรมที่จังหวัดตรัง และนครศรีธรรมราชมีตำรวจสันติบาลจำนวนสองคนแต่งกายนอกเครื่องแบบเข้ามาติดตาม ทั้งสองคนได้แสดงตัว และแจ้งวัตถุประสงค์ว่า ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งติดตามกิจกรรมของเครือข่ายฯ แต่ไม่ได้ระบุว่า ผู้บังคับบัญชาที่อ้างถึงคือใคร


และล่าสุดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ระหว่างการทำกิจกรรมในจังหวัดระนอง ผู้จัดกิจกรรมมีกำหนดจะไปคุยกับชาวบ้านในเวลา 14.00 น. แต่เมื่อไปถึงเวลา 13.00 น. เห็นว่า ยังพอมีเวลาเหลือผู้จัดกิจกรรม ทีมงาน และผู้นำชุมชนรวมห้าคนจึงได้ไปดูพื้นที่อ่างเก็บน้ำส้มแป้น ระหว่างทางไม่ได้สังเกตว่า มีรถยนต์ขับตามมาหรือไม่ เพราะเห็นว่า การไปดูอ่างเก็บน้ำไม่ได้มีการเขียนในกำหนดการสาธารณะ เมื่อไปถึงประมาณสิบนาทีเห็นว่า มีรถกระบะวิ่งเข้ามาจอดเคียงกันสองคัน แต่ยังไม่ไม่มีใครลงมาจากรถ


ต่อมามีทหารในเครื่องแบบสองนายลงมาจากรถกระบะคันแรก แสดงตัวว่า เป็นทหารจาก กอ.รมน. ระนอง ได้รับคำสั่งให้มาฟังข้อมูล และข้อเสนอของชาวบ้าน เจกะพันธ์ถามว่า แล้วทราบได้อย่างไรว่า เขามาที่อ่างเก็บน้ำ ทหารนายดังกล่าวตอบว่า ทราบมาจากเพจของเครือข่ายฯ ทั้งนี้เป็นการมาอย่างบังเอิญไม่ได้วางแผนไว้ก่อน หลังจากนั้นชายอีกสองคนลงมาจากรถกระบะอีกคัน ทะเบียน บบ 65xx ชุมพร ทั้งสองสวมใส่ชุดลำลอง เดินตามทีมงาน และบันทึกภาพ วิดีโอตลอด เมื่อสอบถามทหาร ทหารตอบว่า ไม่ได้มาด้วยกัน
 

เวลา 14.00 น. เจกะพันธ์ และทีมงานได้กลับไปในชุมชนที่นัดไว้ตามกำหนดการแต่แรก ทหารจากกอ.รมน. และชายอีกสองคนที่ไม่ทราบว่า มาจากหน่วยงาน หรือสังกัดใดก็ยังคงติดตามตลอด ชายสองคนหลังนั้นมีการแบ่งหน้าที่กันทำคือ คนหนึ่งถ่ายคลิปวิดีโอ อีกคนหนึ่งบันทึกข้อความ เมื่อเจกะพันธ์สอบถามว่า เป็นใครมาจากที่ไหน ก็ได้คำตอบติดสำเนียงใต้เพียงว่า อยู่แถวนี้แหละ เขาจึงพยายามถามชาวบ้านในพื้นที่ชาวบ้านก็บอกว่า ไม่เคยรู้จัก หรือเห็นหน้ามาก่อน ต่อมาเวลา 15.30 น. การพูดคุยเสร็จสิ้น ทหารจากกอ.รมน. และชายอีกสองคนก็กลับไปในทันที เจกะพันธ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ชายทั้งสองคนที่ไม่ทราบที่มาอาจเป็นคนของกลุ่มทุน หรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ทั้งยังไม่คิดมาก่อนว่า การเดินทางที่ไม่อยู่ในกำหนดการจะถูกติดตาม ทำให้ระหว่างการเดินทางจึงไม่ได้สังเกตว่า มีใครติดตามมาหรือไม่

 

1342 บุคคลภายในวงสีแดงคือ บุคคลไม่ทราบสังกัดที่เข้ามาติดตามกิจกรรมขบวนน้ำจากนราถึงมหานคร
โครงการขนาดใหญ่และการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกำลังเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ เดือนสิงหาคม 2562 เอกชัย อิสระทะ นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมถูกชายฉกรรจ์อุ้มตัวออกไปจากเวทีรับฟังความคิดเห็นเหมืองแร่ ในจังหวัดพัทลุง การควบคุมตัวใช้เวลาประมาณห้าชั่วโมง สถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ภัยคุกคามต่อนักเคลื่อนไหวจากฝ่ายเอกชนหรือนายทุน ก็เป็นเรื่องน่ากังวล รัฐจึงควรมีมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมในการคุ้มครองดูแลประชาชนทุกคนที่ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ยุติการคุกคามนอกกระบวนการของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง หรือที่รัฐมักจะเรียกว่า “ติดตามข้อมูล” ที่สร้างความหวาดกลัวในทางอ้อม โดยอย่างน้อยเจ้าหน้าที่รัฐต้องแสดงตัวผ่านการแต่งเครื่องแบบเมื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลการชุมนุม เพื่อให้ผู้ใช้เสรีภาพการแสดงออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงสามารถประเมินความปลอดภัยของพวกเขาเบื้องต้นได้

Article type: