1405 1117 1244 1408 1021 1205 1340 1641 1597 1734 1421 1246 1305 1600 1953 1212 1161 1148 1600 1173 1126 1481 1386 1727 1151 1650 1348 1812 1045 1705 1086 1357 1247 1654 1060 1470 1205 1654 1073 1574 1841 1797 1120 1843 1020 1165 1465 1354 1026 1560 1836 1274 1981 1632 1309 1278 1430 1339 1684 1717 1730 1812 1404 1907 1174 1517 1496 1050 1721 1530 1888 1180 1885 1869 1702 1273 1468 1625 1250 1302 1998 1433 1612 1971 1165 1362 1309 1370 1062 1762 1825 1195 1119 1164 1352 1793 1286 1844 1710 Thailand Post Election Report: สถานการณ์เสรีภาพหลังเลือกตั้งยังไม่พ้นเงาคสช. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Thailand Post Election Report: สถานการณ์เสรีภาพหลังเลือกตั้งยังไม่พ้นเงาคสช.

การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในปี 2562 เป็นการเลือกตั้งที่คนไทยหลายคนรอคอย เพราะนับจากปี 2554 ประเทศไทยก็ยังไม่มีการเลือกตั้งอีกเลย แม้ปี 2557 จะมีการจัดการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ หลังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ชินวัตรยุบสภาแต่การเลือกตั้งครั้งนั้นก็ถูกประกาศให้เป็นโมฆะเพราะกลุ่มกปปส.ไปปิดล้อมหน่วยเลือกตั้งบางแห่ง ทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งทุกหน่วยพร้อมกันทั่วประเทศได้ตามกฎหมาย และเมื่อคสช.ยึดอำนาจในเดือนพฤษภาคม ปี 2557 บทสนทนาเรื่องการเลือกตั้งก็เลือนหายไปจากสังคมไทย 
 
ภายใต้การบริหารประเทศโดยคสช. สิทธิเสรีภาพเป็นสิ่งที่ถูกกดทับ การชุมนุมซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนถูกประกาศให้เป็นความผิดทางอาญา ผู้แสดงความเห็นต่างจากผู้มีอำนาจบ้างถูกดำเนินคดี บ้างถูกเรียกไปปรับทัศนคติหรือมีตำรวจทหารไปหาที่บ้านหรือที่ทำงาน ผู้ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ฯถูกตั้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ตลอดเวลาที่คสช.อยู่ในอำนาจอย่างน้อย 98 คน 
 
เมื่อมีการประกาศจัดการเลือกตั้งในปี 2562 ประชาชนเริ่มมีความหวังว่าพื้นที่เสรีภาพการแสดงออกจะเปิดกว้างขึ้นทว่าด้วยระบบการเลือกตั้งที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทก์การคงอยู่ในอำนาจของคสช. เช่น การออกแบบระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมหรือการให้สว.ที่มาจากการแต่งตั้งของคสช.ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ และสมาชิกคสช.คนสำคัญ อย่างพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ ยังคงอยู่ในอำนาจรัฐในวันที่คสช.ยุติบทบาทไป ขณะเดียวกันกฎหมายที่ออกในยุคคสช. เช่น 
พ.ร.บ.ชุมนุมฯยังคงถูกนำมาใช้ดำเนินคดีกับคนที่ทำกิจกรรมต่อต้านผู้มีอำนาจ ขณะที่วิธีการคุกคามอย่างการไปติดตามนักกิจกรรมหรือผู้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่บ้านที่เป็นแนวปฏิบัติในยุคคสช.ก็ยังคงถูกหยิบมาใช้จนถึงเรื่อยมา ขณะเดียวกันการจัดกิจกรรมสาธารณะที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองก็ยังต้องเผชิญอุปสรรคและการขัดขวางในหลายๆวิธีการ เช่นกรณีของกิจกรรมวิ่งไล่ลุงที่สถานที่จัดแถลงข่าวถูกกดดันจนต้องยกเลิกการให้เช่าสถานที่
 
การแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นการพาดพึงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในลักษณะที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าไม่เหมาะสม แม้จะไม่มีรายงานการตั้งข้อกล่าวหาคดีมาตรา 112 ในส่วนที่เป็นคดีใหม่ แต่ก็มีรายงานการนำมาตรการอื่นมาบังคับใช้แทน เช่น การใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 หรือการให้เจ้าหน้าที่เชิญตัวมาปรับทัศนคติและเซ็นข้อตกลง 
 
อีกหนึ่งปรากฎการณ์ที่มีความน่ากังวลหลังการเลือกตั้ง ได้แก่การที่ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระที่ควรจะทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญรวมถึงพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งถูกบัญญัติรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงของประเทศ กลับบัญญัติความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ในเดือนกันยายน 2562 ทั้งที่ก่อนหน้านี้นับแต่ประเทศไทยเริ่มมีศาลรัฐธรรมนูญในปี 2540 ก็ไม่เคยมีการกำหนดฐานความผิดดังกล่าว 
 
ยิ่งในสถานการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเข้ามาวินิจฉัยคดีที่อยู่ในความสนใจของสาธารณะชนท่ามกลางสถานการณ์ที่คนในสังคมมีความกระตือรือล้นที่จะวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์บ้านเมือง ศาลรัฐธรรมนูญจึงย่อมหลีกเลี่ยงการถูกวิพากษ์วิจารณ์เมื่อทำคำวินิจฉัยคดีสำคัญได้ยากและการมีอยู่ของฐานความผิดละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญก็อาจทำให้เกิดบรรยากาศของความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนจนอาจไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยของศาล  

จากกรณีทั้งหมดที่ยกมาจึงพอสรุปได้ว่าสถานการณ์เสรีภาพการแสดงออกหลังการเลือกตั้งแม้จะดีขึ้นและพื้นที่การแสดงออกพอจะเปิดกว้างขึ้นบ้าง หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในยุคที่คสช.ยังบริหารประเทศ แต่ด้วยกลไกที่คสช.วางไว้ในช่วงที่ยังมีอำนาจ รวมทั้งบุคคลในคสช. ยังอยู่ในอำนาจรัฐ ในสถานะอื่น เช่น บุคคลในคณะรัฐมนตรีหรือส.ว.และกฎหมายที่ออกในยุคคสช.เช่น พ.ร.บ.ชุมนุมฯยังคงบังคับใช้อยู่ สถานการณ์เสรีภาพในไทยจึงยังไม่ดีขึ้นตามมาตรฐานของสังคมประชาธิปไตย  
 
 
1330
 
 
 
1332
 
 
 
1333
 
 
 
 
1334
 
 
 
 
1335
 
 
 
 
1337
 
 
 
 
 
 


 
 
Report type: