1431 1636 1388 1311 1991 1810 1745 1577 1837 1462 1294 1151 1926 1945 1400 1664 1936 1446 1699 1002 1151 1788 1729 1520 1497 1672 1326 1554 1792 1306 1931 1023 1270 1189 1225 1658 1003 1273 1812 1298 1776 1100 1794 1353 1153 1777 1629 1950 1269 1869 1331 1872 1974 1066 1939 1094 1334 1816 1850 1713 1828 1086 1289 1356 1174 1053 1752 1840 1069 1510 1270 1722 1800 1733 1707 1653 1936 1992 1775 1784 1572 1455 1761 1048 1201 1839 1163 1077 1098 1613 1256 1339 1004 1417 1678 1729 1037 1574 1478 Thailand Post Election: เมื่อตุลาการเริ่มตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์ด้วยกฎหมาย | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Thailand Post Election: เมื่อตุลาการเริ่มตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์ด้วยกฎหมาย

สถาบันตุลาการหรือศาลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อต้องทำหน้าที่ตีความกฎหมาย พิจารณาตัดสินคดี ปัญหาเกิดขึ้นเพราะหลังการรัฐประหาร ผู้มีอำนาจซึ่งไม่มีความชอบธรรมในทางการเมืองมักออกกฎหมายกดปราบผู้ต่อต้าน จึงเป็นการผลักให้ศาลต้องเผชิญหน้ากับประชาชนโดยตรง และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ย่อมดังขึ้นกว่าเดิม
 
วิธีการที่ศาลหรือหน่วยงานภาครัฐเลือกใช้ในการจัดการกับหรือตอบโต้คำวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนกลับเป็นมาตรการทางกฎหมาย ทำให้หลังการรัฐประหารคดีความเกี่ยวกับการ "ดูหมิ่นศาล" หรือ "ละเมิดอำนาจศาล" เพิ่มขึ้น ยิ่งหลังการเลือกตั้ง ศาลฎีกาและศาลรัฐธรรมนูญดูจะยิ่งเข้มงวดกับการวิพากษ์วิจารณ์บทบาทหรือคำพิพากษาในคดีที่เกี่ยวกับการเมืองมากขึ้นด้วย
 
มีข้อสังเกตด้วยว่า 'ยุทธวิธี' ที่ศาลใช้ คือ การเลือกเป้าหมายเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อสังคมหรือมีชื่อเสียง รวมถึงใช้การกดดันให้กลุ่มดังกล่าวแสดงท่าทีอ่อนน้อมต่อศาล เช่น การขอโทษในทางสาธารณะเพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดีหรือลงโทษให้ถึงที่สุด
 
"ดูหมิ่นศาล-ละเมิดอำนาจศาล" VS. การวิพากษ์วิจาณ์
 
โดยทั่วไปแล้วศาลหรือสถาบันตุลาการจะมีมาตรการทางกฎหมายที่ใช้การคุ้มครองการวิพากษ์วิจารณ์ที่เรียกว่า ความผิดฐานดูหมิ่นศาลและการละเมิดอำนาจศาล ซึ่งมีทั้งในประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป วิ.แพ่ง) 
 
ความผิดฐานดูหมิ่นศาลอยู่ใน ป.อาญา มาตรา 198 บัญญัติว่า "ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
 
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอยู่ในมาตรา 30 ถึง 33 แต่ทว่า บทบัญญัติเกี่ยวกับข้อกำหนดในการแสดงความคิดเห็นจะอยู่ใน ป.วิแพ่ง มาตรา 32 ที่กำหนดว่า ผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ ผู้พิมพ์โฆษณาสิ่งพิมพ์ ที่เผยแพร่ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แห่งคดีที่ศาลมีคำสั่งพิจารณาคดีลับหรือมีคำสั่งห้ามโฆษณา (เผยแพร่ข้อมูล)โดยตรง ถือว่าทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล 
 
นอกจากนี้ มาตรา 32 ยังกำหนดด้วยว่า ระหว่างการพิจารณาคดีไปจนถึงเวลาที่คดีถึงที่สุดหากหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์แสดงความเห็นหรือเผยแพร่ข้อมูลโดยมีเจตนาชี้นำหรือมีอิทธิพลเหนือการใช้ดุลพินิจของศาล เหนือคู่ความหรือพยานหลักฐานแห่งคดี หรือมีเจตนา โน้มน้าวชักจูงความคิดเห็นของสาธารณะชนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น 
 
1. เผยแพร่ข้อมูลที่ผิดจากข้อเท็จจริง
2. รายงานหรือวิภาคกระบวนพิจารณาคดีโดยไม่เป็นกลางหรือไม่ถูกต้อง
3. วิภาคการดำเนินคดีหรือถ้อยคำพยานหลักฐานโดยไม่เป็นธรรม หรือรายงานในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงของคู่ความ แม้ข้อความดังกล่าวจะเป็นจริง
4.รายงานในลักษณะชักจูงให้มีการให้ถ้อยคำพยานที่เป็นเท็จต่อศาล
 
โดยผู้ที่ทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล อาจถูกศาลสั่งให้ออกจากบริเวณศาลหรือสั่งลงโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยการให้ออกนอกพื้นที่ศาล ศาลอาจสั่งให้มีผลเฉพาะระหว่างเวลาที่ศาลนั่งพิจารณาคดีหรือศาลอาจใช้ดุลพินิจกำหนดกรอบเวลาได้ตามสมควร
 
สำหรับศาลรัฐธรรมนูญ แต่เดิมไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการวิพากษ์วิจารณ์เป็นการเฉพาะ แต่หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560  คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่คสช. เป็นคนแต่งตั้งร่วมกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งก็มาจากการแต่งตั้งของคสช. ได้ร่วมกันผลักดันพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญฯ) และเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ให้เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเข้ามา 
 
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ปรากฎออยู่ใน พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญฯ 38 วรรคสาม ที่กำหนดให้ การวิจารณ์คําสั่งหรือคําวินิจฉัยคดีที่กระทําโดยสุจริตและมิได้ใช้ถ้อยคําหรือมีความหมายหยาบคายเสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย ไม่มีความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ การวิจารณ์คําสั่งหรือคําวินิจฉัยคดีที่กระทําโดยไม่สุจริตและใช้ถ้อยคําหรือมีความหมายหยาบคายเสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย ถือเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
 
1322
 
อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และนักกิจกรรม ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์นำของไหว้ศาลพระภูมิไปรอให้กำลังใจโกวิทย์ที่ศาลรัฐธรรมนูญ 30 สิงหาคม 2562 (ภาพจากผู้ไม่ประสงค์ออกนาม)
 
หลังรัฐประหาร ศาลเข้มงวดต่อการวิจารณ์มากขึ้น
 
ก่อนการรัฐประหารคดีตัวอย่างที่สำคัญของการตอบโต้การแสดงออกในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ต่อศาล คือ คดีสุดสงวนประท้วงหน้าศาลแพ่ง โดยคดีนี้สุดสงวน ถูกกล่าวหาว่าเมื่อปี 2557 ได้นำกลุ่มมวลชนกว่าร้อยคนที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลแพ่ง ในคดีเพิกถอน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมตัวกันหน้าอาคารศาลแพ่งเพื่อวางพวงหรีดและชูป้ายข้อความ เช่น แด่ความอยุติธรรมของศาลแพ่ง
 
ในคดีดังกล่าว ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นควาผิดฐานการละเมิดอำนาจศาล  ให้จำคุกเป็นเวลาหนึ่งเดือน โดยศาลเห็นว่า สุดสงวนเป็นถึงอาจารย์ด้านกฎหมายนำประชาชนมากดดันดุลยพินิจของศาลถือเป็นบ่อนทำลายสถาบันศาลด้วยการลิดรอนความเป็นอิสระของศาลให้เป็นไปตามอารมณ์ของคู่ความ นำไปสู่ความวุ่นวาย ไม่เคารพกติกาของกฎหมาย พฤติการณ์ของสุดสงวนสะท้อนถึงความเหิมเกริมไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมาย
 
หลังการรัฐประหารในปี 2557 ศาลยุติธรรมเข้ามาทำหน้าที่พิจารณาคดีทางการเมืองมากขึ้น และหลายคดีเป็นที่จับตาของประชาชน ทำให้หลีกเลี่ยงได้อย่างที่จะต้องเผชิญหน้ากับการแสดงออกในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของศาล แต่ศาลก็ยังใช้มาตรการทางกฎหมายในการตอบโต้การแสดงออกในเชิงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น
 
คดีตัวอย่างอีกคดีหนึ่ง ได้แก่ คดีนักกิจกรรมละเมิดอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่น ในคดีนี้มีเหตุมาจากนักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่หน้าศาลจังหวัดขอนแก่นและนำไม้มาทำเป็นสัญลักษณ์ตราชั่งเอียง โดยฝั่งหนึ่งมีรองเท้าบู๊ททหารแขวนไว้ อีกฝั่งหนึ่งเป็นถังเปล่า มีการชวนให้นำดอกไม้สีขาววางไว้อาลัยที่ใต้ฐานตราชั่ง เพื่อแสดงถึงความอยุติธรรมในการดำเนินคดีของ 'จตุภัทร์' หรือ 'ไผ่ ดาวดิน' ที่แชร์บทความข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศแต่ไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว 
 
ในคดีดังกล่าว ศาลมีคำสั่งว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และสั่งให้รอการกำหนดโทษของผู้ถูกกล่าวหาที่หนึ่งถึงที่หก ส่วนผู้ถูกกล่าวหาที่เจ็ดสั่งให้จำคุกหกเดือนแต่ให้รอลงอาญาโทษจำคุกไว้เป็นเวลาหนึ่งปี 
 
ด้านศาลรัฐธรรมนูญ หลัง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญฯ มีผลบังคับใช้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 โดยมีจุดน่าสนใจอยู่ที่ข้อที่ 10 ที่นำบัญญัติเรื่องการ "ห้ามวิจารณ์ศาลโดยไม่สุจริต" มาบรรจุไว้ และข้อกำหนดฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือในวันที่ 17 ตุลาคม 2562
 
หลังเลือกตั้ง เลือกเป้าหมายแต่ปราบด้วย "ไม้อ่อน"
 
หลังการเลือกตั้ง ศาลยังคงเข้ามามีบทบาทในการบังคับใช้กฎหมายและตีความกฎหมายในคดีทางการเมืองหรือคดีที่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง ซึ่งหลายคดีได้นำไปสู่การตั้งคำถามและนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณะ และศาลหรือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก็เลือกใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์
 
จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลคดีเสรีภาพพบว่า นับตั้งแต่หลังเลือกตั้งหรือวันที่ 24 มีนาคม 2562 ถึง 10 มกราคม 2563 มีการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อกดดันหรือตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์ศาล อย่างน้อย 4 คดี ดังนี้
 
ชื่อ ตำแหน่ง/อาชีพ ข้อหา พฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหา สถานะคดี
ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ความผิดฐานดูหมิ่นศาล ตาม ป.อาญา  และ นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จัดแถลงข่าวและเผยแพร่แถลงการณ์บนอินเทอร์เน็ตหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ อยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานสอบสวน
รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ในลักษณะวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่เหมาะสม  คดีสิ้นสุดหลังมีการชี้แจงและขอโทษศาล
ยุทธเลิศ สิปปภาค ผู้กำกับภาพยนตร์ ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ โพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์กรณีศาลรัฐธรรมนูญเรียก รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ เข้าพบ คดีสิ้นสุดหลังมีการชี้แจงและขอโทษศาล
สฤณี อาชวานันทกุล  นักเขียน นักแปล นักวิชาการอิสระ ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ศาลที่มีคำสั่งตัดสิทธิผู้สมัคร ส.ส. ปมถือหุ้นสื่อ คดีสิ้นสุดหลังมีการชี้แจงและขอโทษศาล
จากข้อมูลข้างต้น มีข้อสังเกตว่า ผู้ที่ถูกดำเนินคดีมีลักษณะเหมือนกัน คือ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อคนในสังคม ได้แก่บรรดานักวิชาการ นักการเมือง หรือกลุ่มคนที่มีชื่อเสียง ทั้งที่ผู้ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ศาลในที่สาธารณะมีจำนวนที่มาก แต่ศาลกลับเลือกดำเนินคดีไม่กี่คน นอกจากนี้ ผลจากการดำเนินคดีพบว่า ศาลมีแนวโน้มยุติคดีผ่านการให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวขอโทษขออภัยต่อศาลเพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดีต่อหรือเอาผิดให้ถึงที่สุด
 
Report type: