1927 1159 1973 1482 1729 1555 1520 1570 1211 1599 1752 1696 1875 1377 1150 1056 1542 1967 1922 1151 1839 1338 1438 1729 1659 1648 1998 1060 1525 1163 1253 1753 1436 1310 1168 1008 1167 1366 1254 1254 1421 1324 1247 1290 1822 1448 1675 1870 1920 1468 1642 1095 1823 1413 1555 1991 1570 1394 1700 1589 1138 1597 1237 1924 1647 1245 1868 1096 1801 1768 1177 1330 1073 1565 1409 1296 1191 1361 1360 1585 1676 1295 1169 1233 1903 1325 1759 1828 1380 1607 1547 1337 1796 1166 1983 1162 1581 1200 1850 Thailand Post Election Report: ม.116 "ยุยงปลุกปั่น" อาวุธทางการเมืองและสิ่งทดแทน ม.112 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Thailand Post Election Report: ม.116 "ยุยงปลุกปั่น" อาวุธทางการเมืองและสิ่งทดแทน ม.112

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 หรือข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” เป็นกฎหมายที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งหลังการรัฐประหารในปี 2557 เป็นต้นมา โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่แสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในเชิงวิพากษ์วิจารณ์หรือต่อต้านคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
 
จากข้อมูลที่ศูนย์ข้อมูลคดีเสรีภาพรวบรวมไว้ ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557 ถึง 26 ธันวาคม 2562 มีผู้ถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 130 ราย แบ่งเป็น
 
  • การชุมนุมหรือการแสดงออกเชิญสัญลักษณ์หรือเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 82 ราย  
  • การแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะทั้งออนไลน์และออฟไลน์ 48 ราย

เฉพาะหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นต้นมามีผู้ถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 12 ราย ได้แก่ นักการเมืองที่เคลื่อนไหวต่อต้านคสช. กับแกนนำพรรคการเมืองที่เคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญของคสช.

การดำเนินคดีในลักษณะข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า แม้คณะรัฐประหารจะไม่ได้มีสถานะชัดเจนเหมือนก่อนการเลือกตั้ง แต่การใช้ข้อหา "ยุยงปลุกปั่น" หรือภัยความมั่นคงแห่งรัฐกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อต้าน 'คสช.2' ยังคงมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีกองทัพเป็นกลไกในการเริ่มต้นคดี

อย่างไรก็ดี พบว่า หลังการเลือกตั้งศาลและอัยการก็มีแนวโน้มยุติคดีมากขึ้น โดยเฉพาะคดีเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์หรือต่อต้านคสช. แต่ศาลยังคงใช้ มาตรา 116 มาทดแทนการลงโทษผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามมาตรา 112 

 
1313
 
มาตรา 116 ในฐานะอาวุธทางการเมืองของ คสช.
 
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 บัญญัติไว้ว่า
 
"มาตรา ๑๑๖ ผู้ใดกระทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
(๑) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย
(๒) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(๓) เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี"
 
จากตัวบทกฎหมาย ระบุให้การแสดงออกในบางลักษณะเป็นความผิด มีคีย์เวิร์ดสำคัญคือ “ข่มขืนใจ” “ใช้กำลังประทุษร้าย” เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือรัฐบาล หรือ “ปลุกปั่น” ให้ประชาชนก่อความไม่สงบ ส่วนการแสดงออกอันเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตจะไม่มีความผิด ทว่า ในทางปฏิบัติ มาตรานี้ถูกมาใช้กับผู้ที่ชุมนุมโดยสงบ แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง หรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
 
จากการรวบรวมข้อมูลของศูนย์ข้อมูลคดีเสรีภาพพบว่า มีผู้ถูกดำเนินคดีฐาน ‘ยุยงปลุกปั่น’ จากการวิพากษ์วิจารณ์หรือต่อต้านคสช. อย่างน้อย 70 คน จากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 28 คนจากการกล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ 21 คน และอื่นๆ 11 ราย เช่น การครอบครองขันแดงที่มีลายเซ็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
 
คดีช่วงก่อนเลือกตั้ง เช่น 
 
  • คดี 'พันธุ์ศักดิ์' จัดกิจกรรม "พลเมืองรุกเดิน" เป็นการเดินเท้าเพื่อประท้วงและเรียกร้องความเป็นธรรมจากการให้พลเรือนต้องถูกพิจารณาคดีในศาลทหาร 
  • คดี 'ปรีชา' ที่มามอบดอกไม้ให้พันธ์ศักดิ์ในกิจกรรมพลเมืองรุกเดิน ทั้งที่เขาไม่ใช่ผู้ชุมนุมหรือผู้จัดชุมนุม
  • คดี 'กลุ่มประชาธิปไตยใหม่' จัดชุมนุมต่อต้านรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 
  • คดี 'ประวิตร โรจนพฤกษ์' โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความเห็นเรื่องร่างรัฐธรรมนูญฯและตั้งคำถาม 4 คำถามถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ที่มีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของคสช.
  • คดี 'แกนนำพรรคเพื่อไทยสามคน' จัดแถลงข่าวเรื่อง "4 ปีที่ล้มเหลวของรัฐบาล และ คสช.นำไปสู่ความมืดมนและอันตราย" 
คดีช่วงหลังการเลือกตั้ง เช่น 
 
  • คดี 'ธนาธร' ถูกกล่าวหาว่าร่วมกันกระทำความผิดฐาน 'ยุยงปลุกปั่น' จากการร่วมชุมนุมกับกลุ่มประชาธิปไตยใหม่และพาหนึ่งในผู้กระทำความผิดหลบหนี ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2558 แต่เพิ่งจะกลับมาเป็นคดีอีกครั้ง 
  • คดี 'แกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน-นักวิชาการ' จัดเวทีเสวนาหัวข้อ "พลวัฒแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่" ที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีการกล่าวถึงการแก้ไขมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยรูปแบบของรัฐ ทำให้ฝ่ายความมั่นคงใช้เป็นประเด็นในการดำเนินคดี
มาตรา 116 ในฐานะ "สิ่งทดแทน" มาตรา 112
 
มาตรา 116 ยังมีอีกสถานะสำคัญ คือ "สิ่งทดแทน" มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือ ข้อหา 'หมิ่นพระมหากษตริย์' กล่าวคือ นับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา แนวโน้มการดำเนินคดีตามมาตรา 112 ลดลง และผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีนี้เข้าถึงสิทธิมากกว่าในอดีต ทั้งสิทธิในการประกันตัว หรือการที่ศาลพิพากษายกฟ้องหรือละเว้นไม่ลงโทษตามมาตรา 112 แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีการนำกฎหมายอื่นมาใช้ทดแทนซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ มาตรา 116
 
ตัวอย่างของการใช้ มาตรา 116 เป็นบทลงโทษผู้ต้องหาในคดี 112 คือ คดีของ ประเวศ และ สิชล
 
ประเวศถูกดำเนินคดีจากการโพสต์ข้อความในเฟสบุ๊กส่วนตัวจำนวน 13 ข้อความ จนต่อมาถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 และมาตรา 116 จำเลยเลือกต่อสู้คดีนี้โดยไม่ยอมรับกระบวนการที่เกิดขึ้น ไม่ให้การ และไม่นำสืบพยาน ท้ายที่สุด ศาลพิพากษาให้จำเลยมีความผิดตามมาตรา 116 ลงโทษจำคุกกรรมละ 5 เดือน รวมจำคุก 15 เดือน และกำหนดโทษจำคุกอีก 1 เดือนในข้อหาไม่พิมพ์ลายนิ้วมือในชั้นสอบสวน แต่คำพิพากษาไม่ได้มีการวินิจฉัยใดๆ ถึงข้อหาตามมาตรา 112 ที่มีการฟ้องร้องเข้ามา 
 
สิชลถูกจับกุมเนื่องจากโพสต์เฟซบุ๊กเป็นภาพของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 พร้อมแสดงความคิดเห็นประกอบ 2 ครั้ง เบื้องต้นเขาถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 และถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำเรื่อยมา ต่อมาตำรวจสั่งไม่ฟ้องในข้อหานี้ เหลือเพียงข้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ คดีจึงย้ายจากศาลทหารไปศาลพลเรือน และเมื่อยื่นฟ้องคดี อัยการพลเรือนยื่นฟ้องในความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แทน
 
กองทัพยังคงมีบทบาท "บุรุษดำเนินคดี"
 
จากคำให้การของ 'พล.ต.บุรินทร์ ทองประไพ' ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก และผู้ชำนาญการสำนักงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4) และอดีตฝ่ายกฎหมาย คสช. ต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) กฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า การดำเนินคดีการเมืองและความมั่นคงหลังการรัฐประหาร ปี 2557 แบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่
 
หนึ่ง ส่วนกองกำลัง มอบหมายให้ ผบ.กองกำลังต่าง ๆ มีอำนาจสั่งการ "หน่วยล่าง" เช่น ผบ.กองร้อยรักษาความสงบเรียบร้อย โดยมีคำสั่งจากแม่ทัพภาคในฐานะ ผบ.กองพล ถ่ายทอดมาโดยลำดับ
 
สอง ส่วนที่ขึ้นกับสำนักงานเลขาธิการ คสช. มี ผบ.ทบ. ในฐานะเลขาธิการ คสช. เป็นผู้บังคับบัญชา เป็นไปตามดุลพินิจของ คสช. หากจะแจ้งความดำเนินคดีกับใครในกรุงเทพฯ ก็จะสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่รับมอบอำนาจดำเนินการแทน โดย พล.ต.บุรินทร์รับผิดชอบคดีการเมือง ส่วน พล.ต.วิจารณ์ จดแตง รับผิดชอบคดีอาวุธสงครามและการก่อการร้าย
 
นั่นเท่ากับว่า หลังการรัฐประหาร คสช.มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการกับกลุ่มต่อต้านเป็นการเฉพาะ แม้ว่าหลังการเลือกตั้งโครงสร้างของคสช. จะเปลี่ยนรูปไป แต่กองทัพก็ยังมีบทบาทในการดำเนินคดีกับกลุ่มที่มีแนวความคิดในการต่อต้านคสช. หรือเคลื่อนไหวในประเด็นที่อ่อนไหวต่อคสช. เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
 
ยกตัวอย่างเช่น คดีของ 'คดี 'ธนาธร' ที่ร่วมชุมนุมกับกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ โดยมี  พล.ต.บุรินทร์ เป็นผู้เข้าแจ้งความ ส่วนคดี 'แกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน-นักวิชาการ' จัดเวทีเสวนาที่จังหวัดปัตตานี โดยมี พล.ต.บุรินทร์ ซึ่งได้รับมอบอำนาจจาก พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 เข้าแจ้งความร้องทุกข์เช่นเดียวกัน
 
หลังเลือกตั้ง "ศาล-อัยการ" มีแนวโน้มยุติคดีต่อต้านคสช.
 
ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557 ถึง 26 ธันวาคม 2562 มีการดำเนินคดีข้อหา 'ยุยงปลุกปั่น' อย่างน้อย 46 คดี แบ่งเป็น
 
  • อยู่ระหว่างการพิจารณาชั้นตำรวจ 10 คดี (42 คน)
  • อยู่ระหว่างพิจารณาคดีของศาล 16 คดี (61 คน)
  • ตำรวจหรืออัยการสั่งไม่ฟ้อง 5 คดี (12 คน)
  • ศาลยกฟ้อง 5 คดี (5 คน)
  • ศาลสั่งจำคุก 5 คดี (7 คน)
  • ไม่ทราบความเคลื่อนไหว 5 คดี (3 คน)
* หมายเหตุ: หนึ่งคนอาจถูกดำเนินมากกว่าหนึ่งคดี
 
จากข้อมูลข้างต้นพบว่า การดำเนินคดีข้อหายุยงปลุกปั่นส่วนมากไม่มีความคืบหน้า อันจะเห็นได้ว่าคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของตำรวจและอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล อย่างน้อย 26 คดี จาก 46 คดี
 
ที่ผ่านมามีคดีที่สิ้นสุดลงแล้ว อย่างน้อย 15 คดี โดยคดีที่สิ้นสุดลงเพราะศาลยกฟ้องหรือตำรวจอัยการสั่งไม่ฟ้องล้วนแล้วแต่เป็นคดีเล็กน้อยที่ห่างไกลจากองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย เช่น คดี ‘ชัชวาล’ รายงานข่าวการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารผิดวัน หรือคดี 'ปรีชา' มอบดอกไม้ให้ผู้จัดกิจกรรมพลเมืองรุกเดิน เป็นต้น 
 
ส่วนคดีที่ศาลลงโทษจำคุก มีข้อสังเกตว่า เป็นคดีที่สัมพันธ์กับการถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือข้อหา “หมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ” ร่วมอยู่ด้วย เช่น คดีของ  ประเวศ และ ชญาภา
 
อย่างไรก็ดี หลังการเลือกตั้ง พบว่า ทิศทางของคำพิพากษาและความเห็นของอัยการมีแนวโน้มจะยุติคดีมากกว่าลงโทษ โดยเฉพาะกับคดีที่เป็นการแสดงออกในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านคสช. 
 
ยกตัวอย่างเช่น
 
  • ศาลยกฟ้องแกนนำ 6 คน คดี  "RDN50" หรือคดีของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งไปชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง บริเวณถนนราชดำเนิน รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยระบุว่าเป็นการชุมนุมไม่ปลุกปั่น คำปราศรัยเป็นการติชมตามระบอบประชาธิปไตย 
  • อัยการสั่งไม่ฟ้อง คดี "แกนนำพรรคเพื่อไทย" จำนวน 3 คนที่จัดแถลงข่าว "4 ปีที่ล้มเหลวของรัฐบาล และ คสช. นำไปสู่ความมืดมนและอันตราย
Report type: