1527 1177 1775 1693 1728 1838 1800 1677 1819 1705 1620 1704 1944 1387 1409 1633 1973 1217 1957 1858 1502 1658 1356 1616 1439 1080 1492 1087 1906 1066 1811 1251 1510 1532 1378 1150 1085 1181 1143 1617 1119 1641 1482 1046 1204 1703 1813 1799 1423 1789 1720 1682 1748 1246 1661 1473 1561 1391 1843 1430 1551 1060 1088 1686 1188 1313 1414 1713 1858 1051 1822 1299 1638 1424 1128 1526 1989 1042 1446 1588 1203 1543 1895 1778 1214 1272 1354 1418 1262 1473 1697 1069 1586 1762 1840 1667 1249 1660 1466 Thailand Post Election Report: คนอยากเลือกตั้งกับภารกิจที่ยังไม่จบสิ้น | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Thailand Post Election Report: คนอยากเลือกตั้งกับภารกิจที่ยังไม่จบสิ้น

"คนอยากเลือกตั้ง" คือการรวมตัวของกลุ่มประชาชนอย่างหลวมๆ เพื่อทำกิจกรรมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งภายในปี 2561 ภายใต้ชื่อกลุ่ม "คนอยากเลือกตั้ง" โดยจัดชุมนุมสาธารณะทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น เช่น เชียงใหม่ ชลบุรี นครราชสีมา ระหว่างเดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคม 2561 ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์เคยพูดกับผู้นำต่างประเทศรวมทั้งเคยเปิดเผยกับสื่อมวลชนเรื่องกำหนดการการเลือกตั้งแต่ก็มีการเลื่อนออกไปอย่างน้อยห้าครั้งก่อนหน้าที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งจะเริ่มออกมาเคลื่อนไหวในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2561 (ในปี 2562 มีการเลื่อนการเลือกตั้งจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 24 มีนาคม ทำให้รวมแล้วมีการเลื่อนการเลือกตั้งรวมอย่างน้อยหกครั้ง) 

ฝ่ายรัฐเองก็ตอบโต้ด้วยการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งรวมแล้วหกครั้ง จากการชุมนุมอย่างน้อยเจ็ดครั้ง (ไม่นับรวมกิจกรรมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่จัดในพื้นที่มหาวิทยาลัย) และนับเป็นครั้งแรกที่รัฐใช้กลวิธี “แจ้งข้อหาแบบหว่านแห” หรือตั้งข้อกล่าวหากับผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก แทนที่จะจำกัดเฉพาะแกนนำการชุมนุมเหมือนเมื่อก่อน 
และด้วยเหตุว่ามีการดำเนินคดีถี่ๆ ผู้ชุมนุมและทนายความจึงริเริ่มเรียกขานชื่อกลุ่มคดี โดยแบ่งตามสถานที่ชุมนุม พ่วงท้ายด้วยจำนวนของจำนวนผู้ต้องหาในครั้งนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ

- คดี MBK39 คือ การชุมนุมบนสกายวอล์กหน้าหอศิลป์ฯ กรุงเทพ มีผู้ต้องหา 39 คน
- คดี RDN50 คือ การชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน มีผู้ต้องหา 50 คน 
- คดี ARMY57 คือ การชุมนุมที่หน้ากองทัพบก มีผู้ต้องหา 57 คน
- คดี UN62 คือ การชุมนุมหน้าที่ทำการสหประชาชาติ มีผู้ต้องหา 62 คน
- คดี PTY7 คือ การชุมนุมที่พัทยา มีผู้ต้องหา 7 คน  
- คดี CMU6  คือ การชุมนุมที่จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ต้องหา 6 คน 

สำหรับคดีที่เหตุเกิดในกรุงเทพสี่คดี เจ้าหน้าที่มีการแยกดำเนินคดีระหว่างผู้จัดการชุมนุมที่มีพฤติการณ์เป็นแกนนำขึ้นปราศรัยดำเนินคดีกับผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมเฉยๆ โดยคนที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นแกนนำจะถูกตั้งข้อยุยงปลุกปั่นฯตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 เพิ่มเติม   

เวลาผ่านมาเกือบสองปี ระหว่างนั้นมีการจัดการเลือกตั้งไปในเดือนมีนาคม 2562 ขณะที่คสช.ก็สิ้นสภาพไปในเดือนมิถุนายน 2562 แต่คนที่เคยเข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้งส่วนหนึ่งยังคงมีชีวิตวนเวียนอยู่กับสำนักงานอัยการหรือศาลจากคดีเหล่านี้ 
 
ปี 2563 ที่กำลังจะมาถึง "คนอยากเลือก" จำนวนหนึ่งจะยังมีภาระการต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองต่อหน้ากระบวนการยุติธรรมไทยต่อไป    


เพราะไม่เลือกตั้งตามนัด เราจึงต้องมา

 
เดือนตุลาคม 2560 พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าจะประกาศวันเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน 2561 และจัดการเลือกตั้งภายในเดือนพฤศจิกายน 2561  แต่การเลือกตั้งที่ใครหลายคนรอคอยก็ "ไม่มาตามนัด" เพราะในวันที่ 25 มกราคม 2561 สนช.ให้ความเห็นชอบพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2560 โดยที่มาตรา 2 ของกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้กฎหมายมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 90 วัน ทำให้กำหนดการเลือกตั้งที่เดิมคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2561ต้องล่าช้าไปราวสามเดือนเป็นต้นปี 2562 
  
วันที่ 27 มกราคม 2561 หรือสองวันให้หลังจากที่สนช.ผ่านกฎหมายที่จะมีผลให้การเลือกตั้งล่าช้าออกไป มีประชาชนออกมารวมตัวกันที่หน้าหอศิลป์กรุงเทพเพื่อเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งภายในปี 2561 การชุมนุมในวันนั้นจบลงโดยไม่มีเหตุวุ่นวายใดๆ ไม่มีการจับตัวบุคคลใด ทว่าในเวลาต่อมามีประชาชนรวม 39 คนถูกออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 และข้อหาชุมนุมไม่เกิน 150 เมตรจากเขตพระราชฐานตามพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ในจำนวน ผู้ต้องหา 39 คน โดยในจำนวนนั้นมี 9 คนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เพิ่มเติม
 
1304
 
การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งในโอกาสครบรอบสี่ปีการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2561

แม้จะมีการตั้งข้อกล่าวหากับประชาชน 39 คน แต่การดำเนินคดีก็ไม่อาจหยุดการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนที่ต้องการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งได้ หลังการชุมนุมครั้งแรกที่หน้าหอศิลป์ มีกลุ่มประชาชนจัดการชุมนุมอีกอย่างน้อยหกครั้ง ได้แก่
 
- การชุมนุมที่ถนนราชดำเนินในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 
- ที่จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 
- ที่จังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561 
- ที่หน้าห้างเซ็นทรัลเฟสติวัลพัทยาในวันที่ 4 มีนาคม 2561 
- ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบกในวันที่ 24 มีนาคม 2561 
- ที่หน้าองค์การสหประชาชาติในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 

ในจำนวนนี้มีเพียงการชุมนุมที่นครราชสีมาที่ไม่มีการตั้งข้อกล่าวหากับบุคคลใด และปรากฎการณ์ที่น่าสนใจ คือ การออกหมายเรียกประชาชนมารับทราบข้อกล่าวหาเป็นจำนวนมาก สถิติสูงสุดมีถึง 62 คน ต่างจากก่อนหน้านี้ที่มักมีเพียงแกนนำหรือผู้จัดชุมนุมที่ถูกดำเนินคดี เช่น กิจกรรมเลือกตั้งที่ (รัก) ลัก จัดที่เดียวกัน จุดประสงค์ใกล้เคียงกัน  ผู้ร่วมกิจกรรมไม่ต่ำกว่า 20 คน แต่ที่มีคนถูกดำเนินคดีรวมสี่คน หรือคดีการชุมนุมครบรอบหนึ่งปีรัฐประหารที่หน้าหอศิลป์ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 40 - 50 คน มีผู้ถูกดำเนินคดีเก้าคน

 

เลือกตั้งจบแล้ว คดีไม่จบ  


การชุมนุมของคนอยากเลือกตั้งที่หน้าสหประชาชาติในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 น่าจะเป็นการชุมนุมใหญ่เพื่อเรียกร้องการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในปี 2561 ระหว่างนั้นกลุ่มนักกิจกรรมที่ถูกฟ้องคดีต่างต้องทยอยไปพบพนักงานสอบสวนและอัยการตามนัด มีนักกิจกรรมส่วนหนึ่งที่ถูกตั้งข้อกล่าวหามากกว่าหนึ่งคดี เช่น สิรวิชญ์หรือนิวถูกตั้งข้อกล่าวหาในชุดคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งรวมห้าคดี ยกเว้นคดีที่จังหวัดเชียงใหม่, รังสิมันต์ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหารวมสี่คดี โดยคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นเพียงคดีเดียวในชุดคดีนี้ที่ไม่มีผู้ต้องหาคนใดถูกดำเนินคดีซ้ำกับคดีคนอยากเลือกตั้งคดีอื่นๆ  
 
สำหรับความเคลื่อนไหวสำคัญของคดีคนอยากเลือกตั้งที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง มีดังนี้ 


MBK39


เดือนพฤศจิกายน 2562 ผู้ต้องหา 28 คนได้รับแจ้งว่าอัยการและพนักงานสอบสวนมีความเห็นตรงกันสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ส่งผลให้คดีสิ้นสุด โดยก่อนที่คดีจะถึงที่สุดผู้ต้องหาทั้ง 28 คน ต้องไปรายงานตัวกับอัยการเกือบ 20 ครั้งเพื่อฟังคำสั่งคดีจากอัยการสูงสุดว่าจะฟ้องหรือไม่ มีการเลื่อนนัดออกไปเรื่อยๆ ก่อนที่อัยการสูงสุดจะมีคำสั่งให้ตำรวจทำการสอบสวนเพิ่มเติม แต่ที่พนักงานสอบสวนก็มีคำสั่งไม่ฟ้องคดี 
 
1303
 
ผู้ต้องหาคดีผู้ร่วมการชุมนุมคนอยากเลือกตั้งที่สกายวอล์กห้างมาบุญครองเดินทางเข้ารับเอกสารคำสั่งไม่ฟ้องคดี 22 พฤศจิกายน 2562

นอกจากผู้ต้องหา 28 คน คดีนี้ยังมีผู้ต้องหาถูกฟ้องอีก 2 คนแต่ทั้งสองให้การรับสารภาพตั้งแต่ชั้นสอบสวนและในเดือนมีนาคม 2561 ศาลพิพากษาจำคุกทั้งสองเป็นเวลาเป็นเวลา 6 วัน โดยรอลงอาญาไว้ 1 ปี  
สำหรับคดี “ผู้จัดการชุมนุม” คนอยากเลือกตั้ง #mbk39 มีจำเลยรวม 9 คน ศาลอาญากรุงเทพใต้เพิ่งเริ่มสืบพยานในเดือนมิถุนายน 2562 การสืบพยานยังไม่แล้วเสร็จ โดยศาลนัดสืบพยานโจทก์ปากสุดท้ายและนัดสืบพยานจำเลยในเดือนมีนาคม 2563 
 

RDN50

 
คดีการชุมนุมบนถนนราชดำเนิน มีจำเลย 42 คน ถูกฟ้องต่อศาลแขวงดุสิตในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนเพียงข้อหาเดียว 
เดือนธันวาคม 2561 ระหว่างที่คดีนี้อยู่ระหว่างรอการสืบพยาน หัวหน้าคสช.ออกคำสั่งฉบับที่ 22/2561 ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองเนื่องจากขณะนั้นประเทศกำลังจะเข้าสู่การเลือกตั้ง 
 
1305
 
การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ถนนราชดำเนิน 10 กุมภาพันธ์ 2561
 
เดือนกรกฎาคม 2562 อัยการเจ้าของสำนวนแถลงว่า เนื่องจากคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ใช้ดำเนินคดีจำเลยถูกยกเลิกไปแล้วจึงทำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อขอถอนฟ้อง ทั้งอธิบดีอัยการศาลแขวงและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็มีความเห็นพ้องให้ถอนฟ้อง ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้อง ในส่วนของคดี “ผู้จัดการชุมนุม” ศาลอาญาสืบพยานคดีนี้ในเดือนสิงหาคม 2562 จากนั้นจึงมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้ง 6 คนที่ถูกกล่าวหาว่าปราศรัยหรือกระทำการในลักษณะเป็นการยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนก่อความวุ่นวาย  


ARMY57

 
คดีการชุมนุมหน้ากองบัญชาการกองทัพบก มีจำเลย 47 คน ถูกฟ้องต่อศาลแขวงดุสิตด้วยในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อหาไม่เลิกการชุมนุมในระยะเวลาที่ได้แจ้งการชุมนุมไว้และความผิดฐานเคลื่อนย้ายการชุมนุมในยามวิกาลตามพ.ร.บ.ชุมนุม และข้อหากีดขวางการจราจรตามพ.ร.บ.จราจรทางบก 
คดีนี้มีการสืบพยานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนกันยายน 2562 และศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 26 ธันวาคม 2562  
ในส่วนของคดีผู้จัดการชุมนุม มีการฟ้องคดีจำเลยทั้งสิบคนต่อศาลอาญาในวันที่ 6 มีนาคม 2562 แต่การสืบพยานนัดแรกจะไปเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2563 


UN62


คดีการชุมนุมหน้าที่ทำการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) มีผู้ต้องหา 38 คน ถูกฟ้องด้วยรวม 5 ข้อกล่าวหาได้แก่ ร่วมกันชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คน ก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 และข้อไม่ไม่เลิกการมั่วสุมเมื่อเจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 216 ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมตั้งแต่ห้าคน ข้อหากีดขวางสถานที่ราชการตามมาตรา 8 ของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ และความผิดฐานกีดขวางการจราจรตามพ.ร.บ.จราจรฯ 
 
อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหารวม 38 คนต่อศาลแขวงดุสิตไปตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 ในเวลาต่อมามีการฟ้องผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีก 3 คนรวมเป็น 41 คน 
ขณะนี้คดียังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจพยานหลักฐานโดยศาลเลื่อนวันนัดจากเดิมวันที่ 7 ตุลาคม 2562 ออกไปเป็นวันที่ 27 มกราคม 2563  

ในส่วนคดีของผู้จัดการชุมนุมอีก 21 คนถูกฟ้องในข้อหาเดียวกับผู้ร่วมการชุมนุมและเพิ่มเติมข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 อีกหนึ่งข้อหาในวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหารวมสิบคนต่อศาลอาญา 

เดือนพฤศจิกายน 2562 มีการฟ้องร้องผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีก 8 คน รวมเป็น 18 คน ศาลนัดตรวจยานหลักฐานจำเลยที่แยกฟ้องเป็นสองสำนวนพร้อมกันในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 คาดว่าน่าจะมีการรวมสำนวนคดีทั้งสองเป็นคดีเดียวกันเพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาคดี  


PTY12


คดีผู้ชุมนุมคนอยากเลือกตั้งที่พัทยา ผู้ร่วมกิจกรรม 12 คนถูกตั้งข้อกล่าวหาในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อหาไม่แจ้งการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ในเดือนธันวาคม 2561 ระหว่างที่คดีนี้อยู่ระหว่างรอการพิจารณาของอัยการว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ หัวหน้าคสช.ออกคำสั่งฉบับที่ 22/2561 ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง 
เดือนมกราคม 2562 อัยการเจ้าของสำนวนฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 12 คน ในความผิดฐานไม่แจ้งการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯต่อศาลจังหวัดพัทยาเพียงข้อหาเดียว 
 
1306
 
การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่พัทยา 4 มีนาคม 2561

คดีนี้มีการสืบพยานในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 จากนั้นในเดือนกรกฎาคม 2562 ศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาว่าสิรวิชญ์ , วันเฉลิม, ศศวัชร์ มีพฤติการณ์เป็นผู้จัดการชุมนุมเพราะทั้งการปราศรัย การจัดเตรียมลำโพงมาตั้ง รวมทั้งมีพฤติการณ์การนัดแนะผู้ชุมนุมมาเจอกันที่เซนทรัล เฟซติวัล บีช พัทยา แต่ไม่แจ้งการชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า เป็นความผิดตามกฎหมาย ลงโทษปรับคนละ 3,000 บาท ส่วนจำเลยคนอื่นศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่ามีเพียงพฤติการณ์เพียงการชูป้าย จึงเป็นเพียงผู้ร่วมการชุมนุม
 
เดือนพฤศจิกายน 2562 อัยการเจ้าของสำนวนยื่นอุทธรณ์คดีโดยยืนยันว่าจำเลยคนอื่นๆ มีพฤติการณ์เป็นแกนนำหรือผู้จัดการชุมนุมเช่นกัน    


CMU6


คดีผู้ชุมนุมคนอยากเลือกตั้งที่เชียงใหม่ มีผู้ร่วมกิจกรรม 6 คนถูกตั้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน ในจำนวนนี้มีผู้ชุมนุม 5 คนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต 

อัยการเจ้าของสำนวนฟ้องคดีนี้ต่อศาลแขวงเชียงใหม่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 แม้ว่าหัวหน้าคสช.จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองไปตั้งแต่ในเดือนธันวาคม 2561 แล้วก็ตาม

มีข้อน่าสังเกตด้วยว่าจำเลย 2 คนในคดีนี้ยินยอมเข้ากระบวนการปรับทัศนคติแล้วแต่อัยการยังคงฟ้องคดีทั้งสองต่อศาล 

เดือนมีนาคม 2562 ศาลนัดพร้อมคดี ในนัดนั้นจำเลยทั้ง 5 คนที่ถูกฟ้องในความผิดฐานใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งห้าคนให้การรับสารภาพในข้อหานี้ คดีจึงเหลือประเด็นเดียวที่ต้องพิจารณาคือ ข้อกฎหมายในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 ที่ถูกยกเลิกไปแล้วว่าจะใช้ดำเนินคดีจำเลยหรือไม่ 

วันที่ 29 มีนาคม 2562 หรือ 5 วันหลังวันเลือกตั้ง ศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาปรับจำเลย 5 คนที่ถูกฟ้องว่าใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตคนละ 100 บาท แต่ยกฟ้องจำเลยทั้งหมดในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองเนื่องจากคำสั่งดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้ว 
 
Report type: