1338 1542 1437 1393 1959 1659 1810 1873 1379 1778 1989 1378 1628 1560 1314 1057 1160 1562 1172 1617 1643 1617 1289 1460 1336 1132 1131 1702 1364 1869 1424 1330 1525 1182 1847 1829 1073 1943 1934 1031 1640 1594 1673 1530 1558 1715 1325 1567 1939 1548 1548 1275 1822 1985 1620 1025 1179 1030 1916 1889 1961 1456 1650 1136 1773 1373 1060 1943 1867 1637 1944 1747 1282 1975 1338 1672 1467 1585 1151 1705 1405 1245 1727 1348 1115 1079 1648 1181 1603 1128 1019 1241 1928 1604 1547 1002 1387 1418 1435 Change.NCPO ชีวิตที่เปลี่ยนไปในยุคคสช. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Change.NCPO ชีวิตที่เปลี่ยนไปในยุคคสช.

ในช่วงเวลากึ่งทศวรรษของการปกครองโดย คสช. เป็นเวลาที่นานพอจะให้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง เช่น เห็นอดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารผู้เคยปฏิเสธว่า ตัวเอง "ไม่ใช่นักการเมือง" กลายเป็นนักการเมืองแบบเต็มขั้น เห็นระบบการเมืองที่หวนคืนไปสู่ระบบการเมืองแบบวันวาน เช่น การมี ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง 100% หรือเห็นรัฐธรรมนูญที่ย้อนกลับไปกำหนดให้นายกไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นต้น

 
ขณะเดียวกันระยะเวลาที่เนิ่นนานในยุค คสช. ก็นานพอที่จะเปลี่ยนชีวิตของคนตัวเล็กตัวน้อยที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านการรัฐประหารหรือการปกครองโดย คสช. จนมีคดีการเมืองติดตัวเป็นของขวัญ ผลงานชุด Change.NCPO จึงคัดเลือกภาพและเสียงของนักเคลื่อนไหวบางส่วนที่ถูกดำเนินคดีการเมืองเป็นครั้งแรกในช่วงปี 2557 - 2559 ซึ่งถือเป็นครึ่งแรกของการบริหารประเทศโดย คสช. มาบอกเล่าไว้ ณ ที่นี้

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
1190
 
ปิยรัฐ จงเทพ หรือ "โตโต้" อดีตนักกิจกรรมที่เคยรณรงค์คัดค้านระบบโซตัสในมหาวิทยาลัยขณะศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือคือนักกิจกรรมอีกคนหนึ่งที่ชีวิตพลิกผันในยุคคสช. ในช่วงของการออกเสียงประชามติปิยรัฐตัดสินใจฉีกบัตรลงคะแนนประชามติทำให้เขาถูกดำเนินคดีในความผิดตามพ.ร.บ.ประชามติร่วมกับเพื่อนอีกสองคน การถูกดำเนินคดีครั้งนั้นเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เขาทำงานทางการเมืองอย่างจริงจังทั้งการร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้งจนถูกดำเนินคดีตามมาตรา 116 จากการชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้งที่หน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ในเวลาต่อมาเมื่อมีการเลือกตั้งในปี 2562 ปิยรัฐตัดสินใจลาออกจากอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจมาสมัครสมาชิกพรรคอนาคตใหม่และลงสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านเกิดของเขา
 
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
1191
หากพูดถึงนักกิจกรรมกลุ่มดาวดิน หลายคนอาจนึกถึง "ไผ่ ดาวดิน" นักกิจกรรมที่เคยถูกพิพากษาจำคุกด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแชร์บทความของเว็บไซต์บีบีซีไทย แต่จริงๆแล้วกลุ่มดาวดินไม่ได้มีแค่ไผ่ หากแต่เป็นกลุ่มกิจกรรมของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ทำงานรณรงค์เรื่องสิทธิชุมชนในภาคอีสานมาอย่างต่อเนื่องและเป็นการส่งผ่านภารกิจจากรุ่นสู่รุ่น ก่อนหน้านี้ชื่อของนักกิจกรรมกลุ่มดาวดินเป็นที่รู้จักในแวดวงแคบๆของผู้ได้รับผลกระทบจากนโครงการพัฒนาทั้งของรัฐและเอกชนในภาคอีสาน แต่การรัฐประหาร 2557 ทำให้กลุ่มดาวดินกลายเป็นที่รู้จักของคนในระดับชาติเพราะมีสมาชิกกลุ่มห้าคนทำกิจกรรมชูสัญลักษณ์สามนิ้วต่อหน้าพล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้าคสช.ระหว่างลงพื้นที่ที่จังหวัดขอนแก่นในเดือนพฤศจิกายน 2557 หลังจากนั้นกลุ่มดาวดินก็ยังมีบทบาทในการเมืองระดับชาติเรื่อยมาโดยเฉพาะในปี 2558 ที่สมาชิกกลุ่มเจ็ดคนถูกดำเนินคดีเพราะไปถือป้ายคัดค้านการประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขอนแก่นในโอกาสครบรอบหนึ่งปีการรัฐประหาร
 
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
1192
 
"แม่หนึ่ง" คือแม่ของ "จ่านิว" หรือสิรวิชญ์ นักกิจกรรมทางการเมืองที่เคลื่อนไหวคัดค้านการรัฐประหารและเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องในยุคคสช. ตลอดระยะเวลาห้าปีของคสช. "แม่หนึ่ง"ต้องวนเวียนไปดูแลลูกชายทั้งที่สถานีตำรวจและศาลอยู่บ่อยครั้งเพราะนิวลูกชายของเธอถูกจับและถูกดำเนินคดีอยู่บ่อยๆจากการไปเข้าร่วมหรือจัดกิจกรรมทางการเมือง แม้ "แม่หนึ่ง" จะเป็นเพียงคนทำมาหากินที่ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมด้วยตัวเอง แต่เมื่อลูกชายถูกจับอยู่บ่อยครั้งเธอก็เริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการทำความรู้จักคนที่ไปทำกิจกรรมร่วมกับลูกชายหรือเดินทางไปอยู่ใกล้ๆลูกชายในที่ชุมนุมเพื่อที่จะดูแลลูกได้ทันท่วงทีหากถูกจับไปที่สถานีตำรวจ แต่กลายเป็นว่าการติดต่อกับเพื่อนของลูกและการไปยืนรอลูกชายอยู่ห่างๆอย่างห่วงๆกลับเป็นเหตุให้เธอต้องกลายเป็นจำเลยในคดีการเมืองอย่างคดีมาตรา 112 และคดีชุมนุมฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.เสียเอง 

อ่าน >>> Change.NCPO "แม่หนึ่ง" จากแม่นักกิจกรรมคนหนึ่ง สู่จำเลยสองคดีการเมืองยุค คสช
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
1189
 
นับจากการรัฐประหาร 2557 ชลธิชา แจ้งเร็วหรือ "ลูกเกด" คือหนึ่งในนักกิจกรรมที่ถูกจับเพราะไปร่วมกิจกรรม "ศุกร์ 22 มาฉลองกันมะ" ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ที่หน้าหอศิลป์กรุงเทพ หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน 2558 หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน 2558 ชลธิชาก็ต้องเข้าไปอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางเป็นเวลา 12 วันเพราะเธอและเพื่อนนักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่และกลุ่มดาวดินอีก 13 คนเลือกที่จะไม่ประกันตัวระหว่างสู้คดีชุมนุมคัดค้านการรัฐประหารในชั้นสอบสวน นับจากการรัฐประหารจนถึงปัจจุบัน (กันยายน 2562) ชลธิชายังคงทำงานทางการเมืองอย่างต่อเนื่องโดยเปลี่ยนสถานะจากนักกิจกรรมนิสิตมาเป็นคนทำงานใน "กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย"

อ่าน >>> Change.NCPO "ลูกเกด" - ชลธิชา จากนิสิตทำกิจกรรมการเมือง สู่คนทำงานรณรงค์ประชาธิปไตย
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
1199
ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 รังสิมันต์ซึ่งเพิ่งสอบวิชาสุดท้ายเสร็จเดินทางมาร่วมกิจกรรมรำลึกหนึ่งปีการรัฐประหารกับเพื่อนๆที่หน้าหอศิลป์กรุงเทพ เขาตั้งใจไว้ว่าหลังจบการศึกษาจะไปทำงานกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเพราะเชื่อว่าความรู้ทางกฎหมายของเขาน่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นบ้าง แต่แล้วเส้นทางชีวิตของเขาก็เปลี่ยนไปเมื่อเขาถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมทางการเมืองเสียเอง จากความฝันที่จะเป็นทนายความโรมกลายเป็นนักกิจกรรมอย่างเต็มตัวและถูกดำเนินเพิ่มอีกหลายคดีจนกระทั่งมีการเลือกตั้งในปี 2562 เขาก็ตัดสินใจผันตัวไปลงสมัครเป็นผู้แทน   
 
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
1218
 
จิรวัฒน์หรือ "ตั้ม" อดีตเซลล์ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าคืออีกคนหนึ่งที่ชีวิตพลิกผันเพราะถูกดำเนินคดีในยุคคสช. ในช่วงการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 จิรวัฒน์ถ่ายคลิปวิดีโอขณะที่เพื่อนของเขาฉีกบัตรประชามติออกเผยแพร่บนโลกออนไลน์จนทำให้เขาถูกดำเนินคดีไปด้วย หลังมีคดีเขากลายเป็นคนว่างงานไปครึ่งปี การตกงานเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้สภาพจิตใจของเขาย่ำแย่จนเป็นโรคซึมเศร้า แต่ท่ามกลางมรสุมชีวิตจิรวัฒน์ก็ตกผลึกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับสังคมไทย
 
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
 
1253

อภิชาตคือหนึ่งในประชาชนที่ออกไปแสดงจุดยืนไม่ยอมรับการรัฐประหารในวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 วันแรกที่ประเทศเริ่มปกครองโดย "ระบอบแห่งการรัฐประหาร" ครบ 24 ชั่วโมง การถูกดำเนินคดีทำให้อภิชาตนิติศาสตร์บัณฑิตหนุ่มได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้วิชากฎหมายใน "ภาคปฏิบัติ" ที่ตัวเขาเองเป็นกรณีศึกษาและมีคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นใบปริญญา
 
 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
1254
 
แบงค์หรือปติวัฒน์เป็นอีกคนหนึ่งที่ชีวิตพลิกผันเพราะการรัฐประหารของคสช. ในปี 2556 เขาไปร่วมแสดงละคร "เจ้าสาวหมาป่า" กับกลุ่มประกายไฟการละครในงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลา เนื้อหาของละครถูกประชาชนกลุ่มหนึ่งมองว่าเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์จึงไปแจ้งตำรวจ หลังการรัฐประหารปติวัฒน์ถูกจับตัวจากขอนแก่นมาดำเนินคดีมาตรา 112 ที่กรุงเทพ ปติวัฒน์ถูกพิพากษาจำคุก 2 ปี 6 เดือน แม้ขณะนี้เขาจะพ้นโทษมาแล้วแต่เวลาในเรือนจำก็ได้พรากทั้งโอกาสและความมั่นใจไปจากเขา

อ่าน >>> Change.NCPO ปฏิวัฒน์ ‘แบงค์' ตายแล้วเกิดร้อยชาติ เฮาก็บ่อโหสิ
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
 
 
 
 
 
Article type: