1296 1922 1325 1227 1876 1199 1513 1815 1896 1914 1601 1376 1639 1211 1744 1650 1308 1881 1644 1019 1450 1819 1015 1119 1409 1188 1488 1976 1722 1867 1663 1507 1088 1604 1496 1251 1842 1910 1703 1770 1062 1120 1521 1678 1283 1710 1061 1918 1605 1882 1145 1047 1202 1845 1988 1016 1571 1601 1234 1336 1823 1464 1262 1032 1904 1968 1047 1035 1973 1155 1494 1009 1310 1157 1889 1062 1539 1594 1908 1669 1541 1860 1651 1839 1776 1583 1166 1335 1202 1020 1987 1802 1609 1327 1023 1328 1632 1153 1083 เลือกตั้ง 62: รวมเรื่องควรรูัในการเลือกตั้ง 2562 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เลือกตั้ง 62: รวมเรื่องควรรูัในการเลือกตั้ง 2562

 


1084

 

ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลคสช.ที่ปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี 2557 ระหว่างทางนั้นได้วางกลไกในการจำกัดเสรีภาพการแสดงออกไว้จำนวนมาก เช่น คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ที่ยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการตรวจเยี่ยมบ้านประชาชน , ประกาศคสช.ที่ 97 และ 103/2557 ควบคุมเนื้อหาการรายงานของสื่อมวลชน, พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ และการใช้คดีความในการปราบปรามผู้ใช้เสรีภาพในการแสดง โดยไอลอว์ได้รวบรวมข้อมูลเสรีภาพและข้อสงสัยการโกงเลือกตั้งไว้ที่นี้

 

๐เลือกตั้ง 62: เลิกคำสั่งชุมนุมทางการเมือง แต่ยังเยี่ยมบ้าน ตามติดประชาชนต่อเนื่อง

บรรยากาศในช่วงท้ายปี 2561 ดูคล้ายจะเข้าสู่การเลือกตั้งมากขึ้น ภาพซ้ำๆ ของการห้ามใช้เสรีภาพการแสดงออก การส่งทหารไปเยี่ยมบ้านระหว่างหรือก่อนการชุมนุมคงจะลดลงไป น้ำหนักเหมือนจะอยู่ที่การหาเสียงเลือกตั้งดูเหมือนจะเอื้อต่อพรรคใดพรรคหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่เมื่อเปิดปี 2562 ขึ้นมาบรรยากาศเสรีภาพกลายเป็นเรื่องใหม่ซ้ำเดิม เจ้าหน้าที่ยังคงไปเยี่ยมบ้านนักเคลื่อนไหวในช่วงที่จะมีการชุมนุม กดดันให้หยุดการใช้เสรีภาพการแสดงออก นักกิจกรรมและนักการเมืองยังคงถูกติดตามเหมือนเดิม อ่านที่นี่

 

๐ เลือกตั้ง 62: รวมอุปสรรคในการหาเสียงและข้อสงสัยการโกงเลือกตั้ง 2562

หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำการรัฐประหาร พรรคการเมืองก็ถูก คสช. ใส่ “กุญแจมือล็อคไว้” ให้ยุติบทบาททางการเมืองเป็นการชั่วคราวด้วยประกาศ คสช. ฉบับที่ 57/2557 ในวันที่ 12 มิถุนายน 2557 ซึ่งระบุห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และเมื่อคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ซึ่งออกในวันที่ 1 เมษายน 2558 สั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป กลายกุญแจที่ล็อคพรรคการเมืองก็ยิ่งแน่นหนาขึ้นไปอีก
 

จนกระทั่งโรดแมปการเลือกตั้งดำเนินมาถึงจุดที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เริ่มบังคับใช้ในวันที่ 7 ตุลาคม 2560 กำหนดให้พรรคการเมืองต้องดำเนินกิจกรรมทางการเมืองภายในกำหนดเวลา มิเช่นนั้นจะเสียสิทธิ เช่น สิ้นสภาพหรือหรือไม่อนุญาตให้ส่งผู้สมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้งที่จะถึงในปี 2562 แต่พรรคการเมืองก็ยังไม่สามารถทำตามนั้นได้เพราะยังถูกล็อคด้วยประกาศและคำสั่ง คสช. อยู่  คสช. จึงใช้ "มาตรา 44" คลายล็อคพรรคการเมืองครั้งแรกด้วยการคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 ในวันที่ 22 ธันวาคม 2560 และครั้งที่สองด้วยการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561 ในวันที่ 14 กันยายน 2561 แม้จะมีการคลายล็อคพรรคการเมืองผ่อนคลายให้พรรคการเมืองสามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้และเข้าสู่บรรยากาศการเลือกตั้งแล้ว แต่เจ้าหน้าที่รัฐยังมีการติดตามและก่ออุปสรรคให้แก่นักการเมืองอยู่เรื่อยมา
 
 
ในการเลือกตั้ง 2562 ไอลอว์ได้รวบรวมข้อมูลการคุกคามนักการเมืองและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังได้รวบรวมกรณีข้อกล่าวหาการซื้อเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ และกลไกการเอื้อประโยชน์บางประการที่รัฐบาลคสช.มีต่อพรรคที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.และนายกรัฐมนตรี ให้กลับเข้าสู่อำนาจอีกครั้ง อ่านที่นี่
 
 

๐เลือกตั้ง 62: การดำเนินคดีต่อนักการเมืองระหว่างการเลือกตั้ง 2562

วันที่ 14 กันยายน 2561 พล.อ.ประยุทธ์ออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 13/2561 คลายล็อคพรรคการเมือง ให้พรรคการเมืองสามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ แต่คดีความของนักการเมืองยังคงเดินหน้าไป ทั้งคดีที่มีมาก่อนหน้าและคดีที่เกิดขึ้นหลังการคลายล็อค นอกจากนี้ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งยังปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการดำเนินคดีกับนักการเมืองที่กำลังหาเสียง ทั้งคดีที่เกิดจากการแสดงออกทางการเมือง และคดีความผิดอื่นๆ


ถึงแม้คดีความของนักการเมืองบางคดีที่เกิดขึ้นในยุคคสช. น่าจะเป็นไปเพื่อให้นักการเมืองคนนั้นๆ ‘เงียบ’ เท่านั้น และที่สุดแล้วอาจไปไม่ถึงถูกพิพากษาจำคุกที่จะส่งผลต่ออนาคตทางการเมือง แต่มันก็ทำให้บรรดาผู้ถูกดำเนินคดีต้องประสบความยากลำบากโดยไม่จำเป็นระหว่างพิจารณาคดี ขณะที่การดำเนินคดีนักการเมืองที่อยู่ระหว่างการลงสนามเลือกตั้งจนเป็นข่าวครึกโครมก็คงไม่เป็นผลดีต่อบรรยากาศของประเทศในการเลือกตั้งเพื่อเดินหน้ากลับสู่ประชาธิปไตย อ่านที่นี่

 

๐เลือกตั้ง 62: การใช้อำนาจพิเศษของคสช.ในช่วงเลือกตั้ง

กรณีโฆษกคสช.ยืนยันว่าคสช.ไม่มีการใช้อำนาจมาตรา 44 หรือมาตรการอื่นใดทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมืองในช่วงเลือกตั้ง แต่ก็พบว่าในช่วงเลือกตั้งมีการใช้อำนาจมาตรา 44 ที่เคยออกไว้เดิมลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและพรรคการเมืองอย่างชัดเจนไม่น้อยกว่า 13 กรณี อ่านที่นี่ 

 
 

๐ เลือกตั้ง 62: ทัศนคติต่อการวิจารณ์ของ "ลุงตู่" น่ากังวลหากยังเป็นนายกฯ ต่อ

8 กุมภาพันธ์ 2562 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศรับคำเชิญพรรคพลังประชารัฐเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี พลันที่พล.อ.ประยุทธ์ ตอบตกลง เขาก็มีสถานะ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพิ่มอีกหนึ่งตำแหน่งจากเดิมที่เขาเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มและยังเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติผู้มีอำนาจตามมาตรา 44 ซึ่งสามารถออกคำสั่งทั้งทางนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการใดๆ ก็ได้ออกบังคับโดยมีสถานะเป็นกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
 
ตลอดระยะเวลาเกือบห้าปี ที่พล.อ.ประยุทธ์บริหารประเทศ ตั้งแต่การรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ์ก็ควบสองตำแหน่งบริหารประเทศเรื่อยมา กฎหมายและมาตรการต่างๆ ถูกประกาศใช้ออกมาโดยอำนาจในฐานะหัวหน้า คสช. เพื่อเป็นฐานในการจำกัดการแสดงออก การจับกุม ดำเนินคดีกับประชาชน เช่น ใช้เรียกคนไปขังในค่ายทหาร หรือส่งเจ้าหน้าที่ทหารมา "พูดคุย" ที่บ้าน อำนาจพิเศษเช่นนี้ถูกใช้เพื่อสร้างบรรยากาศที่ปิดกั้นอยู่นาน และแม้ว่า กำลังจะมีการเลือกตั้ง แต่หากพล.อ.ประยุทธ์ ยังคงได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป สถานการณ์เสรีภาพก็ยังมีความน่ากังวล โดยพิจารณาได้จากทั้งคำกล่าวที่แสดงถึงวิธีคิดของพล.อ.ประยุทธ์ เกี่ยวกับการชุมนุมในโอกาสต่างๆ และแนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐตลอดระยะเวลาเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา อ่านที่นี่

 

๐เลือกตั้ง 62: รายงานอุปสรรคของการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

วันที่ 23 มกราคม 2562 รัฐบาลประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป ซึ่งในวันเดียวกันคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ประกาศวันเลือกตั้งพร้อมแถลงปฏิทินการเลือกตั้ง กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต วันที่ 17 มีนาคม 2562 สำหรับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กกต. เพียงแต่กำหนดกรอบเวลากว้างๆ ระหว่างวันที่ 4 - 16 มีนาคม 2562 เท่านั้นส่วนวัน เวลา วิธีการ และสถานที่การใช้สิทธิขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่จะกำหนด อย่างไรก็ตามจากการเก็บข้อมูลพบว่า การออกเสียงนอกราชอาณาจักรมีอุปสรรคในหลายประเทศ ทั้งกรณีการออกเสียงที่สถานทูตหรือการออกเสียงทางไปรษณีย์ อ่านที่นี่

 

๐ เลือกตั้ง 62 : เลิกคำสั่งชุมนุมทางการเมืองแล้ว แต่ชุมนุมในสถานศึกษายังคงไม่ง่าย

11 ธันวาคม 2561 คสช. ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. 9 เรื่องสำคัญ รวมทั้ง ข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ปลดล็อคให้ประชาชนทำกิจกรรมสาธารณะได้สะดวกขึ้น และให้พรรคการเมืองเริ่มหาเสียงได้ แต่การยกเลิกดังกล่าวอาจเป็นเพียงฉากการเมืองฉากหนึ่งเท่านั้น เพราะ คสช. ยังคงไว้ซึ่งอำนาจบุกค้น เยี่ยมบ้านและเรียกบุคคลไปปรับทัศนติในค่ายทหาร 7 วัน ไม่นับรวมการเข้ากดดันเจ้าของสถานที่ที่ คสช. ทำมาตลอดกว่าสี่ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันยังมี พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ที่ยังทำหน้าที่เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการแสดงออกในที่สาธารณะ


แม้ว่า มาตรา 3 ของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ กำหนดไม่ให้ใช้บังคับข้อจำกัดต่างๆ กับการชุมนุมภายในสถานศึกษา แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจัดการชุมนุมในพื้นที่สถานศึกษา เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงมีรูปแบบการกดดันทางอ้อมในการสกัดกั้นการใช้เสรีภาพการแสดงออกอย่างแนบเนียนขึ้น อ่านที่นี่

 

๐เลือกตั้ง 62: ตำรวจสั่งห้ามนิสิตม.บูรพา ชุมนุมค้านเลื่อนเลือกตั้ง งัดระเบียบยันเสรีภาพนักศึกษา จัดต่อในมหาลัยฯได้

นิสิต ม.บูรพาจัดชุมนุมคัดค้านการเลือกตั้งที่บริเวณลานหน้ามหาวิทยาลัยบูรพา โดยแจ้งการชุมนุมเกี่ยวกับรายละเอียดการแจ้งการชุมนุมและอุปสรรคของการจัดกิจกรรมที่พบเจอได้ข้อมูลว่า ในวันที่ 15 มกราคม 2562 เขาไปแจ้งการชุมนุมที่สภ.แสนสุขในเวลาประมาณ 21.00 น. และได้ทำบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานด้วย ในหนังสือแจ้งการชุมนุมระบุวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ประชาธิปไตยและเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562  ต่อมามหาวิทยาลัยกลับไม่ให้ใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรม อ่านที่นี่


 

๐เลือกตั้ง 62: ไล่ทหารไปเป็นรั้วทำ “เสรีพิศุทธ์” อ่วม! ทหารแจ้งความแล้ว 4 คดี ป้ายโดนกรีด โรงงานป้ายโดนเผา

ความ "กล้าได้กล้าชน" กับฝ่ายทหารถือเป็น "ลายเซ็น" ของพล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเสรีรวมไทย นับตั้งแต่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ประกาศลงเล่นการเมืองภายใต้พรรคเสรีรวมไทยก็มีวาทะเผ็ดร้อนวิพากษ์รัฐบาล คสช. และกองทัพมาโดยตลอด และอุณหภูมิวาทะก็สูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ตำหนิทหารที่ตามประกบระหว่างลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้ง ที่จ.ปราจีนบุรี ทำให้พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกและเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกมาแสดงท่าทีตอบโต้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาด้วยคดีความและตบท้ายด้วยการแสดงข้อเท็จจริงบนป้ายประชาสัมพันธ์ของกองทัพ อ่านที่นี่

 

๐เลือกตั้ง 62: เช็คชี่อสื่อมวลชน ใครถูก “ทำโทษ” ไปแล้วบ้างในศึกเลือกตั้ง

ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 8 ปีของไทย ช่วงโค้งสุดท้ายสื่อมวลชนต่างมุ่งนำเสนอข่าวมาที่เรื่องการเมือง เรียกได้ว่า เปิดทีวี กางหนังสือพิมพ์ หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ใดก็หนีไม่พ้นหัวข้อข่าวนโยบายทางการเมือง, การดีเบตระหว่างพรรคการเมืองและวิเคราะห์ข่าวทางการเมือง อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลอดเกือบห้าปีที่ผ่านมาสื่อมวลชนไม่ได้ทำงานอย่างอิสระ ยังคงผูกติดด้วยข้อจำกัดตามประกาศคสช.ที่ 97 และ 103/2557 , การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มข้น และข้อกำหนดภายในองค์กรสื่อ ซึ่งในช่วงเลือกตั้ง 2562 ข้อจำกัดเหล่านี้ยังคงอยู่และกลายเป็นอุปสรรคของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารต่อสาธารณชน ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง อ่านที่นี่

 

๐ เลือกตั้ง 62: อนาคตใหม่แจงกรณีรองหัวหน้าพรรคแชร์ข่าวปลอม "กาแฟบิ๊กป้อม" วอนช่วยจับตาสื่อรับใช้เผด็จการ

5 มีนาคม 2562 พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ชี้แจงกรณีตำรวจออกหมายเรียกพล.ท.พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่แชร์ข่าวปลอมเกี่ยวกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ข่าวพาดหัวในทำนองว่า เบิกงบกาแฟแก้วละ 12,000 บาท โดยใช้งบสวัสดิการในตำแหน่ง รวมเป็นเงิน 82,000 บาท พร้อมกับนำภาพประกอบที่มี พล.อ.ประวิตร และไพศาล พืชมงคล ที่ปรึกษา มาตัดต่อร่วมกัน อ่านที่นี่


๐เลือกตั้ง 62: ศาลปกครองชี้ 'ปิด' วอยซ์ ทีวี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้เพิกถอนคำสั่งกสทช.

ศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่า พิพากษาว่า มติที่ประชุมกสทช.ที่ 3/2562 ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 กำหนดโทษทางปกครองให้ระงับการออกอากาศวอยซ์ ทีวีทั้งสถานีเป็นเวลา 15 วันออกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 64, 16 และ 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ และข้อ 20 ของประกาศกสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 2555 สั่งให้เพิกถอนมติดังกล่าว อ่านที่นี่


๐เลือกตั้ง 62: มาตรา 112 ไม่คุ้มครอง ทูลกระหม่อมฯ

ข่าวการเปิดตัว "ทูลกระหม่อมอุบลรัตน์ฯ" ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงหนึ่งเดียวของพรรคไทยรักษาชาติ ก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในทางเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันสถานะ "ทูลกระหม่อมอุบลรัตน์ฯ" ในฐานะที่เป็นพระราชธิดาองค์โตในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า ก็อาจทำให้หลายคนเกิดคำถามว่า ในฐานะที่มาลงเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวแล้ว จะถูกวิจารณ์ได้หรือไม่ หรือทำได้มากน้อยเพียงใด

โดยเฉพาะอย่างในเมื่อมี "ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112" หรือความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ยังบังคับใช้อยู่ และเป็นกฎหมายที่สร้างความหวาดกลัวให้กับการแสดงความเห็นในสังคมไทยมานาน อ่านที่นี่


๐เลือกตั้ง 62: คนอยากเลือกตั้งยื่นคำขาด คสช.ต้องประกาศพ.ร.ฎ.เลือกตั้งภายในศุกร์นี้

วันที่ 13 มกราคม 2562 กลุ่มคนอยากเลือกตั้งนัดชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์เพื่อเรียกร้องให้ “ไม่เลื่อน” วันเลือกตั้งให้ล่วงเลยหลังวันที่ 10 มีนาคม 2562 เพราะจะสุ่มเสี่ยงให้ กกต. ไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งภายในกรอบ 150 วันนับจากวันประกาศ พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 อันอาจส่งผลทำให้การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นถูกชี้ว่าขัดรัฐธรรมนูญ และกลายเป็นโมฆะ อ่านที่นี่


๐ ส่องเกมสกัดดาวรุ่งก่อนเลือกตั้ง: ปัดฝุ่นคดีเก่า ไล่ฟ้องคดีใหม่ ใช้ข้อหาการเมืองกับขั้วตรงข้าม

การกล่าวหาคดีเหล่านักการเมือง หรือเขียนกฎหมายจำกัดเสรีภาพที่บ่อยครั้งมักใช้จัดการฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของรัฐบาลเป็นเรื่องธรรมดาสามัญในรัฐเผด็จการอำนาจนิยม ผู้มีอำนาจอาจบอกว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการบังคับใช้กฎหมายโดยทั่วไป แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า คดีความเหล่านั้นส่งผลต่ออนาคตทางการเมืองของนักการเมืองขั้วตรงข้ามรัฐบาล  ทั้งอาจทำให้เกมการเมืองเปลี่ยนไปด้วย หรืออย่างน้อยที่สุดมันส่งผลต่อบรรยากาศเสรีภาพการแสดงออก ที่ถูกลดทอนไปในประเทศนั้นๆ รายงานชิ้นนี้จะชวนลองดูกลยุทธ์สกัดดาวรุ่งหรือนักการเมืองฝ่ายค้านของประเทศต่างๆว่า มีการใช้วิธีแบบใดบ้าง อ่านที่นี่
 

 

Article type: