1516 1845 1069 1859 1011 1803 1381 1983 1969 1131 1519 1079 1616 1750 1748 1496 1282 1265 1034 1808 1466 1445 1677 1039 1621 1770 1727 1088 1987 1161 1575 2000 1998 1209 1389 1077 1628 1703 1950 1951 1912 1710 1571 1982 1637 1292 1800 1069 1557 1829 1296 1801 1428 1229 1245 1949 1901 1796 1457 1028 1921 1304 1613 1517 1652 1115 1251 1872 1420 1057 1281 1823 1665 1654 1396 1214 1003 1038 1893 1787 1902 1493 1819 1833 1466 1904 1897 1930 1344 1682 1266 1058 1415 1887 1652 1853 1576 1706 1710 ศาลปกครองกลางนัดฟังคำพิพากษาคดีวอยซ์ ทีวี ฟ้องเพิกถอนคำสั่งกสทช. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลปกครองกลางนัดฟังคำพิพากษาคดีวอยซ์ ทีวี ฟ้องเพิกถอนคำสั่งกสทช.

 

 

27 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 10.00 น. ศาลปกครองกลางออกนั่งพิจารณาคดีเป็นครั้งแรกในคดีที่วอยซ์ ทีวีฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และสำนักงาน กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยตุลาการศาลปกครองจะแถลงข้อเท็จจริงในคดี ก่อนที่ในเวลา 14.00 น. ตุลาการฯจะอ่านคำพิพากษาของคดีนี้


เหตุแห่งคดีนี้สืบเนื่องจากวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 กสทช.ได้ออกคำสั่งระงับการออกอากาศวอยซ์ ทีวี ทั้งสถานีเป็นเวลา 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 13-27 กุมภาพันธ์ 2562 ระบุว่า เนื้อหาออกอากาศของวอยซ์ ทีวีส่อสร้างความสับสนขัดต่อประกาศคสช.ที่ 97/2557 จึงผิดตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ ประกอบกับเป็นการกระทำความผิดซ้ำซากจึงสั่งระงับการออกอากาศทั้งสถานี


เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสถานีโทรทัศน์วอยซ์ ทีวีได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง โดยขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งระงับการออกอากาศทั้งสถานีที่ออกเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562, ขอให้เพิกถอนมติกสทช.ครั้งที่ 3/2562 ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับการออกอากาศ และเพิกถอนบันทึกข้อตกลงระหว่างวอยซ์ ทีวีและสำนักงานกสทช. ระหว่างนี้ขอให้ศาลปกครองทุเลาคำสั่งระงับการออกอากาศทั้งสถานี


ต่อมาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ศาลปกครองกลางนัดไต่สวนฉุกเฉินทุเลาคำสั่งของกสทช. โดยหลักแล้ววอยซ์ ทีวีสู้ว่า การปิดวอยซ์ ทีวีในช่วงการเลือกตั้งสร้างความเสียหายในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน และธุรกิจของวอยซ์ ทีวีเองด้วย นอกจากนี้กสทช.ยังได้รับการคุ้มครองจากคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 41/2559 ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง, อาญาและวินัย จึงเกรงว่า สถานะของ กสทช.จะหลุดออกจากหลักนิติรัฐ ขณะที่กสทช.สู้ว่า การออกคำสั่งของกสทช.ปฏิบัติตามกฎหมายทุกประการและวอยซ์ ทีวีได้เผยแพร่เนื้อหาสร้างความสับสนและผูกตัวเองเข้ากับอุดมการณ์ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง หากยังปล่อยให้ออกอากาศต่อไปจะทำให้เกิดการแบ่งแยกไม่เป็นการปรองดองสมานฉันท์หรือไม่


ศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่า คำสั่งของกสทช. น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงทุเลาคำสั่งของ กสทช.ไว้ระหว่างการพิจารณาคดี ทำให้ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 วอยซ์ ทีวีกลับมาออกอากาศได้เป็นปกติ ขณะที่ในชั้นไต่สวนข้อเท็จจริงวอยซ์ ทีวีได้สู้ในประเด็นหลักคือ การออกคำสั่งของกสทช.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, การแสดงความคิดเห็นเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนและสื่อมวลชนและ กสทช.ขาดความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์เนื้อหาและกระบวนการทำข่าว


ที่ผ่านมารัฐบาลคสช.ได้ออกประกาศและคำสั่งในการจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชน ฉบับหลักที่นำมาใช้คือ ประกาศคสช.ที่ 97/2557 ที่มีเนื้อหาห้ามสื่อวิพากษ์วิจารณ์คสช.และเสนอข่าว ‘ส่อ’ สร้างความสับสนแก่ประชาชน ที่มีความหมายกว้างขวางอย่างมาก โดยคำว่า ‘ส่อ’ ไม่จำเป็นต้องเกิดผลสับสนจริง, ประกาศ คสช.ที่ 103/2557 ที่แก้ไขให้วิจารณ์คสช.ได้แต่ต้องไปด้วยความสุจริต และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 41/2559 คุ้มครองให้ กสทช. ทำหน้าที่โดยไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง,ทางอาญาและทางวินัย


ผู้ใช้อำนาจตามประกาศและคำสั่งเหล่านี้คือ กสทช. โดยที่ผ่านมาลงโทษสื่อการเมืองไปไม่น้อยกว่า 59 ครั้ง วอยซ์ ทีวีถือเป็นสื่อที่โดนลงโทษมากที่สุด 24 ครั้ง โดยการลงโทษขั้นหนักที่สุดคือ การระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 15 วันในปี 2560 และปี 2562 นี้

 


////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ข้อมูลเพิ่มเติม
เปิดคำเบิกความ กรณีวอยซ์ ทีวีขอศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินทุเลาคำสั่งกสทช. 
ศาลปกครองไต่สวนข้อเท็จจริงคดีวอยซ์ ทีวีฟ้องกสทช.
สถิติการพิจารณาลงโทษสื่อมวลชนภายใต้กลไก กสทช. 
ปัญหาของการพิจารณาลงโทษสื่อ โดยกลไก กสทช. 
 

Article type: