1551 2000 1752 1982 1430 1182 1161 1903 1968 1232 1354 1737 1421 1078 1573 1920 1186 1752 1376 1479 1782 1131 1385 1215 1504 1644 1587 1728 1984 1672 1322 1680 1510 1447 1165 1692 1589 1890 1858 1326 1552 1220 1352 1147 1754 1892 1410 1585 1002 1806 1959 1114 1320 1521 1108 1540 1818 1799 1709 1505 1765 1539 1968 1094 1156 1137 1396 1663 1255 1895 1031 1024 1194 1019 1769 1366 1922 1709 1029 1858 1703 1302 1246 1816 1149 1866 1144 1031 1712 1241 1576 1015 1513 1385 1528 1729 1238 1330 1997 ปิดงานเสวนาอนาคตเผด็จการทหารพม่า จนท.หวั่นกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ปิดงานเสวนาอนาคตเผด็จการทหารพม่า จนท.หวั่นกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

 
 
952
 
10 กันยายน 2561 เวลาประมาณ 17.30 น. พันตำรวจอัครวุฒิ ธานีรัตน์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลลุมพินีส่งหนังสือต่อประธานสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ขอให้งดจัดกิจกรรมWill Myanmar’s Generals Ever Face Justice for International ที่กำหนดจะจัดในเวลา 19.00 น.ของวันดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรืออาจจะมีบุคคลไม่หวังดีอาจฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ต่างๆเพื่อให้เกิดความวุ่นวาย ซึ่งเป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ดี FCCTยังคงยืนยันที่จะจัดกิจกรรมตามกำหนดเดิมต่อไป
 
ในกิจกรรมมีผู้ร่วมพูดคุยสามคนคือ Tun Khin ที่เกิดในรัฐยะไข่และเป็นประธานของ the Burmese Rohingya Organization ซึ่งเป็นปากเสียงสำคัญในการเรียกร้องเพื่อชาวโรฮิงญา และเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวโรฮิงญาแก่สภาครองเกรสของอเมริกาและสภาของหลายประเทศ รวมถึงคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ, กอบศักดิ์ ชุติกุล อดีตเอกอัครราชทูตและสมาชิกสภา ต้นปีที่ผ่านมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการของคณะที่ปรึกษาระหว่างประเทศว่าด้วยการแก้ไขปัญหาโรฮิงญาในพม่า และคิงส์ลีย์ แอบบ็อต ที่ปรึกษาอาวุโสด้านกฎหมายระหว่างประเทศประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists)
 
955
 
 
ประเด็นโรฮิงญาเป็นประเด็นที่อ่อนไหวสำหรับรัฐบาลพม่าและทหารพม่าอย่างมาก ในปี 1982 ได้มีการจัดสำรวจสำมะโนประชากรและปฏิเสธไม่ให้การยอมรับชาวโรฮิงญาในฐานะพลเมือง ดังนั้นชาวโรฮิงญาจึงตกอยู่ในสถานะของคนไร้รัฐไปโดยปริยาย แม้ว่าประวัติศาสตร์ของโรฮิงญาในพื้นที่รัฐยะไข่จะสามารถสืบย้อนไปจนถึงศตวรรษที่แปดก็ตาม ขณะที่รัฐบาลพม่ามีการปราบปรามชาวโรฮิงญามาโดยตลอด  
 
ในส่วนของความรุนแรงในยุคปัจจุบัน ชาวโรฮิงญาต้องเผชิญกับการจับกุม กักขังและปฏิบัติอย่างโหดร้าย จากการสำรวจพบว่า พม่ามีประชากรชาวโรฮิงญาจำนวนกว่าล้านคน แต่นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 มีโรฮิงญาอพยพออกนอกประเทศกว่า 700,000 คนแล้ว ขณะที่ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติออกรายงานของคณะสอบสวนของสหประชาชาติสรุปว่า พม่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่และประณามออง ซาน ซูจีอย่างรุนแรงที่ไม่ยับยั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้น 
 
ต่อมาเวลา 22.30 น. FCCT ได้ออกแถลงการณ์ว่า FCCT รู้สึกผิดหวังในการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ไทยที่ปิดกิจกรรมเสวนาดังกล่าว โดยหนังสือระบุเหตุผลว่า ฝ่ายที่สามจะสร้างความวุ่นวายและเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงเบื้องหลังข้อกังขาดังกล่าว FCCT ได้ดำเนินกิจกรรมด้วยความเรียบร้อยในประเด็นปัจจุบันมามากกว่า 62 ปีและกิจกรรมเหล่านั้นไม่เคยนำไปสู่ความวุ่นวายและการโค่นล้มใด ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา FCCT ยังได้จัดงานเสวนาเกี่ยวกับพม่ามาหลายสิบงาน ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจในประเทศพม่าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของพม่ากับประเทศอื่นๆในภูมิภาค การปิดกิจกรรมดังกล่าวนั้นเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุและเป็นอันตรายต่อภาพลักษณ์ของเสรีภาพสื่อของไทย โดยนับตั้งแต่รัฐประหาร 2557 กิจกรรมนี้ถือเป็นครั้งที่หกที่ FCCT ถูกเจ้าหน้าที่รัฐสั่งให้ยกเลิกกิจกรรม
 
956
 
ทั้งนี้ในบรรดากิจกรรมที่ถูกปิดกั้นหรือแทรกแซงอย่าง 201 ครั้ง มีอย่างน้อยห้าครั้งที่เจ้าหน้าที่รัฐอ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ‘อย่างชัดเจน’ ในการปิดกั้นและแทรกแซงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ ได้แก่
 
หนึ่ง วันที่ 26 มิถุนายน 2558 Human Rights Watch (HRW) จัดแถลงข่าวเปิดตัวรายงาน "Vietnam: End “Evil Way” Persecution of Montagnard Christians" ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ก่อนหน้าจัดงานหนึ่งวันตำรวจได้โทรมาขอความร่วมมือให้งดการจัดกิจกรรม แต่ผู้จัดขอให้มีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรมาแสดงจึงจะยกเลิก ต่อมาในวันงานตำรวจได้ขอความร่วมมือ FCCT ให้ยกเลิกการเช่าพื้นที่ ซึ่ง FCCT ได้ขอหนังสือเช่นกัน อย่างไรก็ดี HRW ได้ยกเลิกการจัดงานเองในภายหลัง ในเวลาต่อมามีการเผยแพร่เอกสารของฝ่ายตำรวจซึ่งระบุว่ารายงานของHRW สุ่มเสี่ยงต่อจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนาม
 
สอง วันที่ 29 กรกฎาคม 2560 สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (ส.น.ม.ท) จัดกิจกรรมรวมพลังให้กำลังใจแก่พี่น้องชาวปาเลสไตน์ SAVE AL-AQSA ,JUSTICE FOR PALESTINIANS, FREE PALESTINE ที่สวนจตุจักร ระหว่างการจัดกิจกรรม ปรากฎว่ามีเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ทั้งในและนอกเครื่องแบบ จาก สน. บางซื่อ สนธิกำลังปิดล้อมสวนสาธารณะและให้สมาพันธ์ฯ ยกเลิกกิจกรรมดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า กิจกรรมนี้นอกจากจะเข้าข่ายการชุมนุมแล้ว ยังเป็นการกระทำที่อาจเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ
 
สาม วันที่ 18 สิงหาคม 2561 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดกิจกรรมฉายหนัง Joshua: Teenager vs Superpower ซึ่งเป็นหนังสารคดีเกี่ยวกับ โจชัว หว่อง นักเรียนมัธยมฮ่องกงที่ออกมาประท้วงรัฐบาลจีน จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของฮ่องกงในปี 2014 แต่แอมเนสตี้ต้องยุติการฉายหนังเพราะความกังวลของตำรวจสันติบาลในสองประเด็น คือ ประเด็นแรกหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับโจชัว หว่อง จะทำให้กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับจีน ประเด็นที่สอง การฉายอาจขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาพยนตร์
 
สี่ วันที่ 25 สิงหาคม 2561 ฮาจี อิสมาอิล ประธานเครือข่ายสันติภาพจัดงานงานทำบุญครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์ 25 สิงหาคม เพื่อพี่น้องชาวโรฮิงญา ที่มัสยิดแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี แต่เจ้าหน้าที่สั่งห้ามจัดระบุว่า อาจกระทบต่อความมั่นคงและจะสร้างความวุ่นวายได้
 
นอกจากนี้มีอีกสองกิจกรรมในประเด็นระหว่างประเทศที่ถูกเจ้าหน้าที่สั่งยกเลิก แต่ไม่มีข้อมูลว่าทางการไทยมีการอ้างถึงเหตุผลด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการ "ขอความร่วมมือ" ให้ยุติกิจกรรมครั้งดังกล่าวหรือไม่
 
หนึ่ง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) จัดงานเวียดนาม - นักโทษแห่งมโนธรรม 165 คน 999 ปีหลังลูกกรง แต่ถูกยกเลิกหลังตัวแทน FCCT เข้าประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจสน.ลุมพินีสองครั้ง
 
สอง วันที่ 4 กรกฎาคม 2561 เจ้าหน้าที่สน.ลุมพินียังเคยประสานให้ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) งดจัดกิจกรรมฉายหนัง 'When Mother's Away' ซึ่งเป็นสารคดีชีวิตบล็อกเกอร์ชาวเวียดนามผู้ใช้นามปากกาว่า "Mother Muchroom" ซึ่งถูกตัดสินจำคุกในปี 2560 ถึง 10 ปี หลังเผยแพร่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสารพิษรั่วจากโรงงานเหล็ก โดยในครั้งนั้นเจ้าหน้าที่อ้างว่าได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมนี้จากสถานทูตเวียดนาม
 
Article type: