1930 1157 1077 1047 1961 1342 1882 1722 1805 1555 1622 1487 1160 1780 1966 1875 1744 1196 1183 1309 1841 1368 1651 1538 1081 1304 1266 1270 1925 1129 1089 1785 1035 1654 1223 1362 1615 1787 1820 1723 1418 1605 1819 1110 1926 1634 1243 1849 1399 1497 1466 1688 1589 1347 1799 1310 1097 1902 1790 1659 1252 1730 1711 1774 1080 1733 1130 1627 1895 1127 1044 1912 1353 1057 1825 1859 1008 1572 1167 1830 1618 1794 1984 1466 1395 1572 1031 1582 1296 1528 1356 1198 1975 1084 1116 1389 1477 1481 1603 "อั้งยี่" กฎหมายโบราณที่กลับมาหลังการรัฐประหารของ คสช. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

"อั้งยี่" กฎหมายโบราณที่กลับมาหลังการรัฐประหารของ คสช.

ความผิดฐานอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 เป็นฐานความผิดที่มีมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยที่จีนโพ้นทะเลอพยพเข้ามาตั้งรกรากหากินในไทย จนบรรจุลงไปในประมวลกฎหมายอาญาไทย เจตนารมณ์ของความผิดฐานนี้เพื่อใช้ควบคุมการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อจะทำสิ่งที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือเรียกว่าปราบปรามกลุ่มแก๊งผู้มีอิทธิพลนั่นเอง 
 
จนกระทั่งในยุค คสช. ความผิดฐานอั้งยี่ถูกนำมาใช้ดำเนินคดีทางการเมือง เป็นการดำเนินคดีต่อผู้ที่รวมกลุ่มกันเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายคดี
 
ที่มา และเจตนารมณ์ของกฎหมายอั้งยี่ในประเทศไทย
 
อั้งยี่ ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “สมาคมลับของคนจีน” หรือ อีกความหมาย อั้งยี่ แปลว่า “ตัวหนังสือสีแดง” ซึ่งอั้งยี่นั้นมีอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน หมายถึงการตั้งสมาคมลับของคนจีนที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้จัดการดูแล และแสวงหาผลประโยชน์กันเองในกลุ่มคนจีนอพยพที่เข้ามาเป็นแรงงาน และค้าขายในประเทศไทย ปกครองกันด้วยระเบียบและกฎที่ตั้งขึ้นกันเองในอั้งยี่นั้นๆ โดยแยกเป็นหลายอั้งยี่ แล้วแต่ใครจะเข้าร่วมกับอั้งยี่ใด 
 
เนื่องจากในอดีตแต่ละอั้งยี่มีคนอยู่จำนวนมาก บางครั้งจึงมีเรื่องขัดแย้งกันเกิดการปะทะใช้ความรุนแรงกันระหว่างอั้งยี่หนึ่งกับอีกอั้งยี่หนึ่ง จนส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้อง รัฐไทยในสมัยนั้นจึงออกกฎหมายเพื่อปราบปรามเหล่าสมาคมลับของคนจีนที่ผิดกฎหมาย โดยได้บัญญัติกฎหมายให้สมาคมลับดังกล่าวมีโทษอาญาในฐานความผิดที่เรียกว่า "อั้งยี่" ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ร.ศ.116 หรือ พ.ศ.2441 คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำในลักษณะอั้งยี่ ร.ศ.116 และเมื่อพัฒนาเป็นประมวลกฎหมายอาญา จึงได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 209 ในเรื่องความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ในภาคความผิดลักษณะที่ 5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน 
 
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 บัญญัติไว้ว่า
 
“มาตรา ๒๐๙ ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
 
ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”
 
โดยมาตราดังกล่าว มีองค์ประกอบความผิดดังนี้
 
ตามวรรคหนึ่ง 
 
(1) ผู้ใด
 
(2) เป็นสมาชิกของคณะบุคคล
 
(3) ซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
 
และต้องมีเจตนาที่จะเข้าร่วม และรู้ว่าเป็นการเข้าร่วมกับคณะบุคคลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย
 
คำว่า “คณะบุคคล” นั้นทางกฎหมายให้ความหมายไว้ว่า การรวมตัวของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีความมุ่งหมายอย่างเดียวกันและการรวมตัวกันนั้นจะต้องรวมตัวกันในลักษณะถาวร
 
“ปกปิดวิธีดำเนินการ” หมายถึง รู้กันในหมู่สมาชิกไม่เปิดเผยแก่บุคคลอื่น เช่น ใช้นิ้วแสดงเป็นเครื่องหมายลับ (คำพิพากษาฎีกาที่ 124/2457) หรือแสดงเครื่องหมายสมาคม (คำพิพากษาฎีกาที่ 301-303/2470) โดยรู้กันในหมู่สมาชิกเท่านั้น 
 
“มีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย” ไม่จำกัดไว้ว่าต้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น อาจเป็นละเมิดกฎหมาย หรือความผิดทางแพ่งก็ได้ (ความเห็น ศ.จิตติ ติงศภัทิย์) ซึ่งตีความได้กว้างขวางมาก
 
และมาตรานี้ มุ่งหมายเอาผิดการ "เข้าเป็นสมาชิก" เท่านั้น ดังนั้นเพียงเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลเท่านั้นก็เป็นความผิดสำเร็จทันทีโดยยังไม่จำต้องทำอะไรที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือคณะบุคคลนั้นยังไม่ต้องลงมือทำอะไร ก็เป็นความผิดตามมาตรานี้แล้ว 
 
ในวรรคสองนั้น เป็นเหตุเพิ่มโทษ หากผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นตำแหน่งตามกฎหมายระบุไว้ก็จะได้รับโทษเพิ่ม
 
ตัวอย่างคดีทางการเมืองที่ถูกตั้งข้อหาอั้งยี่ก่อนรัฐประหาร 2557
 
ในช่วงก่อนการรัฐประหารไม่พบว่า มีการดำเนินคดีข้อหาอั้งยี่กับกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในพื้นที่ส่วนกลาง หากเป็นการชุมนุมทางการเมืองจะใช้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 และมาตรา 216 การมั่วสุมให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองเสียมากกว่า ส่วนมากข้อหาอั้งยี่จะถูกใช้กับผู้มีอิทธิพลที่ทำธุรกิจผิดกฎหมาย เช่น ปล่อยเงินกู้ เปิดบ่อนพนัน เป็นต้น และกลุ่มที่ถูกตั้งข้อหาอั้งยี่มากอีกกลุ่มหนึ่ง ก็คือ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มักจะถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงโดยพ่วงข้อหาอั้งยี่ เข้าไปด้วยเสมอ
 
หลังรัฐประหารปี 2557 พบว่ามีการตั้งข้อหาอั้งยี่กับกลุ่มคนที่แสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ตัวอย่างเช่น
 
1. คดีปาระเบิดศาลอาญา เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 มีคนถูกออกหมายจับในคดีนี้ทั้งสิ้น 17 คน และถูกจับกุมทั้งหมด 15 คน และถูกดำเนินคดีในชั้นศาลทั้งหมด 14 คน ซึ่งจำเลยทั้ง 14 คน ถูกฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นอั้งยี่ และข้อหาอื่นๆ อย่างน้อยอีก 10 ข้อหา 
 
2. คดีจ้างวานปาระเบิดศาลอาญา เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 มีจำคนถูกจับดำเนินคดีทั้งหมด 6 คน ถูกฟ้องว่ากระทำผิดฐานอั้งยี่ และข้อหาอื่นๆ อีกสี่ข้อหา 
 
3. คดีส่งจดหมายบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีคนถูกจับดำเนินคดีทั้งหมด 11 คน ถูกฟ้องว่า ส่งจดหมายไปยังประชาชนเพื่อรณรงค์ให้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในการทำประชามติ ตามกระทำผิดฐานอั้งยี่ ความผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 และความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายในการออกเสียงประชามติ ตามพ.ร.บ.ประชามติฯ ด้วย  
 
4. คดีก่อตั้งพรรคแนวร่วมปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย มีคนถูกจับดำเนินคดีทั้งหมด 17 คน และสุดท้ายถอนแจ้งความเหลือ 15 คน จากการร่วมกันก่อตั้งพรรคแนวร่วมปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย ที่มีแนวคิดต่อต้านรัฐบาล และส่งข้อมูลคุยกันในกลุ่มไลน์ โดยถูกตั้งข้อหากระทำผิดฐานอั้งยี่ และมั่วสุมชุมนุมทางการเมืองฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ต่อมามีคำสั่งไม่ฟ้องคดีนี้
 
5. คดีแฮกเกอร์คัดค้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากเหตุการณ์ชาวเน็ตบุกโจมตีเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐหลายๆ แห่ง หลังการลงมติแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ท่ามกลางเสียงคัดค้านของประชาชน ในช่วงเดือนธันวาคม 2559 มีคนถูกจับกุมดำเนินคดีทั้งหมด 9 คน และถูกดำเนินคดี 4 คน ด้วยข้อหากระทำผิดฐานอั้งยี่ เนื่องจากถูกกล่าวหาว่า มีพฤติกรรมรวมกลุ่มกันโดยติดต่อสื่อสารกันในกลุ่มเฟซบุ๊ก และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฐานเจาะและโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ อีกหลายกรรม 
 
6. คดีวัยรุ่นเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ที่จังหวัดขอนแก่น มีผู้ถูกจับกุมดำเนินคดีเป็นเยาวชนทั้งหมด 8 คน ถูกฟ้องข้อหากระทำผิดฐานอั้งยี่ และข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 
 
7. คดีวัดพระธรรมกาย มีการแจ้งความดำเนินคดีอย่างน้อย 6 คน ในข้อหากระทำผิดฐานอั้งยี่และอื่นๆ 
 
8. คดีแนวร่วม กปปส. นำโดย สุเทพ เทือกสุบรรณ และแกนนำ กปปส. คนอื่นๆ กับพวก ที่ชุมนุมในช่วงปี 2556-2557 รวม 25 คน ถูกฟ้องข้อหากระทำความผิดฐานอั้งยี่ และอื่นๆ 
 
9. พระพุทธอิสระ ถูกแจ้งข้อหากระทำความผิดฐานอั้งยี่ จากการชุมนุม กปปส. และทำร้ายตำรวจสันติบาล เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 
Article type: