1091 1768 1324 1862 1982 1592 1802 1056 1505 1136 1864 1050 1897 1956 1742 1763 1471 1070 1219 1767 1108 1654 1292 1618 1789 1485 1444 1063 1193 1986 1664 1768 1279 1930 1770 1701 1055 1787 1065 1144 1159 1506 1164 1945 1588 1292 1679 1386 1898 1457 1013 1545 1512 1417 1736 1432 1189 1499 1507 1712 1373 1347 1063 1009 1049 1629 1625 1132 1505 1715 1109 1135 1084 1653 1077 1687 1368 1502 1767 1393 1979 1879 1195 1741 1559 1941 1602 1968 1710 1277 1986 1237 1999 1786 1251 1580 1200 1834 1469 #Attitude Adjusted?: เรียกนักข่าวประชาไทจิบกาแฟหลังเผยแพร่การ์ตูนเกี่ยวกับม.112 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

#Attitude Adjusted?: เรียกนักข่าวประชาไทจิบกาแฟหลังเผยแพร่การ์ตูนเกี่ยวกับม.112

784
 
 
นับตั้งแต่การก่อตั้งในปี 2547 สำนักข่าวประชาไทเป็นหนึ่งในสำนักข่าวที่ฝ่ายความมั่นคงต้องสนใจจับตาความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดทุกยุคทุกสมัย เพราะประชาไทเป็นสำนักข่าวที่เปิดพื้นที่ให้ผู้ที่เห็นต่างทางการเมืองเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ โดยเฉพาะผู้เห็นต่างกับรัฐบาลทหาร อีกส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะประเด็นที่สำนักข่าวประชาไทรายงาน เช่น ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจำกัดเสรีภาพของประชาชนโดยประกาศคำสั่งคสช.และการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นประเด็นที่มีความเปราะบางในสายตาฝ่ายความมั่นคง
 
แม้ว่า ในยุค คสช. สำนักข่าวประชาไทจะยังทำงานได้โดยไม่ถูกปิดหรือถูกดำเนินคดี แต่ก็ปรากฎว่ามีผู้สื่อข่าวของประชาไทอย่างน้อยหนึ่งคนที่ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติเรียกให้ไป 'พูดคุย' จากการนำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง "สาระ+ภาพ: ทำอะไรแล้วผิด ม.112 ได้บ้าง" ซึ่งรวบรวมการกระทำที่ถูกตั้งข้อกล่าวหา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากหลายคดีมาทำเป็นภาพการ์ตูนประกอบบทความ โดยทหารให้เหตุผลในการเชิญไปคุยว่า ต้องการทำความเข้าใจ เพราะภาพประกอบในบทความดังกล่าวมีการลดทอนข้อมูลจนอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการดำเนินคดีตามมาตรา 112
 
บทสนทนากับโทรศัพท์ลึกลับ
ในวันที่ 21 ตุลาคม 2558 ทวีพร คุ้มเมธา ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้สื่อข่าวสำนักข่าวประชาไทยภาคภาษาอังกฤษ (Prachatai English) เผยแพร่บทความชื่อ "สาระ+ภาพ: ทำอะไรแล้วผิด ม.112 ได้บ้าง" บนเว็บไซต์ประชาไท  โดยรายงานดังกล่าวมีภาพการ์ตูนแสดงการกระทำตามที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาด้วยมาตรา 112 หลายๆคดี และข้อความสรุปสาระสำคัญแต่ละคดี พร้อมทั้งลิ้งก์ที่จะเข้าไปดูรายละเอียดแต่ละคดีบนเว็บไซต์ประชาไท ในรายงานชิ้นนี้ทวีพรใส่ชื่อตัวเองในฐานะผู้เขียนด้วย
 
ในวันที่ 22 ตุลาคม หนึ่งวันหลังรายงานถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ประชาไท ทวีพรได้รับโทรศัพท์จากบุคคลลึกลับคนหนึ่่งซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ แต่เนื่องจากบุคคลดังกล่าวพูดเร็ว ทวีพรจึงจับใจความไม่ได้ว่าเขาอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
 
บุคคลลึกลับที่ปลายสายไม่ได้แจ้งชื่อกับทวีพร เขาเพียงแต่แสดงความไม่พอใจว่า รายงานของทวีพรอาจทำให้คนอ่านเข้าใจผิดว่า ทำอะไรก็อาจติดคุกด้วยมาตรา 112ได้ เขายังบอกทวีพรด้วยว่าให้ไปพบที่กรมทหารสื่อสาร ย่านเกียกกาย ในวันที่ 26 ตุลาคม โดยไม่ได้แจ้งว่าให้ไปพบบุคคลใด ทวีพรพยายามขอให้ส่งอีเมลรายละเอียดหรือส่งจดหมายให้มีหลักฐานเป็นหนังสือมาด้วย แต่ก็ถูกปฏิเสธ เธอจึงแจ้งว่าจะไม่ไปพบ คู่สนทนาของเธอถามย้ำสองครั้งทำนองว่า แน่ใจแล้วใช่ไหมที่จะไม่ไป ก่อนจะวางหูไป
 
 'เกาะติดชีวิตนักข่าว' กับประสบการณ์เป็นบุคคลเป้าหมายของ 'คสช.'
หลังทวีพรแจ้งว่าจะไม่ไปเข้าพบกับบุคคลทางโทรศัพท์ ก็เริ่มมีปรากฎเหตุการณ์แปลกๆ เกิดขึ้น ทั้งที่บ้านของเธอและที่สำนักงานของประชาไท ช่วงวันที่ 23 - 25ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดยาวมีเจ้าหน้าที่ทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบขับรถทหารวนเวียนอยู่บริเวณหมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของทวีพรตั้งแต่ช่วงเช้าและกลับไปในช่วงเย็นโดยปฏิบัติลักษณะเดียวกันติดต่อกันสามวัน ทวีพรไม่ได้เห็นเหตุการณ์เองแต่มาทราบเรื่องภายหลังจากรปภ.ของหมู่บ้าน แต่ก็ยังไม่มีใครเข้าไปแสดงตัวที่บ้านของทวีพร
 
ในวันที่ 26 ตุลาคม มีโทรศัพท์น่าสงสัยโทรมาที่สำนักงานของประชาไท อ้างว่าโทรมาเร่งรัดหนี้และสอบถามว่า ทวีพรจะเข้ามาที่สำนักงานหรือไม่ เมื่อได้รับคำตอบก็วางสายไปทันที จากนั้นในช่วงเที่ยงก็มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบสามนายเข้ามาวนเวียนอยู่บริเวณสำนักงานของเธอ ซึ่งหนึ่ีงในนั้นทวีพรจำได้ว่า เป็นเจ้าหน้าที่ที่คอยติดตามผู้สื่อข่าวของประชาไทอีกคนหนึ่ง
 
ทวีพรระบุด้วยว่า ในเวลาไล่เลี่ยกันก็มีเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจในเครื่องแบบรวมหกนายเดินทางไปที่บ้านตามภูมิลำเนาของเธอ และแจ้งกับพ่อของเธอว่ามาเชิญตัวทวีพรไปพูดคุยกับนายทหารระดับสูงที่กรมทหารสื่อสาร เจ้าหน้าที่ทหารแจ้งกับพ่อของเธอด้วยว่า หากไม่ไปตามคำเชิญอาจจะให้อัยการทหารออกหมายจับ ทวีพรจึงให้หัวหน้างานที่สำนักข่าวประชาไทประสานไปยังเจ้าหน้าที่ทหารว่า จะเดินทางไปพบในวันที่ 27 ตุลาคม ในช่วงบ่าย เมื่อได้ข้อสรุปเรื่องการไปพบเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูง เจ้าหน้าที่ซึ่งไป 'เยี่ยมเยียน' พ่อของเธอจึงเดินทางกลับ ทวีพรเล่าด้วยว่า เจ้าหน้าที่ทหารยังได้ปริ้นท์รายงานชิ้นที่มีปัญหาไปให้พ่อกับแม่ของเธอดูด้วย
 
บทสนทนากับชายในเครื่องแบบที่เปิดเผยชื่อไม่ได้
ในวันนัด ทวีพรพร้อมกับบรรณาธิการบริหารของประชาไทเดินทางไปที่กรมทหารสื่อสารตามที่นัดหมายเอาไว้ ทวีพรระบุว่า ก่อนเวลานัดหมายมีเจ้าหน้าที่ทหารไปที่บ้านของเธอด้วยเพื่อให้บริการ 'รับ-ส่ง' แต่ในเวลานั้นตัวเธอออกจากบ้านแล้ว เมื่อไปถึงจุดนัดพบ ทั้งทวีพรและหัวหน้างานของเธอต้องกรอกประวัติส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่ทหาร และถูกแจ้งไม่ให้นำเครื่องมือสื่อสารเข้าห้องประชุม พร้อมทั้งกำชับไม่ให้เปิดเผยชื่อ 'นายทหารระดับสูง' ที่กำลังจะเป็นคู่สนทนาด้วย
 
ทวีพรเล่าด้วยว่า ก่อนจะเข้าไปคุยในห้องประชุมอย่างเป็นทางการ นายทหารยศพลโทซึ่งต่อมาจะเป็นประธานในที่ประชุมพูดกับเธอในทำนองว่า ตัวเธอมีประวัติที่ดี ได้เกียรตินิยมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าฝ่ายข่าวของทหาร "ทำการบ้าน" เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของเธอมาเป็นอย่างดี
 
เมื่อถึงเวลาพูดคุยนายทหารยศพลโทนั่งหัวโต๊ะในฐานะประธาน พร้อมตัวแทนจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ตัวแทนจากกระทรวงยุติธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ และกสทช. อยู่ในที่ประชุมด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาพูดคุยมีเพียงนายทหารยศพลโทที่เป็นคนพูดส่วนเจ้าหน้าที่คนอื่นเพียงแต่ทำหน้าที่แนะนำตัวและสังเกตการณ์
 
นอกจากตัวแทนฝ่ายรัฐที่เข้าพูดคุยในครั้งนี้เจ้าหน้าที่ทหารก็อนุญาตให้บรรณาธิการบริหารของประชาไท และเจ้าหน้าที่จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนอีกคนหนึ่งเข้าไปสังเกตการณ์การพูดคุยด้วย ทวีพรระบุว่า เมื่อฝ่ายทหารทราบว่า มีตัวแทนของศูนย์ทนายฯ เข้ามาร่วมฟังด้วยก็แสดงความรู้สึกไม่พอใจ แต่ก็ไม่ได้สั่งห้ามการสังเกตการณ์แต่อย่างใด ด้านเจ้าหน้าที่ทหารยังได้เชิญตัวแทนจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือแห่งประเทศไทยมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย ในที่ประชุมตัวแทนคนดังกล่าวย้ำกับนายทหารยศพลโทว่า ว่าสำนักข่าวประชาไทไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคม
 
นายทหารยศพลโทชี้แจงกับทวีพรด้วยความสุภาพถึงเหตุผลที่ คสช. จำเป็นต้องยึดอำนาจ และระบุว่า การเชิญตัวครั้งนี้ไม่ใช่การข่มขู่แต่เป็นการทำงานตามขั้นตอนของ คสช. เป็นเพียงการตักเตือนเท่านั้น หลังจากนั้นจึงชี้แจงว่า ภาพประกอบรายงานของทวีพรอาจทำให้คนเข้าใจประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในทางที่ผิด พร้อมทั้งเตือนว่าหากทวีพร "ทำผิด" อีก ทางเจ้าหน้าที่ีก็จะต้องดำเนินการตามลำดับ นายทหารคู่สนทนายังยกตัวอย่างกรณีการเชิญตัวประวิตร โรจนพฤกษ์อดีตผู้สื่อข่าวอาวุโสของเดอะเนชันไปปรับทัศนคติให้ทวีพรฟังด้วย
 
ด้านหัวหน้างานของทวีพรพแย้งถึงวิธีการทำงานของทหารว่า ไม่เหมาะสม หากทหารพบปัญหาในรายงานข่าวที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ประชาไท ก็ควรติดต่อมาที่สำนักงานประชาไท ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ข่าวดังกล่าวและเป็นนายจ้างของทวีพร ไม่ใช่โทรไปเรียกตัวนักข่าวเป็นรายบุคคล แต่ทางฝ่ายทหารก็หลีกเลี่ยงที่จะตอบประเด็นนี้ ก่อนเดินทางกลับนายทหารยศพลโทก็พูดว่า จะให้คนคอยติดตามดูพฤติกรรมของทวีพรต่อไป
 
สร้างสรรค์บรรยากาศแห่งความกลัว
แม้ว่าในการพูดคุยครั้งนี้ทวีพรจะไม่ต้องลงนามในข้อตกลงใดๆ และไม่ต้องถูกกักขังข้ามวัน แต่เธอก็รู้สึกได้ว่าการทำหน้าที่ในฐานะ "สื่อมวลชน" จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว โดยทวีพรยอมรับว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เธอเซ็นเซอร์งานเก่าๆ ของตัวเองที่เขียนเกี่ยวกับมาตรา 112

ทวีพร เล่าว่า ก่อนหน้านี้เธอเคยเขียนรายงานข่าวเกี่ยวกับมาตรา 112 ที่มีเนื้อหาเข้มข้นมาก่อน แต่ก็ไม่เคยมีปัญหา เธอประเมินว่า เธอถูกเรียกตัวในครั้งนี้เพราะงานชิ้นนี้เป็นภาพการ์ตูนที่เข้าถึงคนได้ง่ายกว่า  ทวีพรตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หลังเผยแพร่งานชิ้นนี้เธอถูกกลุ่มผู้เห็นต่างล่าแม่มด และคนกลุ่มนี้อาจรายงานไปยังเจ้าหน้าที่ทหารเจ้าหน้าที่ทหารจึงเชิญตัวเธอไปพูดคุย

ในปี 2559 ทวีพรยุติบทบาทในฐานะผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวประชาไท เพื่อไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ แต่ระหว่างที่อยู่ที่อังกฤษนั้น ก็มีเจ้าหน้าที่ทหารไปที่บ้านเพื่อสอบถามหาตัวเธอกับพ่อและแม่สองครั้ง

 

Article type: