1095 1717 1992 1985 1093 1740 1371 1133 1489 1788 1020 1663 1793 1011 1783 1228 1464 1255 1359 1881 1760 1760 1842 1754 1098 1287 1110 1024 1243 1263 1820 1905 1437 1739 1399 1250 1239 1291 1903 1412 1587 1121 1649 1600 1181 1918 1354 1284 1983 1588 1643 1542 1848 1964 1879 1752 1074 1163 1019 1615 1626 1201 1355 1772 1510 1720 1197 1034 1095 1796 1374 1440 1421 1171 1366 1641 1318 1974 1328 1011 1105 1991 1994 1348 1023 1062 1692 1845 1105 1553 1802 1465 1035 1794 1184 1201 1537 1592 1216 ชมนิทรรศการ "ใครๆ ก็ไปศาลทหารได้" เวอร์ชั่นออนไลน์ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ชมนิทรรศการ "ใครๆ ก็ไปศาลทหารได้" เวอร์ชั่นออนไลน์

 

 

633

แผ่นแรกของนิทรรศการ เป็นแค่เกริ่นนำให้รู้จักกัน 

โดยเราถอดประสบการณ์ ความรู้สึกของพวกเรา เมื่อรู้ว่าพลเรือนต้องขึ้นศาลทหารออกมาเล่า และเราหวังว่า เรื่องราวทั้งหมดจะเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับสังคมไทย

 

 

648

แผ่นที่สอง ของนิทรรศการ เป็นการถอดคำพูดจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อการใช้ศาลทหารพิจารณาคดีพลเรือน

"...ผมก็ได้สั่งให้ชี้แจงไปว่าการที่นำตัวขึ้นศาลทหารนั้นก็เหมือนกับศาลธรรมดา แต่ที่เป็นศาลทหารเนื่องจากใช้คณะในการพิจารณาเป็นทหาร จบจากทหารพระธรรมนูญซึ่งเรียนจบกฎหมายมาทั้งหมด แตกต่างกันก็แค่มียศเท่านั้น แต่ใช้วิธีการพิจารณาของศาลปกติ สามารถประกันได้ มีทนายได้ ผมอยากจะถามว่าใช้ศาลทหารมันผิดตรงไหน และที่ต้องใช้ศาลทหารก็เพราะสถานการณ์มันไม่ปกติ คนเหล่านี้ไม่เคารพกฎหมายปกติ เรื่องเหล่านี้สื่อช่วยแยกให้หน่อย ไม่ใช่ว่าเราต้องการไปปิดบังบิดเบือน หรือต้องการไปละเมิดสิทธิ..."

(อ่านเต็มๆที่ ผู้จัดการออนไลน์, 16 พ.ค. 2559)

 

 

635

พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 5 ระบุว่า ศาลทหารอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหม และมาตรา 10 และ มาตรา 30 ระบุว่าอำนาจในการแต่งตั้ง ถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้บังคับบัญชา และ มาตรา 27 ระบุว่า ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ และศาลประจำหน่วยทหาร ต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือ นายทหารชั้นสัญญาบัตรสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย หมายความว่า กฎหมายบังคับให้ตุลาการสามคนต่อหนึ่งคดี มีหนึ่งคนที่ต้องมีความรู้นิติศาตร์ ส่วนอีกสองคนไม่ต้อง

ในคดี ไม่มารายงานตัว ของสิรภพ จำเลยต่อสู้เรื่องความชอบธรรมของการยึดอำนาจของ คสช. และความชอบธรรมของคำสั่ง/ประกาศ คสช. ซึ่งศาลทหารก็ได้พิพากษารับรองอำนาจของ คสช. เอาไว้ชัดเจน

 

 

636

 

ในประกาศคสช. ฉบับที่ 37/2557 กำหนดให้คดีที่เป็นเรื่องความมั่นคงของชาติต้องขึ้นศาลทหาร และข้อหาที่ถูกนำมาใช้มากในยุค คสช. ก็คือ ข้อหายุยงปลุกปั่นฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116  ข้อหานี้ถูกตีความไปใช้กับ การวิจารณ์ตัวบุคคล การโพสต์ข่าวลือเรื่องการรัฐประหารซ้อน การมอบดอกไม้ให้กำลังใจ การถ่ายรูปคู่กับขันแดง ฯลฯ 

 

 

637

สถิติเท่าที่ไอลอว์บันทึกข้อมูลได้ ตั้งแต่ คสช. ประกาศให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร มีคดีเกี่ยวข้องกับการใช้เสรีภาพการแสดงออกของประชาชน ที่ถูกตั้งข้อหาและต้องพิจารณาที่ศาลทหารอย่างน้อย 93 คดี ซึ่ง อย่างน้อย 47 คดี กำลังพิจารณาอยู่ยังไม่เสร็จสิ้น แม้ต่อมาจะมีประกาศยุติการเอาพลเรือนขึ้นศาลทหารแล้ว แต่คดีที่เกิดขึ้นและพิจารณาอยู่ในศาลทหารแล้ว ก็ยังพิจารณาต่อไปเรื่อยๆ ไม่ย้ายกลับไปยังศาลพลเรือน 

ดูคดีทั้งหลาย คลิกที่นี่ 

 

 

638

ศาลทหาร ไม่ได้มีแค่ในกรุงเทพเท่านั้น แต่ศาลทหารจะตั้งอยู่ตามการแบ่งเขตมณฑลทหารต่างๆ ซึ่งมีมณฑลทหารบกอยู่ทั้งหมด 34 แห่ง ทั่วประเทศ ศาลทหารในต่างจังหวัดก็ตั้งอยู่ภายในค่ายทหารที่เป็นค่ายหลักของมณฑลทหารบกนั้นๆ ส่วนใหญ่จะมีเขตอำนาจครอบคลุมมากกกว่า 1 จังหวัด คดีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนใหญ่ขึ้นศาลทหารกรุงเทพ แต่ก็มีคดีอีกจำนวนมากที่ขึ้นศาลทหารในจังหวัดต่างๆ อย่างน้อย 7 จังหวัด

 

 

639

จากสถิติคดีเสรีภาพของพลเรือนที่ต้องขึ้นศาลทหารเท่าที่ทราบ คดีส่วนใหญ่ยังเป็นข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 คดีชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 และคดียุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116

ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยข้อมูลที่ได้มาจากกรมพระธรรมนูญว่า คดีของพลเรือนอย่างน้อย 1,720 คดี ต้องขึ้นศาลทหาร ซึ่งในจำนวนนี้ อย่างน้อย 1,577 คดี เป็นคดีเกี่ยวข้องกับการครอบครองอาวุธ และจำนวนมากไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง

 

 

643

ในเวลาปกติศาลทหารมีการพิจารณา 3 ชั้น เช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่เมื่อมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลทหารจะเปลี่ยนเป็น "ศาลทหารในภาวะไม่ปกติ" ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าทำความผิดในระหว่างที่มีการประกาศกฎอัยการศึกจะไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกา 
 
หลังการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 มีการประกาศกฎอัยการศึก ทำให้พลเรือนที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลทหาร ไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาคดีของตนได้ จนกระทั่ง วันที่ 1 เมษายน 2558 คสช. ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก ทำให้ศาลทหารกลายเป็นศาลใน "ภาวะปกติ" ซึ่งคดีที่เกิดขึ้นหลังจากวันดังกล่าว คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกา คำพิพากษาใดๆ ย่อมถูกตรวจสอบได้โดยศาลชั้นที่สูงกว่า

 

 

644

ศาลทหาร ใช้ระบบวิธีพิจารณาคดีไม่ต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาคดีเสร็จแต่ละนัด ถึงจะหาวันนัดถัดไป ในการนัดสืบพยานก็จะนัดสืบพยานวันละหนึ่งปาก เมื่อสืบพยานเย็น หรือเมื่อมีเหตุให้ต้องเลื่อนคดี เช่น พยานไม่มาศาล ก็จะเลื่อนไปนัดต่อไป และเมื่อศาลทหารมีคดีที่ต้องพิจารณาจำนวนมาก ทำให้การเลื่อนนัดแต่ละครั้งใช้เวลานาน บางครั้งนัดห่างกัน 2-3 เดือน ส่งผลให้คดีที่จำเลยต่อสู้ใช้เวลาพิจารณานานมาก จนกระทบต่อสิทธิของจำเลย ซึ่งในหลายคดีจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว บางคดีจำเลยที่ต้องการต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองทนรอไม่ไหว จึงต้องเปลี่ยนใจให้การรับสารภาพ และยอมแพ้ เพราะการพิจารณาที่นานอย่างไม่อาจคาดหมายได้ ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าใด

 

645

คดีพลเรือนที่ขึ้นศาลทหาร โดยเฉพาะคดีมาตรา 112 จำนวนมาก ศาลทหารสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ ซึ่งหมายถึง เฉพาะตัวจำเลย และทนายความเท่านั้นที่อยู่ในห้องพิจารณาคดีได้ แต่ผู้ที่มาให้กำลังใจ ญาติของจำเลย และคนที่สนใจอยากติดตามสังเกตการณ์คดีไม่สามารถเข้าร่วมในห้องพิจารณาคดีได้ เท่าที่ไอลอว์บันทึกข้อมูลได้ มีคดีมาตรา 112 ที่ศาลทหารสั่งให้พิจารณาเป็นการลับ อย่างน้อย 15 คดี ทำให้ไม่มีใครทราบความเป็นไปของคดี

 

 

646

จำเลยที่เป็นพลเรือน ที่ต้องขึ้นศาลทหารอย่างน้อย 15 คดี ที่เห็นว่า คดีของตนไม่ควรถูกพิจารณาที่ศาลทหาร และพยายามคัดค้านเพื่อจะได้ไปต่อสู้คดีที่ศาลพลเรือนตามปกติ โดยผ่านช่องทางตามกฎหมายที่สามารถใช้คัดค้านอำนาจศาลทหารได้ มี 2 ช่องทาง คือ 1) การยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าการให้พลเรือนขึ้นศาลทหารนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2) การยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจของศาลทหาร โดยสรุปเท่าที่มีข้อมูล จำเลยที่ต่อสู้แล้วไม่ประสบความสำเร็จ 13 คดี ต่อสู้แล้วสำเร็จ 1 ข้อหา และยังรอฟังผลอยู่ 1 คดี

อ่านเรื่องนี้ต่อ คลิกที่นี่ 

 

647

สุดท้าย ก็มีคำถามที่ถามผู้เข้าร่วมงานทุกคนว่า ให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร คุณเห็นด้วยหรือไม่?? แล้วทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้ โดยเอาโพสต์อิท เขียนแสดงความคิดเห็นอะไรก็ได้ แล้วแปะทับตัวอักษร Y หรือ N ตามความต้องการที่จะตอบ สำหรับคนที่พลาดไม่ได้ไปร่วมกันแสดงความคิดเห็นในวันงาน เมื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเอาพลเรือนขึ้นศาลทหารจากที่อื่นๆ หรือจากเว็บไซต์นี้แล้ว ก็ยังคงช่วยกันส่งเสียงแสดงความคิดเห็นได้ ตามช่องทางต่างๆ ที่สามารถทำได้ต่อไป

 

 

สำหรับผู้ที่สนใจนำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ศาลทหารพิจารณาคดีพลเรือนไปเผยแพร่ต่อ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ภาพขนาดใหญ่ที่ใช้จัดนิทรรศการได้ คลิกที่ Flickr ของ iLawfx

ข้อมูลทั้งหมดของไอลอว์ ใช้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons ให้ผู้ใช้สามารถนำไปเผยแพร่ต่อ หรือดัดแปลงได้ เท่าที่ไม่ใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าและอ้างอิงแหล่งที่มา

 

 

Article type: