1322 1078 1977 1317 1040 1799 1097 1440 1241 1179 1834 1722 1066 1587 1847 1799 1081 1343 1928 1699 1760 1057 1772 1436 1044 1608 1706 1210 1596 1839 1330 1611 1514 1469 1615 1410 1666 1232 1966 1451 1284 1888 1387 1764 1895 1426 1239 1638 1993 1195 1276 1983 1072 1380 1883 1047 1890 1158 1031 1260 1524 1152 1724 1517 1898 1323 1317 1115 1520 1427 1326 1571 1409 1492 1650 1367 1439 1937 1310 1880 1166 1381 1509 1874 1992 1432 1776 1534 1732 1625 1779 1556 1513 1380 1947 1030 1463 1597 1908 กันยายน 2559: ศาลฎีกาสั่งจำคุกคนขายหนังสือต้องห้ามผิดม. 112 สองปี/ เปิดคำพิพากษา "อานดี้ ฮอลล์" และสถานการณ์นักปกป้องสิทธิที่น่าเป็นห่วง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

กันยายน 2559: ศาลฎีกาสั่งจำคุกคนขายหนังสือต้องห้ามผิดม. 112 สองปี/ เปิดคำพิพากษา "อานดี้ ฮอลล์" และสถานการณ์นักปกป้องสิทธิที่น่าเป็นห่วง

ช่วงเวลา ยอดรวมตั้งแต่รัฐประหาร 
30 กันยายน
2559
ยอดรวมเฉพาะเดือนกันยายน
2559
คนถูกเรียกรายงานตัว 988 -
คนถูกจับกุมคุมขัง
จากการชุมนุมโดยสงบ
588 10
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลทหาร 293 -
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลพลเรือน 68 8
คนถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาท
พระมหากษัตริย์ฯ (ม.112)
69 1
จำนวนคนที่ถูกคุมขังด้วยคดีตามมาตรา 112 ทั้งที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว
และที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี 
ในเดือนกันยายน 2559
49
-
 
 
เดือนกันยายนมีความเคลื่อนไหวคดีเสรีภาพที่น่าสนใจเกิดขึ้นสองคดี ได้แก่ คดี 112 ของ "พิภพ" คนขายหนังสือกงจักรปีศาจ ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาจำคุกจำเลยเป็นเวลาสองปีโดยไม่รอลงอาญา และคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯของอานดี้ ฮอลล์ นักสิทธิมนุษยชนชาวอังกฤษซึ่งศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษาจำคุกจำเลยไปเวลา 3 ปีแต่ให้รอลงอาญาไว้สองปี นอกจากนี้ก็มีกรณีที่เจ้าหน้าที่ยุติการจัดกิจกรรมเปิดตัวรายงานการซ้อมทรมานในประเทสไทยของแอนเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่ของแอมเนสตี้ไม่มีใบอนุญาตทำงานในไทย นอกจากนี้ก็มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญคือการออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 55/2559 ยุติการใช้ศาลทหารดำเนินคดีกับพลเรือนในคดีที่เกิดใหม่แต่คดีเก่าให้ศาลทหารพิจารณาต่อไป
 

ความเคลื่อนไหวคดี 112 ศาลฎีกาสั่งจำคุกคนขายหนังสือกงจักรปีศาจสองปี/ ปล่อยสามนักโทษคดี 112   

ฎีกามาใหม่ คดีคนขายหนังสือกงจักรปีศาจ
 
"พิภพ" จำเลยในคดีคนขายหนังสือกงจักรปีศาจถูกจับกุมในปี 2549 ขณะขายหนังสือกงจักรปีศาจในงานชุมนุมเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรที่สวนลุมพินีและถูกนำตัวไปสอบสวนที่สน.ก่อนได้รับการประกันตัวในวันเดียวกัน สำนวนคดีของ "พิภพ" อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองคดี 112 ของตำรวจตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปี 2556 ตำรวจจึงส่งสำนวนให้อัยการพร้อมความเห็นสั่งฟ้อง 
 
คดีของ "พิภพ" มีการสืบพยานในช่วงต้นปี 2557 ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องในเดือนเมษายน 2557 โดยระบุเหตุผลว่า แม้หนังสือกงจักรปีศาจจะมีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ แต่โจทก์ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยรู้เนื้อหาของหนังสือ จึงต้องยกฟ้องจำเลย อย่างไรก็ตามในเดือนเมษายน 2558 ศาลอุทธรณ์ก็กลับคำพิพากษาจากยกฟ้องเป็นลงโทษจำคุก "พิภพ" เป็นเวลาสองปีโดยไม่รอลงอาญาโดยศาลอุทธรณ์ระบุว่า "พิภพ" มีประสบการณ์ขายหนังสือมานานทั้งยังขายหนังสือในที่ชุมนุมทางการเมือง ไม่ใช่ตามตลาดนัดทั่วไป จึงเชื่อว่า "พิภพ" น่าจะล่วงรู้เนื้อหาของหนังสือ "พิภพ" จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และถูกพิพากษาจำคุกสองปีโดยไม่รอลงอาญา "พิภพ"จึงอุทธรณ์คดีต่อศาลฎีกาโดยระหว่างรอคำพิพากษา "พิภพ" ได้รับการประกันตัว
 
557
 
"พิภพ" เดินเข้าห้องควบคุมหลังฟังคำพิพากษา
 
วันที่ 15 กันยายน 2559 ศาลฎีกานัด "พิภพ" ฟังคำพิพากษาโดยศาลมีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ลงโทษจำคุก "พิภพ" เป็นเวลาสองปีโดยไม่รอลงอาญา ศาลฎีกาให้เหตุผลว่า "พิภพ"เป็นผู้มีประสบการณ์ ประกอบกับมีข้อความว่ากรณีสวรรคตปรากฎบนหน้าปกหนังสือ "พิภพ"จึงน่าจะเฉลียวใจบ้างว่าเป็นหนังสืออะไร "พิภพ" จึงมีความผิด สำหรับเหตุที่ไม่รอลงอาญาโทษจำคุกให้ ศาลฎีกาให้เหตุผลว่า "พิภพ"มุ่งแสวงหากำไรจากการขายหนังสือโดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น จึงไม่มีเหตุให้รอลงอาญา
 
ดูรายละเอียดคดีของ "พิภพ" ที่นี่
 
3 นักโทษได้รับอิสรภาพ
 
ความเคลื่อนไหวคดีมาตรา 112 ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายนคือการปล่อยตัวนักโทษคดี 112 สามคนได้แก่ กิตติธน คฑาวุธ และ "ธเนศ" โดยทั้งสามได้รับการลดจำนวนวันรับโทษ จนอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการปล่อยตัว การลดจำนวนวันรับโทษของทั้งสามเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2559 
 
กิตติธนถูกจับในเดือนสิงหาคม 2556 และถูกกล่าวหาทำความผิดตามมาตรา 112 ด้วยการโพสต์ข้อความในเว็บบอร์ด internet to freedom รวมทั้งถูกกล่าวหาว่าพยายามทำความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ด้วยการครอบครองภาพตัดต่อที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์กับข้อความที่มีถ้อยคำหยาบคายอยู่ในคอมพิวเตอร์แต่ยังไม่ได้เผยแพร่เพราะถูกจับเสียก่อน 
 
ตลอดการพิจารณาคดีกิตติธนถูกคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัว ในชั้นศาลกิตติธนให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ในวันที่ 12 ธันวาคม 2556 กิตติธนถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลา  5 ปี 20 เดือน กิตติธนได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 7 กันยายน 2559 รวมเวลาที่ถูกคุมขัง 1105 วัน 
 
คฑาวุธมีชื่อในคำสั่งคสช. ฉบับที่ 44/2557 เรื่องเรียกบุคคลรายงานตัว คฑาวุธเข้ารายงานตัวกับคสช.ในวันที่ 3 มิถุนายน 2559 เขาถุกควบคุมตัวในค่ายทหารเป็นเวลา 7 วันหลังจากนั้นจึงถูกตั้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 โดยถูกกล่าวหาว่าจัดทำคลิปเสียงที่มีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต
 
คฑาวุธถูกนำตัวไปฝากขังต่อศาลในวันที่ 10 มิถุนายน 2557 และถูกควบคุมตัวตลอดการพิจารณาคดีโดยไม่ได้รับการประกันตัว ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 คฑาวุธให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ศาลทหารมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกเขาเป็นเวลาห้าไปในวันเดียวกัน คฑาวุธได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 7 กันยายน 2559 รวมเวลาถุกจองจำ 822 วัน  
 
อ่านบรรยากาศการปล่อยตัวกิตติธนและคฑาวุธ 
 
"ธเนศ" ถูกจับตัวที่บ้านในจังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 เขาถูกกล่าวหาว่าส่งลิงค์ที่มีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯหนึ่งลิงค์ไปที่อีเมลของชาวต่างชาติคนหนึ่ง หลังถูกจับกุมตัว "ธเนศ"ถูกควบคุมตัวภายใต้กฎอัยการศึกในค่ายทหารเป็นเวลาเจ็ดวันก่อนถูกนำตัวมาฝากขังที่ศาลอาญาในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯในวันที่ 9 มิถุนายน 2559
 
แม้ทนายของ"ธเนศ"จะยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัวพร้อมระบุเหตุผลว่า "ธเนศ"มีอาการป่วยทางจิตต้องเข้ารับการรักษาแต่ก็ไม่เคยได้ประกันตัวตลอดการพิจารณาคดี ในชั้นศาล"ธเนศ"ให้การสารภาพโดยยอมรับว่าเป็นผู้ส่งอีเมลจริงแต่ทำไปเพราะมีอาการป่วยทางจิต ในวันที่ 25 มิถุนายน 2558 ศาลพิพากษาจำคุก "ธเนศ" เป็นเวลาสามปีสี่เดือน "ธเนศ"ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในวันที่ 26 กันยายน 2559 รวมเวลาถูกจองจำ 811 วัน https://freedom.ilaw.or.th/case/614  
 

ความเคลื่อนไหวการดำเนินคดีนักสิทธิ นักสิทธิชาวอังกฤษอ่วมหลังศาลสั่งจำคุกสามปีกรณีเผยแพร่รายงานหมิ่นประมาทโรงงานส่วนทนายสิทธิถูกแจ้งข้อหาหนัก

 
ศาลสั่งจำคุกนักสิทธิชาวอังกฤษสามปีกรณีเผยแพร่รายงานหมิ่นประมาทโรงงานแปรรูปสับปะรด 
 
อานดี้ ฮอลล์ นักวิจัยชาวอังกฤษถูกบริษัทเนเชอรัลฟรุตซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋อง ฟ้องในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากกรณีที่เขาเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำและเผยแพร่รายงานเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมของไทย ในรายงานซึ่งเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ลูกจ้างของบริษัทเนเชอรัลฟรุ้ต 12 คน ซึ่งมีทั้งอดีตพนักงานและคนที่ยังทำงานอยู่ พบว่า ในโรงงานเนเชอรัลฟรุตมีการยึดพาสปอร์ตของแรงงานพม่า มีการใช้แรงงานเด็กที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์ หรือแรงงานที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เป็นต้น 
 
ในชั้นพิจารณาคดี บริษัทเนเชอรัลฟรุตต่อสู้ว่าเรื่องที่ปรากฎในรายงานของอานดี้ฮอลล์เป็นความเท็จ โดยมีพยานทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการและคนงานชาวพม่ามายืนยัน นอกจากนี้อานดี้ฮอลล์ก็เผยแพร่รายงานโดยไม่ได้มีการสอบถามข้อเท็จจริงกับทางบริษัทเสียก่อน ขณะที่อานดี้ฮอลล์ต่อสู้ว่าข้อมูลที่อยู่ในรายงานได้มาจากการสัมภาษณ์คนงาน สำหรับการประสานงานกับโรงงานได้เคยติดต่อไปแล้วหลายครั้งแต่โรงงานไม่ตอบรับ อานดี้นำพยานบุคคลซึ่งเป็นผู้บริหารโรงงานแปรรูป
อาหารทะเลซึ่งเป็นกรณีศึกษาในรายงานฉบับที่มีปัญหามายืนยันกับศาลด้่วยว่า ในการทำรายงานมีการขอข้อมูลจากทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ใช้แรงงาน และฝ่ายบริหารโรงงาน ในประเด็นพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อานดี้ ฮอลล์ต่อสู้ว่าตัวเขาเป็นเพียงผู้เก็บข้อมูลวิจัยภาคสนาม ไม่ได้เป็นคนเขียนรายงานฉบับที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ รวมทั้งไม่ได้เป็นผู้นำรายงานเข้าสู่เว็บไซต์
 
วันที่ 20 กันยายน 2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษาว่า อานดี้ ฮอลล์มีความผิดทั้งฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและความผิดตามพ.ร.บ.คอมเตอร์ฯ ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ศาลเห็นว่าฝ่ายโจทก์มีตัวแทนหน่วยงานราชการมาเบิกความยืนยันว่าไม่มีการละเมิดสิทธิดังที่จำเลยกล่าวอ้าง ทั้งจำเลยก็ไม่ได้นำผู้ให้ข้อมูลทั้ง 12 คนมาเบิกความเป็นพยานต่อศาล และไม่นำส่งบันทึกการสัมภาษณ์ นอกจากนี้จำเลยก็ละเลยไม่พยายามติดต่อข้อมูลจากฝ่ายโจทก์มานำเสนอให้รอบด้าน ทำให้ไม่ถือเป็นการติชมโดยสุจริต การกระทำจึงเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา สำหรับความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แม้จำเลยจะไม่ได้เป็นผู้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบด้วยแต่เอง แต่การที่มีชื่อของจำเลยปรากฎอยู่ในรายงานและการที่จำเลยยินยอมให้มีการนำข้อมูลซึ่งทำให้โจทก์เสียหายเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ก็ถือว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดด้วย การนำรายงานเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯมาตรา 14 (1) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ลงโทษจำคุกสองปีปรับ 100,000 บาท 
 
556
 
อานดี้ ฮอลล์ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวก่อนเข้าฟังคำพิพากษาคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้
 
นอกจากการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์แล้ว จำเลยยังเป็นผู้จัดงานแถลงข่าวทีสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย และมีการแจกเอกสารที่มีการพาดพิงถึงโจทก์ในลักษณะที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วย แม้จำเลยจะอ้างว่าตนเองเป็นเพียงผู้ประสานงานติดต่อสถานที่และเป็นอ่านรายงานที่องค์กรอื่นเป็นผู้จัดทำ แต่จำเลยก็ทราบว่ามีการแจกเอกสารที่มีปัญหาและยินยอมให้มีการแจก จึงถือว่าจำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา พิพากษาจำคุกเป็นเวลาสองปีปรับ 100,000 บาท รวมจำคุก 4 ปี ปรับ 200,000 บาท จำเลยให้การเป็นประโยชน์กับการพิจารณาลดโทษให้หนึ่งในสามเหลือจำคุก 3 ปี ปรับ 150,000 บาทและให้รอการลงโทษจำคุกไว้สองปี หลังศาลมีคำพิพากษา อานดี้ก็ดำเนินการจ่ายค่าปรับแต่ก็ยืนยันว่าจะอุทธรณ์คดีอย่างแน่นอน
 
ดูรายละเอียดคดี ที่นี่
 
ทนายสิทธิจ่อเจอข้อหาหนัก - ญาติพลทหารที่ตายอย่างมีเงื่อนงำถูกฟ้องหมิ่นประมาท
 
นอกจากอานดี้ ฮอลล์ ที่ถูกพิพากษาจำคุก(แต่ได้รับการรอลงอาญา)แล้ว ในเดือนกันยายนก็มีนักปกป้องสิทธิอีกอย่างน้อยสองคนที่ถูกดำเนินคดีจากการทำงานหรือการเปิดเผยข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน คือศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่ถูกออกหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาในความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 หลังไปสังเกตการณ์กิจกรรมชุมนุมของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ในวันที่ 25 มิถุนายน 2559 นอกจากนี้ก็มีกรณีที่ นริศราวัลถ์ หลานของพลทหารวิเชียรที่เสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำในค่ายทหาร ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานหมิ่นประมาทและความผิดตามพ,ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯหลังแชร์ข้อมูลว่านายทหารยศพ.ต.คนหนึ่ง น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของพลทหารวิเชียร
 
กรณีของนริศราวัลภ์เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2558 เมื่อเธอแชร์ข้อความและภาพซึ่งมีเนื้อหาทำนองว่าพ.ต.ภูริ  น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของของพลทหารวิเชียรซึ่งเป็นญาติของเธอ พ.ท.ภูริ ผู้ถูกพาดพิงเดินทางเข้าแจ้งความดำเนินคดีนริศราวัลภ์ในช่วงต้นเพือนพฤศจิกายน 2558 ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2558 และปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2559 แต่นริศราวัลภ์ไม่ได้รับหมายจึงไม่ได้ไปพบพนักงานสอบสวนที่สภ.นราธิวาสตามนัด เจ้าหน้าที่จึงขอให้ศาลจังหวัดนราธิวาสออกหมายจับและมีการจับกุมนริศราวัลภ์ที่ที่ทำงานในวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุด ในวันที่ 23 กันยายน 2559 นริศราวัลภ์โพสต์ข้อความว่า อัยการเจ้าของสำนวนแจ้งนริศราวัลภ์ด้วยวาจาว่า มีความเห็นสั่งฟ้องคดีของเธอแล้วและจะส่งสำนวนให้อัยการจังหวัดนราธิวาสดำเนินการต่อไป 
 
กรณีของศิริกาญจน์เกิดขึ้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2558 ในวันดังกล่าวนักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ 14 คนไปรวมตัวทำกิจกรรมที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ศิริกาญจน์ซึ่งเป็นทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ไปสังเกตการณ์การทำกิจกรรมของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ในพื้นที่ด้วย ในวันที่ 26 กันยายน 2559 มีหมายเรียกจากสน.สำราญราษฎร์ส่งมาที่บ้านของศิริกาญจน์ นัดให้ไปที่สน.สำราญราษฎร์ในวันที่ 27 กันยายน 2559 เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนก่อความวุ่นวายหรือละเมิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และความผิดฐานขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง โดยในหมายเรียกมีชื่อของรังสิมันต์ โรมและพวกซึ่งถูกดำเนินคดีจากการไปชุมนุมในวันที่ 25 มิถุนายน 2558 รวมอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากในวันศิริกาญจน์เดินทางไปต่างประเทศ ทนายของศิริกาญจน์จึงเดินทางไปที่สน.เพื่อขอเลื่อนวันนัดรับทราบข้อกล่าวหาซึ่งพนักงานสอบสวนก็แจ้งว่าจะออกหมายเรียกใหม่     
 

สถานการณ์เสรีภาพที่น่าสนใจอื่นๆ ปิดกิจกรรมเปิดเผยรายงานของแอมเนสตี้/ ใช้มาตรา 44 ยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร

 
ในเดือนกันยายน 2559 ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสถานการณ์เสรีภาพที่สำคัญเกิดขึ้นอีกสองกรณี ได้แก่กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานสั่งห้ามผู้เชี่ยวชาญของแอมเนสตี้อินเทอร์เนชันแนลร่วมแถลงข่าวในการเปิดเผยรายงานการซ้อมทรมานในประเทศไทยเพราะไม่มีใบอนุญาตทำงานจนกิจกรรมต้องยุติ และกรณีที่พล.ประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 55 สั่งให้พลเรือนซึ่งทำความผิดประเภทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลทหารหลังการออกคำสั่งฉบับนี้ กลับไปขึ้นศาลยุติธรรมแทนศาลทหาร 
 

มาแปลก! อ้างเหตุวิทยากรไม่มีใบอนุญาตทำงานยุติงานแถลงข่าวเปิดเผยรายงานการซ้อมทรมานในประเทศไทย 

ในวันที่ 28 กันยายน 2559 สำนักเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกำหนดจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวรายงาน สถานการณ์การซ้อมทรมานในประเทศไทย ระหว่างปี 2557-2558 ที่โรงแรมโฟร์วิงส์ ซอยสุขุมวิท 26 กรุงเทพฯ   โดยมีผู้เสนอรายงานเป็นชาวต่างชาติจำนวนสามคน คือ ราเฟนดี จามิน ผอ. สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิค แอมเนสตี้ฯ ยูวาล กินบาร์ ผู้เขียนรายงานและ แชมพา พาเทล ที่ปรึกษาอาวุโสด้านงานวิจัย แอมเนสตี้ฯ
 
ในวันงานตั้งแต่ก่อนเวลา 10.00 น. ซึ่งเป็นเวลาเริ่มงาน มีเจ้าหน้าที่ประมาณเจ็ดคนอ้างว่า มาจากกระทรวงแรงงานเข้ามาในพื้นที่จัดงานและสอบถามผู้จัดว่า วิทยากรเป็นใครบ้าง และมีใบอนุญาตทำงานหรือไม่ พร้อมแจ้งกับผู้จัดงานว่า หากชาวต่างชาติที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานขึ้นพูดบนเวทีก็จะถูกจับกุมและดำเนินคดีตามกฎหมายแรงงาน ทั้ง เจ้าหน้าที่ระบุด้วยว่า การมาครั้งนี้ไม่ได้ห้ามจัดงานแต่หากชาวต่างชาติที่ไม่มีใบอนุญาตขึ้นเสนองานก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยระหว่างการเจรจาเจ้าหน้าที่ไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนว่าใช้อำนาจตามกฎหมายใดในการห้ามวิทยาการแถลงข่าว เพียงแต่ระบุว่าเป็นการเดินทางมาตรวจแรงงานตามปกติ
 
558
 
งานแถลงข่าวเปิดตัวรายงานของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลที่ถูกยกเลิกในวันที่ 28 กันยายน 2559
 
ใช้ม.44 ออกคำสั่งยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร แต่คดีเก่ายังดำเนินต่อไป
 
วันที่ 12 กันยายน 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 55/2559 เรื่องการดำเนินการกับคดีบางประเภทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหาร โดยมีสาระสำคัญคือ คดีของพลเรือนซึ่งทำความผิดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหารตามประกาศคสช.ฉบับที่ 37/2557 ตั้งแต่วันที่คำสั่งฉบับที่ 55/2559 เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา (12 กันยายน 2559) ให้อยู่ในอำนาจการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม (ศาลพลเรือน) อย่างไรก็ตามความผิดที่เกิดในวันที่ประกาศฉบับที่ 37/2557 มีผลบังคับใช้จนถึงวันก่อนวันที่มีการประกาศคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับ 55/2559 จะยังคงอยู่ในอำนาจการพิจารณาคดีของศาลทหาร ทั้งคดีที่ผู้ต้องหาถูกนำตัวมาศาลหรือมีการรับฟ้องแล้ว และคดีที่ยังไม่มีการจับตัวผู้ต้องหา  อย่างไรก็ตามคำสั่งฉบับนี้ก็เปิดช่องไว้ว่าหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงในอนาคต นายกรัฐมนตรีก็อาจหารือกับคสช.เพื่อเปลี่ยนแปลงคำสั่งใหม่ได้ (พิจารณาประกาศให้พลเรือนขึ้นศาลทหารอีกครั้ง)
 
มีข้อน่าสนใจว่า เหตุผลหนึ่งที่ให้ไว้ในการยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร คือการที่ร่างรัฐธรรมนูญ "ผ่านประชามติอย่างท่วมท้น" การประกาศยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร นอกจากนี้ก็มีความน่าสนใจว่า การประกาศยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร มีขึ้นไม่นานก่อนที่ตัวแทนรัฐบาลไทยจะเดินทางไปร่วมประชุม คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติสมัยสามัญสมัยที่ 33 โดยในวันที่ 23 กันยายน 2559 รัฐบาลไทยจะต้องรายงานต่อที่ประชุมว่า ตามที่มีการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรอบที่สอง (Universal Periodic Review - UPR) ในเดือนพฤษภาคม 2559 รัฐบาลไทยจะรับข้อเสนอจากมิตรประเทศเพื่อนำไปปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนกี่ข้อและจะรับทราบ(ไม่ยอมรับ)กี่ข้อ ซึ่งข้อเสนออย่างน้อย 13 ข้อที่แนะนำให้รัฐบาลไทยยุติการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหารและให้ย้ายคดีไปที่ศาลพลเรือนตามปกติไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลไทยแม้แต่ข้อเดียว 

 

Report type: