1403 1060 1704 1945 1646 1130 1260 1655 1283 1021 1379 1152 1464 1722 1538 1670 1116 1732 1583 1510 1298 1380 1113 1969 1622 1615 1878 1169 1256 1533 1277 1736 1933 1213 1144 1746 1363 1000 1161 1873 1958 1784 1255 1177 1843 1306 1914 1514 1509 1363 1450 1095 1234 1289 1063 1177 1649 1858 1914 1415 1746 1877 1763 1507 1117 1926 1979 1381 1116 1608 1832 1202 1747 1385 1094 1416 1522 1501 1683 1556 1878 1369 1503 1068 1420 1800 1461 1732 1061 1867 1918 1997 1575 1724 1506 1059 1762 1239 1177 บันทึกนอกสำนวน เมื่อศาลปิดประตูล็อกห้องสืบพยานคดี 112 ของปิยะ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

บันทึกนอกสำนวน เมื่อศาลปิดประตูล็อกห้องสืบพยานคดี 112 ของปิยะ

 

ปิยะ เป็นจำเลยในคดีมาตรา 112 ทั้งหมด 2 คดี ซึ่งทั้ง 2 คดีต้องต่อสู้กันในประเด็นการพิสูจน์ตัวตนในโลกออนไลน์ 
 
คดีแรก ปิยะถูกกล่าวหาว่าโพสต์เฟซบุ๊กเป็นข้อความผิดกฎหมาย ปิยะให้การปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นคนโพสต์เฟซบุ๊กดังกล่าว โดยไม่ทราบว่า เฟซบุ๊กดังกล่าวที่มีรูปใบหน้าตนเองอยู่นั้นใครเป็นคนทำขึ้น โจทก์มีหลักฐานเพียงภาพเฟซบุ๊กที่ถ่ายจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือเท่านั้นที่เป็นหลักฐานบ่งชี้ว่า ปิยะเป็นผู้โพสต์ข้อความผิดกฎหมาย ซึ่งคดีนี้ศาลตัดสินตามหลักฐานของฝ่ายโจทก์ โดยมีคำพิพากษาในเดือนมกราคม 2559 ให้ปิยะมีความผิดตามข้อกล่าวหา ลงโทษจำคุก 9 ปี แต่ศาลลดโทษให้เหลือ 6 ปี 
 
คดีที่สอง ปิยะถูกกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2551 ปิยะได้ใช้อีเมล์ชื่อ joob22 ส่งอีเมล์ข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ไปที่ธนาคารกรุงเทพและหน่วยงานอื่นรวม 4 แห่ง โดยลงท้ายชื่ออีเมล์ว่า "จุ๊บ (Vincent Wang)" และเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ปิยะได้เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของธนาคารกรุงเทพ และส่งข้อความผ่านช่องทางการติดต่อสอบถามของธนาคาร ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยส่งไปยังอีเมล์ของชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร และลงท้ายอีเมล์ว่า "จุ๊บ (Vincent Wang)"
 
ความแปลกของคดีที่สอง คือ มีการส่งข้อความที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ 2 ข้อความ แต่อัยการแยกฟ้องเป็น 4 ข้อโดยข้อแรกเป็นการส่งอีเมล์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2551 ข้อที่สองเป็นการฟอร์เวิร์ดอีเมล์ดังกล่าวซ้ำอีกครั้ง เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2551 ส่งไปยังอีเมล์ผู้รับที่ใช้ชื่อว่า Vincent ข้อที่สามเป็นการเขียนข้อความเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ซึ่งการเขียนถือเป็นการ "นำเข้า" ข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์และเป็นการกระทำผิดแล้ว และข้อที่สี่เป็นการกดส่งข้อความที่เขียนขึ้น ซึ่งเป็นการ "เผยแพร่" จึงถือว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำอีกครั้งหนึ่งแยกกันเป็นคนละข้อ
 
 
[[wysiwyg_imageupload::]]
 

 
ในชั้นศาลโจทก์ไม่ได้พิสูจน์ถึงไอพีแอดเดรสที่ส่งข้อความ และไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ครบถ้วน
 
ในคดีที่สอง ปิยะให้การปฏิเสธเช่นเดียวกับคดีแรก โดยการต่อสู้ในคดีที่สองก็ยังคงเป็นเรื่องการพิสูจน์ตัวตนทางคอมพิวเตอร์ ว่าใครเป็นผู้ส่งข้อความตามคำฟ้องร้อง พยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์ว่าปิยะเป็นผู้กระทำความผิด มีดังนี้
 
1) พยานที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของธนาคารกรุงเทพ ให้ข้อมูลในชั้นศาลว่า หลังจากมีการส่งข้อความเข้ามาในระบบธนาคารเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 แล้ว วันต่อมาในวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 มีอีเมล์ชื่อ Vincent ใช้หัวเรื่องและเนื้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ เช่นเดียวกัน ส่งเข้ามาที่อีเมล์ของชาติศิริ โสภณพนิช โดยตรง จึงตรวจสอบที่ Mail Header พบว่าอีเมล์นั้นส่งมาจากหมายเลขไอพีแอดเดรส xxxxxxxxx.195 จึงได้นำข้อมูลทั้งหมดมอบให้กับตำรวจ
 
2) พ.ต.ต.หญิง พรรณทิพย์ เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ให้ข้อมูลในชั้นศาลว่า เมื่อได้รับข้อมูลและหมายเลขไอพีแอดเดรสมาจากธนาคารกรุงเทพแล้ว จึงส่งไปตรวจสอบกับผู้ให้บริการ บริษัท ทริปเปิ้ลทรี พบว่า ไม่สามารถตรวจสอบหาผู้ใช้หมายเลขไอพีแอดเดรสดังกล่าวได้ เพราะเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นนานเกินกว่า 90 วัน เลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้เก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน เมื่อนำอีเมล์ Vincent ไปสอบถามกับผู้ให้บริการอีเมล์ว่า ใครเป็นผู้จดทะเบียน พบว่า ผู้จดทะเบียนเปิดใช้อีเมล์ ชื่อ สิทธิศักดิ์ มีอีเมล์สำรอง คือ siam_aid
 
3) รัชพร เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ให้ข้อมูลในชั้นศาลว่า เมื่อนำอีเมล์ siam_aid ไปค้นหาใน google พบว่า มีเว็บไซต์ให้บริการเรื่องการโอนเงินระหว่างประเทศใช้ชื่อ siamaid มีใบหน้าของจำเลยอยู่บนเว็บไซต์ จึงลองส่งอีเมล์ไปสอบถามเรื่องการโอนเงิน และมีคนตอบกลับมา เมื่อตรวจสอบ Mail Header ก็ทราบหมายเลขไอพีแอดเดรสของผู้ใช้งานอีเมล์ siam_aid เมื่อตรวจสอบกับผู้ให้บริการ คือ บริษัท ทีโอที พบว่า ไอพีแอดเดรสดังกล่าว มีผู้จดทะเบียนขอใช้งาน ชื่อ สิทธิศักดิ์
 
4) พ.ต.ท.อุดมวิทย์ หัวหน้าพนักงานสอบสวน ให้ข้อมูลต่อชั้นศาลว่า เคยสอบปากคำสิทธิศักดิ์แล้ว เป็นหลานของปิยะ ที่อยู่อาศัยบ้านเดียวกัน ยืนยันว่าจำเลยมีชื่อเล่นว่า จุ๊บ และมีอีกชื่อ คือ Vincent Wang สิทธิศักดิ์ยืนยันด้วยว่า จำเลยเป็นคนใช้อีเมล์ Vincent กับ siam_aid รวมถึงยังเคยสอบปากคำอดีตภรรยาของจำเลย ซึ่งให้การว่า จำเลยเคยพูดจาจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้อดีตภรรยาของจำเลยติดเชื้อ HIV ซึ่งข้อความตามคำฟ้องที่ส่งทางอีเมล์เมื่อปี 2551 มีเนื้อความส่วนหนึ่งกล่าวว่า ภรรยาของผู้เขียนข้อความติดเชื้อ HIV
 
ด้านฝ่ายจำเลย มีจำเลยเข้าเบิกความและนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์อีก 1 ปาก ข้อต่อสู้ของจำเลย มีดังนี้
 
1) จำเลยไม่ได้เป็นผู้ส่งอีเมล์เมื่อปี 2551 และข้อความเมื่อปี 2553 ตามฟ้อง อีเมล์ Vincent นั้นจำเลยไม่ได้ใช้ ส่วนอีเมล์ siam_aid จำเลยเคยใช้ และให้สิทธิศักดิ์นำไปใช้เล่นเกมส์ออนไลน์ พร้อมกับให้รหัสผ่าน การใช้อีเมล์โดยทั่วไปจะเอาชื่อของผู้อื่นมาตั้งเป็นชื่ออีเมล์ก็ได้ และการส่งอีเมล์จะเอาชื่อผู้อื่นมาลงท้ายอีเมล์ก็ได้
 
2) สิทธิศักดิ์เคยมีเรื่องบาดหมางกับจำเลย ทะเลาะกันจนอยู่บ้านเดียวกันไม่ได้ ส่วนอดีตภรรยาก็เคยทะเลาะกันมีปากเสียงถึงขั้นตบตี จนแยกกันอยู่ตั้งแต่ปี 2552 พยานสองปากนี้จึงถือว่ามีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน รับฟังไม่ได้
 
3) ธนาคารกรุงเทพ ตรวจสอบหมายเลขไอพีแอดเดรสจากอีเมล์ที่ส่งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่จำเลยถูกฟ้อง แต่ธนาคารกรุงเทพกลับไม่ตรวจหาไอพีแอดเดรสของผู้ส่งข้อความตามวันเวลาที่ถูกฟ้องทั้งสองข้อความ ทั้งที่เป็นข้อมูลที่ธนาคารกรุงเทพในฐานะผู้ให้บริการสามารถตรวจสอบได้ไม่ยาก 
 
4) ในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยว่าจำเลยส่งข้อความเมื่อปี 2553 เท่านั้น พนักงานสอบสวนไม่เคยแจ้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการส่งอีเมล์เมื่อปี 2551 แก่จำเลย จำเลยมารับทราบก็เมื่อถูกฟ้องต่อศาลแล้ว เมื่อไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหามาก่อน เท่ากับยังไม่เคยมีการสอบสวนจำเลยเรื่องการส่งอีเมล์ในปี 2551 จึงไม่อาจฟ้องจำเลยต่อศาลในการกระทำนี้ได้
 
 
พิจารณาลับสุดยอด ยึดโทรศัพท์ ล็อคประตู ห้ามคัดเอกสาร
 
เนื่องจากข้อความที่ปิยะถูกฟ้องว่าเป็นผู้ส่งในคดีนี้ มีลักษณะหยาบคายและรุนแรงมาก เพื่อไม่ให้ข้อความแพร่งพรายไปยังบุคคลภายนอก ศาลจึงสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ ไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีเข้าฟังการพิจารณาได้ ขณะที่ฝ่ายจำเลยแถลงต่อศาลแล้วว่า จะไม่ขอต่อสู้คดีในประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาของข้อความ จะต่อสู้คดีเฉพาะเรื่องการพิสูจน์ตัวผู้ส่งข้อความเท่านั้น
 
ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งรับทำคดีให้กับปิยะเล่าว่า ในวันนัดสืบพยานวันแรก ศาลสั่งให้ทนายความทุกคนปิดโทรศัพท์มือถือและนำไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ระหว่างการพิจารณาคดี พร้อมกับสั่งให้เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ล็อกประตูห้องเพื่อป้องกันคนภายนอกเปิดเข้ามาในห้องโดยไม่รู้ว่ากำลังพิจารณาคดีอะไรอยู่
 
นอกจากนี้ เมื่อทนายความขอถ่ายสำเนาคำให้การพยานในชั้นสอบสวน ศาลยังแจ้งกับทนายความว่า ในเอกสารคำให้การพยานจะมีข้อกล่าวหาในคดีนี้ และมีข้อความที่กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ในทางไม่สมควรอยู่ด้วย จึงเกรงว่าหากให้ทนายจำเลยถ่ายสำเนาจะมีความเสี่ยงที่ข้อความดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ต่อออกไป และอาจเข้าลักษณะการ "ไขข่าว" ทำให้ทนายความมีความผิดไปด้วย จึงยังขอไม่ให้คัดสำเนาให้ชั้นนี้ หากหลังการฟังคำพิพากษาแล้วทนายความต้องการจะได้หลักฐานเพื่อประกอบการอุทธรณ์ก็ให้มาขอตรวจสำนวนที่ศาลภายหลังได้
 
ปฏิกริยาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวที่ศาลมีต่อการพิจารณาคดีนี้ ซึ่งคดีข้อหามาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ เป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวมากในสังคมไทย โดยเฉพาะภายใต้บรรยากาศการปกครองประเทศของรัฐบาล คสช. ที่มีการจับกุมและดำเนินคดีผู้คนด้วยข้อหานี้จำนวนมาก
 
ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ยังเปิดเผยด้วยว่า ในระหว่างการสืบพยานปากพนักงานสอบสวน ศาลได้ถามพยานเองว่า คดีนี้ได้พิสูจน์เรื่องหมายเลขไอพีแอดเดรสจนเชื่อมโยงมาถึงตัวจำเลยอย่างไร เมื่อพนักงานสอบสวนตอบคำถามไม่ได้ ศาลได้สั่งพักการพิจารณาคดีประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้พยานทบทวนเอกสารและลำดับเหตุการณ์การสืบสวนสอบสวนคดีนี้ใหม่อีกครั้ง เพราะคดีนี้เป็นคดีสำคัญ แต่แม้จะพักการพิจารณาให้พยานทบทวนข้อเท็จจริงแล้ว พยานก็ยังเบิกความว่า ไม่มีการตรวจสอบหมายเลขไอพีแอดเดสจนสามารถพิสูจน์มาถึงตัวจำเลยได้
 
คำพิพากษาศาลอาญา ลงโทษกรรมเดียว ให้จำคุก 8 ปี
 
วันที่ 10 ตุลาคม 2559  ศาลอาญาอ่านคำพิพากษา จากที่ปิยะถูกฟ้องว่ากระทำความผิด 4 กรรม ตามฟ้องข้อ 1.1-1.4 ศาลเห็นว่า พ.ต.ท.อุดมวิทย์ พนักงานสอบสวนตอบคำถามว่า ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาตามคำฟ้องข้อ 1.1 และ 1.2 ให้จำเลยทราบในชั้นสอบสวน สอดคล้องกับที่จำเลยเบิกความว่า ทราบข้อกล่าวหานี้ครั้งแรกเมื่อถูกฟ้องที่ศาลนี้ เท่ากับมิได้ปฏิบัติตามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นฟ้องตาม มาตรา 120 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหานี้
 
เนื้อหาที่เขียนในข้อความตามคำฟ้องข้อ 1.1 และ 1.3 มีลักษณะโจมตีมุ่งร้าย ทำให้เสียต่อพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 ในเนื้อหามีข้อความว่า ว่าภริยาป่วยด้วยโรคเอดส์ ลงชื่อว่า Vincent Wang (วินเซนต์ หวัง) และ “เพราะผมพยายามเมาเหล้าก่อนที่จะทำตามที่พวกมันบังคับเพื่อแลกกับชีวิตภรรยาผม" ลงชื่อ จุ๊บ (Vincent Wang) ซึ่งจำเลยก็รับว่าชื่อ วินเซนต์ หวังนั้นจำเลยใช้ในวงการธุรกิจระหว่างประเทศ
 
แสดงให้เห็นได้ชัดว่า ผู้เขียนข้อความทั้งหมดนี้ตกอยู่ในห้วงอารมณ์จิตที่มีโมหะ ซึ่งผู้เขียนก็ชื่อวินเซนต์ หวัง เดียวกัน จึงเชื่อได้ว่าเป็นการกระทำของบุคคลเดียวกัน ปกติคนที่ลุ่มหลงสุรายาเสพติดจนมีอาการมึนเมา มักกระทำการใดๆ ที่ขาดสติยั้งคิด ไม่คิดหน้าคิดหลังถึงผลดีผลร้ายที่จะตามมาภายหน้า เชื่อว่าผู้เขียนข้อความดังกล่าวมีความกล้าพอที่จะใช้นามแฝงของตนจริงๆ ซึ่ง พ.ต.ท.อุดมวิทย์ สอบถามอดีตภรรยาของจำเลยทราบว่าป่วยเป็นโรคเอดส์ ตรงกับที่เขียนลงในข้อความนั้น
 
สิทธิศักดิ์ หลานของจำเลยให้ปากคำกับตำรวจว่า จำเลยเป็นคนมีนิสัยชอบพูดคนเดียว อารมณ์หงุดหงิด ด่าบ่นไปเรื่อย สอดคล้องกับที่อดีตภรรยาให้การไว้ว่า ช่วงหลัง จำเลยไม่ได้ทำงาน เริ่มเสพยาเสพติด ดื่มสุรา มีอารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย ทั้งเคยทะเลาะทำร้ายตบตีภรรยาถึงขั้นหมดสติไป เนื้อหาพยานหลักฐานโจทก์สอดรับกันดีมีน้ำหนักมาก เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวพันถึงเรื่องราวส่วนตัวของจำเลย ยากที่บุคคลอื่นจะล่วงรู้ได้ ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดมุ่งใส่ความให้ร้ายจำเลย จึงเชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเขียนข้อความดังกล่าวและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จตามคำฟ้องจริง
 
โจทก์ไม่นำสืบให้ปรากฏว่า ข้อความตามคำฟ้องข้อ 1.3 ที่จำเลยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์นั้น จำเลยได้เผยแพร่หรือส่บต่อไปให้บุคคลอื่น วันเวลาใด และใช้วิธีการอย่างไร จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานเผยแพร่หรือส่งต่อ ตามคำฟ้องข้อ 1.4 ได้ 
 
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักสุด ให้จำคุกจำเลย 8 ปี
 
 
Article type: