1580 1649 1372 1528 1227 1420 1662 1984 1283 1123 1366 1367 1272 1989 1097 1854 1265 1135 1496 1523 1480 1378 1994 1501 1325 1922 1970 1084 1561 1024 1094 1335 1379 1997 1133 1598 1463 1756 1337 1734 1881 1354 1944 1092 1510 1163 1994 1965 1969 1247 1480 1716 1822 1399 1728 1821 1788 1458 1612 1236 1668 1727 1898 1033 1653 1969 1127 1076 1155 1107 1609 1491 1102 1128 1500 1838 1764 1829 1256 1528 1144 1041 1179 1219 1593 1216 1254 1599 1656 1072 1091 1323 1475 1518 1013 1640 1541 1428 1799 24 เดือน คสช.: อำนาจทหารเหนือระบบยุติธรรม เมื่อทหารทำตัวเป็น “กองเซ็นเซอร์” | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

24 เดือน คสช.: อำนาจทหารเหนือระบบยุติธรรม เมื่อทหารทำตัวเป็น “กองเซ็นเซอร์”

 
"วันหนึ่งกำลังประชุมเตรียมจะจัดงานกัน มีโทรศัพท์เข้ามาจากทหาร ให้เราชี้แจงว่างานนี้มีที่มาที่ไปยังไง พอชี้แจงไปเสร็จปุ๊บ เย็นวันนั้นเลย เขาก็โทรกลับมาประมาณว่า ดูแล้วเนี่ย เขาลำบากใจที่จะให้มีงานนี้เกิดขึ้นอยากจะให้เลื่อนไปก่อน" 
 
ปกรณ์ อารีกุล Co-Producer งานผืนดินเราที่ดินใคร เล่าให้ฟังถึงวินาทีที่เจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาพูดคุย และท้ายที่สุดงานที่ปกรณ์เป็นผู้ดูแลก็ไม่ได้จัด
 
475
 
การจัดกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นงานเสวนา การจัดนิทรรศการ หรือแม้แต่งานศิลปะ ต่างก็ถูกจับตาโดยฝ่ายความมั่นคงและบ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ทหารมักจะอ้างเหตุผลในการปิดกั้นกิจกรรมว่า พวกเขาไม่สบายใจต่อกิจกรรมเพราะอาจจะมีเนื้อหาที่เป็นภัยต่อความมั่นคง หรือก่อให้เกิดความขัดแย้ง เป็นต้น 
 
กิจกรรมใดที่ไม่ขออนุญาต มีโอกาสไม่ได้จัดพร้อมกับถูกตั้งข้อหา
 
ในยุคของคสช. รัฐสร้างเงื่อนไขการทำกิจกรรมขึ้นมาใหม่ โดยพยายามบีบให้การจัดกิจกรรมเสวนาสาธารณะไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรงหรือไม่ก็ตาม ต้องทำหนังสือชี้แจงรายละเอียดและขออนุญาตจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อน ซึ่งในหนังสือขออนุญาตต้องระบุ รายละเอียดการจัดงาน ว่ากิจกรรมในงานมีอะไรบ้าง ระบบที่เกิดขึ้นนี้ช่วงแรกไม่มีกฎหมายใดสั่งให้ผู้จัดงานต้องขออนุญาตก่อน แต่ช่วงหลังคสช.อ้างคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองยกเว้นได้รับอนุญาต แต่การขออนุญาตก่อนก็ใช่ว่าจะได้จัดงานเสมอไป 
 
ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มนปช.จะจัดงานแถลงข่าวเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ โดย จตุพร พรหมพันธ์ ประธาน นปช. ได้มอบหมายให้ ธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ โฆษก นปช. และสมหวัง อัสราษี แกนนำ นปช. ยื่นหนังสือขออนุญาตคสช.แถลงข่าวเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล แต่ คสช.ไม่อนุญาต โดยอ้างเหตุว่า จำเป็นต้องยึดถือแนวทางเดิมที่ได้ขอความร่วมมือไว้ โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมใดๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการสร้างความสับสนหรือมีผลต่อแนวทางการเสริมสร้างความสามัคคีและแนวทางการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือที่อาจไปกระทบต่อแนวทางการเดินตามโรดแมป
 
มิใช่แค่การปิดกั้นแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีบางกิจกรรมที่ผู้จัดถูกเรียกเข้าพบและถูกตั้งข้อหา เช่น ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ กับพวก ที่ถูกตั้งข้อหาร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป จากการจัดงานแถลงข่าวเรื่องมหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร 
 
“แก้ไข หรือ ยกเลิก” ทางเลือกของผู้จัดกิจกรรมภายใต้รัฐบาลทหาร
 
“เขาไม่สบายใจกับแขกรับเชิญบางคน ก็อยากจะให้เราถอดคนนั้นออก” 
“เราเสียหาย เราพีอาร์ไปแล้ว เราก็ต้องมีเหตุผลอธิบายกับสาธารณะ เราคงถอดไม่ได้ เขาก็เลยบอกว่า ถ้าถอดไม่ได้ก็คงจัดไม่ได้”
“เขาก็อยากให้เราจัดได้ แต่ในเมื่อเราไม่ยอมที่จะเปลี่ยนแปลงตัววิทยากร มันก็ต้องจบแบบนี้”
 
ปกรณ์ อารีกุล บอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาแทรกแซงกิจกรรม “ผืนดินเราที่ดินใคร” ที่เขาเป็นผู้ประสานงาน และท้ายที่สุดกิจกรรมของเขาก็ถูกสั่งให้ยกเลิก ทำให้ผู้จัดงานบางส่วนถูกพาตัวไปพูดคุยที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามแม้จะยังไม่มีการตั้งข้อหาก็ตาม
 
ทั้งนี้ไม่ใช่แค่วิทยากรที่ทำให้ทหารต้องเข้ามาเซ็นเซอร์ แม้แต่สิ่งของบางอย่างในนิทรรศการ ก็เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ไม่สบายใจ อย่างเช่น งานปล่อยปีก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ในโครงการของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ได้ปล่อยของหรือโชว์ผลงานและสื่อสารประเด็นทางสังคมที่ได้เรียนรู้มา แต่ทว่า หนึ่งในนิทรรศการที่ทหารไม่สบายใจก็คือ “นิทรรศการห้องส้วม” ซึ่งสื่อสารถึงบางเรื่องที่ไม่สามารถพูดในที่สาธารณะได้ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร หรือเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ 
 
ศักดิ์สินี เอมะศิริ หรือ หญิง  เล่าว่า นิทรรศการส้วมเริ่มจัดตั้งแต่วันแรก แต่วันที่สองมีการใส่ข้อมูลเพิ่มทหารจึงรู้สึกว่าเนื้อหาค่อนข้าง "ชี้เป้า" หญิงก็บอกว่าจะให้คนทำนิทรรศการเอาออกเองก็รู้สึกไม่ดี อยากให้ทหารเป็นคนมาบอกเองว่าจะให้เอาอันไหนออกบ้าง แต่ทหารบอกว่าไม่ออยากเข้ามาเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงเพราะเดี๋ยวเป็นข่าวแล้วจะไม่ดี ทางผู้จัดเลยเสนอทางเลือกใหม่ว่าจะรื้อห้องน้ำออกทั้งหมด ทหารบอกว่าจะรื้อทั้งห้องน้ำเลยก็ได้แต่ต้องไม่ทำข่าว ไม่ให้เป็นประเด็นขึ้นมาอีก 
 
“ถ้าไม่คิดจะแก้ไข ก็คงจะไม่ได้จัด” นี่คือทางเลือกที่รัฐหยิบยื่นให้ในวันที่เสรีภาพมีจำกัด 
 
มหาวิทยาลัยหรือค่ายทหาร? การกดดันเจ้าของสถานที่ไม่ให้อำนวยความสะดวก
 
พื้นที่มหาวิทยาลัยถูกคาดหมายว่า จะเป็นพื้นที่ที่มีเสรีภาพในการแสดงออกโดยเฉพาะในเชิงวิชาการ แต่ทว่า ภายหลังการรัฐประหาร มหาวิทยาลัยมีความสุ่มเสี่ยงเป็นอันดับต้นๆ ที่จะถูกปิดกิจกรรม และบางกิจกรรม มหาวิทยาลัยก็ให้ความร่วมมือกับทหารในการปิดกั้น-แทรกแซงเสียเอง 
 
ตัวอย่างเช่น งานเสวนา “จากทุ่งบางเขนสู่ราชดำเนิน: เกษตรศาสตร์กับการเมืองไทย” ที่จัดโดยกลุ่มเสรีนนทรี กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ และขบวนการประชาธิปไตยใหม่ โดยใช้ลานกิจกรรมหน้าตึก 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่จัดงาน แต่ก่อนเริ่มงาน เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยแจ้งผู้จัดว่า ไม่ให้จัดงานเพราะยังไม่ได้ขออนุญาตกองกิจการนิสิต ขณะที่เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งเข้ามาเก็บเก้าอี้ที่เตรียมไว้ให้ผู้ฟังเสวนาไป ทางผู้จัดจึงทำกิจกรรมต่อโดยนั่งกับพื้นแทน 
 
หลังการเสวนาเริ่มไปได้ครู่หนึ่ง ก็มีการตัดไฟในพื้นที่ทำให้บริเวณที่จัดกิจกรรมตกอยู่ในความมืด ขณะที่เครื่องเสียงก็ใช้ไม่ได้ ผู้จัดกิจกรรมจึงแก้ปัญหาด้วยการนำเทียนมาจุดและดำเนินกิจกรรมต่อไปจนถึงเวลา 19.00 น. 
 
476
 
ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีหลายกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยมีท่าทีจะไม่ยินดีจะอำนวยความสะดวก เช่น เสวนา "ลายพรางโกงชาติ" ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ และกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ทั้งนี้ในงานมีทั้งการจัดแสดงนิทรรศการและการเสวนาในหัวข้อ "จอมพลสฤษดิ์ และมรดกที่ประกอบสร้างจากยุคพัฒนา" แต่ก็มีเจ้าหน้าที่เข้ามาเจรจาขอให้ผู้จัดย้ายนิทรรศการบางส่วน ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อยุทโธปกรณ์และอุทยานราชภักดิ์ออกไป เหลือไว้แต่นิทรรศการเกี่ยวกับจอมพลสฤษดิ์ แม้ผู้จัดจะยอมให้ความร่วมมือ แต่เมื่อกิจกรรมดำเนินไปจนถึงเวลาประมาณ 18.30 น. ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยตัดไฟบริเวณหอประชุม ทำให้ผู้จัดต้องออกมาทำกิจกรรมต่อด้านนอกโดยใช้โทรโข่งแทน
 
"สิทธิ" และ "รัฐธรรมนูญ" คือคำอ่อนไหวที่เจ้าหน้าที่ไม่อยากให้ใช้จัดกิจกรรม
 
ในช่วงแรกหลังการรัฐประหาร การจัดงานเสวนาที่มีคำว่า “สิทธิ” “เสรีภาพ” หรือ “สิทธิมนุษยชน” มักจะเป็นรายชื่องานต้นๆ ที่ถูกเจ้าหน้าที่เข้าไปสั่งห้ามหรือแทรกแซง ซึ่งจากการเก็บข้อมูล พบว่า สองปีในยุคของคสช.มีกิจกรรมที่ใช้คำว่า “สิทธิ” “เสรีภาพ” หรือ “สิทธิมนุษยชน”  ถูกปิดกั้นหรือแทรกแซงอย่างน้อย 9 กิจกรรม
 
แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนคนก็เปลี่ยน คำที่อ่อนไหวสำหรับทหารไม่แพ้คำว่าสิทธิเสรีภาพก็คือคำว่า “รัฐธรรมนูญ” โดยลักษณะเริ่มเห็นชัดภายหลังรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยร่างแรกได้ถูกเผยแพร่สู่สายตาประชาชนในช่วงปลายเดือนมกราคม 2559 และนำไปสู่การถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขว้าง ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องหันมาจับตาเวทีเสวนาที่มีคำว่ารัฐธรรมนูญมากขึ้น 
 
อย่างเช่น ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2559 พบว่า มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 5 งานถูกปิด คือ กิจกรรมวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญของนักวิชาการกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ถูกห้ามจัด, กิจกรรมเสวนาร่างรัฐธรรมนูญและการมีส่วนร่วมของประชาชนของกลุ่มผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (วีมูฟ) ถูกห้ามจัดกลางคัน, กิจกรรมรณรงค์โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของกลุ่มเส้นทางสีแดงถูกขอให้ยุติ, นอกจากนี้กิจกรรมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของเว็บไซต์ประชามติก็ถูกแทรกแซงจนต้องย้ายสถานที่ถึงสองงานในวันเดียวกัน ทั้งนี้ รัฐบาลและคสช.เคยออกมาเรียกร้องให้หลายฝ่ายแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้วิธีการที่เหมาะสม หากพบว่าผู้ใดบิดเบือนรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญ คสช.จะเชิญมาพูดคุยทำความเข้าใจ เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการปรองดอง
 
ตลอดสองปีในยุคคสช. มีกิจกรรมสาธารณะที่ถูกปิดกั้นหรือแทรกแซงโดยเจ้าหน้าที่รัฐอย่างน้อย 130 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นกิจกรรมเสวนาสาธารณะอย่างน้อย 76 ครั้ง และเป็นการกิจกรรมที่ไม่ใช่เรื่องสถานการณ์การเมือง การต่อต้านคสช.หรือนโยบายของคสช.อย่างน้อย 20 ครั้ง
 
พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ในฐานะเครื่องมือชิ้นใหม่ ในการข่มขู่ผู้จัดกิจกรรม
 
นอกจากการห้ามแสดงความคิดเห็นด้วยการอ้างอำนาจตามประกาศและคำสั่ง คสช.แล้ว พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ที่ออกมาในเดือนกรกฎาคม 2558 ก็เป็นเครื่องมืออีกชิ้นที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงหยิบมาใช้เพื่อข่มขู่คนจัดกิจกรรม เช่น วันที่ 25 สิงหาคม 2558 พ.อ.อำนวย จุลโนนยาง รองผู้บัญชาการจังหวัดทหารบกเลย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดเลย มีคำสั่งห้ามไม่ให้มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) จัดค่าย “เยาวชนฮักบ้านเจ้าของ” เพราะเกรงว่า จะมีการปลุกปั่นเยาวชนให้ต่อต้านอำนาจรัฐ และยุยงให้ชาวบ้านแตกแยกกัน และขู่ว่าหากทีมงานค่ายยังดื้อรั้นไม่ยอมยกเลิกการจัดค่ายเยาวชนฯ จะใช้กฎหมายห้ามชุมนุมจัดการกับทีมงานที่เข้ามามาจัดค่ายครั้งนี้ เพราะถือเป็นภัยต่อความมั่นคง
 
อีกกรณีตัวอย่าง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 สำนักข่าวสิ่งแวดล้อมรายงานว่า สน.นางเลิ้ง ใช้อำนาจตามพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ สั่งไม่อนุญาตให้เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ชุมนุมคัดค้านการออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3 และ 4/2559 เรื่องการยกเว้นผังเมืองในกิจการบางประเภท และในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 
 
ดูรายงานปรากฏการณ์ ใช้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ "ขู่" ประชาชนห้ามชุมนุมทุกประเภท ได้ที่ http://ilaw.or.th/node/3991
 
 
เสรีภาพสื่อและอินเทอร์เน็ตในวันที่ไม่มีเสรี
 
“เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตประเทศไทย ‘ไม่เสรี’ (Not Free)” คือสิ่งที่อยู่ในรายงานเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตที่ทาง “ฟรีดอมเฮาส์ (Freedom House)” องค์กรภาคเอกชนทำวิจัยด้านประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการเมืองเป็นผู้จัดทำและเผยแพร่
 
จากรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดย คณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) พบว่า ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2557 ถึง 12 มีนาคม 2558 มีจำนวนยูอาร์แอลที่ถูกระงับประมาณ 2,308 ยูอาร์แอลเนื่องจากมีเนื้อหาที่อาจจะผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อีกทั้งยังมีจำนวนยูอาร์แอลที่กระทรวงไอซีทีส่งให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการอยู่อีกประมาณ 3,604 ยูอาร์แอล และทั้งสองตัวเลขเป็นแค่จำนวนอย่างน้อยที่กระทรวงไอซีทีเปิดเผยออกมา
 
รายงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2557 ของกระทรวงไอซีที ยังระบุว่า รัฐบาลไทยได้ขอความร่วมมือและประสานงานไปยังเว็บไซต์ยูทูปอีกด้วย มิใช่แค่นั้น มีรายงานจากประชาไทว่า ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2559 เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'กูkult' ซึ่งมีผู้กดไลค์หลายหมื่น และมักมีการโพสต์ภาพเชิงล้อเลียนเสียดสีสังคมและการเมือง รวมทั้งสถาบันกษัตริย์ ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ และเฟซบุ๊กก็ชี้แจ้งว่า "ไม่มีเนื้อหาอยู่ในไทย คุณไม่สามารถดูเนื้อหานี้ได้เนื่องจากกฎหมายในท้องถิ่นจำกัดความสามารถของเราในการแสดงเนื้อหานั้น หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ศูนย์ช่วยเหลือ"
 
นอกจากพื้นที่การแสดงออกในโลกออนไลน์แล้ว พื้นที่ของสื่อมวลชนเองก็ได้รับผลกระทบภายหลังการรัฐประหารไม่แพ้กัน วิธีการ และวิธีคิดในการกำกับดูแลสื่อโทรทัศน์ในประเทศไทยกำลังเปลี่ยนไปภายใต้ยุค คสช. เริ่มตั้งแต่การออกประกาศอย่างน้อย 10 ฉบับ การตั้งคณะกรรมการพิเศษติดตามตรวจสอบเนื้อหา และการส่งเรื่องผ่าน กสทช.ให้ใช้อำนาจแทน 
 
กสทช. ในฐานะ ‘ผู้จัดระเบียบสื่อ’ ให้คสช. 
 
อำนาจที่ กสทช. หยิบมาใช้ในการจัดการกับสื่อที่ออกนอกลู่นอกทางจากที่รัฐตีกรอบก็คือ มาตรา 37 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ) ซึ่งกำหนดว่า สื่อใดๆ จะนำเสนอเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงไม่ได้ และหากมีการละเลยและปล่อยให้มีการนำเสนอข้อมูล ที่เข้าข่ายความผิดข้างต้น ก็จะเป็นผลให้เจ้าของสถานีถูกปรับ ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ 
 
จากการติดตามข้อมูลดังกล่าวตั้งแต่  22 พฤษภาคม 2557 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 พบว่า มีอย่างน้อย 18 กรณี จาก 12 สถานี ที่ถูกเรียกให้เข้าสู่กระบวนการกำกับเนื้อหาโดยรัฐ โดยมีกรณีตัวอย่างเช่น การสั่งปิดพีซทีวี  เพราะมีบางรายการ ที่ละเมิดข้อตกลงใน MoU การตรวจสอบไทยพีบีเอส เนื่องจากเสนอสกู๊ป “กลุ่มดาวดิน” เป็นต้น
 
 
 ‘ฟ้าให้ทีวี’ จุดเริ่มต้นการใช้อำนาจนอกระบบกับสื่อ
 
สถานีวิทยุโทรทัศน์ ฟ้าให้ทีวี (Fah Hai TV) ที่มีพรทิพา หรือ ดีเจฟ้า เป็นเจ้าของ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ของสถานี โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 หลังตรวจสอบพบว่า รายการทีวีรายการหนึ่งที่ออกอากาศทางสถานี อาจมีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน  
 
เหตุการณ์นี้นับเป็นครั้งแรกที่ทหารใช้อำนาจเข้ามาจัดการสื่อเอง โดยผ่านกลไก กสทช. นอกจากนี้ ภายหลังตรวจค้น ยึดอุปกรณ์ของสถานีแล้ว เจ้าหน้าที่ทหารยังนำบุคคลห้าคนที่เกี่ยวข้องกับสถานีไปแจ้งความ ที่กองบังคับการปราบปราม ข้อหา ร่วมกันประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 อีกด้วย
 
บรรยากาศทางการเมืองที่บีบให้ต้องเซนเซอร์ตัวเอง
 
ภายใต้เสรีภาพที่มีอยู่อย่างจำกัด สื่อมวลชนจึงจำเป็นจะต้องระแวดระวังการแสดงออกของตัวเองเพื่อไม่ให้ไปขวางหูขวางตาของผู้มีอำนาจ ดังนั้นการเลือกนำเสนอหรือการไม่นำเสนอข้อมูลบางส่วนจึงเกิดขึ้น หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เซนเซอร์ตัวเอง”
 
ปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งภายหลังการรัฐประหาร อย่างเช่น ผู้พิมพ์ในไทยการถอดบทความหน้าแรกของ International New York Times ถึงสองครั้ง โดยในครั้งแรกคือวันที่ 1 ธันวาคม 2558 ซึ่งเขียนโดย โทมัส ฟุลเลอร์ ผู้สื่อข่าวของนิวยอร์คไทมส์ ในหัวข้อ "เศรษฐกิจและกำลังใจของคนไทยกำลังตกต่ำ" และครั้งที่สองคือวันที่ 4 ธันวาคม 2558 โดยบทความทั้งสองมีการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้พื้นที่บทความดังกล่าวเหลือเพียงที่ว่างและข้อความที่ระบุว่า “บทความนี้ถูกถอดโดยผู้จัดพิมพ์ของเราในประเทศไทย โดยหนังสือพิมพ์ International New York Times และกองบรรณาธิการ ไม่ได้มีส่วนในการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใด”
 
477
 
มิใช่แค่สื่อในต่างประเทศ ที่ผ่านมาก็มีสื่อไทยหลายแห่งที่เลือกจะเซนเซอร์ตัวเอง โดยหนึ่งในนั้นก็คือเว็บไซต์ข่าวภาษาอังกฤษ “บางกอกโพสต์” ที่เผยแพร่บทสัมภาษณ์ครั้งแรกของอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังการรัฐประหาร แต่วันต่อมาบทสัมภาษณ์ดังกล่าวถูกลบหายไปจากเว็บไซต์ โดยวาสนา นาน่วม เจ้าของบทความดังกล่าวชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า บทความดังกล่าวไม่ได้มาจากการให้สัมภาษณ์ของยิ่งลักษณ์ เพียงแต่เป็นการพูดคุยกันและหยิบส่วนที่เป็นเรื่องเบาๆ ว่าชีวิตในแต่ละวันเปลี่ยนไปอย่างไรมาเขียนเท่านั้น เพราะตนทราบดีว่าอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะให้สัมภาษณ์ในประเด็นทางการเมืองได้
 
จะเห็นได้ว่า สถานะของเสรีภาพของการแสดงออก การจัดกิจกรรม สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์ กำลังถูกจัดระเบียบและปกคลุมไปด้วยความกลัว ซึ่งผลกระทบจากการปิดกั้นช่องทางเหล่านี้นอกจากจะตัดโอกาสในการแลกเปลี่ยนถกเถียงแล้วนั้น ยังลดทอนภูมิคุ้มกันของประชาชนในการเผชิญหน้ากับความจริงภายใต้สภาวะความขัดแย้งอย่างทุกวันนี้อีกด้วย
 
 
อ่านรายงาน 24 เดือนคสช.: เมื่ออำนาจทหารอยู่เหนือระบบยุติธรรม ต่อตอนอื่นที่
 

 

ไฟล์แนบ: 
Report type: