1283 1660 1252 1307 1144 1698 1097 1778 1548 1553 1233 1465 1641 1712 1028 1596 1686 1826 1470 1775 1709 1907 1621 1506 1311 1978 1716 1377 1363 1804 1850 1703 1655 1473 1661 1739 1720 1175 1331 1510 1741 1186 1931 1814 1652 1685 1016 1036 1916 1797 1757 1946 1181 1819 1802 1154 1817 1000 1905 1040 1432 1058 1113 1119 1604 1605 1451 1839 1671 1145 1986 1015 1641 1549 1831 1102 1315 1710 1254 1457 1746 1220 1611 1831 1716 1755 1275 1503 1787 1462 1641 1879 1725 1384 1419 1838 1902 1362 1116 112 ALERT : เปิดแฟ้มคดี 112 สองคดีของแอมมี่ The Bottom Blues ก่อนศาลพิพากษาจบใน ธ.ค. 66 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

112 ALERT : เปิดแฟ้มคดี 112 สองคดีของแอมมี่ The Bottom Blues ก่อนศาลพิพากษาจบใน ธ.ค. 66

 

 

เดือนธันวาคม 2566 ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สองคดีของแอมมี่-ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ คดีแรกในวันที่ 18 ธันวาคม 2566 คดีนี้เขาถูกกล่าวหาว่า เผาพระบรมฉายาลักษณ์ด้านหน้าเรือนจำคลองเปรมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 และอีกคดีในวันที่ 28 ธันวาคม 2566 เหตุสืบเนื่องจากการร้องเพลงที่หน้าศาลธัญบุรี ขณะรอฟังคำสั่งประกันตัวของสิริชัย นาถึง อดีตสมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564 ชวนรู้จักคดีมาตรา 112 ทั้งสองคดีของแอมมี่

 

3022

 

๐ เสียงเพลง สีน้ำเงินกับคืนวันในเรือนจำครั้งแรก

 

ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ หรือที่สังคมรู้จักกันมากกว่าในชื่อของแอมมี่ The Bottom Blues เป็นนักแต่งเพลงและนักร้องนำวง The Bottom Blues แอมมี่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอแบค มีผลงานเพลงทั้งสิ้นสามอัลบั้ม กับอีกเจ็ดซิงเกิล* นอกจากนั้นเขาก็ยังเป็นโปรดิวเซอร์ให้ศิลปินคนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ในคลื่นการชุมนุมปี 2563 เพลง 12345 I LOVE YOU กลายเป็นเพลงที่คุ้นหูในการชุมนุม มีการแปลงเนื้อร้องจาก “12345 I LOVE YOU” เป็น “12345 ไอ้เหี้ยตู่”  

 

ระหว่างการชุมนุมแนวคิดและข้อเรียกร้องต่างๆของผู้ชุมนุมถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงตามวาระต่างๆ ครั้งหนึ่งการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของแอมมี่กลายเป็นประเด็นถกเถียงถึงเส้นของสันติวิธี วันที่ 28 สิงหาคม 2563 ระหว่างที่ผู้ชุมุนมที่ถูกกล่าวหาจากการชุมนุมเยาวชนปลดแอกเดินขบวนไปรายงานตัวที่สน.สำราญราษฎร์ ตำรวจตั้งแถวปิดหน้าสน.สำราญราษฎร์ขอตรวจบัตรประชาชนของผู้ที่ผ่านเข้าไป ต่อมามีการผลักดันแผงเหล็กที่กั้นและแอมมี่สาดสีน้ำเงินใส่ตำรวจระบุว่า เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์  นำสู่ข้อถกเถียงเรื่องของสันติวิธี แบ่งเป็นสองส่วนคือ ด้านหนึ่งมองว่า กระทำต่อตำรวจผู้น้อยไม่มีทางเลือกและอีกด้านหนึ่งมองว่า อยู่ในขอบเขตของสันติวิธี 

 

แอมมี่ให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า สีน้ำเงินเป็นสีที่สื่อถึงสถาบันกษัตริย์ “สีที่เราสาดมันคือ น้ำมนต์ และการโดนน้ำมนต์มันไม่ได้น่ากลัว มันต้องเป็นสิ่งที่ดีสิ คุณต้องไม่กลัว คุณต้องไม่รังเกียจสีน้ำเงินสิ”  ต่อมาวันที่ 13 ตุลาคม 2563  เขาร่วมชุมนุมกับกลุ่มคณะราษฎรอีสานที่จัดบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อรอการชุมนุมใหญ่ของคณะราษฎรในวันรุ่งขึ้น แต่ถูกตำรวจสลายการชุมนุมเสียก่อน ระหว่างที่ตำรวจสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมสาดสีน้ำเงินตอบโต้ ความชุลมุนจากการจับกุมที่เกิดขึ้นไม่เพียงตำรวจที่ถูกแต้มด้วยสีน้ำเงิน แต่ผู้ชุมนุมก็ถูกสีน้ำเงินไปด้วย และเมื่อสีน้ำเงินผสมกับฝนที่ตกลงมาทำให้วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยท่วมท้นเจิ่งนองไปด้วยสีน้ำเงิน วันดังกล่าวแอมมี่เป็นหนึ่งในผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมและถูกฝากขังในเรือนจำรวม 6 วัน ก่อนที่จะได้ประกันตัว 

 

๐  คดี 112 คดีที่สอง : ร้องเพลงรอเพื่อนหน้าศาลธัญบุรี

 

เหตุที่ต้องนำคดีที่สองขึ้นมาเล่าก่อนเนื่องจากเป็นคดีที่เกิดเหตุก่อนแต่ถูกแจ้งข้อหาหลังจากคดีที่หนึ่ง คดีนี้สืบเนื่องจากกลางดึกวันที่ 13 มกราคม 2564 ตำรวจจับกุมตัวฮิวโก้ สิริชัย นาถึง อดีตแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมโดยไม่ให้ติดต่อผู้ไว้วางใจ ทำให้เพื่อนๆต้องติดตามตัวเขาอยู่หลายชั่วโมงจนพบตัวในช่วงเวลาประมาณ 1.30 น.ของวันถัดมา นิวถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 จากการพ่นสีบนรูปของพระบรมวงศานุวงศ์ในพื้นที่คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี วันถัดมาพนักงานสอบสวนนำตัวเขาไปขออำนาจศาลจังหวัดธัญบุรีฝากขังในชั้นสอบสวน ระหว่างรอคำสั่งการปล่อยตัวชั่วคราว แอมมี่ พร้อมด้วยกลุ่มนักกิจกรรมจากแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมและฟ้า-พรหมศร วีระธรรมจารี ราษฎรมูเตลูร้องเพลงรอด้านหน้าศาล

 

คำฟ้องระบุว่า ระหว่างที่จำเลยทั้งสองกับพวกชุมนุมที่ด้านหน้าศาล ฟ้าเปิดเพลงสดุดีจอมราชาและมีการดัดแปลงเนื้อเพลงเป็นประเด็นเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเงินประกันตัวในคดีมาตรา 112 กับการถวายพระพร และเปิดเพลง “ในหลวงของแผ่นดิน” และดัดแปลงเนื้อหาตั้งคำถามเรื่องการใช้เงินภาษีและการแปรพระราชฐาน ขณะที่แอมมี่ซาวเช็คด้วยเพลง 12345 และฟ้ากับพวกร้องรับว่า “ไอ้เหี้ย xx” แอมมี่ร้องต่อว่า 6789 และฟ้ากับพวกร้องรับว่า “ไอ้เหี้ย xx” ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า วันที่ 17 มีนาคม 2564 ฟ้าไปรายงานตัวตามหมายเรียกและถูกฝากขังระหว่างสอบสวน 55 วันก่อนได้รับการประกันตัว กรณีของแอมมี่ พนักงานสอบสวนไปแจ้งข้อกล่าวหาระหว่างที่เขาถูกคุมขังจากคดีมาตรา 112 คดีที่หนึ่งในเรือนจำพิเศษธนบุรีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564

 

คดีนี้ศาลจังหวัดธัญบุรีนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 28 ธันวาคม 2566 เวลา 9.00 น.

 

๐ คดี 112 คดีที่หนึ่ง : เผารูปหน้าเรือนจำคลองเปรม

 

เดือนกุมภาพันธ์ 2564 อัยการทยอยมีคำสั่งฟ้องคดีมาตรา 112 จากการชุมนุมระหว่างวันที่ 19-20 กันยายน 2563 โดยวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดีต่อศาลอาญาและศาลอาญามีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวจำเลยชุดแรกได้แก่ เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ อานนท์ นำภา สมยศ พฤกษาเกษมสุขและหมอลำแบงค์-ปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ขณะที่แอมมี่เป็นจำเลยร่วมในคดีนี้แต่ไม่ได้ถูกกล่าวหาในมาตรา 112 ยังคงไม่ถูกจองจำ หลังจากนั้นนักกิจกรรมชุมนุมเรียกร้องโดยเบนเข็มจากข้อเรียกร้องสามข้อมาที่การเรียกร้องสิทธิการประกันตัว 

 

กลางดึกของของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 มีเหตุเผาพระบรมฉายาลักษณ์ที่หน้าเรือนจำคลองเปรม  มีภาพขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้เผยแพร่บนเฟซบุ๊กที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่า อยู่ในความดูแลของแอมมี่ ต่อมาวันที่ 3 มีนาคม 2564 แอมมี่ถูกจับกุม ตำรวจยื่นคำร้องขอฝากขังแอมมี่ต่อศาลอาญา โดยแม่ของเขายื่นขอประกันตัวในวันที่ 3 และ 4 มีนาคม 2564 ด้วยหลักทรัพย์ 90,000 บาทและ 500,000 บาทตามลำดับ โดยศาลยกคำร้องด้วยเหตุผลว่า เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี หลังศาลยกคำร้องไชยอมรถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษธนบุรีและถูกคุมตัวเรื่อยมาจนได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 

 

ตามคำฟ้องระบุว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่สมควรล่วงละเมิด เป็นการแสดงออกด้วยประการใดว่าจะทำให้เสียหายในทางใดๆ ไม่ว่าจะเป็นภยันตรายแก่ร่างกายทรัพย์สินสิทธิเสรีภาพหรือชื่อเสียงเกียรติคุณอันไม่ใช่การใช้สิทธิตามปกตินิยมนับเป็นการแสดงอาฆาตมาดร้ายดูหมิ่นกษัตริย์  

 

คดีนี้แอมมี่ระบุว่า ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 18 ธันวาคม 2566 เวลา 9.00

Article type: