1781 1812 1897 1200 1240 1892 1282 1687 1363 1613 1160 1282 1408 1198 1048 1400 1121 1048 1869 1174 1638 1224 1590 1145 1526 1177 1429 1853 1773 1084 1801 1651 1696 1941 1948 1673 1181 1505 1809 1725 1408 1022 1362 1675 1927 1956 1244 1650 1306 1504 1705 1839 1073 1658 1994 1217 1285 1240 1114 1782 1675 1769 1344 1858 1008 1904 1539 1600 1085 1495 1641 1482 1952 1573 1637 1107 1091 1229 1294 1086 1450 1015 1732 1601 1873 1898 1808 1439 1102 1825 1366 1049 1808 1894 1367 1405 1971 1805 1035 นิรโทษกรรมคือทางออกขั้นต่ำของสังคม เสวนา “ก้าวแรกอย่างไรในการแก้ไขปัญหาคดีการเมือง” | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

นิรโทษกรรมคือทางออกขั้นต่ำของสังคม เสวนา “ก้าวแรกอย่างไรในการแก้ไขปัญหาคดีการเมือง”

 
2974
 
19 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน จัดงานเสวนา “ก้าวแรกอย่างไรในการแก้ไขปัญหาคดีการเมือง” เพื่อมองหาทางออกให้แก่ปัญหาคดีการเมืองและผู้ที่ถูกคุมขังจากข้อหาทางการเมืองจำนวนมาก โดยเฉพาะการพูดคุยถึงความเป็นไปได้ของการออกกฎหมายนิรโทษกรรม
 
งานเสวนาครั้งนี้มี สมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงยุติธรรม พูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน เบนจา อะปัญ ผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมือง เหวง โตจิราการ อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และ อมร รัตนานนท์ อดีตแนวร่วมเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กลุ่มพันธมิตรฯ) เป็นผู้ร่วมเสวนา โดยมี ฐปณีย์ เอียดศรีไชย เป็นผู้ดำเนินรายการ
 
วงเสวนาเริ่มต้นด้วยคำถามถึงกลุ่มพันธมิตรฯ โดยอมรกล่าวว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ตามมาด้วยหลายคดีในหมวดคดีอาญา คดีก่อการร้าย และคดีการเป็นกบฏ เช่น คดีเก้าแกนนำจากการเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล หรือ คดีชุมนุมหน้าสมาคมวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) อย่างไรก็ตาม หลายคดีเพิ่งเข้าสู่กระบวนการของศาลชั้นต้น เช่น คดีชุมนุมปิดสนามบิน ที่ยืดยาวมาตั้งแต่ปี 2551 และศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาในเดือนธันวาคม 2566 ขณะเดียวกันหลายคดีได้ยุติไปแล้วเช่นกัน
 
ในประเด็นการนิรโทษกรรมนั้นอมรเห็นด้วยกับการมีคณะกรรมการคอยกลั่นกรองกรอบของการนิรโทษกรรมคดีการเมือง ดังที่ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ที่พรรคก้าวไกลเสนอ
 
ทางฝั่ง นปช. เหวง โตจิราการ เล่าถึงสาเหตุของการเกิดคดีความทางการเมืองว่า เป็นเพราะรัฐมองประชาชนเป็นศัตรูจึงเลือกที่จะใช้กฎหมายเข้าจัดการ ตัวอย่างสำคัญ คือ คดีชายชุดดำ ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ประกาศ เป็นข้ออ้างความชอบธรรมในการสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ขณะที่คดีอื่นๆ อย่าง “คดีเผา” หลายคดีก็เชื่อว่าเจ้าหน้าที่เกลี่ยกล่อมให้คนเสื้อแดงเซ็นไปก่อน จนกลายเป็นความเสียเปรียบในชั้นศาล นอกจากนี้ รัฐยังพยายามใช้สื่อในการทำให้สังคมมองภาพผู้ชุมนุมในทางที่ไม่ดีอีกด้วย
 
ด้วยเหตุนี้ เหวงจึงมองว่าการนิรโทษกรรมจะเกิดขึ้นได้ยากหากพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลมองประชาชนเป็นศัตรู โดยเน้นย้ำว่าตราบใดที่ประชาชนไม่ได้กระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา หรือกฎหมายแพ่งอย่างถึงที่สุด รัฐก็ไม่มีอำนาจที่จะจับกุมประชาชน ขณะที่การนิรโทษกรรมนั้นต้องห้ามนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำเกินกว่าเหตุ ให้นิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนเท่านั้น โดยผู้มีอำนาจสั่งการต้องรับผิดชอบด้วยการถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
 
ขยับมาที่การชุมนุมในยุคปี 2563 เบนจา อะปัญ ระบุว่า คดีทางการเมืองมักตามมากับการชุมนุมแบบแฟลชม็อบ จึงทำให้แต่ละคนมีคดีเยอะมาก คดีที่มักถูกนำมาใช้ คือ มาตรา 112 พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 และ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่งแม้จะมีพลวัตรที่แตกต่างไปจากยุคอื่นแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ รัฐไทยไม่เคยคิดจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเหล่านี้เลย การสะสางปัญหาด้วยร่างกฎหมายนิรโทษกรรมจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพาสังคมเดินหน้าต่อไปได้
 
อย่างไรก็ตาม เบนจาระบุว่าการนิรโทษกรรมจะเป็นหมุดหมายแรก ที่ต้องตามมาด้วยการปฏิรูปประเทศอีกหลายด้าน เช่น การจัดการกับมาตรา 112 เพราะหากไม่แก้ไขปัญหาตอนนี้ก็จะกลายเป็นปัญหาในอนาคตอยู่ดี และอาจทำให้ต้องเจอกับการต่อต้านจากคนรุ่นต่อไป
 
สำหรับสถานการณ์ในด้านคดีการเมือง พูนสุข พูนสุขเจริญ เล่าว่า ความขัดแย้งในประเทศไทยกินระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปีจนสภาพเศรษฐกิจสังคมชะงักงัน ส่งผลกระทบต่อคนทุกคน โดยจากปี 2549 เป็นความขัดแย้งแบบสีเสื้อ แต่หลังปี 2557 เป็นต้นมาคือความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน ศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงต้องการเสนอให้การนิรโทษกรรมเป็นทางออกขั้นเริ่มต้นสำหรับการนำประเทศกลับไปสู่สภาวะปกติ
 
ต้นปี 2553 มีคนถูกดำเนินคดีประมาณ 1,700 คน ขณะที่หลังการรัฐประหาร 2557 มีการประกาศให้ประชาชนไปขึ้นศาลทหารในคดีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ความผิดเกี่ยวกับประกาศคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความผิดเกี่ยวกับอาวุธ จนทำให้มีผู้ถูกดำเนินคดีประมาณ 2,400 คน ปัจจุบันนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีไปแล้วประมาณ 1,900 คน บางคนยังถูกจำคุกอยู่ถึงปัจจุบัน พูนสุขจึงอยากนำข้อเสนอนิรโทษกรรมกลับมาเป็นหนึ่งในคำตอบให้แก่สังคมอีกครั้ง
 
ทางฝั่งตัวแทนความเห็นจากภาครัฐ สมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ระบุว่า กระทรวงยุติธรรมมี “กองทุนยุติธรรม” ที่ตั้งมาช่วยเหลือประชาชน โดยใช้กับคดีการเมืองไปแล้ว 183 คดี คิดเป็นเงินจำนวนหลายล้านบาท ขณะที่ผู้ต้องขังที่คดีการเมืองนั้นทางราชทัณฑ์ก็ได้พยายามดูแลเป็นพิเศษไม่ให้กระทบกระทั่งกับผู้อื่นในเรือนจำมาเสมอ รวมทั้งมีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่มีหน้าที่นำหลักสูตรมาอบรมเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองเสมอ สมบูรณ์สรุปว่าปัญหาที่ท่านอื่นระบุมาก่อนหน้านี้มีกระทรวงยุติธรรมเป็นปลายเหตุของปัญหาทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามกระทรวงยุติธรรมในปัจจุบันหลังการเลือกตั้ง 2566 นั้นพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือในการใช้สิทธิเสรีภาพแล้วกว่ายุคก่อนหน้า
 
ในคำถามส่วนของการนิรโทษกรรม สมบูรณ์ระบุว่าตัวเองกำลังรวบรวมหลายร่างนิรโทษกรรมของแต่ละพรรคเพื่อนำเสนอความเห็นแก่ รมว.กระทรวงยุติธรรม จึงอาจจะยังกล่าวไม่ได้ว่ามีความคิดเห็นไปในทิศทางใด แต่อยากให้มั่นใจว่ากระทรวงยุติธรรมกำลังทำงานในประเด็นเหล่านี้อยู่อย่างแน่นอน
 
 
Article type: