1667 1766 1369 1250 1892 1468 1571 1976 1918 1591 1487 1602 1439 1560 1865 1923 1113 1585 1874 1956 1750 1931 1292 1469 1237 1303 1543 1465 1407 1583 1843 1804 1194 1438 1223 1834 1818 1293 1671 1320 1822 1632 1528 1346 1122 1206 1434 1922 1398 1696 1753 1594 1295 1680 1649 1873 1623 1835 1601 1085 1109 1689 1300 1172 1970 1320 1398 1292 1801 1659 1973 1921 1036 1747 1937 1360 1122 1590 1659 1122 1630 1350 1356 1721 1616 1608 1911 1184 1284 1585 1763 1266 1995 1309 1617 1281 1873 1274 1275 Recap คดีดูหมิ่นศาล กรณีนักกิจกรรมปราศรัยเรียกร้องสิทธิการประกันตัวนักโทษการเมืองที่ศาลอาญา | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Recap คดีดูหมิ่นศาล กรณีนักกิจกรรมปราศรัยเรียกร้องสิทธิการประกันตัวนักโทษการเมืองที่ศาลอาญา

1. วันที่ 17 ตุลาคม 2566 ศาลอาญานัด ณัฐชนน ไพโรจน์ เบนจา อะปัญ และสมยศ พฤกษาเกษมสุข ฟังคำพิพากษาในคดีดูหมิ่นศาลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 จากกรณีที่ทั้งสามร่วมชุมนุมและปราศรัยที่หน้าศาลอาญาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 เพื่อเรียกร้องสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวให้กับจำเลยคดีการเมืองรวมทั้งคดีมาตรา 112 ที่ถูกคุมขังอยู่ในขณะนั้น

2. การชุมนุมของนักศึกษาและประชาชนที่เกิดขึ้นในปี 2563 เป็นมูลเหตุให้ตำรวจดำเนินคดีกับนักกิจกรรมและประชาชนด้วยข้อหาต่าง ๆ รวมถึงประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยนักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดีบางส่วนได้แก่ ทนายอานนท์ นำภา ไผ่ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา และ เพนกวิ้น พริษฐ์ ชิวารักษ์ เป็นต้น 
 
3. พริษฐ์ซึ่งถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 หลังอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดีมาตรา 112 จากการปราศรัยระหว่างการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 20 กันยายน 2563 และศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคดี ประกาศอดอาหารระหว่างกระบวนการพิจารณาคดีในวันที่ 15 มีนาคม 2564 เพื่อเรียกร้องสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว โดยพริษฐ์ประกาศว่าเขาจะดื่มเพียงน้ำเท่านั้น

4. การอดอาหารของพริษฐ์ ทำให้มีประชาชนออกมาทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อร่วมเรียกร้องสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวให้ผู้ต้องขังคดีการเมือง เช่น กิจกรรมยืนหยุดขัง กิจกรรมล่ารายชื่อและยื่นหนังสือกับผู้บริหารศาลอาญา การจัดงานเสวนาวิชาการ เช่น “เสวนาหน้าศาล” ในหัวข้อ “ความยุติธรรมกับการคืนสิทธิประกันตัวโดยไม่มีเงื่อนไข” มันเกิดอะไรขึ้นกับ "กระบวนการ(อ)ยุติธรรม"?? คืนสิทธิประกัน-หยุดใช้กฎหมายปิดปาก รวมถึงการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น การวางดอกไม้จันทน์หน้าศาลหรือการเผาหนังสือประมวลกฎหมายที่หน้าศาลอาญา แต่ผู้ต้องขังคดีทางการเมืองและคดีมาตรา 112 บางส่วนรวมถึงตัวพริษฐ์ก็ยังไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว พริษฐ์จึงยืนยันที่จะอดอาหารต่อไป

2948

5. หลังพริษฐ์อดอาหารไปได้ 45 วัน ในวันที่ 28 เมษายน 2564 มีรายงานว่า การอดอาหารของพริษฐ์เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระดับที่น่าเป็นห่วง และมีรายงานว่าพริษฐ์ถ่ายออกมาโดยมีชิ้นเนื้อและเลือดปนออกมา จนถูกนำตัวส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์และโรงพยาบาลรามาธิบดีในเวลาต่อมา ความห่วงกังวลต่อสุขภาพของพริษฐ์ ทำให้การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวทวีความเข้มข้นขึ้น

6. ในวันเกิดเหตุ 30 เมษายน 2564 มีการจัดกิจกรรมเรียกร้องสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวที่ศาลอาญา ณัฐชนน ไพโรจน์ จำเลยที่หนึ่งเข้าร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่รวมตัวอยู่ภายในรั้วศาลอาญาบริเวณที่จอดรถอัจฉริยะศาลอาญาและได้ใช้โทรโข่งปราศรัยกับผู้ชุมนุมเรียกร้องให้ศาลรับรองสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว ก่อนจะออกมาร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่นอกรั้วศาลในภายหลัง เบนจา อะปัญ จำเลยที่สองทำกิจกรรมอยู่ด้านนอกรั้วศาลและเป็นคนอ่านแถลงการณ์ “ราชอยุติธรรม” ส่วนสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำเลยที่สาม ที่เพิ่งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากการถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จากการร่วมชุมนุมและปราศรัยในคดีเดียวกับพริษฐ์ได้ไม่นาน ตามมาร่วมสมทบกับผู้ชุมนุมที่หน้าศาลอาญาหลังเริ่มชุมนุมไปแล้วพักใหญ่ๆ โดยสมยศขึ้นปราศรัยด้วยเครื่องเสียงที่อยู่ด้านนอกบริเวณศาล สำหรับข้อเรียกร้องหลักของกิจกรรมในวันเกิดเหตุคือการเรียกร้องสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวให้กับจำเลยคดีการเมืองที่ถูกคุมขัง วิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรมและให้กำลังใจกับญาติของผู้ต้องขังคดีทางการเมืองในเวลานั้น
 
7. ในเวลาต่อมา จำเลยทั้งสามคนในคดีนี้ทราบว่าตัวเองถูกออกหมายจับจากการร่วมชุมนุมในวันที่ 30 เมษายน จึงทยอยเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อแสดงตัว ณัฐชนนและเบนจาเข้าพบพนักงานสอบสวนสน.พหลโยธินในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ส่วนสมยศเข้าพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ทั้งสามให้การปฏิเสธในตลอดข้อกล่าวหา นอกจากคดีนี้แล้ว ณัฐชนนและเบนจายังถูกตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาลจากเหตุการณ์ในวันเดียวกันเพิ่มเติมด้วย โดยคดีละเมิดอำนาจศาลของณัฐชนน ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกสองเดือนก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะแก้โทษเป็นกักขัง 15 วัน ส่วนคดีละเมิดอำนาจศาลของเบนจา ศาลชั้นต้นลงโทษปรับ 500 บาท 
 
8. ในทางคดีจำเลยทั้งสามถูกแจ้งข้อกล่าวหาจากการร่วมชุมนุมในวันที่ 30 เมษายน 2564 รวม 5 ข้อกล่าวหา ได้แก่

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 ร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาศาลในการพิจารณาคดี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทําความผิดตามมาตรา 215 ให้เลิกไปแต่ผู้กระทําไม่เลิกมั่วสุม โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ มาตรา 4 ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ โทษปรับไม่เกิน 200 บาท

โดยความผิดฐานดูหมิ่นศาลซึ่งเป็นข้อกล่าวหาหลัก โจทย์กล่าวหาว่า จำเลยทั้งสามกล่าวปราศรัยด้วยถ้อยคำหยาบคาย ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อศาล โดยนำพยานที่อยู่ในเหตุการณ์มาให้ข้อเท็จจริงของวันเกิดเหตุและเรียกพยานผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยมาเบิกความวิเคราะห์คำปราศรัยว่าเข้าข่ายตามความผิดอย่างไร
 
9. ฝ่ายจำเลยนำสืบต่อสู้ โดยมีประเด็นหลักได้แก่ 

การปราศรัยของจำเลยเป็นไปเพื่อการวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการและองค์กรศาลโดยรวม ไม่ได้เจาะจงที่ผู้พิพากษาคนใดและมีเจตนาเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม 
กิจกรรมจัดเพื่อเรียกร้องสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ โดยผู้ต้องขังคดีทางการเมืองและคดีมาตรา 112 ในขณะนั้นยังไม่มีบุคคลใดต้องคำพิพากษาเป็นที่สุดว่ามีความผิด นอกจากนั้นกรณีของพริษฐ์ก็มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ
การรวมตัวกันทำกิจกรรมของประชาชนเป็นไปโดยสงบไม่ได้เกิดเหตุความวุ่นวายระหว่างการทำกิจกรรม
ไม่มีหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่สั่งให้ยุติการชุมนุม

10. ศาลอาญานัดจำเลยทั้งสามฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ในเวลา 9.00 น. ผู้ที่สนใจสามารถเดินทางมาที่ศาลอาญาในเวลาดังกล่าวเพื่อสังเกตการณ์และร่วมให้กำลังใจกับจำเลยทั้งสามได้ 
 
Article type: