1915 1420 1389 1076 1614 1943 1485 1877 1902 1846 1328 1426 1470 1688 1681 1863 1053 1813 1126 1426 1921 1131 1445 1815 1334 1770 1495 1309 1875 1942 1838 1150 1087 1333 1853 1954 1127 1178 1092 1920 1653 1089 1886 1113 1394 1314 1860 1123 1427 1161 1215 1052 1199 1916 1224 1719 1525 1024 1206 1170 1193 1833 1949 1000 1411 1656 1276 1969 1940 1768 1721 1040 1295 1656 1203 1101 1310 1450 1890 1635 1613 1928 1999 1365 1781 1101 1621 1747 1206 1418 1229 1806 1454 1799 1708 1644 1724 1210 1467 สหประชาชาติส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทย กรณีใช้สปายแวร์ “เพกาซัส” ต่อประชาชน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สหประชาชาติส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทย กรณีใช้สปายแวร์ “เพกาซัส” ต่อประชาชน

2860
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
การใช้งานสปายแวร์ “เพกาซัส” ในประเทศไทยไม่ได้เกิดขึ้นเพียงระหว่างปี 2563-2564 ปรากฏขึ้นหลังจากบริษัทแอปเปิล ออกคำเตือนไปยังผู้ใช้งานไอโฟน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 จนต่อมามีการสืบสวนสอบสวนพบว่า คนไทยอย่างน้อย 35 คน ถูกเจาะระบบ "ล้วงข้อมูล" ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนโดยอาวุธสงครามไซเบอร์จากอิสราเอลที่ผลิตขายให้กับรัฐบาลเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่ค้นพบในประเทศไทยนี้เป็นการเปิดเผยการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลครั้งใหม่ภายใต้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะที่หลายประเทศในโลกก็พบว่า รัฐบาลใช้งานอาวุธนี้ต่อประชาชน ทั้งนักข่าว นักการเมือง นักเคลื่อนไหว ในทำนองเดียวกัน
 
ในวันที่ 19 เมษายน 2566 รัฐบาลไทยยังได้รับจดหมายแสดงความกังวลและยื่นข้อเรียกร้องจาก “ผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ” (UN special rapporteur) เพื่อให้ประเทศไทย “คลี่คลาย” กรณีการใช้สปายแวร์คุกคามและล้วงข้อมูลประชาชนโดยเร็ว 
 
จดหมายแสดงความกังวลครั้งนี้ถูกเขียนโดยผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติถึงสี่คนด้วยกัน ประกอบไปด้วย 1) ผู้รายงานพิเศษเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น 2) ผู้รายงานพิเศษเรื่องเสรีภาพในการชุมนุมและรวมกลุ่มโดยสันติ 3) ผู้รายงานพิเศษเรื่องสถานการณ์การปกป้องสิทธิมนุษยชน และ 4) ผู้รายงานพิเศษเรื่องสิทธิในความเป็นส่วนตัว 
 
เนื่องจากผู้ตกเป็นเหยื่อขอสปายแวร์เพกาซัสส่วนใหญ่เป็นเยาวชนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองและร่วมการชุมนุมทางการเมือง รวมทั้งยังมีคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่จกเป็นเหยื่อด้วย การใช้เพกาซัสในประเทศไทยจึงเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิหลายมิติ จดหมายแสดงความกังวลฉบับดังกล่าวระบุว่าสหประชาชาติอาศัยข้อความตามประกาศของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (United Nations Human Rights Council) หรือ UNHRC ในการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำตามข้อเรียกร้องทั้งเจ็ดข้อ ดังต่อไปนี้:
 
ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกล่าวการใช้สปายแวร์เพกาซัสต่อประชาชนภายในประเทศ
 
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล เสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการรวมกลุ่ม ของบุคคลทั้ง 35 คนที่ตกเป็นเหยื่อของสปายแวร์เพกาซัส รวมถึงมาตรการปกป้องทุกคนในประเทศจากสปายแวร์ล้วงข้อมูลด้วยเช่นกัน
 
ให้ข้อมูลด้านกฎหมายตามความเป็นจริงเกี่ยวกับข้อกล่าวหาดังกล่าว ซึ่งหากข้อกล่าวหานั้นเป็นจริงก็ขอให้รัฐบาลไทยระบุเพิ่มเติมว่า การกระทำเช่นนี้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างไรบ้าง
 
ขอความกรุณาทำให้ขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนเป็นที่กระจ่างมากขึ้น รวมถึงให้ข้อมูลว่ารัฐบาลไทยวางแผนที่จะปกป้องเหยื่อของสปายแวร์ชนิดนี้จากการคุกคามสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจ โดยเฉพาะการคุกคามจากบริษัทผู้ผลิตเพกาซัสอย่าง NSO Group ตาม “หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจ” (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) อย่างไรบ้าง
 
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการรับเรื่องร้องทุกข์ของรัฐบาลไทยเมื่อมีการคุกคามสิทธิมนุษยชนจากกิจกรรมที่จัดโดยสันติ โดยเฉพาะกลไกการรับเรื่องร้องทุกข์ การเยียวยา และการชดเชยค่าเสียหาย ของกรณีการใช้สปายแวร์เพกาซัสต่อประชาชน
 
ให้ข้อมูลแผนการสนับสนุนนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลไทย ไม่ว่าจะเป็นนักเคลื่อนไหวผู้ทำงานแบบออฟไลน์หรือออนไลน์ ให้สามารถทำงานได้โดยปราศจากความหวาดกลัว การข่มขู่ หรือคุกคาม 
 
ให้ข้อมูลวิธีการป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของรัฐกลายเป็นผู้ละเมิดหลักการสิทธิมนุษยชนเสียเอง รวมถึงการให้รับประกันว่าพวกเขาก็ไม่ได้ถูกตรวจตราสอดส่องด้วยสปายแวร์ชนิดนี้เช่นกัน
 
ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติให้เวลารัฐบาลไทยในการตอบกลับอยู่ที่ 60 วัน นับจากวันที่ 19 เมษายน 2566 แต่เนื่องด้วยรัฐบาลไทยไม่ได้ตอบกลับตามจดหมายดังกล่าวจึงทำให้ UNHRC จึงเปิดเผยจดหมายข้อเรียกร้องฉบับนี้ลงบนเว็บไซต์ของ UNHRC โดยไม่ได้มีคำอธิบายจากรัฐบาลไทยประกอบด้วย  
 
ดูจดหมายของผู้รายงานพิเศษได้ทาง 
https://spcommreports.ohchr.org/TMResultsBase/DownLoadPublicCommunicationFile?gId=27942 )
Article type: