1847 1424 1039 1301 1791 1825 1535 1869 1604 1442 1427 1211 1045 1775 1036 1734 1652 1477 1230 1827 1158 1924 2000 1472 1522 1342 1217 1068 1208 1483 1529 1128 1373 1873 1384 1625 1351 1236 1342 1954 1622 1812 1849 1100 1723 1302 1800 1434 1036 1777 1006 1964 1951 1708 1908 1156 1957 1367 1849 1863 1052 1825 1595 1025 1565 1052 1203 1929 1216 1447 1297 1652 1571 1059 1487 1991 1087 1391 1073 1314 1218 1209 1384 1577 1774 1723 1626 1325 1394 1616 1308 1421 1422 1077 1228 1133 1759 1869 1481 112Alert พรุ่งนี้พิพากษา! จับตาศาลอุทธรณ์จังหวัดสมุทรปราการพิพากษา “วุฒิภัทร” คดีโพสต์ตั้งคำถามกรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

112Alert พรุ่งนี้พิพากษา! จับตาศาลอุทธรณ์จังหวัดสมุทรปราการพิพากษา “วุฒิภัทร” คดีโพสต์ตั้งคำถามกรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8

112Alert พรุ่งนี้พิพากษา! จับตาศาลอุทธรณ์จังหวัดสมุทรปราการพิพากษา “วุฒิภัทร” คดีโพสต์ตั้งคำถามกรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8
 
2821
 
1) “วุฒิภัทร” (นามสมมติ) เป็นพนักงานบริษัทวัย 28 ปี ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถูกศิวพันธุ์ มานิตย์กุล นักร้องมือฉมังประจำจังหวัดสมุทรปราการ ไปริเริ่มคดีข้อหามาตรา 112 และและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ไว้ที่ สภ.บางแก้ว โดยอัยการมีคำสั่งยื่นฟ้องไปเมื่อ 19 กรกฎาคม 2564
 
2) ศิวพันธุ์กล่าวหาว่า “วุฒิภัทร” เป็นผู้แสดงความคิดเห็นในกลุ่มเฟซบุ๊ก “รอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส” เมื่อ 2 มิถุนายน 2563 โดยมีเนื้อหาข้อความเกี่ยวกับกรณีการสรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 พร้อมทั้งตั้งคำถามต่อเหตุการณ์ที่สามจำเลยในคดีประทุษร้ายรัชกาลที่ 8 ถูกประหารชีวิตไปโดยไม่มีความผิด
 
3) ในการสืบพยานเมื่อ 1-2 มีนาคม 2565 “วุฒิภัทร” รับว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความ และในเนื้อหามีการกล่าวถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 จริง แต่ไม่เข้าองค์ประกอบความผิด เนื่องจากมาตรา 112 “คุ้มครองพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ครองราชย์อยู่เท่านั้น” ไม่ครอบคลุมถึงอดีตพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8 ก็ถือเป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณเกือบ 80 ปีที่แล้ว และไม่เกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน
 
4) 25 มีนาคม 2565 ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งให้ “ยกฟ้อง” ในข้อหามาตรา 112 โดยพิเคราะห์ว่า
 
แม้จำเลยจะโพสต์ข้อความพาดพิงในหลวงรัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับกรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 โดยใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้าย แต่เจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 คุ้มครองบุคคลเพียงเฉพาะ 4 ตำแหน่ง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ที่ยังคงครองราชย์หรือดำรงตำแหน่งอยู่เท่านั้น โดยช่วงเวลาที่จำเลยโพสต์ข้อความพาดพิงดังกล่าว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้สวรรคตตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 
 
5) ทว่า แม้จะไม่มีความผิดตามมาตรา 112 แต่ก็ศาลได้ลงโทษ “วุฒิภัทร” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) เนื่องจากเห็นว่าข้อความกระทบกระเทือนความรู้สึกของประชาชนทั่วไป ดังนี้
 
แม้ในกลุ่มเฟซบุ๊ก “รอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส” จะเป็นกลุ่มปิดสาธารณะ แต่ก็มีสมาชิกกลุ่มจำนวนกว่า 100,000 ราย จึงถือว่าเป็นประชาชนจำนวนหนึ่ง และถ้อยคำของจำเลยที่พาดพิงถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นถ้อยคำด่าทอ หยาบคาย ใส่ความ หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อคนทั่วไปอ่านแล้ว จะเข้าใจว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 เกี่ยวข้องกับการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 และให้จำเลยทั้งสาม ได้แก่ ชิต สิงหเสนี, บุศย์ ปัทมศริน และเฉลียว ปทุมรส ในคดีประทุษร้ายต่อในหลวงรัชกาลที่ 8 ถูกประหารชีวิตไปโดยไม่มีความผิด ดังนั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงมีเจตนาทำให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง และเสื่อมพระเกียรติ อีกทั้งกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนทั่วไปที่เข้ามาพบเห็น และก่อให้เกิดความแตกแยกเป็นฝักฝ่ายในสังคม
 
6) ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศาลจึงพิพากษาตัดสินโทษจำคุกหนึ่งปี โดยไม่รอลงอาญา (ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุกแปดเดือน) 
 
7) อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ทนายความของ “วุฒิภัทร” เปิดเผยว่า การที่ศาลพิพากษาลงโทษความผิดฐาน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) “นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” นั้น ไม่เป็นไปตามคำฟ้องของอัยการโจทก์ที่บรรยายฟ้องจำเลยตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ดังนั้น คำพิพากษาของศาลจึงเกินกว่าฟ้องของโจทก์ อาจขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 “ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง” 
 
อ่านคำพิพากษาทั้งหมดได้ที่ https://tlhr2014.com/archives/41895
 
8 ) ภายหลังอ่านคำพิพากษา ทนายความของ “วุฒิภัทร” จึงดำเนินการยื่นอุทธรณ์คดีในประเด็นดังกล่าวต่อไป
 
9) เวลาผ่านไปหนึ่งปีกว่า ศาลจังหวัดสมุทรปราการนัดฟังคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์ในวันพรุ่งนี้ 27 เมษายน 2566 เวลา 9.00 น.
 
10) ทั้งนี้ คดีของ “วุฒิภัทร” นับเป็นคดีที่สองที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องมาตรา 112 (สถิติระลอก 2563-2566) เนื่องจากเห็นว่ามาตรา 112 ไม่คุ้มครองอดีตกษัตริย์ เช่นเดียวกันกับคดีของจรัส นักศึกษาจากจังหวัดจันทบุรี ที่ศาลชั้นต้นจังหวัดจันทบุรีมีคำสั่งให้ยกฟ้องไปเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564 
 
อย่างไรก็ตาม ในนัดฟังคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2565 ศาลอุทธรณ์จังหวัดจันทบุรีก็ “กลับคำพิพากษา” ให้จรัสมีความผิดตามมาตรา 112 ลงโทษจำคุก 3 ปี (รอลงอาญา 2 ปี) โดยให้เหตุผลว่า 
 
การดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ กระทำโดยการสืบสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล ทำให้พระมหากษัตริย์จะสืบทอดทางสันตติวงศ์ทางสายพระโลหิตติดต่อกันมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งราชวงศ์จักรี ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ต้นราชวงศ์ ตลอดมาจนกระทั่งรัชกาลปัจจุบัน และคดีของเพชร ธนกร ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำพิพากษาว่า มาตรา 112 ไม่ได้คุ้มครองเฉพาะพระมหากษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง แต่คุ้มครองทั้งสถาบันฯ
Article type: