1696 1123 1123 1842 1107 1194 1738 1268 1174 1754 1131 1643 1093 1621 1228 1101 1668 1686 1780 1145 1250 1228 1755 1971 1481 1559 1659 1039 1206 1328 1336 1359 1655 1795 1572 1322 1280 1811 1045 1964 1506 1138 1724 1918 1838 1365 1676 1177 1769 1766 1914 1162 1637 1227 1754 1209 1713 1425 1525 1367 1588 1536 1457 1595 1687 1567 1448 1793 1702 1768 1210 1716 1325 1360 1483 1212 1461 1334 1463 1144 1289 1749 1440 1822 1562 1598 1567 1696 1455 1742 1785 1008 1703 1163 1272 1315 1018 1298 1606 RECAP112 : ชวนรู้จักคดีของบอส ฉัตรมงคล ผู้ถูกตั้งข้อหา ม.112 จากการคอมเมนท์บนเพจปกป้องสถาบันฯ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

RECAP112 : ชวนรู้จักคดีของบอส ฉัตรมงคล ผู้ถูกตั้งข้อหา ม.112 จากการคอมเมนท์บนเพจปกป้องสถาบันฯ

 
 
1) ภายหลังการเกิดขึ้นของม็อบราษฎร 2563 ที่มีการ “ปฏิรูปสถาบัน” เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้อง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่กำหนดโทษการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาดมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ฯก็ถูกรัฐบาลนำกลับมาใช้เพื่อดำเนินคดีกับประชาชน และไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐ สถานการณ์ดังกล่าวยังนำมาซึ่งปรากฏการณ์ “โต้กลับ” ทางกฎหมายของฝ่ายอนุรักษ์นิยมปกป้องสถาบันฯ ด้วย
 
2) ตามรายงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในจำนวนคดีมาตรา 112 ที่พุ่งสูงขึ้นเกิน 250 คดี (นับถึงวันที่ 27 มีนาคม 2566) มากกว่าครึ่งหนึ่งหรือ 120 คดีมีจุดเริ่มต้นมาจาก “ประชาชน” ทั่วไปที่ไปริเริ่มร้องทุกข์กล่าวโทษให้ตำรวจดำเนินคดีประชาชนด้วยกัน 
 
3) หนึ่งในนั้นคือกลุ่ม “ศรีสุริโยไท” ซึ่งนิยามตัวเองว่าเป็น “กลุ่มประชาชนอาสาปกป้องสถาบันกองร้อย – ‘ประชาชน’ รักษาพระองค์” พวกเขามักปรากฏตัวในชุดสีดำล้วน เสื้อดำแขนยาว ปักตราธงชาติและคำว่า “สุริโยไท” สีเหลือง พร้อมกับสวมหมวกและหน้ากากสีดำ โดยจากข้อมูลบนเพจเฟซบุ๊กที่ก่อตั้งมาตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2021 พวกเขามักเรียกตัวเองว่า “ชุดปฏิบัติการศรีสุริโยไท” และ “กลุ่มนักรบสุริโยไท”
 
4) นอกจากการสวมเครื่องแบบในลักษณะคล้ายคลึงกันและไปปรากฏตัวในพื้นที่ชุมนุมแล้ว ผลงานที่ผ่านมาของกลุ่มศรีสุริโยไทยังมีทั้งการร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มพสกนิกรปกป้องสถาบัน เข้ายื่นหนังสือต่อภาครัฐเพื่อสกัดกั้นกลุ่มกิจกรรมที่พวกเขาเชื่อว่าสนับสนุนข้อเรียกร้องเรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกับกระทรวงยุติธรรมเพื่อคัดค้านการย้ายตัว เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ และสิริชัย นาถึง จากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ออกไปรักษาตัวจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และการเรียกร้องให้กองทัพออกมาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นต้น
 
5) สำหรับผลงานการริเริ่มคดีนี้ของกลุ่มศรีสุริโยไท ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เวลาประมาณ 14.00 น. เพจศรีสุริโยไท ได้โพสต์ข้อความระบุว่า
“เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ หัวใจของเราคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สิ่งที่พวกเราต้องการที่สุดคือกำลังใจ ไม่มีแบ่งพรรค แบ่งพวก แบ่งสี”
 
6) เวลาผ่านไปสองชั่วโมง มีแอคเคาท์เฟซบุ๊กหนึ่งเข้ามาคอมเมนต์ข้อความในโพสต์ดังกล่าว โดยในคำบรรยายฟ้องที่ศูนย์ทนายฯ เผยแพร่ ระบุว่าข้อความดังกล่าวทําให้ประชาชนทั่วไปที่พบเห็นเข้าใจได้ว่า “พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 นั้นเป็นคนไม่ดี มักมากในกามารมณ์” 
 
7) เหตุการณ์นี้ทำให้ นัธทวัฒน์ ชลภักดี ผู้ก่อตั้งเพจศรีสุริโยไทเห็นว่า เนื้อหาที่แอคเคาท์ดังกล่าวคอมเมนท์เป็นการหมิ่นประมาทหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จึงตัดสินใจไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สภ.เมืองเชียงราย เพื่อให้ดำเนินคดี
 
8) จากนั้น หมายเรียกมาตรา 112 จาก สภ.เชียงรายก็เดินทางไกลมาหา ฉัตรมงคล วัลลีย์ หรือบอส อดีตนักกิจกรรมวัย 27 ปี ผู้เคยเข้าร่วมการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาธิปไตยศึกษาที่นำโดย จ่านิว - สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ในช่วงยุค คสช. และการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งในช่วงปี 2561 เนื่องจากแอคเคาท์ที่เข้าไปคอมเมนท์บนเพจ เป็นชื่อเดียวกันกับชื่อนาม-สกุลจริงของฉัตรมงคล
 
9) ในปัจจุบัน ฉัตรมงคลได้ลดการเคลื่อนไหวทางการเมืองลงเนื่องจากต้องหารายได้และดูแลครอบครัว โดยเขาทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยในย่านจังหวัดปทุมธานีมาเกือบๆหนึ่งปีแล้ว และเมื่อเกิดคดีนี้ ฉัตรมงคลก็ต้องเดินทางไป-กลับจากที่พักในกรุงเทพฯ เพื่อต่อสู้คดีที่จังหวัดเชียงรายตามนัดศาลมากกว่าสี่ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งก็มีค่าใช้จ่ายทั้งค่าการเดินทางและค่าที่พัก อีกทั้งยังต้องลางานอย่างน้อยสองวันสำหรับเดินทางอีกด้วย 
 
10) ในการสืบพยานระหว่างวันที่ 19-23 ธันวาคม 2565 ฝ่ายโจทก์นำสืบว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิด โดยมีหลักฐานเป็นเพียงการบันทึกภาพหน้าจอจากแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กในโทรศัพท์มือถือ ขณะที่พยานฝ่ายโจทก์อีกคนหนึ่งระบุว่า ได้นำชื่อเฟซบุ๊กของฉัตรมงคลไปค้นหาในทะเบียนราษฎร์ และพบว่าหน้าตาเหมือนกับรูปที่ใช้เป็นรูปโปรไฟล์เฟซบุ๊ก จึงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด
 
11) ด้านฉัตรมงคลเบิกความระบุว่า เขาไม่ได้เป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวตามที่อยู่ในภาพหลักฐาน แต่ใช้เฟซบุ๊กชื่อเดียวกันในอีกแอคเคาท์ซึ่งมีรูปโปรไฟล์ที่ต่างกัน นอกจากนั้นพยานฝ่ายจำเลยซึ่งประกอบอาชีพนักคอมพิวเตอร์ยังเบิกความชี้ว่า การบันทึกภาพหน้าจอจากโทรศัพท์มือถือมาเป็นหลักฐานนั้นมีความน่าเชื่อถือน้อย สามารถผ่านการตัดต่อได้ง่าย โดยการเก็บหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือ ควรต้องมี URLs เพื่อระบุแหล่งที่มาของเว็บไซต์ และนำไปตรวจสอบการมีอยู่จริงของหน้านั้นด้วย
 
ภายหลังการสืบพยานเสร็จสิ้น ศาลจังหวัดเชียงรายนัดฟังคำพิพากษาวันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 9.00 น.
 
12) คำพิพากษาสรุปได้ว่า พิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ ไม่มีพยานบุคคลและหลักฐานที่ยืนยันว่าจำเลยกระทำผิดจริง ส่วนที่โจทก์เชื่อว่าจำเลยกระทำผิด เมื่อพิจารณาการนำสืบชี้ให้เห็นว่า หน้าเฟซบุ๊กมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยง่ายโดยไม่ต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประกอบกับการตรวจสอบเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กก็กระทำได้โดยยาก ตามที่โจทก์ส่งไปตรวจสอบกับกระทรวงดีอีฯ แล้ว ก็ไม่สามารถยืนยันผู้ใช้งานได้ พยานหลักฐานโจทก์จึงยังฟังได้ไม่เพียงพอ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย พิพากษายกฟ้อง
 
13) ทั้งนี้ นอกจากคดีมาตรา 112 ของฉัตรมงคลแล้ว กลุ่มศรีสุริโยไทยังเคยริเริ่มคดีมาตรา 112 อย่างน้อยอีกหนึ่งคดี โดยมี กวิน ชาตะวนิช หัวหน้าชุดปฏิบัติการศรีสุริโยไท เป็นผู้ไปยื่นเรื่องกล่าวหา พัชรพล (สงวนนามสกุล) จากการแสดงความคิดเห็นในโพสต์ของเพจกรมประชาสัมพันธ์เรื่องลงนามถวายพระพร 
 
อ่านรายละเอียดคดีของฉัตรมงคล https://database.tlhr2014.com/public/case/1897/lawsuit/672/
 
Article type: