1435 1871 1301 1894 1655 1982 1332 1910 1408 1714 1789 1363 1877 1771 1044 1451 1455 1410 1698 1239 1389 1081 1465 1185 1601 1171 1548 1536 1913 1083 1770 1438 1857 1981 1153 1908 1441 1264 1980 1780 1347 1970 1484 1319 1813 1355 1937 1807 1642 1348 1008 1337 1244 1356 1050 1804 1086 1293 1279 1968 1015 1675 1115 1746 1269 1552 1349 1727 1491 1818 1219 1940 1395 1877 1846 1766 1167 1814 1923 1039 1653 1469 1481 1596 1280 1514 1035 1805 1688 1105 1526 1395 1312 1976 1768 1426 1607 1423 1092 ไอลอว์เปิดรายงาน "ปรสิตติดโทรศัพท์" การใช้เพกาซัสสปายแวร์ล้วงข้อมูลประชาชน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ไอลอว์เปิดรายงาน "ปรสิตติดโทรศัพท์" การใช้เพกาซัสสปายแวร์ล้วงข้อมูลประชาชน

2784
 
18 กรกฎาคม 2565 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ร่วมกับ ดิจิทัลรีช(DigitalReach) และเดอะซิตีเซนแล็บ (The Citizen Lab) ได้เผยแพร่รายงานข้อค้นพบการใช้ "สปายแวร์(Spyware)" หรือโปรแกรมโจรกรรมข้อมูลกับประชาชน ในชื่อ "ปรสิตติดโทรศัพท์: ปฏิบัติการสอดส่องผู้เห็นต่างด้วยสปายแวร์เพกาซัสในประเทศไทย"
 
ในรายงานข้อค้นพบการใช้เพกาซัสสปายแวร์ระบุว่า เพกาซัสนับได้ว่าเป็นอาวุธสอดแนมทางไซเบอร์ที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ซึ่งถูกพบแล้วว่าถูกเอามาใช้กับคนไทยที่เห็นต่างจากรัฐ โดยเหยื่อหลายคนได้รับการเตือนจากบริษัท แอปเปิ้ลในเดือนพฤศจิกายน 2564 ว่า โทรศัพท์ของพวกเขาอาจถูกเจาะโดยการโจมตีที่สนับสนุนโดยรัฐ 
 
ทั้งนี้ จากการสืบสวนค้นหาข้อเท็จจริงที่ยังคงไม่เสร็จสิ้นพบว่ามีคนที่ถูกเจาะโดยเพกาซัส 30 คน ระหว่างปี2563-2564 และคนส่วนใหญ่ที่ถูกเจาะมีบทบาทในการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์ ระหว่างปี 2563-2564
 
"จับตาคนเห็นต่าง-ตามหาผู้อยู่เบื้องหลัง" แรงจูงใจในการใช้เพกาซัสสปายแวร์
 
ในรายงานข้อค้นพบการใช้เพกาซัสสปายแวร์มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแรงจูงใจในการใช้สปายแวร์นี้ไว้อย่างน้อยสามประการ ได้แก่ หนึ่ง เพื่อสอดส่องกิจกรรมบนโลกออนไลน์ของผู้ชุมนุม สอง เพื่อติดตามสถานการณ์การประท้วง และสาม เพื่อหาข้อมูลเแหล่งที่มาของเงินของการประท้วง
 
โดยทั้งสามแรงจูงใจสะท้อนผ่านบุคคลที่ตกเป็นเป้าการใช้เพกาซัสดังต่อไปนี้
 
หนึ่ง อานนท์ นำภา ถูกเจาะโดยเพกาซัสห้าครั้ง คือ วันที่ 3 และ 15 ธันวาคม 2563, วันที่ 10 และ 14 กรกฎาคม 2564 และวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ขณะที่การเจาะสี่ครั้งแรกนั้นเชื่อว่า เป็นเพราะผู้โจมตีต้องการติดตามการชุมนุม การเจาะครั้งสุดท้ายมีความโดดเด่นต่างจากสี่ครั้งแรกเพราะเกิดขึ้นในระหว่างที่อานนท์ถูกคุมขังในเรือนจำ กาเจาะครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นขณะที่อานนท์ถูกคุมขังในเรือนจำอาจชี้ให้เห็นว่า ผู้โจมตีต้องการทราบว่า ใครอยู่เบื้องหลังบัญชีเฟซบุ๊กของเขาเนื่องจากเวลาดังกล่าวเฟซบุ๊กของอานนท์ยังคงมีความเคลื่อนไหว ข้อความบนเฟซบุ๊กที่โพสต์อย่างต่อเนื่อง คือ ข้อความฝากจากศาลและเรือนจำ รวมทั้งข้อความเรื่องการอัพเดทเงินที่ได้รับการบริจาคให้แก่นักโทษทางการเมือง และ  
 
สอง จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์  ถูกเจาะโทรศัพท์อย่างน้อยหกครั้งคือ วันที่ 21 และ 26 ตุลาคม 2563, วันที่ 15,20 กุมภาพันธ์ 2564, วันที่ 18 มีนาคม 2564 และวันที่ 6 กันยายน 2564 การเจาะครั้งแรกวันที่ 21 ตุลาคม 2563 เกิดขึ้นวันที่ผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลังเสร็จสิ้นการชุมนุมตำรวจเข้าจับกุมผู้จัด คือ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล มีข่าวทำนองว่า ตำรวจจะจับกุมตัวจุฑาทิพย์ตามหมายจับก่อนหน้าของเธอ เมื่อเธอทราบว่า มีหมายจับรออยู่ทำให้เธอตัดสินใจกลับที่พักในช่วงวันที่ 21-22 ตุลาคม 2563  ตามช่วงเวลาที่ถูกเจาะอาจสรุปได้ว่า ผู้โจมตีต้องการรู้ที่อยู่ของเธอและเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุม เป็นต้น
 
สาม อินทิรา เจริญปุระ ซึ่งเป็นที่รู้จักในทางสาธารณะว่าบริจาคเงินให้แก่การชุมนุม และเคยใช้สื่อสังคมออนไลน์โพสต์ข้อความเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมการชุมนุมและเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้ เช่นอาหาร, ไอศกรีม และห้องน้ำ
 
อินทิราถูกเจาะระบบรวมสามครั้งได้แก่ วันที่ 9 และ 26 เมษายน และวันที่ 4 มิถุนายน 2564 ในช่วงเวลาดังกล่าวเธอตกเป้าหมายที่อาจถูกตรวจสอบภาษีโดยเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร เธอมีฉายาในหมู่ผู้ชุมนุมว่า“แม่ยก” บทบาทของเธอในการชุมนุมเป็นคนที่อยู่เบื้องหลังไม่ใช่คนที่ออกหน้าหรือขึ้นเวทีปราศรัย วันที่ที่เธอถูกเจาะสอดคล้องกับสมาชิกของกลุ่ม The Mad Hatter ผู้ที่เคยบริจาคเงินและไม่เคยมีส่วนร่วมในการจัดการชุมนุม พวกเขาถูกเจาะระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม 2564 
 
ประชาชนจ่อฟ้อง! เรียกร้องทุกภาคส่วนช่วยกันเปิดโปงตรวจสอบ
 
ในงานเปิดตัวรายงานการใช้เพกาซัสสปายแวร์กับประชาชน มีการเชิญตัวแทนผู้ที่ตกเป็นเป้าของเพกาซัสมาร่วมเสวนาด้วย อาทิ สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ ผู้ก่อตั้งองค์กรเครือข่ายพลเมืองเน็ตโดยสฤณีเรียกร้องให้สภาเรียกเอกสารเพื่อหาหลักฐานว่าหน่วยงานใดที่นำสปายแวร์เพกาซัสมาใช้
 
ผู้ร่วมเสวนาอีกหนึ่งคน คือ รศ.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ.พวงทอง กล่าวสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวฟ้องร้องรัฐบาลไทยในเรื่องนี้ เพราะหลักของ NSO Group (ผู้ขายเพกาซัสสปายแวร์) คือขายสปายแวร์เพกาซัสให้กับรัฐเท่านั้น และต้องฟ้องร้องบริษัท NSO Group รวมถึงรัฐบาลอิสราเอลที่เป็นผู้รู้เห็น อนุมัติให้ขายได้ทั้งที่รู้ว่าสปายแวร์นี้เป็นอาวุธซึ่งจะถูกนำมาใช้กับประชาชนในประเทศ 
 
ด้าน ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการไอลอว์ กล่าวปิดท้ายงานว่า การใช้สปายแวร์สอดส่องประชาชนที่มีความเห็นต่างทางการเมือง เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ในฐานะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและในฐานะคนทำงาน อยากเรียกร้องให้ผู้ที่เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีออกมาช่วยกันทำงานสืบสวนสอบสวนเรื่องนี้ อยากเห็นการตรวจสอบงบประมาณ อยากเห็นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องช่วยกันตรวจสอบหาข้อเท็จจริงการใช้สปายแวร์เพกาซัส ทั้งนี้ยิ่งชีพทิ้งท้ายว่าการทำงานตรวจสอบสปายแวร์เพกาซัสคงยังไม่ได้จบแค่นี้ และเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้กันระยะยาว
 
 
 
Article type: