1651 1155 1958 1332 1639 1057 1712 1608 1344 1350 2000 1368 1629 1014 1881 1693 1575 1368 1992 1130 1034 1031 1979 1342 1587 1461 1939 1965 1712 1766 1606 1123 1306 1713 1191 1930 1030 1973 1600 1332 1007 1773 1623 1513 1716 1927 1737 1502 1541 1342 1058 1959 1232 1099 1246 1018 1225 1199 1529 1181 1992 1566 1157 1772 1283 1431 1385 1432 1321 1450 1963 1822 1261 1035 1734 1034 1325 1454 1669 1181 1338 1295 1002 1342 1257 1892 1261 1408 1735 1312 1660 1194 1948 1467 1873 1569 1260 1936 1591 ติ๊ก วิทยา กับการเดินทางไกลค้านเอเปคสู่การตามหาผู้กระทำความรุนแรงใน #ม็อบ18พฤศจิกา65 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ติ๊ก วิทยา กับการเดินทางไกลค้านเอเปคสู่การตามหาผู้กระทำความรุนแรงใน #ม็อบ18พฤศจิกา65

 
ติ๊ก-วิทยา ไชยคำหล้า จากคณะก่อการล้านนาใหม่เป็นหนึ่งใน 25 ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมระหว่างการชุมนุมคัดค้านการประชุมเอเปคเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 การชุมนุมดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นความร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายภาคประชาสังคมและนักกิจกรรมทั่วประเทศในนาม “ราษฎรหยุด APEC 2022” นอกจากคณะก่อการล้านนาใหม่แล้วมีองค์กรเคลื่อนไหว เช่น สมัชชาคนจน เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานและทะลุฟ้า รวมทั้งนักกิจกรรมอิสระเข้าร่วมการชุมนุมครั้งนี้ ข้อเรียกร้องหลักเป็นความเดือดร้อนที่เป็นผลสืบเนื่องจากข้อตกลงที่บรรลุระหว่างการประชุม และตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของผู้นำประชุมเอเปคอย่างพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
 
 
2738
 

เดินทางไกลจากเชียงใหม่เข้ากรุงชูข้อเรียกร้องค้านเอเปค 2022

 
ติ๊กเข้าร่วมชุมนุมทั้งในฐานะผู้ที่ทำกิจกรรมแสดงออกและการ์ดรักษาความปลอดภัย เขาสวมหน้ากากสีทองตลอดทำให้เขาโดดเด่นและเป็นที่สังเกตได้ง่าย การเดินทางของเขาเริ่มในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ช่วงเช้ามืดติ๊กและสมาชิกคณะก่อการล้านนาใหม่เดินทางจากเชียงใหม่ด้วยรถไฟเข้ากรุงเทพฯ ระหว่างทางแสดงออกเรื่อยมาแทบทุกสถานีที่รถไฟหยุด เช่น สถานีรถไฟเด่นชัย จังหวัดแพร่ การแสดงออกเป็นการชูป้ายผ้าและป้ายข้อความขนาดเล็กมีเนื้อหาวิจารณ์การประชุมเอเปคโดยเฉพาะเรื่องบีซีจี และตัวผู้นำรัฐบาลอย่างพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลางดึกพวกเขาเดินทางถึงสถานีหัวลำโพง เมื่อถึงสถานีหัวลำโพงมีการแสดงออกอีกครั้ง โดยติ๊กทำหน้าที่ตีกลองสะบัดชัยและไปเตรียมกิจกรรมต่อที่ลานคนเมือง 
 
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ผู้ชุมนุมออกไปทำกิจกรรมแสดงออกตามพื้นที่ต่างๆ เริ่มจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ระหว่งที่ผู้ชุมนุมแขวนป้ายผ้า ตำรวจวิ่งกรูเข้าใส่และยึดอุปกรณ์ไป ทำให้ผู้ชุมนุมต้องวิ่งหลบออกมาขึ้นรถกระบะ หลังจากนั้นเดินสายไปทำกิจกรรมตามบริษัทที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ส่วนตัวเขาไปทำกิจกรรมแสดงออกที่หน้าบริษัทเอสซีจี ซึ่งเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีแยกต่างหากที่สน.เตาปูน เป็นคดีที่มีโทษปรับอย่างพ.ร.บ.ความสะอาดฯ ช่วงค่ำคณะก่อการล้านนาใหม่และสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือทำกิจกรรมรำลึกสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ติ๊กเล่าว่า คณะก่อการล้านนาใหม่ทำกิจกรรมอ่านบทสาปแช่งล้านนาและบทกวี 
 
2743
 
วันถัดมาผู้ชุมนุมนัดหมายเคลื่อนขบวนจากลานคนเมืองไปที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ช่วงเช้าก่อนเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมทำกิจกรรมที่เสาชิงช้า  เขารับหน้าที่ตีกลองสะบัดชัยและอ่านกวี จากนั้นเมื่อเคลื่อนขบวนจึงเปลี่ยนหน้าที่เป็นการ์ดรักษาความปลอดภัย ลักษณะขบวนแถวหน้าสุดจะเป็นทีมแอคชั่น การติดป้ายเรียกร้องต่างๆ ตามด้วยการ์ดกลุ่มแรกสองแถว แถวละแปดคน ติ๊กอยู่แถวแรกยืนฝั่งขวาสุด หากหันหน้าเข้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
 
“เราจะคล้องแขนกันไม่แยกออกจากกัน จะเป็นแนวชัดเจนว่า เราเป็นแนวการ์ด วัยรุ่นหน่อย แต่ว่า เราไม่ได้มีการปะทะอะไร เราไม่ได้เตรียมการเรื่องปะทะเลย เป้าคือ จะไปแอคชั่น ไปยื่นหนังสือ คิดว่า ไม่รุนแรงขนาดนี้ เดินจบตรงไหนก็แอคชั่นตรงนั้นและก็จบ แต่แรกเลยตั้งขบวนหันไปอีกทางหนึ่ง ผมเข้าใจว่า จะเดินไปทางนั้น [ถนนบำรุงเมือง] เพราะวันที่ 17 ที่อนุสาวรีย์ฯ แตกกระเจิงกันขนาดนั้น...ผมรู้สึกว่า กองกำลังเขามันเยอะมากๆ แต่คุยกับเพื่อนๆ หลังเกิดเหตุว่า ความรุนแรงมันไม่ได้เกิดขึ้นจากเรา ถึงจะไปทางนั้น [ถนนบำรุงเมือง] เขาก็จะไปดักเราอยู่ดี ความรู้สึกส่วนตัวของผมช่วงหลังๆ มีความรุนแรงมากๆ รุกตีประชาชนจริงๆ จังๆ เลย”
 

เดินขบวนมุ่งหน้าศูนย์สิริกิติ์ แต่ถูกปราบหลังออกเดินไม่ถึงไหน

 
ติ๊กเล่าว่า ระหว่างผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปเจอแนวแรกมีตำรวจในชุดกากี “ยืนเงอะงะแล้วเขาหลบไป” ผ่านด่านแรกไปเจอด่านที่สองก่อนถึงตรอกศิลป์ มีแผงเหล็กผูกสลิงไว้ มีตำรวจชุดกากีวางกำลังไม่แน่นหนานักเพียงแนวเดียว “ตำรวจมีประกาศอยู่ แต่ฟังไม่ได้ศัพท์” จากนั้นมีผู้ล้มแนวแผงเหล็กลงและขบวนจึงเคลื่อนต่อไปที่หัวถนนดินสอ “เขาตั้งรถรอไว้แล้ว คือเขาก็รู้อยู่แล้ว เหมือนเขาเซ็ทมาแล้ว แนวแรกฝ่ามา แนวสองมึงฝ่ามาอีกแล้ว กูรอเอาจริงที่แนวที่สามนะ การละครอ่ะ มารอที่แนวสุดท้ายเลยดีกว่า ผมรู้สึกอย่างนั้น”
 
2742
 
เมื่อเดินมาจนถึงแนวหัวถนนดินสอ ตำรวจใช้รถกระบะเคลื่อนที่เร็วของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาลสามคันจอดขวางถนนดินสอเกือบทั้งหมดยังพอมีช่องให้ตำรวจเล็ดรอดเข้ามาได้ จากการสังเกตการณ์ประกอบภาพถ่ายพบว่า กำลังตำรวจช่วงนี้เป็นตำรวจจากกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ถือโล่ใส “มันมียื้อยุดกันทีแรกอยู่ก่อนแล้ว เขายั่วยุด้วย...ทำท่าทำทางแบบยั่ว” ลักษณะมีท่าทีที่ทำให้รู้สึกว่า เป็นฝ่ายตรงข้าม มวลชนอิสระอยู่ข้างหน้าสุดก็โกรธกัน จำไม่ได้ว่า มวลชนอิสระอยู่ตรงไหนบ้าง แต่ด้านซ้ายและขวามีนักข่าวเยอะ “จำได้ว่า นักข่าวเยอะผมยังบอกให้นักข่าวเขยิบออกจากรถตรงนั้นเดี๋ยวมันปะทะ ตอนนั้นตำรวจปะทะตั้งแต่ทีแรกแล้ว ตั้งแต่มาถึงแล้ว มียื้อยุดอยู่ ผมโดนกระบองฟาดหัวไปทีนึง ...”
 
“ชุดแรกที่ผมโดนตีหัวตำรวจไม่ใส่ผ้าพันคอ ตั้งแต่นั้นชุดนั้นก็ไปอยู่ข้างหลังและผ้าพันคอเขียวก็เข้ามา มีการชี้หน้าด้วย ชุดแรกทำหน้าแบบยั่วยุด้วย...มันตีนะ มันตีแบบจริงๆ จังๆ เลย มันเหมือนคนเสพยาอ่ะ มันยังไงไม่รู้ จากนั้นป้าเป้าก็โดนจับ ทีมเริ่มเขย่ารถ” 
 
หลังจากนั้นรถเครื่องเสียงเข้ามาด้านหน้าและบารมี [บารมี ชัยรัตน์ จากสมัชชาคนจน] กำลังปราศรัยอยู่ ติ๊กตั้งข้อสังเกตว่า “ตอนนั้นรู้สึกตึงพอสมควร มันมีการขว้างปากัน คือตำรวจมันขว้างขวดสปอนเซอร์มาฝั่งเรา เราขว้างไปหนึ่งอัน เขาขว้างมาห้าอัน ฝั่งผู้ชุมนุมเราเห็นมีขว้างขวดไปเราก็บอก อย่าปาๆ หลังจากนั้นตำรวจปากลับมาเป็นสปอนเซอร์ ช่วงนั้นคือมันยั่วยุกันมาก ซึ่งเรา [ผู้ชุมนุมโดยรวม] ไม่ได้มีท่าทีไปยั่วยุแบบนั้น”  ตอนนั้นติ๊กก็มีการช่วยดูแลความปลอดภัยคนบริเวณข้างหน้าแนว มีการบอกกับแอดมินนินจา เพจ Live Real ให้ถอยออกมาจากแนวเพราะกลัวเป็นลูกหลง ต่อมาผู้ชุมนุมใช้สลิงผูกกับเพลารถตำรวจ และดึงเพื่อเปิดแนว “พอดึงปุ๊บ ตำรวจก็แตกมาเลยเหมือนน้ำทะเลเข้ามา” ตอนนั้นเขาขยับมาฝั่งซ้าย เมื่อตำรวจเข้ามาเรื่อยๆ เขาจึงถอยหลังไป จังหวะที่ด้านหน้ามีเหตุชุลมุน เขาสังเกตเห็นเพื่อนผู้ชุมนุมอีกคนหนึ่งที่เดินทางมาจากทางภาคเหนือเหมือนกันกำลังถูกตำรวจดึงอยู่จึงวิ่งเข้าไปช่วย
 
“เขา [ตำรวจ] ก็ยกปืนใส่ผม ยกปืนใส่หน้าเลยนะ ปลายปืนระยะห่างจากศีรษะประมาณสามสี่เมตร และเขาก็ยิงแต่ไม่ออก ยิงใส่หน้าเลยแล้วดังแป๊ก ผมก็โบกมือเปล่าใส่และเขาก็ตกใจ ผมก็หลบ ตอนนั้นผมคิดว่า ผมโดนยิงแล้ว จากนั้นผมหลบไปทางมุมซ้าย...โล่ตำรวจกระแทกและล้มลง จากนั้นโดนลากเข้าไป” เขาเล่าว่า หลังเกิดเหตุเขามาไล่ย้อนดูภาพเหตุการณ์และเห็นว่า ตอนที่เขาโดนลากเข้าไปนั้นก็มีผู้ชายคนหนึ่งถือไม้ฟาดที่โล่ตำรวจ ติ๊กเข้าใจว่า น่าจะเข้าช่วยผู้ชุมนุมอีกคนอื่นๆ และตำรวจยิงกระสุนยางสวนออกมาเลย เหตุการณ์นั้นทำให้เขาถูกจับกุม แต่เพื่อนผู้ชุมนุมที่เขาเข้าไปช่วยสามารถหลุดออกมาจากแนวตำรวจได้ แต่กระเป๋าถูกกระชากเข้าไปในแนวตำรวจและไม่ได้อยู่ในรายการทรัพย์สินที่ตรวจยึดได้ จนถึงบัดนี้ยังไม่สามารถติดตามได้ 
 
“ตอนที่ผมล้มลง มันไกลมาก รถคุมขังมันไกล ผมโดนไม้กระบองไล่ฟาดมาสุดทางเลย รุมฟาด รุมต่อยหน้าผม แบบใส่เต็มที่เลย คือรอยตีน รอยคอมแบทเต็มหลังเลย พอเข้าไปในรถปุ๊บผมบอกทุกคนเลยว่า จุกมาก ตอนแรกนึกว่า ต้องมีอะไรแตกแน่ๆ เลยข้างในจุกมากจนอ้วก ในรถก็มีอยู่แล้วห้าคน พอตำรวจลากผมมาขึ้นรถ ในรถก็โวยวายเดือดเหมือนกัน ตำรวจชุดกากี ไม่ใช่ชุดคฝ.ก็กวนตีนมากเลย งั้นมึงก็ลงมาๆๆๆ ตำรวจ [ชุดกากี] อีกชุดหนึ่งก็ทะเลาะกันเองบอกว่า ไม่ได้ๆ ทำไม่ได้พี่ ผมก็ลุกแล้วผมจะลงด้วย คนที่เข้ามาห้ามบอกว่า ไม่ได้ ทำแบบนี้ไม่ได้ ประมาณว่า มายั้งเพื่อนว่า เหมือนมึงลืมตัวว่าไม่ได้ใส่ชุดตำรวจหรือเปล่า”
 
2741
 
“มันก็มีทั้งคนเบรกและคนใส่ไม่ยั้ง ส่วนใหญ่คนที่ตีจะเป็นพวกชุดคฝ. ชุดสีน้ำเงิน” จากนั้นตำรวจคุมตัวเขาและผู้ชุมนุมที่ถูกจับพร้อมกันไปที่สน.ทุ่งสองห้อง ก่อนเข้าห้องขังตำรวจจะยึดโทรศัพท์ไป เมื่อถูกจับกุมทำให้เขาไม่รู้สภาพข้างนอกเลย เห็นแต่ป้าที่ถูกจับมาพร้อมป้าเป้าที่หัวแตกเลือดไหล ป้าเล่าให้ฟังว่า ตอนที่ถูกคุมตัวบนรถคุมขัง ตำรวจขับกระชากและเบรก ป้าเขาเล่าว่า เป็นการแกล้ง มีหันมาหัวเราะด้วย สอดคล้องกับคำบอกเล่าของป้าเป้าที่ระบุไปในแนวทางเดียวกัน
 
ต่อมามีคนถูกจับกุมเข้ามาเรื่อยๆ ติ๊กมารู้ว่า สถานการณ์ด้านนอกแย่มากก็ตอนที่พยาบาลแหวนมาอัพเดทเรื่องพายุ บุญโสภณถูกยิง “ตอนนั้นได้แต่ภาวนาให้ถอย ขอให้ยุติตรงนั้น เพราะมันรุนแรงมาก ไม่คิดเลยว่า มันจะบานปลายมาขนาดนี้ คนเข้ามาเรื่อยๆ” ระหว่างนั้นตำรวจนำหมายจากสน.เตาปูนมาให้เขา เป็นเหตุจากการแอคชั่นที่หน้าเอสซีจีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 “ทีแรกจะเอามาให้ผมปั๊มมือ ผมขออ่านก่อนได้ไหม เป็นโทษปรับจะปรับเลยก็ได้แต่ผมปฏิเสธไว้ก่อน” ตำรวจพยายามจะถามเขาเพิ่มเติมเพื่อสืบสวนหาผู้ที่ร่วมทำกิจกรรมรายอื่นๆ ด้วยว่า คนนี้ใช่เพื่อนไหม แต่เขาไม่ทราบจึงไม่ได้ให้คำตอบไป หลังจากนั้นมีการส่งตัวเขา พร้อมกับพลาธิป จากสมัชชาคนจนที่ได้รับบาดเจ็บหนักไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลตำรวจ และปล่อยตัวในคืนนั้นเลยโดยเขาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
 

เดินทางต่อไปเพื่อเอาผิดผู้กระทำความรุนแรง

 
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 อานนท์ นำภาและนักกิจกรรมไปกล่าวโทษพ.ต.อ.ทศพล อำไพพิพัฒน์กุล ผู้กำกับการสน.สำราญราษฎร์กับพวก ในฐานะตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ให้ผู้อื่นกระทำความผิดและหรือเจ้าพนักงานตำรวจ หรือบุคคลอื่นทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเพื่อให้รับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 279 มาตรา 297 และในความผิดที่เกี่ยวข้อง โดยติ๊กเป็นหนึ่งในกรณีผู้ถูกกระทำความรุนแรงที่ถูกยกขึ้นอ้างในการกล่าวโทษครั้งนี้ด้วย
 
ติ๊กเล่าว่า วันดังกล่าวตำรวจรับเรื่องไว้ แต่ให้เขาไปตรวจร่างกายซ้ำอีกครั้งที่โรงพยาบาลกลาง เขาไม่เข้าใจว่า จะให้มีการตรวจซ้ำอีกครั้งทำไม เนื่องจากมีการตรวจแล้วที่โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อไปถึงโรงพยาบาลกลาง เจ้าหน้าที่แจ้งว่า แพทย์นิติเวชจะมาอีกครั้งในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งหากรอบาดแผลคงเริ่มจางไปแล้ว เขาจึงกลับไปที่สน.สำราญราษฎร์ ขอให้ตำรวจไปเรียกเอกสารการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลตำรวจ ต่อมาวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ติ๊กไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลตำรวจตามนัด และสอบถามแพทย์ดูว่า ประวัติมีรายละเอียดอะไรบ้าง จึงเห็นว่า มีประวัติ รายละเอียดการตรวจและรูปภาพบาดแผลครบหมดแล้ว
 
แม้จะเข้าร่วมการชุมนุมมาตั้งแต่ปี 2563 แต่เขาไม่เคยถูกดำเนินคดีเลย การชุมนุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เขาถูกดำเนินคดี และกลายเป็นบุคคลที่ฝ่ายความมั่นคงติดตาม ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ วันที่ 1 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจัดทำลิสต์ “ปรับทัศนคติ จว.เชียงใหม่” และไปคุกคามที่บ้านของเขาในจังหวัดเชียงใหม่ ติ๊กเล่าพฤติกรรมคุกคามของตำรวจว่า “ไปแคปภาพที่ผมแชร์มาจากเพจ กูKult เป็นรูปรัชกาลที่เก้ายืนกลางสนามบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แชร์มาเฉยๆ ไม่ได้เขียนข้อความอะไร ก็แคปมาเชิงคุกคามเลย มาตามถึงที่บ้านเลย แต่ว่า ไม่มีใครอยู่บ้าน ไม่เจอก็ไปหาที่ผู้ใหญ่บ้าน บอกผู้ใหญ่บ้านว่า ผมเนี่ยเข้าข่ายผิดมาตรา 112 และก็เอารูปเอกสารมาให้ดู ผู้ใหญ่บ้านก็บอกแม่”
 
Article type: