1916 1342 1755 1935 1930 1638 1772 1035 1496 1794 1648 1120 1885 1469 1551 1174 1503 1569 1304 1325 1356 1314 1373 1947 1622 1245 1462 1194 1382 1639 1540 1399 1329 1300 1471 1868 1588 1956 1531 1830 1643 1422 1441 1450 1279 1756 1902 1862 1123 1866 1787 1422 1916 1334 1280 1599 1239 1026 1638 1504 1565 1736 1415 1699 1758 1132 1297 1919 1933 1659 1417 1134 1279 1337 1637 1833 1100 1670 1165 1053 1932 1468 1741 1440 1639 1885 1357 1713 1180 1552 1891 1019 1954 1508 1056 1042 1747 1216 1897 พบนักกิจกรรม-เอ็นจีโอ 44 คน ได้รับการเตือนว่า อาจถูกโจมตีบัญชีเฟซบุ๊ก โดยรัฐบาลสนับสนุน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

พบนักกิจกรรม-เอ็นจีโอ 44 คน ได้รับการเตือนว่า อาจถูกโจมตีบัญชีเฟซบุ๊ก โดยรัฐบาลสนับสนุน

 

17 พฤศจิกายน 2565 ช่วงเช้ามืดตามเวลาของประเทศไทย นักกิจกรรมทางการเมือง ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน และผู้ลี้ภัยชาวไทยหลายคน ได้รับข้อความแจ้งเตือน (notification) จากบริษัท Meta ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ Facebook ว่า "ผู้โจมตีที่เชี่ยวชาญอาจสนใจบัญชี Facebook ของคุณอยู่"
 
และเมื่อกดดูรายละเอียดที่ "ศูนย์ช่วยเหลือ" หรือ Help Center ก็จะพบข้อความว่า "การแจ้งเตือนเกี่ยวกับผู้โจมตีที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลหรือผู้โจมตีที่เชี่ยวชาญ" หรือภาษาอังกฤษว่า Government-backed or sophisticated attacker alerts ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่า อาจมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยโดยรัฐบาลไทยเพื่อสอดแนม และล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของคนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งใหญ่อีกระลอกหนึ่ง โดยในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นจังหวะพอดีกับการจัดประชุมกรอบความร่วมมือทางในภูมิภาคเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค (APEC2022) ที่ผู้นำของหลายชาติเดินทางมาร่วมประชุมที่กรุงเทพมหานคร
 
เนื้อหาของข้อความที่เฟซบุ๊กแจ้งเตือนส่วนหนึ่ง ระบุว่า "หากเราแสดงการแจ้งเตือนนี้ให้คุณเห็น หมายความว่าเราเชื่อว่าผู้โจมตีที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลหรือผู้โจมตีที่เชี่ยวชาญอาจให้ความสนใจกับบัญชีของคุณอยู่"
 
"ทีมรักษาความปลอดภัยและระบบอัตโนมัติของเราทำหน้าที่ตรวจจับสัญญาณกิจกรรมที่เป็นอันตรายอย่างสม่ำเสมอ อาทิ การพยายามเข้าสู่ระบบที่น่าสงสัยและพฤติกรรมอื่นๆ ที่อาจส่งผลให้บัญชีของผู้ใช้ตกเป็นเป้าหมายของผู้โจมตีที่เชี่ยวชาญได้ แม้จะมีโอกาสที่จะเกิดการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดขึ้นได้แต่เราก็ต้องการแจ้งเตือนคุณถึงความเคลือบแคลงใจของเราเพื่อที่คุณจะสามารถดำเนินการตามขั้นตอนป้องกันเพื่อปกป้องบัญชีของคุณ"
 
"แม้เราจะไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดบุคคลบางคนจึงอาจตกเป็นเป้าหมายได้ แต่เราสังเกตุเห็นว่ามิจฉาชีพที่เชี่ยวชาญหรือได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลเหล่านี้จะมุ่งเป้าไปยังผู้คนต่างๆ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ของบุคคลนั้นมากยิ่งขึ้น และหลอกล่อให้บุคคลดังกล่าวละเมิดความปลอดภัยของอุปกรณ์และบัญชีออนไลน์ของตนเอง ซึ่งในหลายกรณีผู้โจมตีเหล่านี้จะมุ่งเป้าไปยังนักข่าว นักกิจกรรม หน้าที่ของรัฐ ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา นักวิชาการ รวมไปถึงองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร"
 
ในช่วงวันที่ได้รับการแจ้งเตือนจากเฟซบุ๊ก ไอลอว์ใช้เวลาสามวันเพื่อเก็บข้อมูลจากผู้ที่เล่าเรื่องนี้ต่อสาธารณะ และได้สอบถามไปยังคนที่ทำกิจกรรมทางการเมือง และทำงานในองค์กรภาคประชาสังคมจำนวนมาก โดยเฉพาะคนที่เตรียมเดินทางมาเข้าร่วมการชุมนุมระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2565 และพบว่ามีคนจำนวนมากที่ได้รับข้อความแจ้งเตือนลักษณะเดียวกัน จึงใช้วิธีการพูดคุยสอบถามต่อๆ กันไปเพื่อหาว่า มีคนจำนวนเท่าใด และเป็นใครบ้างที่ได้รับข้อความแจ้งเตือนลักษณะดังกล่าว
 
โดยผู้ที่ต้องการตรวจสอบว่าเฟซบุ๊กส่งข้อความลักษณะดังกล่าวมาให้หรือไม่ สามารถเปิดเข้าไปที่เมนู ในเฟซบุ๊ก และเลือกเมนูความช่วยเหลือและการสนับสนุน หรือ Help & Support และเลือกกล่องข้อความสนับสนุน หรือ Support Inbox เพื่อเข้าไปดูว่ามีการแต้งเตือนค้างอยู่หรือไม่ 
 
เมื่อได้สอบถามไปยังคนจำนวนมากแล้วก็พบว่า มีคนได้รับข้อความแจ้งเตือนลักษณะดังกล่าวมา อย่างน้อย 44 คน ซึ่งได้รับข้อความแจ้งเตือนในระยะเวลาใกล้เคียงกันตั้งแต่เวลาช่วงดึก หลังสี่ทุ่มของวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ต่อเข้าช่วงเช้ามืด จนถึงช่วงสายของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 จำนวนผู้ได้รับข้อความแจ้งเตือนนี้ เป็นจำนวนคนที่พบข้อความแจ้งเตือนและได้ติดต่อกับไอลอว์แล้วเท่านั้น น่าจะมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่ได้สำรวจข้อความแจ้งเตือนในเฟซบุ๊กของตัวเอง หรือได้รับข้อความดังกล่าวแล้วแต่ไม่ได้ติดต่อเพื่อให้ข้อมูลกับไอลอว์
 
 
2712
 
 
จากจำนวนคนอย่างน้อย 44 คน ที่ได้รับข้อความแจ้งเตือน เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างน้อย 13 คน เป็นคนทำงานในองค์กรภาคประชาสังคม (เอ็นจีโอ) อย่างน้อย 11 คน เป็นผู้ลี้ภัยท่ีอยู่ต่างประเทศ อย่างน้อย 5 คน เป็นประชาชนทั่วไปไม่ได้สังกัดกลุ่มองค์กรที่แสดงความเห็นทางการเมืองบนเฟซบุ๊กบ้างอย่างน้อย 6 คน และเป็นคนทำงานในองค์กรสื่อมวลชนอย่างน้อย 2 คน
 
ในจำนวนนี้ มีนักการเมืองหนึ่ง คน คือ สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส. พรรคก้าวไกล มีนักวิชาการหนึ่งคน คือ ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งทำงานด้านสิ่งแวดล้อมกับภาคประชาสังคมบ้าง แต่ไม่ได้เป็นผู้ออกหน้าเคลื่อนไหวทางการเมือง และยังมีทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนอีกอย่างน้อย 5 คน ที่ได้รับการแจ้งเตือน ซึ่งพวกเขาต่อสู้คดีทางการเมืองให้กับผู้ถูกกล่าวหาจำนวนมาก
 
ข้อสังเกตจากข้อมูลที่ได้รับ คือ มีคนทำงานในองค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมหลายคนที่ได้รับการแจ้งเตือนในครั้งนี้ ซึ่งทั้งหมดทำงานในประเด็นสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน แต่ไม่ได้เป็นคนที่ออกหน้าทำงานเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่ส่วนใหญ่ไม่เคยถูกเจ้าหน้าที่รัฐติดตามคุกคาม หรือสอดส่องพฤติกรรมมาก่อน
 
เมื่อสอบถามถึงพฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊กของทั้ง 44 คน มี 31 คนที่ตอบว่าแสดงความคิดเห็นทางการเมืองบนเฟซบุ๊กอย่างสม่ำเสมอ มี 10 คนที่ตอบว่าแสดงความคิดเห็นทางการเมืองบนเฟซบุ๊กอยู่บ้าง มี 2 คนที่ตอบว่าแสดงความคิดเห็นทางการเมืองบนเฟซบุ๊กแบบนานๆ ครั้ง และอีก 1 คนที่ตอบว่า แทบไม่เคยแสดงความคิดเห็นทางการเมืองบนเฟซบุ๊กเลย
 
 
 
 
Article type: