1247 1280 1940 1427 1698 1309 1992 1863 1694 1881 1715 1234 1218 1160 1212 1296 1708 1484 1535 1499 1834 1077 1127 1292 1596 1292 1352 1838 1790 1363 1911 1462 1235 1266 1858 1003 1573 1517 1020 1521 1983 1927 1340 1906 1763 1133 1928 1291 1541 1934 1323 1090 1017 1596 1416 1654 1932 1733 1344 1402 1908 1780 1130 1999 1629 1069 1870 1848 1767 1925 1561 1582 1158 1765 1953 1610 1703 1695 1461 1503 1626 1043 1733 1381 1335 1682 1884 1389 1578 1546 1321 1391 1546 1856 1780 1098 1932 1901 1032 RECAP 112 : ชวนรู้จักคดีทนายอานนท์ ปราศรัยม็อบแฮร์รี่ 1 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

RECAP 112 : ชวนรู้จักคดีทนายอานนท์ ปราศรัยม็อบแฮร์รี่ 1

(1) "อานนท์ นำภา" เริ่มเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมา ภายหลังการรัฐประหาร 2557 เขาเป็นหนึ่งในทีมทนายของ “ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน” และว่าความให้กับจำเลยคดีการเมืองหลังรัฐประหารหลายคดี เช่น คดีฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของ คสช. และคดีมาตรา 112 ของอำพล ตั้งนพกุล (อากง SMS)
 
(2) หลังจากนั้น อานนท์ก็ยังคงร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองพร้อมกับทำงานทนายความควบคู่กันไปอยู่ตลอด กระทั่ง 3 สิงหาคม 2563 เขาได้ขึ้นเวทีและปราศรัยในการชุมนุม “เสกคาถาผู้พิทักษ์ ปกป้องประชาธิปไตย” หรือรู้จักกันในชื่อ #ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์ จัดโดยกลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มมอกะเสด ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
 
(3) เนื้อหาการปราศรัยในวันดังกล่าว ประกอบไปด้วยการวิพากษ์ “สถาบันพระมหากษัตริย์” หลายประเด็น ทั้งมิติด้านงบประมาณ พระราชอำนาจ บทบาททางการเมือง การประทับในต่างประเทศ การจัดการทรัพย์สินและข้าราชการส่วนพระองค์ รวมถึงวิจารณ์บทบาทของ คสช. และองคาพยพที่มีส่วนทำให้สถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยู่เกินขอบเขตของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
 
(4) อานนท์ย้ำในการปราศรัยว่า “ต้องพูดถึงปัญหาพระราชอำนาจล้นเกินกว่าระบอบการปกครองอย่างตรงไปตรงมา” และเสนอวิธีแก้ไขปัญหาหลากหลายวิธี เช่น ให้รัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตยแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในกรณีพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ต่างประเทศ ให้ดึงทรัพย์สินสาธารณะสมบัติที่ถูกถ่ายโอนไปกลับมาเป็นสาธารณะสมบัติ หรือการกำหนดให้งบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องถูกตรวจสอบ เป็นต้น
 
(5) ช่วงเย็นของวันที่ 19 สิงหาคม 2563 ภายหลังทำหน้าที่ทนายความที่ศาลอาญา อานนท์ถูกจับกุมโดยมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาเฝ้ารอจับกุมตั้งแต่เช้า เมื่อแสดงหมายจับที่ออกโดยศาลอาญาแล้ว อานนท์ก็ถูกควบคุมตัวไปยัง สน.ชนะสงคราม และถูกแจ้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ, พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.ชุมนุมฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ โดยเขาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและได้รับการประกันตัวในชั้นศาลโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์
 
(6) อย่างไรก็ตาม ในเหตุการณ์ชุมนุมวันเดียวกัน มีผู้ต้องหาอีก 6 คนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาเดียวกับอานนท์ แต่ไม่มีข้อหายุยงปลุกปั่นตาม ม.116 ได้แก่ ชลธิชา แจ้งเร็ว, สุวรรณา ตาลเหล็ก, ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล, ชาติชาย แกดำ, ชูเวช เดชดิษฐรักษ์ และณรงค์ ดวงแก้ว ซึ่งอัยการพิจารณาแยกสำนวนออกเป็น 2 สำนวน โดยสำนวนของอานนท์ซึ่งมีข้อหายุยงปลุกปั่นตาม ม.116 ถูกฟ้องต่อศาลอาญา เนื่องจากเป็นข้อหาที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดเกิน 3 ปี ส่วนสำนวนของผู้ต้องหาที่เหลือถูกฟ้องต่อศาลแขวง
 
(7) 24 กุมภาพันธ์ 2564 พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม เข้าแจ้ง #มาตรา112 เพิ่มเติมกับอานนท์ขณะถูกคุมขังจากคดีอื่นอยู่ในเรือนจำ โดยบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาระบุว่า ได้มีหนังสือจากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 สำนักงานอัยการสูงสุด แจ้งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ตามมติของคณะทำงานฯ การบังคับใช้คดีหมิ่นฯ 112
 
(8) 2 มีนาคม 2564 ศูนย์ทนายฯ เผยแพร่คำให้การของอานนท์ที่ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาตาม ม.112 โดยเขาแบ่งประเด็นโต้แย้งข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวนเป็น 19 ประเด็น ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือการขอให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกพยานเอกสารสำนวนคดีระหว่างกระทรวงการคลังกับในหลวงรัชกาลที่ 7, เอกสารสำเนาโฉนดและสารบบที่ดินทั้งหมดของวังสุโขทัย และขอให้ ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงค์, ณัฐพล ใจจริง มาเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
 
(9) 14 กรกฎาคม 2564 อัยการมีคำสั่งฟ้องคดี โดยเป็นการสั่งฟ้องคดีแบบไม่มีตัวผู้ต้องหา เนื่องจากอานนท์ยังคงถูกคุมขังอย่างต่อเนื่องจากคดีอื่น
 
(10) ปัจจุบัน คดีนี้อยู่ระหว่างการสืบพยานโจกท์ โดยที่อานนท์ยังคงรอหมายเรียกพยานเอกสารสำคัญ ได้แก่ เอกสารการเดินทางเข้าออกประเทศของในหลวงรัชกาลที่ 10, คำพิพากษาศาลแพ่งสั่งยึดวังสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ 7, เอกสารการใช้เงินของสถาบันกษัตริย์และการโอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ เพื่อใช้ประกอบการถามค้านพยานโจกท์ ซึ่งศาลไม่ยอมอนุมัติให้ อีกทั้งยังมีคำสั่งให้อัยการโจกท์นำสืบพยานโจกท์ไปก่อน เมื่อได้รับพยานเอกสารแล้วจึงค่อยให้ทนายจำเลยถามค้านทีหลัง
 
อ่านรายละเอียด คดีมาตรา 112 #ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์ ของอานนท์ 
Article type: