1434 1498 1073 1029 1206 1178 1556 1129 1913 1220 1395 1955 1621 1576 1947 1554 1120 1067 1128 1783 1783 1259 1479 1889 1580 1807 1180 1821 1910 1139 1343 1236 1745 1656 1401 1208 1401 1524 1856 1272 1520 1411 1840 1503 1627 1605 1335 1434 1146 1954 1529 1732 1630 1810 1667 1921 1160 1889 1563 1749 1032 1160 1196 1447 1684 1890 1563 1142 1877 1678 1034 1731 1931 1195 1010 1683 1299 1410 1437 1838 1259 1333 1347 1013 1429 1767 1289 1659 1116 1712 1800 1169 1237 1594 1438 1795 1157 1518 1605 10 ข้อ สนับสนุน #ยกเลิก112 ทุกคนช่วยกันทำได้ทุกวัน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

10 ข้อ สนับสนุน #ยกเลิก112 ทุกคนช่วยกันทำได้ทุกวัน

โกรธมาก! ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ไม่ได้ประกันตัวระหว่างสู้คดี
สิ้นหวังสุดๆ อ่านข่าวคำพิพากษาคดีมาตรา 112 แล้วไม่ยุติธรรมเลย
เศร้าจัง คนถูกฟ้องด้วยมาตรา 112 พุ่งสูงเกิน 200 คนแล้ว

 

ในสถานการณ์แบบนี้ คนทั่วไปอย่างฉัน ทำอะไรได้บ้างนะ?

 

ท่ามกลางบรรยากาศความน่ากลัวของการบังคับกฎหมายที่มีขอบเขตไม่ชัดเจน จำนวนคดีที่เพิ่มขึ้นแทบจะทุกวันและดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด ตลอดจนคำพิพากษาให้จำคุกที่ทยอยออกมาเรื่อยๆ ก่อนที่สังคมจะดำดิ่งไปสู่ความจำนนต่อสถานการณ์ ไอลอว์ชวนดูทางเลือก 10 ข้อ อยากสนับสนุน #ยกเลิก112 ทำอะไรได้บ้าง?

 

1.ลงชื่อ #ยกเลิก 112 ออนไลน์ หรือเดินไปลงชื่อที่บูธตามงานกิจกรรม

2575

 

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาไวสุดๆ ไม่เกิน 3 นาทีเท่านั้น!! เพียงแค่เข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.nomore112.org กรอกข้อมูลส่วนตัว แล้วเซ็นลายมือชื่อจากหน้าจอโทรศัพท์ได้เลย

 

แคมเปญการล่ารายชื่อนี้เกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่ชื่อว่า “คณะราษฎรยกเลิก 112” (ครย. 112) เปิดให้ลงชื่อครั้งแรกเมื่อ 31 ตุลาคม 2564 ที่สี่แยกราชประสงค์ โดยพวกเขาใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 133 ที่เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการรวบรวมรายชื่อขั้นต่ำ 10,000 ชื่อ แล้วนำรายชื่อเหล่านั้นไปยื่นให้รัฐสภาพิจารณา

 

การยกเลิกมาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญา ต้องเสนอเป็น “ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา” ซึ่งข้อเสนอในครั้งนี้ก็เป็นข้อเสนอสั้นๆ ไม่ซับซ้อน มีประเด็นเดียวคือให้ “ยกเลิกมาตรา 112” มาตราเดียวออกจากประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้

 

หากร่างกฎหมายนี้ผ่านการพิจารณาของสภาจนกระทั่งประกาศใช้ ก็จะมีผลทำให้การดำเนินคดีภายใต้มาตรา 112 ทั้งหมดที่มีอยู่ สิ้นสุดลง!!

 

o ถ้าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ก็จะต้องจำหน่ายคดีออก

o ถ้าจำเลยไม่ได้ประกันตัว ก็จะได้รับการปล่อยตัวทันที

และถ้าศาลมีคำพิพากษาไปแล้วว่าให้มีความผิด ก็จะเท่ากับเป็นการล้างมลทินของผู้ต้องโทษเหล่านั้นด้วย

 

ส่วนการคุ้มครองชื่อเสียงของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็จะยังมีกฎหมายอื่นคุ้มครองอยู่เช่น มาตรา 326 328 และ 393 ที่เป็นกฎหมายใช้คุ้มครองชื่อเสียงของบุคคลธรรมดา-เป็นความผิดต่อส่วนตัว และมีข้อยกเว้นสำหรับการวิจารณ์โดยสุจริต

 

สำหรับใครที่ยังไม่ได้ลงชื่อ กดคลิก https://www.nomore112.org เข้าไปลงชื่อกันได้เลย หรือใครสะดวกไปเจอทีมตั้งโต๊ะล่ารายชื่อในม็อบหรืองานกิจกรรมออนไซต์ต่างๆ ก็เดินเข้าไปลงชื่อกันได้เลยนะ อย่าลืมชวนเพื่อน ชวนแฟน คนคุย พี่น้อง ลุงป้าน้าอา มาลงชื่อกันเยอะๆ ล่ะ

 

2.เป็นอาสาสมัครตั้งโต๊ะจุดรับรายชื่อ

2576

 

อึดอัดใจจัง ลงชื่อได้แค่ครั้งเดียว พ่อแม่เอย แฟนเอย ก็ชวนกันมาลงหมดบ้านแล้ว ทำยังไงดี? ไม่ต้องกังวลไปนะ ลองนัดแนะกับกลุ่มเพื่อนออกไป “ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อ” กันเองซะเลยสิ

 

เตรียมโต๊ะ เต็นท์ ปากกา ไปตั้งบูธในชุมชน หรือจะใช้แค่กระดานรองเขียนกับปากกาแท่งเดียวแล้วออกไปจับกลุ่มกันยืนตามพื้นที่ที่คนสัญจรไปมาก็ได้ ทั้งตลาดใกล้บ้าน รถไฟฟ้า หน้าโรงเรียน หรือตามม็อบและเวทีปราศรัย รอบนี้ไม่ต้องคอยถ่ายเอกสารสำเนาบัตรประชาชนของผู้ลงชื่อแล้วด้วย สะดวกสุดๆ

 

ตอนนี้รายชื่อบนเว็บไซต์มีประมาณ 230,000 คนเท่านั้น เรายังต้องการรายชื่อมากกว่านี้เพื่อแสดงพลังว่า “กฎหมายที่ไม่ยุติธรรมต้องถูกเปลี่ยนแปลง” และหน้าที่ในการตามหารายชื่อผู้เห็นด้วยเพิ่มก็ไม่ใช่ของใคร แต่เป็นของพวกเราทุกคน :D

 

สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มเพื่อจัดพิมพ์และดูคู่มืออาสาสมัครได้ที่ https://ilaw.or.th/node/6000

 

หรือถ้าใครอยากได้โบชัวร์ข้อมูลรณรงค์ #ยกเลิก112 เท่ๆ ไปแจกระหว่างล่ารายชื่อด้วย สามารถทัก inbox เพจไอลอว์มาได้เลยนะ เราจะส่งให้ถึงมือท่านโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

 

3.เขียนจดหมายถึงเพื่อนในเรือนจำ 

2577

 

รู้ไหม ตอนนี้มีผู้ต้องขังทางการเมืองในคดีมาตรา 112 และคดีอื่นๆ จำนวนหลายคนที่ไม่มีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารหรือความเป็นไปจากโลกภายนอกเลย แถมช่วงเวลาที่ทนายจะเข้าเยี่ยมได้ก็มีน้อยนิดเหลือเกิน ไม่มากพอจะเล่าอะไรให้ฟังได้มากมาย

 

ลองนึกภาพว่าเรานั่งอยู่ในห้องแคบๆ แล้วมีคนเขียนจดหมายมาเล่าเรื่องนั้นเรื่องนี้ให้ฟังทุกๆ วันสิ โลกเหงาๆ ก็คงจะมีสีสันขึ้นมาไม่มากก็น้อยเลยใช่ไหม

 

โดยเรือนจำก็เปิดช่องทางให้สามารถ “ส่งจดหมาย” เข้าไปหาคนข้างในได้ เราจึงอยากเชิญชวนทุกคนมาจับปากกาส่งสารไปถึงเพื่อนๆ กัน :D

 

วิธีการก็ไม่ยากเลย เขียนจดหมายใส่กระดาษ เอาใส่ซอง จ่าหน้าชื่อผู้รับ+ที่อยู่ของเรือนจำนั้นๆ ติดแสตมป์แล้วนำไปส่งไปรษณีย์ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว อ้อ แต่อย่าลืมว่าต้องส่งผ่านขนส่งไปรษณีย์ไทยเท่านั้นนะ!

 

๐ เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ที่อยู่ เลขที่ 33 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 (ผู้ชายจะอยู่ที่นี่)

๐ ทัณฑสถานหญิงกลาง ที่อยู่ เลขที่ 33/3 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 (ผู้หญิงจะอยู่ที่นี่)

๐ เรือนจำ มทบ.11 (ตึกดิน) ที่อยู่ ตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมืองนครปฐม นครปฐม 73000 (สำหรับกรณีที่ตัดสินภายใต้ศาลทหารกรุงเทพ)

๐ เรือนจำอำเภอธัญบุรี ที่อยู่ เลขที่ 78 หมู่ 4 ตำบล รังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 (สำหรับคนที่มีโทษกักขัง-กักบริเวณ จากคดีละเมิดอำนาจศาล)

 

นอกจากจะช่วยอัพเดทข่าวสารแล้ว จำเลยที่เคยอยู่ในเรือนจำหลายคนก็เล่าเป็นเสียงเดียวกันว่า ตอนที่อยู่ข้างใน จดหมายทุกฉบับจะเปรียบเสมือนของขวัญล้ำค่าที่พวกเขาเก็บสะสมแล้วนำมาอ่านซ้ำๆ เพื่อเป็นกำลังใจในการใช้ชีวิต หรือถ้าใครเขียนไม่เก่ง จะปรินท์รูป ส่งโปสการ์ด ไปให้แทนก็ได้นะ

 

สำคัญ **จดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งเข้าไป จะถูกเจ้าหน้าที่อ่านเนื้อหาก่อนทุกบรรทัด เพื่อตรวจสอบว่าจะไม่มีการนัดแนะส่งสิ่งของผิดกฎหมาย หรือนัดแนะในการช่วยเหลือผู้ต้องขังให้หลบหนี**

 

4.ไปสังเกตการณ์ศาล ให้กำลังใจจำเลย 

2578

 

เมื่อจำเลยไม่ได้รับการประกันตัว การจะได้พบหน้ากันอีกครั้งก็เป็นเรื่องยากมาก สถานที่เดียวที่พวกเขาจะได้พบเจอหน้ากับครอบครัว คนรัก หรือเพื่อนได้โดยไม่มีลูกกรงกีดขวางคือที่ “ศาล” หรือในห้องพิจารณาคดี โดยในบางนัด เช่น นัดตรวจพยานหลักฐาน นัดสืบพยาน หรือนัดไต่สวนคำร้องต่างๆ จำเลยอาจจะถูกเบิกตัวมาในห้องพิจารณาคดีด้วย

 

ที่ศาลอาญา ระหว่างพักการไต่สวน เช่น เวลาพักเที่ยง จำเลยจะถูกพาตัวลงมาที่ “ใต้ถุนศาล” ซึ่งเราสามารถยืนคุยกับจำเลยผ่านโทรศัพท์ได้ (ตอนยืนคุยก็จะเห็นหน้ากันเล็กน้อยผ่านลูกกรงหนาๆ) นอกจากนี้เรายังสามารถสั่งข้าว ขนม น้ำ กาแฟ ให้จำเลยที่นั่งรออยู่ข้างในห้องได้ด้วย แต่ได้เฉพาะร้านค้าสวัสดิการหน้าทางเข้าห้องขังเท่านั้นนะ ซื้อจากที่อื่นให้ไม่ได้

 

ส่วนวิธีการก็ไม่ยาก พอจ่ายเงินเลือกเมนูแล้ว ทางร้านก็จะให้กระดาษเล็กๆ เอาไว้ให้เราเขียนหมายเลขห้องกับชื่อจำเลย จากนั้นก็จะมีเจ้าหน้าที่นำอาหารไปให้ถึงในห้องเลย ส่วนพิกัดของใต้ถุนศาลก็หาไม่ยาก จะเดินอ้อมตึกแล้ว เลียบกำแพงมาด้านหลังอาคารศาลอาญา หรือลงบันไดจากชั้นหนึ่งของตึกผ่านเครื่องสแกนก็ได้ (เลี้ยวซ้ายจะเป็นฝั่งของจำเลยผู้ชาย ส่วนขวามือจะเป็นฝั่งของผู้หญิง)  

 

หรือจริงๆ ไม่ต้องรอให้มีคำพิพากษาไปแล้วก็ได้นะ ถ้าจำเลยได้ประกันตัวระหว่างสู้คดี เราไปมอบหลังบวกให้พวกเขาตัวเป็นๆ กันได้เลย นอกจากเป็นกำลังใจแล้ว ก็ยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสังเกตการณ์การพิจารณาคดีหน้าบันลังก์ด้วย

 

ถ้าพร้อมแล้วก็เช็คเวลา ห้องพิจารณาคดี และสถานที่ให้ดีๆ ระวังจะสับสนระหว่างศาลอาญารัชดา-ศาลอาญากรุงเทพใต้ แล้วไปผิดที่กันนะจ๊ะ

 

o ดูตารางนัดหมายคดี https://freedom.ilaw.or.th/112schedule

 

5.สมทบทุนเงินประกันตัว

2585

 

นับตั้งแต่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นำมาตรา 112 กลับมาดำเนินคดีกับผู้เห็นต่างทางการเมืองเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2563 ภายหลังกระแสการชุมนุมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ปะทุเดือดขึ้น จนถึงปัจจุบัน (13 กันยายน 2565) มีผู้ถูกฟ้องร้องด้วยมาตราดังกล่าวจำนวนรวม 215 คน จากทั้งหมด 234 คดี ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนับว่าสูงที่สุดแล้วในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ไม่เคยมียุคไหนมากขนาดนี้มาก่อน!

 

เมื่อถูกฟ้องร้อง ก็คงจะพอเดากันได้ใช่ไหมว่าราคาที่ต้องจ่ายในการต่อสู้ภายใต้กระบวนการยุติธรรมนั้นต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล ทั้งการวางเงินเป็น “หลักประกัน” เพื่อให้ได้ประกันตัวระหว่างสู้คดี “ค่าเดินทาง” เพื่อมานัดศาลในแต่ละครั้ง บางคนถูกฟ้องทางไกลและต้องเดินทางมาไปต่างจังหวัดเป็นระยะทางร้อยๆ กิโลในทุกๆ เดือน  นอกจากนี้ ยังมี “ค่าปรับ” ในกรณีที่ศาลตัดสินลงโทษปรับ รวมทั้ง “ค่าใช้จ่ายในเรือนจำ” สำหรับกรณีที่ไม่ได้ประกันอีกด้วย

 

แต่ในปัจจุบัน มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งคอยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยให้ความช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายในการสู้คดีของนักโทษทางการเมืองอยู่ ไอลอว์รวบรวมบัญชีขององค์กรสำคัญๆ ไว้ดังนี้

 

o กองทุนราษฎรประสงค์ (สนับสนุนเงินประกันตัว)

ชื่อบัญชี กองทุนราษฎรประสงค์โดยมูลนิธิสิทธิอิสรา ธนาคารกสิกรไทย เลขบัญชี  125-8-64752-8   

โดยสามารถเข้าไปดูความเคลื่อนไหวการเบิกจ่ายเงินได้ที่ https://www.facebook.com/willofthepeoplefund

 

o กองทุน ดา ตอร์ปิโด (สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสู้คดี เช่น ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในเรือนจำ)

ชื่อบัญชี น.ส.อัจฉรา รักยุติธรรม และ น.ส. มุทิตา เชื้อชั่ง ธนาคารกสิกรไทย เลขบัญชี 093-8-92403-1 

โดยสามารถเข้าไปดูความเคลื่อนไหวการเบิกจ่ายเงินได้ที่ https://www.facebook.com/FOTOofSilence

 

o ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย)

ชื่อบัญชี มูลนิธิสิทธิเพื่อความยุติธรรม เลขบัญชี 800-9-54209-4 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

และสามารถติดตามอัพเดทข้อมูลคดีรายวันได้ที่ https://tlhr2014.com

 

ปล.ไม่จำเป็นว่าต้องโอนเป็นเงินจำนวนมากเท่านั้น จะหลักหน่วยหลักสิบก็ได้หมดเลย หรือใครอยากโอนเป็นตัวเลขเท่ๆ เช่น 112.12 ก็ได้นะ

 

6.อุดหนุนและแจกจ่ายสินค้ารณรงค์

2580

 

สำหรับใครที่เป็นสายช็อปปิ้ง การอุดหนุนสินค้ารณรงค์เพื่อประชาธิปไตยตามม็อบหรือหน้าเพจของกลุ่มกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสนับสนุนที่สำคัญ เพราะการใช้สินค้าที่ปรากฏข้อความ #ยกเลิก112 หรือข้อเรียกร้องอื่นๆ ทางการเมืองในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้ถ้อยคำเหล่านั้นไปปรากฏต่อสายตาของผู้คน เพื่อสร้างการรับรู้ต่อสาธารณะให้เพิ่มมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการสื่อสารทางอ้อม แต่ถ้าใครอยากสื่อสารแบบตรงๆ ก็ซื้อไปยื่นให้กับมือเล้ยย

 

สำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าจะซื้ออะไร ไอลอว์มีสินค้ารณรงค์ในแคมเปญ #ยกเลิก112 มาแนะนำจำนวน 5 รายการด้วยกัน

 

(1) หนังสือ INTRODUCTION TO NO.112

หนังสือที่จะชวนทุกคนร่วมสำรวจรากฐานของมาตรา 112 ผ่าน 12 คำถามพื้นฐาน พร้อมกับคำอธิบายง่ายๆ ประกอบข้อเท็จจริง สถิติ บทสัมภาษณ์ที่ไอลอว์ได้บันทึกและเรียบเรียงมาตลอดกว่า 10 ปี รับรองว่าอ่านง่ายไม่งง จะซื้ออ่านเองก็ได้ หรือนำไปแจกจ่ายต่อก็ดี

 

(2) ห้องเช่าหมายเลข 112

รวมเรื่องเล่าของคนธรรมดาๆ ที่ชีวิตต้องพลิกผันเพราะถูกฟ้องร้องด้วยมาตรา 112 ตั้งแต่ช่วงหลังปี 2550 มาจนถึงช่วงการรัฐประหารโดยคสช. (2557 - 2558) เก็บหอมรอมริบมาจากการติดตามเฝ้าสังเกตการณ์ทั้งที่ศาลและเรือนจำ ผสมเข้ากับข้อมูลคดีมาประกอบกันเป็นเรื่องราว เรียบเรียงโดยทีมงานไอลอว์ และอาสาสมัครเยี่ยมนักโทษทางการเมือง เล่มนี้เคยขาดตลาดไปเมื่อหลายปีก่อน แต่ตอนนี้เราทำฉบับปรับปรุงมาขายใหม่อีกครั้งแล้วนะ  

 

(3) เสื้อ Free Speech for All

เสื้อยืดรณรงค์เท่ๆ สีขาว สกรีนคำว่า Free Speech for All (เสรีภาพในการพูดเป็นของมนุษย์ทุกคน) พร้อมด้วยข้อความ NO112 ตัวน้อยๆ บนอก เหมือนชวนให้คนบนรถไฟฟ้าที่เผลออ่าน text บนเสื้อ ให้มา #ยกเลิก112 แบบกระซิบๆ  

 

(4-5) สติกเกอร์ SET รักแบบมีเหตุผล และ SET NO112

สติกเกอร์ลายเส้นน่ารักจากมือกราฟิกของไอลอว์ ที่สุดของการรณรงค์แบบคิ้วท์ๆ หน้าตาไม่ดุดันชวนให้คนทั่วไปเปิดใจฟังข้อเสนอ นำไปแปะที่ไหนก็ได้ ยิ่งแปะเยอะยิ่งดี ถ้าซื้อไปฝากใครแล้วก็ชวนคนนั้นมา #ยกเลิก112 ด้วยกันนะ

 

เลือกดูสินค้าของ iLaw Online Store ทั้งหมดได้ที่ https://ilaw.or.th/node/6096

 

7.สร้างบทสนทนาเรื่อง #ยกเลิก112 ต่อคนรอบข้าง

2581

 

การยกเลิกมาตรา 112 ไม่จำเป็นต้องจับไมค์ขึ้นพูดปราศรัยในม็อบเสมอไป เราอาจจะเริ่มต้นง่ายๆ จากการแชร์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมาตรานี้ในเฟซบุ๊กตอนเช้า แชร์คลิป Reels บทสัมภาษณ์ของผู้ต้องหาตอนบ่ายๆ แล้วกลับบ้านมารีทวิตผลประกันอีกครั้งก่อนนอนก็ได้

 

หรือถ้าใครมีเวลามากกว่านั้น ลองเขียนแคปชั่นนิดๆ หน่อยๆ ชักชวนคนอื่นให้มาตามอ่านต่อก็ได้นะ ลองเริ่มจากคดีแปลกๆ ที่ดึงความสนใจผู้คน เช่น คดีหมิ่นสุนัขทรงเลี้ยง คดีใส่ชุดไทยแล้วถูกฟ้องว่าหมิ่นพระราชินี คดีโพสต์ “กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ” แล้วติดคุก หรือจะเป็นยอดสถิติที่พุ่งสู๊งงงเป็นประวัติการณ์ ตั้งคำถามต่อความแปลกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม ทำแบบนี้ไปทุกๆ อาทิตย์ เท่านี้ก็ช่วยส่งต่อข้อเสนอให้ผ่านตาคนได้มากขึ้นเยอะเลย 

 

นอกจากการสื่อสารในโซเชียลมีเดียแล้ว จริงๆ การสร้างบทสนทนาเรื่อง #ยกเลิก112 เพื่อส่งต่อข้อเสนอไปสู่ผู้คนก็สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ช่วงเวลาของวัน บางที การจัดตั้งหรือการรวมกลุ่มกันทางการเมืองในอดีต ก็อาจจะมีจุดเริ่มต้นจากบนสนทนาระหว่างมื้ออาหารทั่วไปนี่แหละ ถ้าพร้อมแล้ว มื้อหน้าก็ลุยเลย! ไอลอว์เป็นกำลังใจให้ทุกๆ คนในการเริ่มต้นบทสนทนานะ

 

และเมื่อสังคมมีคนมาช่วยกันพูดถึงการ #ยกเลิก112 ในจำนวนที่มากขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ กำแพงของ “การเปิดรับข้อเสนอ” ที่ยังคงเป็นอุปสรรคอยู่ในตอนนี้ก็จะถูกทุบลงไปเรื่อยๆ กระทั่งถูกทลายลงในที่สุดยังไงล่ะ

 

8.ไปม็อบ ออกมาส่งเสียงต่อสาธารณะ

2582

 

การเข้าร่วมการชุมนุมเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถ “ยืนยัน” อย่างเป็นรูปธรรมได้ว่าคนที่เห็นด้วยมีจำนวนเท่าไหร่ ช่วยเพิ่มความหนักแน่นให้ข้อเรียกร้อง ไปจนถึงสร้างความหวาดกลัวต่อรัฐ นอกจากนี้ พื้นที่ในม็อบก็ยังเอื้ออำนวยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันของพันธมิตรในขบวนการเคลื่อนไหว ตลอดจนเกิดความรู้สึกภูมิใจในตัวผู้เข้าร่วมว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย

 

มากไปกว่านั้น การปรากฏตัวในม็อบ ยังถือเป็นการ “ให้กำลังใจ” นักกิจกรรมซึ่งเป็นกำลังเสียงหลักและมดงานที่คอยขับเคลื่อนขบวน ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องอยู่จนจบม็อบก็ได้นะ แค่ไปยืนฟังพวกเขาปราศรัยสั้นๆ แสดงตัวซัพพอร์ทว่า “ฉันจะยืนอยู่ข้างเธอเสมอนะ” แค่นี้ก็เยียวยาความเหนื่อยล้าและมอบคุณค่าทางจิตใจไม่ให้พวกเขารู้สึกว่ากำลังสู้อยู่ลำพังได้มากแล้ว

 

9.เลือกพรรคการเมืองที่จะ #ยกเลิก112

2583

ข้อนี้สำคัญมาก! เพราะรัฐสภาคือปลายทางที่รายชื่อทั้งหมดจากแคมเปญยกเลิกมาตรา 112 จะเดินทางไปถึง และเป็นสถานที่ที่มีอำนาจจะตัดสินว่า กฎหมายจะถูกแก้ไขหรือยกเลิกได้จริงๆ รึเปล่า

 

ดังนั้น เพื่อไม่ให้บรรดารายชื่อที่รวบรวมมาไร้ความหมายไปซะก่อน การเลือกตั้งปี 2566 ที่กำลังใกล้เข้ามานี้ เราจำเป็นต้องช่วยกันเพิ่มจำนวนเก้าอี้ของพรรคการเมืองที่แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า “จะยกเลิกมาตรา 112” เพื่อให้พวกเขาในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนำเอาเป้าประสงค์ของพวกเราส่งต่อไปเป็นการรับร่างในสภา และสามารถมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไปได้ในอนาคต

 

หากไม่แน่ใจว่าพรรคการเมืองที่เราชื่นชอบหรืออยากจะเลือกจะมีนโยบายเรื่องนี้อย่างไร เรายังสามารถช่วยกันสอบถามผู้แทนของเราได้ หรือเสนอไปยังผู้แทนของเราได้ว่า เราต้องการให้พวกเขาใช้อำนาจของผู้แทนราษฎร กับกฎหมายมาตรานี้อย่างไร ถ้าเสียงของพวกเราชัดเจนมากพอ ผู้แทนราษฎรก็จะต้องทำตาม

 

 

10.กดแชร์โพสนี้ หรือโพส #ยกเลิก112 อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

2584

 

ถ้าคุณอ่านมาจนถึงข้อนี้ ยินดีด้วย! เก่งมากเลยเจ้าพวก Active Citizen พอจะเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมว่าการสนับสนุน #ยกเลิก112 นั้นมีหลากหลายวิธีมาก เผลอๆ มีเยอะกว่า 10 ข้อที่เราหยิบมานำเสนอด้วยซ้ำ ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกคนไม่จำเป็นต้องทำครบทุกข้อก็ได้นะ แค่ 2-3 ข้อ แต่ช่วยกันหลายๆ คน ก็ดันเพดานให้สูงขึ้นได้มากแล้วแหละ

 

หรืออย่างน้อยที่สุดช่วยกันกดแชร์โพสต์นี้ และโพสต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในจักรวาลการ #ยกเลิก112 ช่วยกันเผยแพร่ข่าวสารและเนื้อหาเกี่ยวกับการบังคับใช้ และสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมาตรานี้มันยังคงอยู่ออกไปให้ไกล และบ่อยที่สุด เพื่อไม่ให้เรื่องนี้เงียบหายไปจากความรู้ของผู้คน นี่เป็นสิ่งเล็กๆ ที่ทุกคนทำได้ทุกวันและต้องอาศัยหลายคนช่วยกันไปเรื่อยๆ ถึงจะเห็นผล

 

ถ้าเรื่องราวเกี่ยวกับมาตรา 112 ถูกแชร์ถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ ก็น่าจะเปิดบทสนทนาเพิ่มทางเลือกให้สังคมมุ่งไปสู่บรรยากาศของการถกเถียงที่สร้างสรรค์ได้ในเร็ววันนี้!!

 

 

 

Article type: