1207 1697 1318 1890 1013 1539 1636 1901 1896 1133 1946 1234 1065 1924 1015 1069 1056 1354 1201 1210 1781 1124 1430 1863 1484 1297 1582 1391 1057 1868 1880 1296 1702 1310 1893 1117 1269 1090 1267 1026 1948 1180 1857 1176 1887 1988 1980 1702 1933 1585 1532 1499 1945 1501 1542 1963 1852 1019 1715 1622 1239 1368 1892 1901 1082 1650 1187 1415 1740 1342 1443 1772 1448 1001 1987 1765 1232 1445 1203 1949 1831 1900 1749 1148 1230 1770 1797 1968 1333 1407 1593 1545 1306 1950 1335 1795 1497 1183 1009 4 ตุลาฯ นี้ศาลลำปางนัด 'ทิวากร' ฟังคำพิพากษาคดี 116 กรณีหยั่งเสียงถามคนอยากทำประชามติเรื่องสถาบันกษัตริย์หรือไม่ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

4 ตุลาฯ นี้ศาลลำปางนัด 'ทิวากร' ฟังคำพิพากษาคดี 116 กรณีหยั่งเสียงถามคนอยากทำประชามติเรื่องสถาบันกษัตริย์หรือไม่

 
 
26 สิงหาคม 2565 ศาลจังหวัดลำปางสืบพยานคดีตามประมวลกฎหมายอาญา 116 ของทิวากรแล้วเสร็จและนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 4 ตุลาคม 2565 เขาถูกกล่าวหาว่า ยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 การเปิดแคมเปญเชิญชวนให้ผู้ที่เห็นด้วยว่าควรมีการทำประชามติว่าจะคงไว้หรือยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มาร่วมลงชื่อในแคมเปญบนเว็บไซต์ change.org ที่เขาสร้างขึ้น ศาลจังหวัดลำปางนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2565 รวมสี่วัน นำพยานเข้าสืบทั้งหมด 13 ปากแบ่งเป็นพยานโจทก์แปดปากและพยานจำเลยสี่ปาก ทิวากรเปิดเผยความรู้สึกหลังการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นว่า เขามั่นใจว่าน่าจะชนะคดีนี้ เพราะทิศทางของการสืบพยานดูจะเป็นไปในทางที่ดี 
 
ทิวากรเป็นชาวจังหวัดขอนแก่น ก่อนหน้าที่จะถูกดำเนินคดีเขาเคยถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปที่โรงพยาบาลจิตเวชหลังสวมเสื้อสกรีนข้อความ "เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว" มูลเหตุในคดีนี้สืบเนื่องจาก ประชาชนจากจังหวัดลำปางชื่อทวี อินทะ เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีเขาจากกรณีวันที่ 20 มิถุนายน 2564 เขาสร้างแคมเปญที่เขาสร้างบนเว็บไซต์ change.org ถามหยั่งเสียงประชาชนเป็นการทั่วไปว่า ควรมีการทำประชามติในคำถามว่า จะคงไว้หรือยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์มาร่วมลงชื่อ ทิวากรย้ำว่าโพสต์ของเขาไม่ได้เป็นการถามว่าควรจะคงไว้หรือยกเลิกสถาบัน แต่เป็นการสอบถามว่าควรมีการทำประชามติในประเด็นดังกล่าวหรือไม่ โดยหนึ่งในเหตุผลที่เขาตัดสินใจเปิดแคมเปญนี้ใน change.org เป็นเพราะเขาอยากทราบว่า มีคนอยากให้ทำประชามติในประเด็นดังกล่าวประมาณกี่คน หลังเปิดแคมเปญได้สองวันมีผู้เข้าลงชื่อ 600 รายชื่อและหลังจากนั้นไม่สามารถเข้าถึงหน้าแคมเปญดังกล่าวได้อีก
 
2556
 

แจ้งความข้ามจังหวัดสร้างความลำบากแก่จำเลย

 
วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ระหว่างที่เขากำลังทำกิจกรรมครบรอบหนึ่งปีแถลงการณ์สิบข้อของแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ เขาได้รับโทรศัพท์จากผู้กำกับการสภ.ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบท้องที่บ้านของเขาว่ามีหมายเรียกผู้ต้องหาคดีมาตรา 116 จากจังหวัดลำปางจะมาส่งให้ที่บ้าน หลังทราบเรื่องทิวากรระบุว่าเขาแปลกใจมากเพราะตัวเขาเองไม่เคยเดินทางไปที่จังหวัดลำปางมาก่อนแต่อยู่ๆก็มีหมายเรียกมา 
 
เมื่อทราบรายละเอียดในหมายเรียก เขาพยายามต่อรองกับผู้กำกับการสภ.ท่าพระว่ายินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่อยากให้ย้ายคดีมาที่จังหวัดขอนแก่นเพราะเขาไม่เคยเดินทางไปจังหวัดลำปางซึ่งอยู่ไกลจากบ้านมากกว่า 500 กิโลเมตร ทั้งช่วงเวลาดังกล่าวก็หารถโดยสารได้ลำบากแต่ก็ไม่เป็นผล สุดท้ายเขาจำเป็นต้องขี่รถจักรยานยนต์จากบ้านที่จังหวัดขอนแก่นมาที่จังหวัดลำปางเพื่อรายงานตัวตามหมายเรียกโดยใช้เวลาขี่รถสองวัน ทิวากรยังบอกด้วยว่าในการถูกดำเนินคดีครั้งนี้เขารู้สึกงงว่า ทำไมต้องแจ้งความข้ามจังหวัด
 
แม้จะเป็นการเดินทางที่ยากลำบากแต่สิ่งที่ทำให้ทิวากรมีกำลังใจก็คือเมื่อเขามารายงานตัวมีคนเสื้อแดงและนักกิจกรรมทั้งที่อยู่ที่จังหวัดลำปางและจังหวัดอื่นๆในภาคเหนือจำนวนหนึ่งมาให้การต้อนรับทั้งในวันที่เขามารายงานตัวและวันที่เขามาขึ้นศาล โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่เขามารายงานตัวกับตำรวจครั้งแรก หลายคนแสดงความเป็นห่วงเพราะเป็นการเดินทางไกลด้วยรถจักรยานยนต์ 
 

คิดต่างกันอยู่ร่วมกันได้ ประชามติคือการหาทางออกตามระบอบประชาธิปไตย

 
ในนัดสืบพยานที่ศาล ทิวากรตั้งใจจะขอถ่ายภาพกับทวี ซึ่งเป็นคนร้องทุกข์กล่าวโทษเขาในคดีนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาไม่ได้โกรธทวีและแสดงให้เห็นว่าแม้คนเห็นต่างทางการเมืองก็ถ่ายภาพร่วมเฟรมกันได้ แต่สุดท้ายก็ไม่มีโอกาส
 
"คือถ้าจะไปโกรธเพราะเขาคิดแบบนั้น ก็คงไม่ถูกต้อง ในเมื่อเขารักสถาบันกษัตริย์ ผมจะเอาเหตุผลอะไรไปโกรธเขา ก็เขารักของเขา ส่วนถ้าจะโกรธเพราะเขาแกล้ง ผมก็คิดว่ามันคงไม่ใช่การแกล้งแต่เป็นเพราะเขาเข้าใจผมผิดหรือไม่เข้าใจผม คือด้วยความที่เขารักของเขาพอเห็นสิ่งที่ผมโพสต์เขาก็คิดว่า ไอ้นี่มันต้องล้มเจ้าแน่เลย ถ้าปล่อยมันไปสถาบันฯอาจจะถูกล้มล้าง ผมก็เลยเข้าใจที่เขาไปแจ้งความผมอยู่นะ"
 
“[ข้อเสนอเรื่องการทำประชามติ]มันค่อนข้างใหม่สำหรับสังคมไทย คนที่ไปแจ้งความผมอาจจะยังไม่เข้าใจว่าการทำประชามติในประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์มันเป็นเรื่องที่ทำได้แล้วก็เคยมีตัวอย่างการทำประชามติเรื่องนี้ในต่างประเทศ ซึ่งก็มีทั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่ลงมติให้คงอยู่และประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่ลงมติให้ยกเลิก ซึ่งก็ถือเป็นการหาทางออกตามระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ คือคนบางส่วนอาจจะไม่เข้าใจว่าการทำประชามติผลมันก็ออกได้ทั้งสองหน้า"
 

ส่องไทม์ไลน์คดีหยั่งเสียงประชามติดีไหมของทิวากร

 
วันที่ 20 - 22 มิถุนายน 2564 ทิวากรสร้างแคมเปญบน change.org และโพสต์แคมเปญบนเฟซบุ๊กของตัวเอง
 
วันที่ 29 มิถุนายน 2564 ทวี อินทะ เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษทิวากรที่สภ.ห้างฉัตร ตังหวัดลำปาง
 
วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ทิวากรได้รับโทรศัพท์จากผู้กำกับการสภ.ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น แจ้งว่ามีหมายเรียกจากจังหวัดลำปางจะไปส่งให้
 
วันที่ 17 สิงหาคม 2564 ทิวากรได้รับหมายเรียกที่บ้าน ซึ่งกำหนดให้เขาเข้ารายงานตัวที่ 18 สิงหาคม 2564 ทิวากรไม่สามารถเดินทางไปรายงานตัวตามนัดได้ จึงต้องขอเลื่อนนัดรายงานตัวออกไป
 
วันที่ 28 กันยายน 2564 ทิวากรเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์จากจังหวัดขอนแก่นไปที่จังหวัดลำปางเพื่อเข้ารายงานตัวตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวน โดยได้เข้ารายงานตัวตามนัดในวันที่ 30 กันยายน 2564 เขาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
 
วันที่ 3 มีนาคม 2565 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องทิวากรต่อศาลจังหวัดลำปาง ทนายจำเลยวางเงินสด 70,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์เป็นหลักประกันต่อศาลเพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราว
 
วันที่ 23 - 26 สิงหาคม 2565 ศาลจังหวัดลำปางนัดสืบพยานโจทก์ -จำเลย
 
วันที่ 4 ตุลาคม 2565 ศาลจังหวัดลำปางนัดฟังทิวากรฟังคำพิพากษา
 
Article type: