1393 1810 1572 1038 1603 1437 1582 1267 1329 1996 1989 1369 1593 1875 1515 1766 1264 1821 1910 1254 1760 1861 1759 1462 1643 1255 1992 1009 1295 1554 1988 1718 1894 1089 1396 1316 1033 1497 1306 1882 1416 1580 1761 1993 1473 1865 1866 1714 1120 1563 1145 1673 1057 1973 1130 1312 1991 1955 1481 1806 1493 1415 1253 1118 1932 1891 1561 1256 1735 1983 1083 1411 1187 1824 1312 1623 1300 1164 1167 1927 1964 1175 1380 1142 1661 1980 1420 1818 1756 1276 1270 1874 1938 1123 1319 1202 1867 1807 1810 ชัชชาติประกาศพื้นที่ชุมนุมสาธารณะในกทม. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ชัชชาติประกาศพื้นที่ชุมนุมสาธารณะในกทม.

 

 

วันที่ 24 มิถุนายน 2565 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งให้สถานที่เจ็ดแห่งเป็นพื้นที่ชุมนุมสาธารณะ โดยอาศัยมาตรา 9 ของพ...การชุมนุมสาธารณะ 2558 (...ชุมนุมฯ) ที่บัญญัติว่า หน่วยงานของรัฐอาจจัดให้มีสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะก็ได้ ประกอบมาตรา 49 ของพ...ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร 2528 จัดให้มีสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะตามพ...ชุมนุมฯ สถานที่ที่ใช้สำหรับการชุมนุม ได้แก่ ลานคนเมือง เขตพระนคร, ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง, ที่สาธารณะใต้สะพานรัชวิภา เขตจตุจักร, ลานจอดรถหน้าสำนักงานเขตพระโขนง เขตพระโขนง, ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เขตมีนบุรีศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ เขตทุ่งครุและสวนมณฑลภิรมย์ เขตตลิ่งชัน

 

 

2420

 

 

ประกาศดังกล่าวระบุเหตุที่ต้องกำหนดสถานที่เพื่อให้การชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ตลอดจนสุขอนามัยของประชาชนหรือความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ และไม่กระทบกระเทือนสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น 

 

วิธีการขอใช้สถานที่คือ ผู้จัดการชุมนุมจะต้องยื่นแบบหนังสือต่อสำนักงานเขตพื้นที่ก่อนการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงเพื่อที่สำนักงานเขตจะแจ้งต่อเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะทราบ ซึ่งตามปกติแล้วจะเป็นผู้กำกับการของสถานีตำรวจท้องที่นั้นๆ และมีเวลาในการเตรียมการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย ในกรณีที่ยื่นหนังสือไม่ทันกำหนดให้แจ้งก่อนเริ่มการชุมนุม โดยผู้จัดการชุมนุมและผู้ชมนุมจะต้องดูแลทรัพย์สินราชการและปฏิบัติตามที่พ...ชุมนุมฯ กำหนดในบททั่วไป, หน้าที่ของผู้จัดการชุมนุมและผู้ชุมนุมและการคุ้มครองความสะดวกของประชาชนและการดูแลชุมนุมสาธารณะ

 

ประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเช้าก่อนที่การชุมนุมครบรอบ 90 ปีอภิวัฒน์สยามจะเริ่มในช่วงเวลา 16.00 . ผู้ชุมนุมจากหลายเครือข่ายนัดหมายรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและเคลื่อนขบวนไปทำกิจกรรมที่ลานคนเมือง สำหรับพื้นที่ลานคนเมืองที่กรุงเทพมหานครให้ใช้สำหรับการชุมนุมเป็นพื้นที่ฝั่งใต้เท่านั้น ซึ่งติดกับวัดสุทัศน์ สามารถรองรับผู้ชุมนุมได้ประมาณ 1,000 คน คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 60 ของทั้งหมด ส่วนที่เหลือให้สำหรับประชาชนทั่วไปและรองรับเหตุฉุกเฉิน

 

ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า ประกาศดังกล่าวไม่มีชื่อของสนามหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใช้แสดงออกทางการเมืองมาอย่างยาวนานตั้งแต่การชุมนุมพฤษภาคม 2535, พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 2549, แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ 2553 และกปปส. 2557  หลังการรัฐประหารการจำกัดพื้นที่สนามหลวงเริ่มขึ้นอย่างชัดเจนในปี 2558 ...ชุมนุมฯ มีผลใช้บังคับ มาตรา 7 ของกฎหมายดังกล่าวสั่งห้ามการชุมนุมภายในรัศมี 150 เมตรจากพระบรมหาราชวัง พื้นที่ของสนามหลวงฝั่งใต้ หรือฝั่งสนามหญ้ามีบางส่วนที่อยู่ในรัศมีห้ามชุมนุม 

 

ปี 2563 แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมจัดชุมนุม “19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎรและใช้สนามหลวงบริเวณที่อยู่นอกรัศมีจัดการชุมนุมได้ ครั้งนั้นผู้ชุมนุมฝังหมุดคณะราษฎร 2563 และเปลี่ยนชื่อเรียกจากสนามหลวงเป็นสนามราษฎร อย่างไรก็ตามปี 2564 การชุมนุมที่สนามหลวงมีแนวโน้มถูกปิดกั้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะด้วยการวางแนวสิ่งกีดขวางและการที่ตำรวจสั่งห้ามไม่ให้ใช้พื้นที่สำหรับการชุมนุม

 
AttachmentSize
เรื่องจัดให้มีสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ2.23 MB
Article type: